พูดคุย:เลตเตอร์ออฟเครดิต

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชื่อบทความ[แก้]

ขอใช้ทับศัพท์แทนศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตนะครับเพราะ

  1. ในทางปฏิบัติ วงการธุรกิจการค้าใช้กันอย่างนี้ เมื่อมีปัญหาพอไปฟ้องขึ้นโรงขึ้นศาลก็ยังติดใช้อย่างนี้
  2. ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตดังกล่าวเป็นของสาขานิติศาสตร์

--taweethaも 18:06, 23 พฤษภาคม 2554 (ICT)

ในทางปฏิบัติของสาขานิติศาสตร์ ก็ใช้ "เลตเตอร์ออฟเครดิต" ครับ เช่น
  • กฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2495) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 ("ผู้ที่ประสงค์จะเดินทางไปต่างประเทศ จะพาเงินตราต่างประเทศ ค่าแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หรือเลตเตอร์ออฟเครดิต ออกไปพร้อมกับตนได้เป็นมูลค่าไม่เกินคนละ 3,500 บาท แต่ครอบครัวหนึ่งซึ่งใช้หนังสือเดินทางฉบับเดียวกัน ไม่เกิน 7,000 บาท")
  • คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1770/2499 ("เลตเตอร์ออฟเครดิตที่ธนาคารได้เปิดเพื่อชำระราคาสินค้าของลูกค้าของธนาคารนั้น ย่อมถือว่าเป็นคำเสนอ เมื่อได้มีการส่งสินค้ามาตามที่ระบุไว้ในเลตเตอร์ออฟเครดิตแล้ว ก็ย่อมถือได้ว่ามีคำสนองก่อให้เกิดสัญญาขึ้น")
  • คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2607/2553 ("...และรับชำระเงินค่าสินค้าโดยวิธีเลตเตอร์ออฟเครดิต การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์...")
ฯลฯ
--Aristitleism 18:15, 23 พฤษภาคม 2554 (ICT)

 สำเร็จ งั้นก็เห็นตรงกัน ไม่มีผู้คัดค้าน --taweethaも 18:30, 23 พฤษภาคม 2554 (ICT)