มารียา เวียตรอวา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มารียา เวียตรอวา
Марія Вєтрова
เกิด03 มกราคม ค.ศ. 1870(1870-01-03)
ซอลอนีวสกา [uk] แคว้นแชร์นีฮีว จักรวรรดิรัสเซีย (ปัจจุบันอยู่ในประเทศยูเครน)
เสียชีวิต24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1897(1897-02-24) (27 ปี)
ป้อมปีเตอร์และปอล เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก จักรวรรดิรัสเซีย
สาเหตุเสียชีวิตจุดไฟเผาตนเอง
สุสานสุสานการแปรสภาพสู่พระเจ้า [ru]
สัญชาติยูเครน
อาชีพ
  • Teacher
  • actor
ปีปฏิบัติงาน1888–1897
ขบวนการนารอดิก

มารียา แฟดอซียิวนา เวียตรอวา (ยูเครน: Марія Федосіївна Вєтрова; 3 มกราคม 1870 – 24 กุมภาพันธ์ 1897) เป็นครูและนักปฏิวัติชาวยูเครน หลังทำงานเป็นครูในหลายภาคของประเทศยูเครนและเข้าร่วมคณะละครเป็นเวลาสั้น ๆ เธอได้เข้าร่วมกลุ่มนักสังคมนิยมในอาซอว และเป็นผู้ยึดถือในงานเขียนของเลโอ ทอลสตอย เธอศึกษาต่อในเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก แต่ถูกเรียกร้องให้มาเป็นนักปฏิวัติหลังได้พบกับทอลสตอย เธอถูกจับกุมจากกิจกรรมการตีพิมพ์เนื้อหาต่อต้านซาร์ และเสียชีวิตจากการจุดไฟเผาตนเองในป้อมปราการปีเตอร์และปอล หารเสียชีวิตของเธอกลายมาเป็นคำเรียกในการเดินขบวนของขบวนการนักศึกษาเพื่อล้มล้างซาร์ที่ได้รับความนิยมสูงยิ่งขึ้น

ชีวประวัติ[แก้]

มารียา เฟตอชีวนา เวียตรอวา เกิดเมื่อวันที่ 3 มกราคม 1870[1] ในซอลอนีวกา [uk] แคว้นแชร์นีฮีว จักรวรรดิรัสเซีย (ปัจจุบันอยู่ในแคว้นแชร์นีฮีว ประเทศยูเครน)[2] เธอเป็นลูกนอกสมรสของสตรีชาวคอสซัก[2] ออเลกซันดรา เวียตรอวา (Oleksandra Vetrova) กับโนตารีท้องถิ่น เธอจึงถูกเลี้ยงมาเป็นเด็กกำพร้าโดยสตรีไพร่คนหนึ่งซึ่งเธอเรีดยว่าเป็น “ยาย”[1] ในปี 1888 เธอจบการศึกษาจากวิทยาลัยครู[2] และประจำการอยู่ที่โรงเรียนในย่านชนบทของ ลีวเบค[1]

เงินเดือนครูของเธอน้อยมากและไม่พอต่อการดำรงชีพ รวมถึงชีวิตในชนบทของเธอนั้นโดดเดี่ยวอย่างมากในหมู่บ้านเล็ก ๆ นี้[1] ในเดือนเมษายน 1889 เธอเข้าร่วมคณะละครเวที (acting troupe) ของมือกอลา ซาดอวสกืย์ [uk][2] ซึ่งเดินทางไปทั่วประเทศยูเครย แสดงในโรงละครเล็ก ๆ โดยใช้เครื่องแต่งชายและของประกอบฉากอย่างง่าย เมื่อถึงคราที่เธอต้องแสดงเป็นครั้งแรก เธอตื่นเวทีมากจนตัดสินใจหนีออกจากคณะละคร[1]

การเป็นนักปฏิวัติ[แก้]

