มาร์ชา พี. จอห์นสัน
มาร์ชา พี. จอห์นสัน | |
---|---|
เกิด | มัลคอล์ม ไมเคิลส์ จูเนียร์[1][2][3][4] 24 สิงหาคม ค.ศ. 1945[1][2][3] เอลิซาเบธ รัฐนิวเจอร์ซี สหรัฐ[5] |
เสียชีวิต | 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1992[5] นิวยอร์กซิตี สหรัฐ | (46 ปี)
มีชื่อเสียงจาก | นักเคลื่อนไหวปลดปล่อยเกย์และเอดส์, นักแสดง |
มาร์ชา พี. จอห์นสัน (อังกฤษ: Marsha P. Johnson; 24 สิงหาคม 1945 – 6 กรกฎาคม 1992) หรือรู้จักด้วยชื่อเมื่อเกิด มัลคอล์ม ไมเคิลส์ จูเนียร์(อังกฤษ: Malcolm Michaels Jr.)[3][4] เป็นนักเคลื่อนไหวขับเคลื่อนการปลดปล่อยเกย์[6][7] และแดรกควีนชาวอเมริกัน[8][9] เธอเป็นที่รู้จักในฐานะผู้เป็นปากเป็นเสียงให้กับสิทธิเกย์ และเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีบทบาทมากในเหตุการณ์จลาจลสโตนวอลล์เมื่อปี 1969[6][10][11] ถึงแม้จะมีความเข้าใจว่าจอห์นสันเป็นคนเริ่มก่อจลาจลในครั้งนั้น แต่เธอยืนยันมาตลอดว่าเธอไม่ได้อยู่ที่สโตนวอลล์ตอนจลาจลเริ่มต้นขึ้น[11]
จอห์นสันเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของแนวหน้าปลดแอกเกย์ และร่วมก่อตั้งกลุ่มขับเคลื่อน สตรีททรานส์เสาไทท์แอ็กชั่นเรฟโวลูชันนารีส์ (S.T.A.R.) ร่วมกับเพื่อนสนิท ซิลเวีย รีเวียรา[12] จอห์นสันยังเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในแวดวงเกย์และศิลปะของนิวยอร์กซิตี ทั้งเป็นนางแบบให้กับศิลปิน แอนดี วอร์ฮอล และแสดงแดรกร่วมกับกลุ่มฮอทพีชชิส[6] จอห์นสันยังเป็นที่รู้จักในชื่อ "นายกเทศบาลถนนคริสตอเฟอร์"[13] เนื่องจากสามารถพบเธอซึ่งอ้าแขนต้อนรับอยู่ประจำ ๆ ได้ในย่านเกรนิชวิลเลจ ในปี 1987 ถึง 1992 จอห์นสันเคยเป็นนักขับเคลื่อนเรื่องโรคเอดส์ให้กับแอ็กตัป[6]
ในปี 1992 มีผู้พบศพของจอห์นสันในแม่น้ำฮัดสัน กรมตำรวจนิวยอร์กซิตีสรุปว่าเธอฆ่าตัวตาย ในภายหลังนำไปสู่ข้อถกเถียงมากมายเกี่ยวกับสาเหตุการเสียชีวิตของเธอ[14]
เหตุการณ์สโตนวอลล์
[แก้]จอห์นสันเป็นหนึ่งในแดรกควีนคนแรก ๆ ที่ไปสโตนวอลล์อินน์หลังเริ่มยอมให้สตรีและแดรกควีนเข้าไปได้ หลังจากก่อนหน้าเป็นบาร์ชายล้วนเท่านั้น[11] ในช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 28 มิถุนายน 1969 เกิดเหตุจลาจลสโตนวอลล์ขึ้น โดยมีสองคืนแรกที่การจลาจลเป็นไปอย่างหนักหน่วงที่สุด การปะทะกับตำรวจยังเกิดแรงกระเพื่อมให้มีการเดินขบวนประท้วงในขุมชนเกรนิชวิลเลจต่อเนื่องเป็นสัปดาห์หลังเกิดเหตุ[15]
