ภาพช่วงพลวัตสูง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ハイダイナミックレンジイメージ
ภาพช่วงพลวัตสูง

ภาพช่วงพลวัตสูง (high dynamic range image, HDRI) คือภาพที่มีช่วงพิสัยของความสว่างสูง โดยทั่วไปจะใช้กับภาพดิจิทัล

ภาพรวม[แก้]

ภาพช่วงพลวัตสูงมีพิสัยความสว่างที่กว้างและสามารถแสดงความสว่างที่แท้จริงได้ ดังนั้นจึงใช้ในการจำลองแสงส่องสว่างภายในคอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติ (3DCG) วิดีโอเกม และอื่น ๆ

รูปแบบภาพช่วงพลวัตมาตรฐาน (standard dynamic range, SDR) ซึ่งไม่ใช่ภาพช่วงพลวัตสูงได้รับการออกแบบให้มีข้อมูลความมืดสว่างและสีเพียงพอสำหรับการแสดงบนจอภาพหลอดรังสีแคโทด (CRT) ดังนั้นเดิมทีมักใช้ปริภูมิสีแบบ sRGB (แกมมาประมาณ 2.2, ความสว่างจุดดำ 1cd/m2[1], ความสว่างจุดขาว 80cd/m2[1]) หรือปริภูมิสี Rec. 709 (แกมมา 2.4[2], ความสว่างจุดขาว 100cd/m2[2]) ในปี 1998 อะโดบีได้เปิดตัวปริภูมิสีอะโดบีอาร์จีบีซึ่งมีช่วงพลวัตที่กว้างขึ้น (แกมมาประมาณ 2.2[3], ความสว่างจุดดำ 0.5557 cd/m2[3], ความสว่างจุดขาว 160 cd/m2[3]) สำหรับใช้ได้ภายในอะโดบี โฟโตชอป และต่อมาปริภูมิสีนี้จึงได้กลายเป็นมาตรฐานในอุตสาหกรรมการพิมพ์ นอกจากนี้แล้ว ข้อมูลภาพช่วงพลวัตสูงยังสามารถบรรจุลงในรูปแบบภาพช่วงพลวัตมาตรฐานได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น โทนแมปพิง หรือ เอกซ์โพเชอร์ฟิวชัน เป็นต้น

ในทางกลับกัน ในการสร้างภาพทางสถาปัตยกรรมและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติจำเป็นต้องบันทึกความสว่างและความมืดให้ได้เหมือนในโลกแห่งความเป็นจริง (ตั้งแต่กลางคืนที่มืดมิดไปจนถึงกลางแสงแดด) เพื่อสร้างความสว่างจริงบนคอมพิวเตอร์ ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนารูปแบบไฟล์หรือซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้น เช่นไฟล์ เรเดียนซ์เอชดีอาร์ (*.hdr) สำหรับใช้ในซอฟต์แวร์จำลองการจัดแสง เรเดียนซ์ แม้ว่ารูปแบบเรเดียนซ์ เอชดีอาร์จะใช้ค่าเป็นจำนวนจุดลอยตัว แต่เลขชี้กำลังนั้นใช้ร่วมกันโดย 3 สี แดง (R) / เขียว (G) / น้ำเงิน (B) (วิธี RGBE) ดังนั้นจึงมีปัญหาด้านความเที่ยงตรง[4] ในขณะที่รูปแบบไฟล์ TIFF รองรับภาพ 32 บิต แต่มีข้อเสียคือขนาดไฟล์ใหญ่ บริษัทอินดันเทรียลไลต์ & เมจิก (ILM) ได้พัฒนารูปแบบไฟล์ภาพใหม่คือ OpenEXR ขึ้นสำหรับภาพ 16 บิต และเปิดตัวเป็นโอเพ่นซอร์สในปี 1999 ต่อมาอะโดบีได้ขยายการใช้งาน TIFF เพื่อรองรับภาพ 16 บิตที่เทียบเท่ากับ OpenEXR[5]

อ้างอิง[แก้]