เฟือร์เอลีเซอ
MIDI rendition)
(เฟือร์เอลีเซอ (เยอรมัน: Für Elise; แปลว่า แด่เอลีเซอ) เป็นชื่อที่นิยมใช้เรียกผลงาน บากาเตลหมายเลข 25 ในบันไดเสียง เอ ไมเนอร์ ของลูทวิช ฟัน เบทโฮเฟิน ที่ลงวันที่ประพันธ์ไว้เมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1810 เป็นหนึ่งในผลงานสำหรับเดี่ยวเปียโนของเบทโฮเฟินที่มีชื่อเสียงที่สุด [1][2][3] ต้นฉบับโน้ตเพลงของผลงานชิ้นนี้ได้สูญหายไป และถูกค้นพบในภายหลังโดยลูทวิช โนล และเผยแพร่เป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1865 หลังจากเบทโฮเฟินเสียชีวิตไปแล้ว 38 ปี
ประวัติศาสตร์
[แก้]จนถึงปัจจุบัน ยังเป็นข้อถกเถียงว่า "เอลีเซอ" นั้นหมายถึงสตรีผู้ใด นักประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่งเชื่อว่าบุคคลผู้นั้นคือ เอลีซาเบ็ท เริคเคิล (Elisabeth Röckel, ค.ศ. 1793-1883) ผู้ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของเบทโฮเฟินมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1808 และมีชื่อเล่นว่า "เอลีเซอ" (Elise)[4] ในขณะที่บางส่วนเชื่อว่า ลูทวิช โนล ที่เป็นผู้คัดลอกต้นฉบับโน้ตเพลงฉบับแรก ได้คัดลอกชื่อผลงานผิดจาก "Für Therese" เป็น "Für Elise"[5] โดยเทเรเซอนั้นเป็นชื่อของ เทเรเซอ มัลฟัทที (Therese Malfatti von Rohrenbach zu Dezza) เป็นหญิงสาวที่เป็นเพื่อนและลูกศิษย์ ผู้ซึ่งเบทโฮเฟินเคยขอแต่งงานในปี ค.ศ. 1810 แต่กลับถูกปฏิเสธ[6]
ระเบียงภาพ
[แก้]-
เอลีซาเบ็ท เริคเคิล (ค.ศ. 1793–1883)
-
เทเรเซอ มัลฟัทที (ค.ศ. 1792–1851)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ William Kinderman, The Cambridge companion to Beethoven, Cambridge: Cambridge University Press, 2000, p. 125–126, ISBN 978-0-521-58934-5
- ↑ Dorothy de Val, The Cambridge companion to the piano, Cambridge: Cambridge University Press, 1998, p. 131, ISBN 978-0-521-47986-8, "Beethoven is here [in the 1892 Repertory of select pianoforte works] only by virtue of 'Für Elise', but there is a better representation of later composers such as Schubert ... , Chopin ... , Schumann ... and some Liszt."
- ↑ Morton Manus, Alfred's Basic Adult All-In-One Piano Course, Book 3, New York: Alfred publishing, p. 132, ISBN 978-0-7390-0068-7
- ↑ Klaus Martin Kopitz: Beethoven, Elisabeth Röckel und das Albumblatt „Für Elise“, Köln: Dohr, 2010, ISBN 978-3-936655-87-2.
- ↑ Max Unger, translated by Theodore Baker, "Beethoven and Therese von Malfatti," The Musical Quarterly 11, no. 1 (1925): 63–72.
- ↑ Michael Lorenz: "Baronin Droßdik und die verschneyten Nachtigallen. Biographische Anmerkungen zu einem Schubert-Dokument", Schubert durch die Brille 26, (Tutzing: Schneider, 2001), pp. 47–88.