ฟังก์ชันแปลงให้เป็นกุญแจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในวิทยาการรหัสลับ ฟังก์ชันแปลงให้เป็นกุญแจ (อังกฤษ: key derivation function ตัวย่อ KDF เคดีเอ็ฟ) เป็นขั้นตอนวิธีที่ใช้แปลงความลับอย่างหนึ่ง เช่น กุญแจตัวหลัก (master key), รหัสผ่าน หรือรหัสผ่านแบบเป็นคำหลายคำ (passphrase) ให้เป็นกุญแจส่วนบุคคล (secret key) โดยใช้ฟังก์ชันเสมือนสุ่ม (pseudorandom function) ที่ปกติจะเป็นฟังก์ชันแฮชเชิงรหัสลับ (cryptographic hash function) หรือบล็อกไซเฟอร์ (block cipher)[1][2][3] เคดีเอ็ฟสามารถใช้ยืดกุญแจให้ยาวขึ้น ซึ่งก็คือเปลี่ยนกุญแจให้เป็นรูปแบบที่ต้องการ เช่น เปลี่ยน group element ที่ได้มาจาก Diffie-Hellman key exchange ให้เป็นกุญแจสมมาตร (symmetric key) เพื่อใช้กับมาตรฐานการเข้ารหัส/ถอดรหัส Advanced Encryption Standard (AES) ฟังก์ชัน HMAC ชนิดต่างๆ เป็นตัวอย่างฟังกชันสุ่มที่ใช้ในการแปลงให้เป็นกุญแจ[4]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. Bezzi, Michele; และคณะ (2011). "Data privacy". ใน Camenisch, Jan; และคณะ (บ.ก.). Privacy and Identity Management for Life. Springer. pp. 185–186. ISBN 9783642203176.
  2. Kaliski, Burt; RSA Laboratories. "RFC 2898 - PKCS #5: Password-Based Cryptography Specification, Version 2.0". IETF.
  3. Chen, Lily (October 2009). "NIST SP 800-108: Recommendation for Key Derivation Using Pseudorandom Functions". NIST.
  4. Zdziarski, Jonathan (2012). Hacking and Securing IOS Applications: Stealing Data, Hijacking Software, and How to Prevent It. O'Reilly Media. pp. 252–253. ISBN 9781449318741.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]