มายฮีโร (วิดีโอเกม)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มายฮีโร/เซชุงสแกนดัล
งานศิลปะกล่องเวอร์ชันยุโรป
ผู้พัฒนาคอร์แลนด์ (อาร์เคด)
เซกา (มาสเตอร์ซิสเตม)
ผู้จัดจำหน่ายเซกา
ออกแบบโคตาโร ฮายาชิดะ[1]
เครื่องเล่นอาร์เคด, มาสเตอร์ซิสเตม
วางจำหน่ายอาร์เคด
มาสเตอร์ซิสเตม
แนวบีตเอ็มอัป
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น
ระบบอาร์เคดเซกาซิสเตม 1

มายฮีโร (อังกฤษ: My Hero) หรือที่รู้จักในชื่อเซชุงสแกนดัล (ญี่ปุ่น: 青春スキャンダル, การแปลตรงตัว 'วัยรุ่นฉาวโฉ่') ในประเทศญี่ปุ่น[3] เป็นเกมแนวบีตเอ็มอัปแบบเลื่อนด้านข้างที่วางจำหน่ายโดยบริษัทเซกาสำหรับอาร์เคดใน ค.ศ. 1985 และสำหรับมาสเตอร์ซิสเตมในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1986 ซึ่งเกมนี้ได้รับการออกแบบโดยโคตาโร ฮายาชิดะ[1]

รูปแบบการเล่นจะคล้ายกับเกมกังฟูมาสเตอร์ของบริษัทไอเรมที่วางจำหน่ายใน ค.ศ. 1984[7] แต่มายฮีโรแตกต่างจากเกมศิลปะการต่อสู้ก่อนหน้า โดยได้เบี่ยงเบนจากฉากศิลปะการต่อสู้แบบดั้งเดิม[4] และแทนที่ด้วยการเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมในเมืองร่วมสมัยที่มีแก๊งข้างถนน ซึ่งเหมือนเกมแนวบีตเอ็มอัปในเวลาต่อมา เช่น เรนอิเกด (ค.ศ. 1986) และดับเบิลดรากอน (ค.ศ. 1987)[7]

รูปแบบการเล่น[แก้]

ตัวละครหลัก (ทาเกชิ/สตีเวน) ขณะโจมตีศัตรูด้วยขวดในด่านที่ 1

เวอร์ชันอาร์เคดประกอบด้วยสามด่านที่ต่างกัน โดยแต่ละด่านจะดำเนินวนซ้ำต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดจนกว่าผู้เล่นจะหมดชีวิต ซึ่งเริ่มด้วยตัวละครของผู้เล่น (ที่ชื่อทาเกชิในประเทศญี่ปุ่น และชื่อสตีเวนตามปรากฏในใบปลิวอาร์เคดของทวีปยุโรป)[8] ขณะเดินชมถนนในเมือง ก็ได้มีนักเลงวิ่งมาโฉบแฟนสาวของเขาไป (ที่ชื่อเรมีตามปรากฏในใบปลิวอาร์เคด หรือชื่อมาริในประเทศญี่ปุ่น) ขณะที่เขาไล่ตามมัน เขาจะต้องต่อสู้กับแก๊งอันธพาลข้างถนนคนอื่น ๆ เมื่อผ่านไปได้ครึ่งทางของด่าน สตีเวนมีโอกาสที่จะช่วยชีวิตผู้เห็นเหตุการณ์ที่ถูกคุมตัว ซึ่งหากได้รับการช่วยเหลือก็จะช่วยเขาต่อสู้จนกว่าผู้เห็นเหตุการณ์นี้จะถูกกำจัด ไม่นาน (หลังจากกระโดดข้ามบรรดาแท่นและหลบลูกไฟ) สตีเวนก็มาถึงชายหาดและต่อสู้กับอันธพาลที่จับกุมเรมีไว้ หลังจากที่บอสของด่านนี้พ่ายแพ้หลังจากถูกโจมตี 10 ครั้ง ก็จะผ่านด่านดังกล่าว ซึ่งกระบวนการเดียวกันนี้จะเกิดขึ้นซ้ำในช่วงที่เหลือของเกม เฉพาะการออกแบบกับบอสและด่านอีกสองด่านเท่านั้น ซึ่งการออกแบบด่านที่ 2 มีลักษณะคล้ายกับมหากาพย์นินจาญี่ปุ่นยุคเอโดะ โดยมีศัตรูและบอสในธีมนินจา ตามด้วยธีมไซไฟที่อิงจากซีรีส์พิภพวานรอย่างหลวม ๆ รวมถึงศัตรูที่เป็นมนุษย์วานร และบอส

เนื่องจากข้อจำกัดด้านพื้นที่ในเซกาการ์ด พอร์ตเซกา มาสเตอร์ซิสเตม จึงนำเสนอเฉพาะแก๊งข้างถนนใน 3 ด่านที่จะวนซ้ำอย่างต่อเนื่องจนกว่าผู้เล่นจะเสียชีวิตทั้งหมดและเกมโอเวอร์ ส่วนศัตรูที่เป็นนินจา และมนุษย์วานรจากเวอร์ชันอาร์เคดจะถูกละไว้

การตอบรับ[แก้]

ในประเทศญี่ปุ่น เกมแมชชีนฉบับวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1985 ได้จัดอันดับให้มายฮีโรเป็นยูนิตอาร์เคดบนโต๊ะที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของเดือน[9]

ไมก์ รอเบิตส์ และสตีฟ ฟิปส์ จากนิตยสารคอมพิวเตอร์เกมเมอร์ได้วิจารณ์เกมเวอร์ชันอาร์เคดในเชิงบวก พวกเขากล่าวว่าถึงแม้ "จะธรรมดากว่าเกมแฮงก์-ออน ที่น่าทึ่งนิดหน่อย" แต่ก็ยัง "ค่อนข้างสนุก" และมี "รูปแบบที่สนุกสนานของธีมเกมกังฟู" พวกเขาเล่าว่า "ฉากและกราฟิกที่ดีทำให้เกมนี้เป็นเกมที่สนุกสนาน" พร้อมด้วยปริศนาที่ "ค่อนข้างยาก"[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Alex Kidd in Miracle World – Developer Interview". December 13, 2021.
  2. 3.0 3.1 "青春スキャンダル" [Seishun Scandal]. Media Arts Database (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs. สืบค้นเมื่อ 8 May 2021.
  3. 4.0 4.1 4.2 Roberts, Mike; Phipps, Steve (October 1985). "Coin-Op Connection". Computer Gamer. No. 7. United Kingdom: Argus Press. pp. 18–9.
  4. "Availability Update" (PDF). Computer Entertainer. October 1986. p. 14.
  5. "Sega Mark III". セガハード大百科 (ภาษาญี่ปุ่น). Sega. สืบค้นเมื่อ 15 August 2021.
  6. 7.0 7.1 Plasket, Michael (May 4, 2017). "My Hero". Hardcore Gaming 101. สืบค้นเมื่อ 8 May 2021.
  7. "Video Game Flyers: My Hero, Sega (EU)". The Arcade Flyer Archive. สืบค้นเมื่อ 1 August 2021.
  8. "Game Machine's Best Hit Games 25 - テーブル型TVゲーム機 (Table Videos)". Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 265. Amusement Press, Inc. 1 August 1985. p. 25.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]