มาสด้า ซีเอ็กซ์-3
![]() มาสด้า ซีเอ็กซ์-3 (สหราชอาณาจักร) | |
ภาพรวม | |
บริษัทผู้ผลิต | มาสด้า |
เริ่มผลิตเมื่อ | 2558–ปัจจุบัน |
แหล่งผลิต | |
ตัวถังและช่วงล่าง | |
ประเภท | รถยนต์เอนกประสงค์สมรรถนะสูงขนาดเล็กมาก |
รูปแบบตัวถัง | 5 ประตู เอสยูวี |
โครงสร้าง | เครื่องวางหน้า ขับเคลื่อนล้อหน้า ขับเคลื่อนสี่ล้อ |
รุ่นที่คล้ายกัน | มาสด้า2 มาสด้า3 |
ระบบส่งกำลัง | |
เครื่องยนต์ | 1.3 L SkyActiv-G turbocharged I4 เบนซิน 2.0 L SkyActiv-G I4 เบนซิน 1.5 L SkyActiv-D ดีเซล |
ระบบเกียร์ | อัตโนมัติ 6 จังหวะ ธรรมดา 6 จังหวะ |
มิติ | |
ระยะฐานล้อ | 2,570 mm (101 in) |
ความยาว | 4,275 mm (168 in) |
ความกว้าง | 1,765 mm (69 in) |
ความสูง | 1,550 mm (61 in) |
มาสด้า ซีเอ็กซ์-3 (อังกฤษ: Mazda CX-3) เป็นรถยนต์เอนกประสงค์สมรรถนะสูงขนาดเล็กมาก (subcompact crossover SUV) ผลิตโดย มาสด้า โดยใช้พื้นฐานเดียวกันกับมาสด้า 2 โดยเริ่มต้นสายการผลิตในปี พ.ศ. 2558 ในประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศแรก และหลังจากนั้นได้เริ่มผลิตในประเทศไทยเป็นประเทศที่สองที่โรงงาน Auto Alliance Thailand (AAT) ที่จังหวัดระยองเมื่อปลายเดือนตุลาคมปีเดียวกัน
มาสด้า ซีเอ็กซ์-3 ได้เปิดตัวในประเทศไทยเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ที่ห้องเพลนารี ฮอลล์ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยใช้ชื่อคอนเซปต์ว่า “FREESTYLE CROSSOVER”[3] โดยภายนอกและภายในมีลักษณะที่ใหญ่กว่านิสสัน จู๊ค และแคบกว่าฮอนด้า เอชอาร์-วี ต่อมาในปี พ.ศ. 2560 มาสด้า ซีเอ็กซ์-3 ได้รับรางวัลรถยนต์ยอดเยี่ยมแห่งปี 2016[4]
ภายนอกนั้นรุ่น E และรุ่น C ได้ใช้ไฟหน้าแบบโปรเจกเตอร์หลอดฮาโลเจน ใช้ยางและล้อขนาด 16 นิ้ว ไฟท้ายแบบมัลติรีเฟลกเตอร์ ส่วนรุ่น S, SP และ XDL ใช้ไฟหน้า ไฟส่องสว่างเวลากลางวันและไฟท้ายแบบ LED ใช้ล้อขนาด 18 นิ้ว ส่วนภายในมีหน้าจอระบบเครื่องเสียงขนาด 7 นิ้วมาตั้งแต่รุ่น C ขึ้นไป สำหรับหน้าจอ Active driving display และระบบนำทางมีมาให้ในรุ่น S ขึ้นไป ส่วนถุงลมนิรภัย 6 ตำแหน่งให้มาในรุ่น SP ขึ้นไป[5]
ในส่วนของเครื่องยนต์ มาสด้า ซีเอ็กซ์-3 ได้ใช้ เครื่องยนต์ดีเซล SkyActiv-D ความจุ 1.5 ลิตร อัดอากาศด้วยเทอร์โบชาร์จแบบแปรผัน กำลังสูงสุด 105 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 27.5 กก.-ม. เกียร์อัตโนมัติ 6 จังหวะ ให้อัตราสิ้นเปลืองเฉลี่ย 23.34 กม./ลิตร และเครื่องยนต์เบนซิน SkyActiv-G ความจุ 2.0 ลิตร กำลังสูงสุด 156 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 20.7 กก.-ม. ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 6 จังหวะเช่นกัน อัตราสิ้นเปลืองเฉลี่ย 16.44 กม./ลิตร
โดยมาสด้า ซีเอ็กซ์-3 ในประเทศไทยแบ่งรุ่นย่อยออกเป็น 5 รุ่น คือรุ่น E, C, S, SP (เครื่องยนต์ 2.0 ลิตร Skyactiv-G PE-VPS) และรุ่น XDL (เครื่องยนต์ 1.5 ลิตร Skyactiv-D S5-DPTS)
รุ่นปรับปรุงใหม่ MY2020[แก้]
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 มาสด้า ซีเอ็กซ์-3 มีการแบ่งรุ่นย่อยออกเป็น 4 รุ่น และใช้เฉพาะเครื่องยนต์เบนซินเท่านั้น คือรุ่น BASE, COMFORT, PROACTIVE, STYLE (เครื่องยนต์ 2.0 ลิตร PE-VPS) รวมถึงยกเลิกการทำตลาดรุ่นเครื่องยนต์ดีเซล 1.5 ลิตร (S5-DPTS)
รุ่นปรับปรุงใหม่ MY2021 (2021 Collection)[แก้]
เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2563 มาสด้า ซีเอ็กซ์-3 มีการแบ่งรุ่นย่อยออกเป็น 4 รุ่น และใช้เฉพาะเครื่องยนต์เบนซินเท่านั้น คือรุ่น BASE, BASE PLUS, COMFORT, PROACTIVE (เครื่องยนต์ 2.0 ลิตร PE-VPS) รวมถึงยกเลิกการทำตลาดรุ่น 2.0 STYLE ตัวท็อป โดยราคาเริ่มต้นที่ 769,000 บาท [6]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ https://insidemazda.mazdausa.com/press-release/mazda-produce-new-cx-5-hofu-plant/
- ↑ "Mazda commences production of all-new Mazda CX-3 at Rayong facility". insidemazda.co.uk.
- ↑ "เปิดตัว Mazda CX-3". mortortrivia.com.
- ↑ "Mazda CX-3 takes 2016 Thailand Car of the Year title". bangkokpost.com. 16 มีนาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2560. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "เจาะสเป็ค-Option-ราคาทุกรุ่นย่อย Mazda CX-3 เบนซิน 2.0 และ ดีเซล 1.5". headlightmag.com.
- ↑ "ราคาอย่างเป็นทางการ Mazda CX-3 MY2021 : 769,000 – 959,000 บาท". headlightmag.com. Text " เพิ่ม Option เต็มพิกัด และ รุ่นย่อยใหม่ BASE+" ignored (help)