อินโยเทฟ ผู้อาวุโส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อินโยเทฟ ซึ่งเป็นนามที่จะตามมาคำว่า ผู้อาวุโส, ผู้ยิ่งใหญ่ หรือ บุตรแห่งไอคู เป็นผู้ปกครองท้องถิ่นในเมืองธีบส์ในช่วงระหว่างกลางครั้งที่หนึ่ง ประมาณ 2150 ปีก่อนคริสตกาลและต่อมาถูกสันนิษฐานว่าเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ที่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์โบราณ[3]

การครองราชย์[แก้]

อินโยเทฟ ผู้อาวุโส ไม่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นฟาโรห์ แต่ค่อนข้างที่จะเป็นผู้ปกครองท้องถิ่นในธีบส์ประมาณ 2150 ปีก่อนคริสตกาล เช่นนี้เขาอาจจะรับราชการในช่วงปีการขึ้นครองราชย์ของฟาโรห์ราชวงศ์ที่แปด หรือหนึ่งของฟาโรห์แห่งเฮราคลีโอโพลิสในช่วงราชวงศ์ที่เก้าหรือสิบแห่งอียิปต์โบราณ[3] อินโยเทฟปกครองดินแดนจากเมืองธีบส์ไปทางใต้ถึงเมืองอัสวานและไปทางเหนือไม่ไกลกว่าเมืองคอปตอส ซึ่งเป็นดินแดนในการปกครองของราชวงศ์อื่น[3] เขาถูกเชื่อว่าเป็นพระราชบิดาของฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่หนึ่งผู้ครองบัลลังก์ในธีบส์[ต้องการอ้างอิง]

ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง[แก้]

อินโยเทฟบุตรแห่งไอคู ซึ่งฟาโรห์เซนุสเรตสร้างรูปสลักในอิริยาบทนั่งเพื่ออุทิศแก่ฐานะอาลักษณ์อินโยเทฟ[4]

อินโยเทฟดูเหมือนว่าจะเป็นที่รู้จักในนามของผู้สถาปนาราชวงศ์ที่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์โบราณภายหลังการมรณกรรม ตามหลักฐานคือพบชื่อของอินโยเทฟในบันทึกพระนามแห่งคาร์นัก (หมายเลขที่ 13) ซึ่งถูกสร้างโดยฟาโรห์ทุตโมสที่สามในอีก 600 ปีภายหลังการตายของเขา ในบันทึกอินโยเทฟมีตำแหน่งเป็น iry-pat (เจ้าชาย) และ haty-a (เทียบได้กับตำแหน่งเคานต์ในสหราชอาณาจักร) เขาถูกระบุด้วยคำว่า อินโยเทฟบุตรแห่งไอคู ซึ่งฟาโรห์เซนุสเรตสร้างรูปสลักในอิริยาบทนั่งเพื่ออุทิศแก่ฐานะอาลักษณ์อินโยเทฟ :

โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโดยกษัตริย์แห่งอียิปต์บนและล่าง ฟาโรห์เคเปอร์คาเร เพื่ออุทิศให้แก่อินโยเทป ผู้อาวุโส [...] บุตรแห่งไอคู

สุสาน[แก้]

ออกัส มาเรียตได้ขุดค้นพบจารึกของเจ้าชายอินเทฟิ ที่ ดรา 'อาบู เอล-นากา' บนฝั่งตะวันตกของเมืองธีบส์และปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์อียิปต์ จารึกหมายเลข CG 20009 ได้บันทึกชื่อของอินโยเทฟไว้และแสดงให้เห็นว่าเขารับราชการในช่วงรัชกาลของฟาโรห์ไร้พระนาม :[2][5]

"เครื่องบูชาที่ฟาโรห์มอบให้แก่อานูบิส ผู้ซึ่งอยู่บนภูเขาและผู้ซึ่งอยู่ในสถานที่แต่งศพเจ้าแห่งสถานบริสุทธิ์ เพื่อเขาจะมอบให้แก่หัวหน้าตระกูลซึ่งนับเป็นเจ้านายที่ยิ่งใหญ่แห่งธีบส์ ซึ่งเป็นที่พอใจของฟาโรห์ในฐานะผู้ดูแลประตูแห่งภาคใต้ เสาหลักอันยิ่งใหญ่ของเขาที่ทำให้ทั้งสองดินแดนของเขามีชีวิตอยู่ หัวหน้าผู้เผยพระวจนะอุทิศตนเพื่อเทพเจ้าอันยิ่งใหญ่อินเทฟิ"

เจอร์เกน แบคเคอเรต สันนิษฐานว่าจารึกของเจ้าชายอินเทฟิ ที่ ดรา 'อาบู เอล-นากา' แสดงให้เห็นการจัดพิธีศพของอิโยเทฟ โดยแต่เดิมวางไว้ในห้องสวดใกล้หลุมฝังศพของเขา

อ้างอิง[แก้]

  1. Flinders Petrie: A History of Egypt - vol 1 - From the Earliest Times to the XVIth Dynasty (1897), available copyright-free here, p. 126, f. 77
  2. 2.0 2.1 Jürgen von Beckerath: Antef, in: Wolfgang Helck, Eberhard Otto, Wolfhart Westendorf (editors): Lexikon der Ägyptologie, vol. I, Harrassowitz, Wiesbaden 1975, ISBN 3-447-01670-1.
  3. 3.0 3.1 3.2 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 141-142
  4. Georges Legrain: Statues et statuettes de rois et de particuliers, in Catalogue général des antiquités égyptiennes du Musée du Caire, Le Caire, 1906. I, available copyright-free online เก็บถาวร 2015-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, pp. 4-5; pl. III CG 42005.
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ encyclo2