พูดคุย:ปุ๋ย

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปุ๋ย คือ สารอินทรีย์หรือสารอนินทรีย์ ไม่ว่าจะเกิดขึ้น โดยธรรมชาติหรือสังเคราะห์ขึ้นก็ตาม ปุ๋ย หรือ FERTILIZER มีหน้าที่เพิ่มธาตุอาหารให้กับดิน เพื่อที่จะให้พืชเจริญเติบโตโดยเฉพาะธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ปุ๋ยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ 1.)ปุ๋ยเคมี ได้มาจากการผลิตหรือสังเคราะห์ทางอุตสาหกรรมจากแร่ธาตุต่างๆที่ได้ตาม

ปุ๋ยเคมี ธรรมชาติ ปุ๋ย เคมีมีอยู่ 2 ประเภท คือ แม่ปุ๋ยหรือปุ๋ยเดี่ยว และปุ๋ยผสม • แม่ปุ๋ยหรือปุ๋ยเดี่ยว เป็นสารประกอบทางเคมี มีธาตุอาหารประกอบทาง

เคมีคือ ธาตุ N (ไนโตรเจน) P(ฟอสเฟต) หรือ K(โพแทสเซียม) ประกอบด้วย

หนึ่งหรือสองธาตุและมีปริมาณสารที่ประกอบคงที่ • ปุ๋ยผสม คือ ปุ๋ยที่เป็นการนำเอาแม่ปุ๋ยหลายๆ ชนิดมาผสมกัน เพื่อให้ได้ สัดส่วนของธาตุอาหาร N P และ K ตามต้องการ

2.)ปุ๋ยอินทรีย์ คือ สารประกอบที่ได้จากสิ่งที่มีชีวิตได้แก่ พืช สัตว์และจุลินทรีย์ผ่าน

กระบวนการผลิตทางธรรมชาติ

แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ♦ ปุ๋ยคอก เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้มาจากสิ่งขับถ่ายของสัตว์เลี้ยง เช่น กระบือ สุกร เป็ด ไก่และห่าน ฯลฯ

♦ ปุ๋ยหมัก เป็นปุ๋ยอินทรีย์ซึ่งได้จากการนําชิ้นส่วนของพืชวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรือวัสดุเหลือใช้

จากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น หญ้าแห้ง ใบไม้ ฟางข้าว ซังข้าวโพด

♦ ปุ๋ยพืชสด เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการปลูกพืช บํารุงดินซึ่งได้แก่พืชตระกูลถั่วต่างๆ แล้วทำการไถกลบ

เมื่อพืชเจริญเติบโตมากที่สุดซึ่งเป็นช่วงที่กําลังออกดอก 3.)ปุ๋ยชีวภาพ คือ ปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตอยู่และมีสามารถสังเคราะห์

สารประกอบธาตุอาหารให้กับพืชปุ๋ยชีวภาพมี 2 ประเภท คือ ◘ กลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถสังเคราะห์สารประกอบอาหารพืชไนโตรเจนได้เอง ได้แก่ ไรโซเบียมในปม รากพืชตระกูล ถั่วแฟรงเคียอยู่ในปมรากสนทะเล ◘ กลุ่มจุลินทรีย์ที่ช่วยทําให้ธาตุอาหารพืชในดินละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืช เช่น ไมคอร์ไรซาที่ ช่วยให้ฟอสฟอรัสที่ถูกตรึงอยู่ในดิน

ปุ๋ยไนโตรเจน ปุ๋ยไนโตรเจน ที่ใช้กันส่วนใหญ่มี 2 ประเภทคือ ประเภทอินทรีย์

ประเภทอนินทรีย์ • ประเภทอินทรีย์ ได้จากสิ่งมีชีวิต เกิดจากการเน่าเปื่อย ผุพังไปตาม

กาลเวลา เช่น จากซากพืชซาสัตว์ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก

• ประเภทอนินทรีย์ แบ่งได้เป็น 3 สถานะคือ ของแข็ง ของเหลว

และแก๊ส ในปุ๋ยที่เป็นของแข็งสามารถแบ่งได้เป็นปุ๋ยที่มีไนโตรเจน

เป็นธาตุหลักเพียงธาตุเดียว เช่น ยูเรีย แอมโมเนียซัลเฟต

และปุ๋ยไนโตรเจนที่มีธาตุหลักอีกธาตุหนึ่งเป็นองค์ประกอบ เช่น ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต

โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟตและโพแทสเซียมไนเทรตปุ๋ย ไนโตรเจนเหลวนั้นผลิตจากปุ๋ยแข็งส่วน

แอมโมเนียปราศจากน้ำหรือแอนไฮดรัสแอมโมเนียที่เป็นแก๊สนั้น นอกจากใช้เป็นปุ๋ยโดยตรงแล้วยังใช้

เป็นวัตถุดิบที่ผลิตปุ๋ยไนโตรเจนอีกด้วย

ปุ๋ยฟอสเฟต ปุ๋ยฟอสเฟต คือ การนำหินฟอสเฟตผสมกับทรายและโซ

ดาแอชแล้วเผาที่อุณหภูมิ 1000 - 1200 ◦C ประมาณ 2 ชั่วโมง

นำสารผสมที่ได้จากการเผาเทลงในน้ำเพื่อทำให้เย็นลงทันที

จะได้สารที่มีลักษณะพรุน เปราะและบดละเอียดได้ง่าย

สามารถใช้เป็นปุ๋ยฟอสเฟตที่ให้ไดฟอสฟอรัสเพนตะออกไซด์

(P2O5)ได้ถึงร้อยละ 27.5 จึงเป็นวิธีหนึ่งที่นำหินฟอสเฟตมาใช้อย่างคุ้มค่า SDDD ปุ๋ยโพแทส

ปุ๋ยโพแทส คือ ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ผลิตได้จากแร่ซิลวาไนต์

มาบดให้ละเอียดแล้วทำให้บริสุทธิ์ โดยละลายแร่ในน้ำ

อุณหภูมิประมาณ 90 องศาเซลเซียส เติมสารละลาย NACL อิ่มตัว

และกรองแยกโคลนและตะกอนออก ระเหยน้ำเพื่อให้สารละลายมี

ความเข้มข้นมากขึ้นทำให้ KCL ตกผลึก แยกผลึกออกแล้วอบให้แห้ง


ปุ๋ยโพแทสเซียมซัลเฟต คือ การนำแร่แลงบีไนต์

ปุ๋ยโพแทสเซียมซัลเฟต

(K2SO4∙2MGSO4) มาละลายในน้ำอุณหภูมิประมาณ 50 °C จนเป็นสารละลายอิ่มตัว แล้วเติมสารละลาย KCL เข้มข้นลงไป จะได้ผลึก K2SO4 นอกจากนี้ถ้านำ KCL มาทำปฏิกริยากับ


NANO3 จะได้ปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรต (KNO3)


ปุ๋ยผสม ได้จากการนำปุ๋ยไนโตรเจนฟอสเฟตและโพแทสมาผสมรวมกันเพื่อให้ได้สัดส่วนของธาตุ

อาหารพืชตามที่ต้องการ

มีวิธีการผลิต 2 ลักษณะ ดังนี้ ♦การผลิตในลักษณะเชิงผสม คือ การนำแม่ปุ๋ยและส่วนผสมต่างๆมาบดให้เข้ากันแล้วอัดเป็นเม็ดใน

แต่ละเม็ดจะมีธาตุอาหารตรงตามสูตรที่ต้องการ ส่วนอีกแบบหนึ่งคือการนำแม่ปุ๋ยและส่วนผสมต่างๆ

คลุกเคล้าให้เข้ากันหรือนำแม่ปุ๋ยที่มีขนาดเม็ดใกล้เคียงกันมาผสมกัน เพื่อให้ได้สูตรตามต้องการ และ

อาจมีการบดให้ละเอียดจนเข้ากันดี ทำให้ปุ๋ยแต่ละเม็ดอาจมีธาตุอาหารแตกต่างกัน

เครื่องบดปุ๋ย


เครื่องผสมปุ๋ย


เครื่องอัดเม็ด --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 146.88.50.22 (พูดคุย | ตรวจ) 12:17, 21 มกราคม 2560 (ICT)