ภูตรับใช้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพประกอบภาษาอังกฤษในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ของหมอเวทมนตร์ขณะให้อาหารภูตรับใช้ของเธอ

ในคติชนวิทยาของยุโรปในสมัยกลางและสมัยใหม่ตอนต้น เชื่อกันว่าภูตรับใช้ (หรือชื่อเรียกอย่างแท้จริงคือวิญญาณภูตรับใช้ ในขณะที่ "familiar" ในภาษาอังกฤษยังหมายถึง "เพื่อนสนิท" หรือสหาย และอาจเห็นในชื่อวิทยาศาสตร์ของสุนัขคือ Canis familiaris) เชื่อกันว่าเป็นสิ่งเหนือธรรมชาติหรือผู้พิทักษ์จิตวิญญาณที่จะปกป้องหรือช่วยเหลือหมอเวทมนตร์และหมอเวทมนตร์ผู้รอบรู้ในทางไสยศาสตร์[1] ตามบันทึกของยุคดังกล่าว ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเคยติดต่อกับวิญญาณภูตรับใช้ได้รายงานว่าพวกมันสามารถปรากฏออกมาได้หลายรูปแบบ ซึ่งโดยปกติจะเป็นสัตว์ แต่บางครั้งก็เป็นรูปมนุษย์หรือรูปทรงคล้ายมนุษย์ และถูกอธิบายว่าเป็น "รูปแบบสามมิติที่ชัดเจน, มีสีสันชัดเจน, มีชีวิตชีวาด้วยการเคลื่อนไหวและเสียง" เมื่อเทียบกับคำอธิบายของผีที่มี "รูปแบบควันที่ไม่ชัดเจน"[2]

เมื่อพวกมันรับใช้หมอเวทมนตร์ พวกมันมักจะถูกคิดว่าเป็นภูตมุ่งร้าย แต่เมื่อทำงานให้แก่หมอเวทมนตร์ผู้รอบรู้ พวกมันมักจะถูกมองว่ามีเมตตา (แม้ว่าจะมีความคลุมเครือในทั้งสองกรณีก็ตาม) โดยแบบแรกมักถูกจัดว่าเป็นปิศาจ ในขณะที่แบบหลังมักถูกมองว่าเป็นภูต ส่วนจุดประสงค์หลักของภูตรับใช้คือการรับใช้หมอเวทมนตร์ โดยให้ความคุ้มครองพวกเขาเมื่อพวกเขาเข้ามามีอำนาจใหม่[3]

ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้ฝึกหัดเวทมนตร์บางคน รวมถึงสาวกลัทธินอกศาสนาใหม่แห่งนิกายวิคคา ใช้แนวคิดเรื่องภูตรับใช้ เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับเวทมนตร์รูปแบบเก่า ๆ โดยผู้ฝึกหัดร่วมสมัยเหล่านี้ใช้สัตว์เลี้ยงหรือสัตว์ป่า หรือเชื่อว่าภูตรับใช้ที่มองไม่เห็นทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยด้านเวทมนตร์[4]

อ้างอิง[แก้]

การอ้างอิง[แก้]

  1. Wilby 2005, pp. 59–61.
  2. Wilby 2005, p. 61.
  3. Wilby 2005, pp. 74–76.
  4. Chauran, Alexandra (2013). Animal Familiars for Beginners. Jupiter Gardens Press. ISBN 978-1938257667.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Davies, Owen (2003). Cunning-Folk: Popular Magic in English History. London: Hambledon Continuum. ISBN 1-85285-297-6.
  • Maple, Eric (December 1960). "The Witches of Canewdon". Folklore. Vol. 71 no. 4.
  • Thomas, Keith (1973). Religion and the Decline of Magic: Studies in Popular Beliefs in Sixteenth and Seventeenth Century England. London: Penguin.
  • Wilby, Emma (2005). Cunning Folk and Familiar Spirits: Shamanistic Visionary Traditions in Early Modern British Witchcraft and Magic. Brighton: Sussex Academic Press. ISBN 1-84519-078-5.
  • Norton, Mary Beth (2002). In the Devil's Snare. New York: Vintage Books. ISBN 0375706909.
  • Murray, Margaret (1921). The Witch-Cult in Western Europe. London: Oxford University Press. ISBN 9781594623479.
  • Briggs, Robin (1996). Witches and Neighbors. New York: Penguin.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]