ต่อมาเธอจึงเดินทางไปยังอาซอวเพื่อกลับไปประกอบอาชีพครู ที่นี่เธอได้เข้าร่วมกับกลุ่มนักสังคมนิยม และสนิทสนมกันก้บ อันตีป กือลากอว [ru] นารอดนิกจากตากันรอก เธอได้รับแรงบันดาลใจเป็นพิเศษจากบทความของเลโอ ทอลสตอยเรื่อง "ความสุขคืออะไร?" และเมื่อช่วงปีผ่านไป เธอยิ่งศึกษาเข้าถึงแนวคิดสังคมนิยมอย่างเข้มข้นมากขึ้น[1] ในปี 1894 เธอออกเดินทางจากอาซอวเพื่อไปศึกษาที่สถาบันเบสตูเจฟในมหาวิทยาลัยหลวงเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก[2] แต่เธอกลับพบว่าอาจารย์และคาบสอนบรรยายต่าง ๆ ที่นั่นกลับไม่น่าสนใจและดูเบาปัญญา ในปีต่อมาเธอพบกับทอลสตอย ซึ่งให้แรงบันดาลใจเธอเป็นนักปฏิวัติ จากนั้นเธอจึงเริ่มไปสอนวิชาภาษารัสเซีย และ ชีวคณิต ประจำโรงเรียนภาควันอาทิตย์สำหรับแรงงานที่โรงงานรัฐออบูฮอว[1]

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 1897 ทางการของซาร์ทำการจับกุมหมู่ผู้ที่เชื่อว่ามีส่วนร่วมในการตีพิมพ์นารอดนิกในเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก เวียตรอวารู้จักคนจำนวนหนึ่งที่ถูกจับกุมในครั้งนี้[1] เมื่อวันที่ 2 มกราคม 1897 [ตามปฎิทินเก่า: 22 ธันวาคม 1896][3] เธอเองก็ถูกจับกุมฐานมีโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านรัฐบาลในครอบครอง และต้องสงสัยมรส่วนร่วมในแผนการตีพิมพ์เพื่อปฏิวัติ เธอถูกจับกุมที่ป้อมปราการปีเตอร์และปอล ที่ซึทงเธอจบชีวิตตัวเองด้วยการจุดไฟเผาตัวเองในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ [ตามปฎิทินเก่า: 8 กุมภาพันธ์] 1897 เธอเสียชีวิตจากบาดแผลไฟไหม้ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ [ตามปฎิทินเก่า: 12 กุมภาพันธ์] 1897[2]

อ้างอิง[แก้]

บรรณานุกรม[แก้]

  • Evans Clements, Barbara (1997). Bolshevik Women. University of Cambridge. p. 25. ISBN 0521599202.
  • Shulyatikov, Vladimir (16 March 2010). "Мария Ветрова в памяти поколений" [Mariia Vetrova in the memory of generations]. Gorodnya (ภาษารัสเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2021. สืบค้นเมื่อ 10 January 2024.
  • Usenko, Pavlo Heorhiyovych (2003). "ВІТРОВА Марія Федосіївна" [VITROVA Mariia Fedosiivna]. ใน Smoliy, V. A. (บ.ก.). Encyclopedia of History of Ukraine (ภาษายูเครน). Vol. 1. Kyiv: Institute of History of Ukraine. สืบค้นเมื่อ 10 January 2024.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • Homo [ Вороний М.] Маруся Вітрова. "Житє і слово", 1897, кн. 2
  • В. Бахирев (псевд. В. Махновца). Как держать себя на допросах. — август 1900.
  • Могилянский М. В девяностые годы // Былое. — 1924. — No. 24.
  • Памяти Марьи Федосьевны Ветровой. Б/м, 1898; Ростов Н. Самоубийство М.Ф.Ветровой и студенческие беспорядки 1897 г. "Каторга и ссылка", 1926, No. 2
  • Самоубийство М. Ф. Ветровой и студенческие беспорядки // Каторга и ссылка. — 1926. — No. 2.
  • Куделли П. Ф. Народовольцы на перепутье. — Л., 1926.
  • Ростов Н. Драма в Бастионе. — М.: Библиотека «Огонёк» No. 27 (752), сентябрь 1933.
  • Чала Л. Не даремно! "Вітчизна", 1964, No. 8.
  • Ветрова Мария Федосеевна // Большая советская энциклопедия : [в 30 т.] / гл. ред. А. М. Прохоров. — 3-е изд. — М. : Советская энциклопедия, 1969–1978.
  • Брайнин И. Б., Шапошников В. Г. Ветровские демонстрации // Вопросы истории. — 1983. — No. 2. — С. 178–181.