ฟ้อนยอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฟ้อนยอง เป็นฟ้อนที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่เมื่อพ.ศ. 2534 โดยโครงการอนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรมท้องถิ่น (ฟ้อนยอง) ซึ่งเป็นกิจกรรมหนี่งในโครงการโรงเรียมัธยมศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม(มพชส.)ของโรงเรียนวชิรป่าซางร่วมกับสภาตำบลนครเจดีย์ และกรรมการนำสตรีตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมของชาวยอง (ไทลื้อจากเมืองยอง) เนื่องจากพื้อนที่อำเภอป่าซางประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายไทลื้อเมืองยองหรือเรียกว่า "คนยอง" ซึ่งมีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของตนสืบทอดกันมาช้านานดังนั้นจึงสร้างรูปแบบทางวัฒนธรรมของชาวยองขึ้นมาในรูปของการฟ้อนรำ เพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางวัฒนธรรมร่วมกันของชาวยองและเผยแพร่ให้ปรากฏแก่คนทั่วไป

การแต่งกาย[แก้]

ผู้ฟ้อนจะแต่งกายแบบกุลสตรีชาวลื้อเมืองยอง โดยสวมเสื้อแบบปกป้าย ผูกมัดชายข้าง นุ่งผ้าซิ่นลายน้ำไหล ต่อชายซิ่นสีเขียว โพกผ้าขาวเคียนรอบศีรษะ เกล้าผมมวย และประดับด้วยเครื่องเงิน

ท่าฟ้อน[แก้]

ท่าฟ้อนยองประกอบด้วยท่าต่าง ๆ15 ท่า ซึ่งมีชื่อเรียกในภาษายองและชื่อแปลเป็นไทยกลางดังนี้

ท่าฟ้อนยองมี15ท่าแต่16ครั้งนะ เพิ่มพูลกุศล 2ครั้งน่ะ

เพลงบรรเลงประกอบการฟ้อน[แก้]

ใช้เพลง "ฝ้ายคำ" ซึ่งแต่งโดยนายสุชาติ กันชัย เมื่องครั้งยังเป็นนักศึกษาและเป็นสมาชิกของชมรมพื้นบ้าล้านนาสโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เนื่องจากคณะผู้จัดทำฟ้อนยองเห็นว่า ทำนองเพลงฝ้ายคำเหมาะสมกับลักษณะของชาวยองคือ รักความสงบ ชอบสันโด นุ่นวลอ่อนหวาน ทำให้มองเห็นภาพพจน์ของชาวยองได้อย่า

อ้างอิง[แก้]