จอห์นสัน, ซาซู่ โนวา (Zazu Nova) และ แจ็กกี ฮอร์โมนา (Jackie Hormona)[16] ถูกเรียกขานกันในบรรดาผู้อยู่ในเหตุการณ์สโตนวอลล์ที่เดวิด คาร์เทอร์ (David Carter) สัมภาษณ์ในหนังสือ Stonewall: The Riots That Sparked the Gay Revolution ว่าเป็น "บุคคลสามคนที่ทราบว่าเคยเป็นแนวรบหน้า" ในการผลักกลับตำรวจขณะเกิดเหตุการณ์[15] ส่วนจอห์นสันเองปฏิเสธข้อกล่าวหาว่าเธอเป็นคนเริ่มเหตุการณ์ ในปี 1987 จอห์นสันได้เล่าถึงเหตุการณ์สโตนวอลล์ว่าตอนนั้น "[เวลา] 2:00 [เช้าวันนั้น] [...] ก็เกิดจลาจลขึ้นไปแล้ว" และยังระบุว่าอาคารของสโตนวอลล์ "ถูกเพลิงไหม้" หลังตำรวจเป็นผู้ก่อเพลิงเอง[11] รายงานส่วนใหญ่ระบุว่าเหตุจลาจลเริ่มต้นขึ้นเมื่อเวลา 1:20 ในเข้าวันนั้น หลัง สอตร์เม เดอลาร์เวอรี น่อสู้กลับตำรวจที่พยายามจะมาจับกุมเธอในคืนนั้น[15]
ตั้งแต่ก่อนที่หนังสือของคาร์เทอร์จะออกจำหน่าย มักมีการอ้างว่าจอห์นสัน "เขวี้ยงอิฐ" ใส่ตำรวจ คำกล่าวอ้างนี้ไม่เคยได้รับการตรวจสอบ และจอห์นสันเองก็ยืนยันว่าตอนเริ่มเกิดการปะทะกัน เธอไม่ได้อยู่ด้วย มีแต่ได้ยินว่ามีเหตุการณ์เกิดขึ้นและไปบอกซิลเวีย รีเวียรา (Sylvia Rivera) ซึ่งกำลังหลับบนม้านั่งในสวนสาธารณะหนึ่งในแถวอัปทาวน์[17] นอกจากนี้ มีผู้อยู่ในเหตุการณ์ที่สโตนวอลล์หลายคนยืนยันกับคาร์ทเอร์ในหนังสือว่าในจลาจลคืนที่สอง จอห์นสันปีนขึ้นไปบนเสาไฟส่องสว่างแล้วเทถุงที่ข้างในมีอิฐหนึ่งก้อนใส่รถตำรวจคันหนึ่ง โดนกระจกหน้ากันลมแตก[15]
การเสียชีวิต
[แก้]ไม่นานหลังพาเหรดเกย์ไพรด์ปี 1992 มีผู้พบศพของจอห์นสันลอยอยู่ในแม่น้ำฮัดสัน[5] เจ้าหน้าที่ตำรวจสรุปผลในตอนแรกว่าเป็นการฆ่าตัวตาย[18] แต่คนในชุมชนและเพื่อนของเธอเชื่อว่าเธอไม่ได้ฆ่าตัวตาย และตั้งข้อสังเกคว่าศีรษะของจอห์นสันมีรอยแผลขนาดใหญ่[19][20] การเสียชีวิตที่น่ากังขาของเธอเกิดขึ้นท่ามกลางสภาพที่ความรุนแรงต่อต้านเกย์กำลังถึงจุดสูงสุดในนิวยอร์กซิตี รวมถึงความรุนแรงที่เกิดจากตำรวจเองด้วย
ในเดือนธันวาคม 2002 การสอบสวนโดยตำรวจจบลงด้วยการแก้สาเหตุการเสียชีวิตของจอห์นสันจาก "ฆ่าตัวตาย" เป็น "ยังไม่ทราบ"[13]
อดีตนักการเมืองนิวยอร์ก ทอม ดอน เป็นผู้ผลักดันให้มีการสอบสวนกรณีการเสียชีวิตของจอห์นสันใหม่ โดยระบุเหตุผลว่า "ปกติแล้ว เวลาบุคคลหนึ่งฆ่าตัวตายก็มักจะทิ้งโน๊ตไว้ แต่เธอไม่ได้ทิ้งโน๊ตไว้เลย"[14] ในเดือนพฤศจิกายน 2012 นักเคลื่อนไหว มารายห์ ลอเพซ ประสบความสำเร็จในการเรียกร้องให้กรมตำรวจนิวยอร์กพิจารณาการเสียชีวิตของจอห์นสันใหม่ว่าอาจเป็นการถูกฆาตกรรม[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Washington, K.C. (April 9, 2019). "Marsha P. Johnson (1945–1992)". BlackPast.org. สืบค้นเมื่อ June 30, 2020.
- ↑ 2.0 2.1 Sewell Chan (March 8, 2018). "Marsha P. Johnson, a Transgender Pioneer and Activist – The New York Times". The New York Times. สืบค้นเมื่อ March 9, 2018.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Scan of Birth Certificate. Name: Malcolm Michaels; Sex: Male; Place of Birth: St. Elizabeth Hospital; Date of Birth: August 24, 1945; Registration Date: August 27, 1945; Date of Issue: September 4, 1990. Accessed September 10, 2015.
