ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาแอราเมอิกไบเบิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาษาแอราเมอิกไบเบิล (Biblical Aramaic) เป็นรูปแบบของภาษาแอราเมอิกที่พบในหนังสือของดาเนียล เอซรา และบางแห่งไบเบิลฉบัลภาษาฮีบรู

ภาษาแอราเมอิกและภาษาฮีบรู

[แก้]

ภาษาฮีบรูเป็นภาษาหลักของไบเบิลฉบับภาษาฮีบรู ภาษาแอราเมอิกเป็นภาษาที่พบเพียงสิบบทจากทั้งฉบับ ภาษาแอราเมอิกไบเบิลมีความใกล้เคียงกับภาษาฮีบรู แม้ว่าจะมีลักษณะคล้ายภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกสบ้างเล็กน้อย และเขียนด้วยอักษรชนิดเดียวกัน

ความเหมือน

[แก้]
  • ใช้อักษรทรงเหลี่ยม
  • ระบบกริยามาจากรากศัพท์พยัญชนะสามตัว
  • การทำงานที่คล้ายกันของระบบกริยาสันธาน
  • คำนามมีสามสถานะ คือสัมบูรณ์ โครงสร้างและเน้นหนัก

ความต่าง

[แก้]
  • ภาษาแอราเมอิกเติมคำนำหน้าที่ตอนท้ายของหน่วย
  • He และ alef เป็นคำนำหน้านามที่เปลี่ยนได้.
  • ภาษาแอราเมอิกใช้อักษรที่ต่างกันสำหรับเสียงเดียวกัน
  • ภาษาแอราเมอิกไม่มีระบบการเลื่อนเสียงสระแบบคานาอันไนต์จากa เป็น o.
  • dalet ที่ทำหน้าที่เป็นบุพบทเป็นสันธานด้วย และมักใช้แทนที่โครงสร้างของการแสดงความเป็นเจ้าของ

สัทวิทยา

[แก้]
เซมิติกดั้งเดิม ฮีบรู แอราเมอิก
ð, δ ז ד
z ז ז
t ת ת
θ שׁ ת
ś שׂ שׂ
š שׁ שׁ
s ס ס
θ' צ ט
צ צ
ð', δ' צ ק ע

ประวัติ

[แก้]

ในระหว่างช่วง 257 ปีก่อนพุทธศักราช ภาษาแอราเมอิกเป็นภาษากลางในตะวันออกใกล้ ก่อนยุคนี้เคยเป็นภาษาประจำชาติของนครรัฐอรามาเนียน ในช่วง 158 ปีก่อนพุทธศักราช กษัตริย์เฮเซกิอาห์แห่งยูดาห์เจรจากับกษัตริย์เซนนาเซริบแห่งอัสซีเรียในระหว่างการล้อมกรุงเยรูซาเลม ทูตของกษัตริย์เฮเซกิอาห์ใช้ภาษาแอราเมอิก ต่อมาภาษาแอราเมอิกกลายเป็นภาษากลางในระดับนานาชาติ ไม่ใช่ระดับประชาชนทั่วไป ใน 43 ปีก่อนพุทธศักราช กษัตริย์เนบูคัดเนซาร์ที่สองแห่งบาบิโลนทำลายกรุงเยรูซาเล็มและอพยพชาวยิวจำนวนมากไปทางตะวันออก ภาษาแอราเมอิกเป็นภาษาที่จำเป็นสำหรับผู้อพยพ หลังจากจักรพรรดิแห่งเปอร์เซียเข้ายึดครองกรุงบาบิโลน ภาษาแอราเมอิกกลายเป็นภาษาทางวัฒนธรรมและการเรียนรู้ของชาวยิวด้วย กษัตริย์ดาริอุสที่ 1 ประกาศให้ภาษาแอราเมอิกเป็นภาษาราชการสำหรับซีกตะวันตกของจักรวรรดิเมื่อ พ.ศ. 43 ภาษาแอราเมอิกจักรวรรดินี้เป็นพื้นฐานของภาษาแอราเมอิกไบเบิล

การปรากฏของภาษาแอราเมอิกในไบเบิลภาษาฮีบรู

[แก้]
  • เอซรา 4:8–6:18 และ 7:12–26 — การอ้างถึงเอกสารในยุค พ.ศ. 43 เกี่ยวกับการสร้างวิหารแห่งเยรูซาเล็ม
  • ดาเนียล 2:4b–7:28 — เรื่องเล่าห้าเรื่องเกี่ยวกับดาเนียล
  • เยเรมิอาห์ 10:11 — ประโยคเดียวในตอนกลางของเนื้อหาภาษาฮีบรูเกี่ยวกับการเคารพบูชา
  • เจเนซิส 31:47 — การแปลชื่อและสถานที่ในภาษาฮีบรู

การปรากฏในที่อื่นๆตามความเห็นของนักวิชาการบางคน

[แก้]
  • เจเนซิส 15:1 —במחזה (ba-maħaze, "ในวิสัยทัศน์") ตามความเห็นของโซฮาร์ (I:88b) คำนี้เป็นภาษาแอราเมอิกซึ่งปกติในภาษาฮีบรูจะเป็น במראה (ba-mar’e).
  • จำนวน 23:10 —רבע (rôḇa‘, ปกติแปลเป็น "คลัง" หรือ "หรือส่วนที่สี่") Rabbi J.H. Hertz, เห็นว่าเป็นคำภาษาแอราเมอิกหมายถึง "ฝุ่น"
  • ยอบ 36:2a — ราชีเห็นว่าข้อความนี้เป็นภาษาแอราเมอิก