พูดคุย:ตำบลป่าแงะ

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตำบลป่าแงะ[แก้]

ประวัติตำบลป่าแงะ[แก้]

ความเป็นมาตำบลป่าแงะ

พื้นที่ตั้งก่อนจะเป็นชุมชนบ้านป่าแงะปัจจุบันนี้นั้น เคยเป็นผืนป่าเบญจพรรณที่อุดมสมบูรณ์ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบระหว่างภูเขา ซึ่งในเวลานั้นชุมชนที่ก่อตั้งอยู่ก่อน จะตั้งอยู่ตามแนวเชิงเขาเป็นส่วนใหญ่ โดยมีชุมชนที่เกิดอยู่ก่อนหน้านั้น ดังนี้ ทิศเหนือ ได้แก่ ชุมชนบ้านสันปูเลย ชุมชนบ้านก๊อ ชุมชนบ้านเชียงเคี่ยน ทิศตะวันออก ได้แก่ ชุมชนบ้านแม่พุง ชุมชนบ้านเกี๋ยง ชุมชนบ้านป่าแดด ทิศใต้ ได้แก่ ชุมชนบ้านโป่ง ชุมชนบ้านโรงช้าง ทิศตะวันตก ได้แก่ ชุมชนบ้านแม่สูน ชุมชนบ้านป่าเส้า เวลานั้นอำเภอป่าแดด ยังคงเป็นเพียงตำบลป่าแดด อยู่ภายใต้การปกครองของอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ในอดีตการทำการเกษตรต้องพึ่งน้ำฝนเป็นหลัก ถึงแม้จะมีแม่น้ำพุงไหลผ่านพื้นที่ตำบลป่าแดดในเวลานั้น ก็ไม่สามารถนำน้ำพุงมาใช้ประโยชน์ได้ อันเนื่องมาจากไม่มีระบบเหมืองฝายมาช่วยผันน้ำเข้าสู่พื้นที่การเกษตร บรรดาผู้นำชุมชนสมัยนั้นจึงได้ ไปชักชวนนายรำจวน ปุณโณฑก ผู้เชี่ยวชาญการทำเหมืองฝายในสมัยนั้น จากจังหวัดเชียงใหม่ เดินทางมาร่วมสร้างระบบเหมืองฝายให้กับพื้นที่ตำบลป่าแดดในเวลานั้น โดยได้เลือกสร้างฝายกั้นลำน้ำแม่พุง( ฝายแม่ด้อง ซึ่งเรียกตามสภาพลำน้ำที่กิ่วแคบ) ซึ่งปัจจุบันอยู่บริเวณใต้ฝายรำจวนเล็กน้อย จากการที่นายรำจวน ปุณโณฑก ได้เดินทางมาสร้างฝายในครั้งนั้น ได้เห็นสภาพพื้นที่ผืนป่าเบญจพรรณที่กว้างขวาง เหมาะแก่การสร้างชุมชน นายรำจวน ปุณโณฑก ได้ตั้งปณิธาน ว่า “จะสร้างป่าให้เป็นเมือง” จึงได้ขายที่ดินและที่นาในจังหวัดเชียงใหม่ และชักชวน เครือญาติผู้ที่สนใจ ร่วมย้ายครัวเรือนมาตั้งครัวเรือน กันในผืนป่าเบญจพรรณดังกล่าว โดยครัวเรือนที่ร่วมเดินทางมาด้วยกัน ประกอบไปด้วย ครอบครัว นายรำจวน นางคำแปง ปุณโณฑก ,นายจุ่ม นางสม สมบูรณ์ชัย ,นายสุพัฒน์ นางนำ ใจปิน ,นายอุ่น นางลูน บุญฟู,นายตุ้ม นางเกี้ยว สุนันท์ หลังจากที่มีฝายแม่พุงและเริ่มสามารถผันน้ำแม่พุงมาใช้ในการเกษตรได้แล้ว ผู้คนในพื้นที่จังหวัดใกล้เคียงที่ได้ทราบข่าวความอุดมสมบูรณ์ของบ้านป่าแงะ จึงเริ่มอพยพย้ายถิ่นฐานมาตั้งบ้านเรือนกันมากขึ้น