ข้ามไปเนื้อหา

มวลวิกฤต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างใหม่ของอุบัติเหตุวิกฤตปี 1945 หลุมพลูโตเนียมถูกรายล้อมไปด้วยบล็อกของทังสเตนคาร์ไบด์แบบนิวตรอนแสงสะท้อน การทดลองเดิมถูกออกแบบมาเพื่อวัดรังสีที่ผลิตได้เมื่อบล็อกส่วนเกินถูกเพิ่มเข้ามา แทนที่จะเป็นเช่นนั้น มวลกลับกลายเป็นเหนือวิกฤต (อังกฤษ: supercritical) เมื่อบล็อกถูกวางไว้โดยไม่สมควรโดยถูกปล่อยให้ตกลงมา

มวลวิกฤต (อังกฤษ: critical mass) คือปริมาณที่น้อยที่สุดของวัสดุฟิสไซล์ที่จำเป็นสำหรับการรักษาปฏิกิริยาลูกโซ่นิวเคลียร์ให้ยั่งยืน มวลวิกฤตของวัสดุฟิสไซล์หนึ่งจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของนิวเคลียสของมัน (ให้ชัดเจนก็คือ พื้นที่หน้าตัดสำหรับปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน) ความหนาแน่นของมัน, รูปทรงของมัน, กระบวนการแยกไอโซโทป (สมรรถนะ) ของมัน, ความบริสุทธิ์ของมัน, อุณหภูมิของมัน, และสภาพแวดล้อมของมัน แนวความคิดเป็นสิ่งสำคัญในการออกแบบอาวุธนิวเคลียร์

คำอธิบายของวิกฤต

[แก้]

เมื่อปฏิกิริยาลูกโซ่นิวเคลียร์หนึ่งในมวลของวัสดุฟิสไซล์หนึ่งเป็นแบบยั่งยืนด้วยตัวเอง มวลนั้นถูกเรียกว่าอยู่ในสถานะ "วิกฤต" ที่ไม่มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของพลังงาน, อุณหภูมิ, หรือประชากรนิวตรอน

การวัดที่เป็นตัวเลขของมวลวิกฤตจะขึ้นอยู่กับแฟคเตอร์การคูณนิวตรอนที่มีประสิทธิภาพ k ค่าเฉลี่ยของจำนวนนิวตรอนที่ถูกปล่อยออกมาต่อปฏิกิริยาฟิชชันที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาฟิชชันอื่นไปเรื่อย ๆ มากกว่าจะถูกดูดซึมหรือออกจากวัสดุ เมื่อ มวลจะวิกฤตและปฏิกิริยาลูกโซ่แทบจะยั่งยืนด้วยตนเอง

มวล "ใต้วิกฤติ" (อังกฤษ: subcritical) คือมวลของวัสดุฟิสไซล์ที่ไม่ได้มีความสามารถในการรักษาปฏิกิริยาลูกโซ่ฟิชชันให้ยั่งยืน ประชากรของนิวตรอนที่ใส่ให้กับส่วนประกอบที่ subcritical จะลดลงแบบ exponential ในกรณีนี้ อัตราคงที่ของ fissions ตามธรรมชาติจะทำให้เกิดระดับคงที่แบบสัดส่วนของกิจกรรมนิวตรอน การคงที่ของของสัดส่วนจะเพิ่มขึ้นเมื่อ k เพิ่มขึ้น

มวล "เหนือวิกฤต" (อังกฤษ: supercritical) เป็นหนึ่งที่มีอัตราของฟิชชันที่เพิ่มขึ้น สารอาจอยู่ในภาวะสมดุล (หรือกลายเป็นวิกฤตอีกครั้ง) ที่อุณหภูมิ/ระดับพลังงานที่สูงหรือทำลายตัวเองโดยเมื่อจุดสมดุลมาถึง ในกรณีของ supercriticality,

อ้างอิง

[แก้]