ภาโอนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตัวละคร "สูตราธร" ในภาโอนาแบบอัสสัม

ภาโอนา (อัสสัม: ভাওনা; Bhaona) เป็นรูปแบบศิลปกรรมพื้นถิ่นเพื่อความบันเทิงโดยมีเนื้อหาทางศาสนาที่พบได้มากในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย ภาโอนาเป็นผลงานสร้างสรรค์ของมหาบุรุษ ศรีมันตะ ศังกรเทพ เขียนขึ้นในศตวรรษที่ 16 สร้างขึ้นเพื่อส่งต่อเนื้อหาทางศาสนาแก่ชาวบ้านผ่านทางรูปแบบความบันเทิง ต่อมา ศรีมันตะ มหาเทพ ได้เขียนบทละครขึ้นเพิ่มเติมเช่นกัน[1][2] การแสดงภาโอนายังมีความเกี่ยวเนื่องกันกับอันกิยะนัต[3] ภาโอนามักจัดแสดงตามสาตระ และ นามครห์ ในรัฐอัสสัม ลักษณะพิเศษบางประการของภาโอนา เช่น เนื้อเรื่อง เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ การวางเท้าของตัวละคร ที่ทำให้ภาโอนามีความแตกต่างโดดเด่นจากการแสดงละครรูปแบบอื่น ๆ

ตัวละครในการแสดงภาโอนานั้นประกอบด้วย สูตราธร (Sutradhar) หรือ สูตราธรี (Sutradhari) ซึ่งเป็นตัวละครสำคัญในภาโอนา มีบทบาทในการแสดง ขับร้อง กล่าวบทกวี และบรรยายแต่ละฉากของภาโอนาว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น[4] ภาโอริยะ (Bhaoriya) ซึ่งคือตัวละครที่แสดงตามบท, คยัน (Gayan) นักร้อง[3] และ พยัน (Bayan) ซึ่งเล่นเครื่องดนตรีต่าง ๆ

อ้างอิง[แก้]

  1. Bhaona, bordowathan.com, Retrieved: 2013-02-28.
  2. "Today's Paper / NATIONAL : Assam's traditional Ankiya Bhaona to get new lease of life". The Hindu. 2012-03-12. สืบค้นเมื่อ 2013-02-28.
  3. 3.0 3.1 "Bhaona _ Traditional form of assamese entertainment". Assaminfo.com. สืบค้นเมื่อ 2013-02-28.
  4. "Assam- Arts- Classical Dance in Assam, Bhaona- Dances in Assam- Assamese dances". Webindia123.com. สืบค้นเมื่อ 2013-02-28.