- ↑ 4.0 4.1 U.S., Social Security Applications and Claims Index, 1936–2007, Death, Burial, Cemetery & Obituaries: "Michaels, Malcolm Jr [Malcolm Mike Michaels Jr], [M Michae Jr], [Malculm Jr]. …Gender: Male. Race: Black. Birth Date: 24 Aug 1945. Birth Place: Elizabeth, Union, New Jersey [Elizabeth, New Jersey]. Death Date: Jul 1992. Database on-line. Provo, UT, US: Ancestry.com"
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Chan 2018.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 Kasino 2012.
- ↑ I've been involved in gay liberation ever since it first started in 1969, 15:20 into the interview, Johnson is quoted as saying this.
- ↑ Feinberg, Leslie (September 24, 2006). "Street Transvestite Action Revolutionaries". Workers World Party. สืบค้นเมื่อ July 15, 2017.
Stonewall combatants Sylvia Rivera and Marsha "Pay It No Mind" Johnson... Both were self-identified drag queens.
- ↑ "Two Transgender Activists Are Getting a Monument in New York". May 29, 2019.
'I was no one, nobody, from Nowheresville, until I became a drag queen,' Ms. Johnson said in 1992.
- ↑ Carter, David (2004). Stonewall: The Riots that Sparked the Gay Revolution. St. Martin's. pp. 64, 261, 298. ISBN 0-312-20025-0.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 "Making Gay History: Episode 11 – Johnson & Wicker". 1987. สืบค้นเมื่อ July 6, 2017.
- ↑ Giffney, Noreen (December 28, 2012). Queering the Non/Human. p. 252. ISBN 9781409491408. สืบค้นเมื่อ July 9, 2017.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 Jacobs, Shayna (December 16, 2012). "DA reopens unsolved 1992 case involving the 'saint of gay life'". New York Daily News. สืบค้นเมื่อ June 15, 2015.
- ↑ 14.0 14.1 "The Death of Marsha P. Johnson and the Quest for Closure". Inside Edition (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). March 30, 2019. สืบค้นเมื่อ December 14, 2019.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 15.3 Carter, David (2004). Stonewall: The Riots that Sparked the Gay Revolution. St. Martin's. ISBN 0-312-20025-0.
- ↑ Carter, David (June 27, 2019). "Exploding the Myths of Stonewall – Gay City News". Gay City News. สืบค้นเมื่อ July 1, 2020.
- ↑ "Gay History Month- June 28,1969: The REAL History of the Stonewall Riots". Back2Stonewall. October 23, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-30. สืบค้นเมื่อ 2022-06-09.
- ↑ Feinberg, Leslie (1996). Transgender Warriors: Making History from Joan of Arc to Dennis Rodman. Boston: Beacon Press. p. 131. ISBN 0-8070-7941-3.
- ↑ Wicker, Randolfe (1992) "Bennie Toney 1992". Accessed July 26, 2015.
- ↑ Wicker, Randolfe (1992) "Marsha P Johnson – People's Memorial". Accessed July 26, 2015.
บรรณานุกรม
[แก้]- Carter, David (May 25, 2010). Stonewall: the riots that sparked the gay revolution. New York, New York: St. Martin's Press. ISBN 9780312671938. OCLC 659681252.
- Chan, Sewell (March 8, 2018). "Marsha P. Johnson: A transgender pioneer and activist who was a fixture of Greenwich Village street life". The New York Times.
- Kasino, Michael (2012). Pay It No Mind – The Life and Times of Marsha P. Johnson (Documentary film). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 13, 2021.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ภาพ
[แก้]- Randy Wicker's Marsha P. Johnson album on Flickr
- Photographs of Marsha P. Johnson by Diana Davies at the New York Public Library Digital Collections (note: the photo of the much younger person, sitting on the table wearing a headscarf, has been mislabeled; it is actually GLF and Youth Group member, Zazu Nova, also a Stonewall veteran)
- "Stonewall 1979: The Politics of Drag" archive of Village Voice article by Edmund White, features photo of Marsha Johnson
บทสัมภาษณ์
[แก้]- The Drag of Politics – June 15, 1979, article in the Village Voice when Johnson was 34
วิดีโอ
[แก้]- "Marsha P. Johnson 'A Beloved Star!'" ที่ยูทูบ (performance footage - clips from a number of different shows with Hot Peaches and at several benefits)
- แม่แบบ:Vimeo (excerpt from an interview with Randy Wicker at the Christopher Street Piers on September 21, 1995)
- "Marsha P Johnson – People's Memorial" ที่ยูทูบ (conversations with friends of Johnson)
- "Bennie Toney 1992" ที่ยูทูบ (interview with a friend who may have seen the men who assaulted Johnson)