โดยช่วงแรกจะเป็นผู้คนจากจังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาเป็นผู้คนจากจังหวัดน่าน ,แพร่ โดย ชาวเชียงใหม่ที่อพยพมาส่วนใหญ่เป็นเครือญาติกับนายรำจวน ปุณโณฑก ตั้งบ้านเรือนอยู่รอบ ๆ ของบ้านนายรำจวน ฯ (ปัจจุบันคือบ้านป่าแงะ บ้านสันติสุขและบ้านรำจวน) ชาวจังหวัดน่าน ส่วนใหญ่เลือกตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณทิศตะวันออกของกลุ่มชาวเชียงใหม่(ปัจจุบัน คือบ้านป่าตึง บ้านสามัคคี ) ชาวจังหวัดแพร่ส่วนใหญ่ตั้งบ้านเรือนอยู่ทิศตะวันตกของชาวเชียงใหม่(ปัจจุบัน คือ บ้านถิ่นเจริญ และบ้านหล่ายร้อง) เมื่อชุมชนขยายใหญ่ขึ้นผู้คนอพยพมามากขึ้น นายรำจวน ปุณโณฑก จึงได้นำพาชาวบ้านร่วมกันขุดเหมืองเพื่อสร้างระบบชลประทานเข้าสู่พื้นที่การเกษตร โดยมีค่าตอบแทนเป็นพื้นที่นาหรือเงินค่าจ้าง ตามแต่ชาวบ้านจะเลือกรับ ซึ่งพื้นที่ทำกินในสมัยนั้นแต่ละครอบครัวสามารถเลือกจับจองที่ดินที่ไม่มีเจ้าของไว้ทำกินได้เลย ไม่ว่าจะเป็นผืนป่าเบญจพรรณหรือป่าแฝกป่าอ้อ โดยกลุ่มชาวเชียงใหม่มักจะเลือกป่าแฝกป่าอ้อแผ้วทางเป็นที่นา ส่วนกลุ่มชาวจังหวัดน่านและจังหวัดแพร่จะแผ้วถางป่าทำเป็นนา ต่อมาเกิดวิกฤติ ฝายแม่ด้องที่สร้างไว้เกิดแตก จึงทำให้ไม่สามารถผันน้ำจากแม่น้ำพุงเข้าสู่พื้นที่การเกษตรได้ หลายครอบครัวเกิดภาวะขาดแคลนอาหารอันเนื่องมาจากไม่มีน้ำสำหรับทำนา จึงได้อพยพออกจากบ้านป่าแงะละทิ้งที่ดินที่นาที่เคยทำกิน นายรำจวน ฯ จึงได้นำชาวบ้านสร้างฝายกั้นแม่น้ำพุงอีกรอบ โดยมีขนาดใหญ่กว่าเดิม ซึ่งครั้งนี้ใช้เวลาสร้างอยู่หลายปี กว่าจะเสร็จและก็ทำให้ ฝายกั้นลำน้ำพุงดังกล่าวได้ชื่อว่าฝายรำจวน มาจนถึงปัจจุบัน(ปัจจุบันนี้ฝายรำจวนดั้งเดิมไม่มีแล้วเนื่องจากกรมชลประทานได้สร้างฝายกั้นน้ำพุงแห่งใหม่อยู่เหนือที่ตั้งฝายเดิม) เมื่อพื้นที่ป่าเริ่มเปิดและระบบเหมืองฝายสามารถผันน้ำเข้าพื้นที่นาได้อีกครั้ง จึงทำให้ผู้คนอพยพกันเข้ามามากขึ้น ทั้งมาจากจังหวัดลำปาง ลำพูน พะเยา ชุมชนขยายตัวมากขึ้น เริ่มมีการสร้าง สำนักสงฆ์(วัดป่าแงะเมืองชุมปัจจุบัน) ประมาณปี ๒๔๖๕ สร้างโรงเรียนแห่งแรกของชุมชนบ้านป่าแงะประมาณ ปี ๒๔๘๔ ก่อตั้งเป็นตำบลป่าแงะประมาณปี ๒๔๑๐ มาจนถึงปัจจุบันนี้ ด้านการปกครอง ก่อนจะก่อตั้งเป็นตำบลป่าแงะ นั้น บ้านป่าแงะ อยู่ภายใต้การปกครองของตำบลป่าแดด ซึ่งประกอบไปด้วย หมู่ที่ ๑ บ้านป่าแดด หมู่ที่ ๒ บ้านแม่พุง หมู่ที่ ๓ บ้านโป่ง หมู่ที่ ๔ บ้านโรงช้าง หมู่ที่ ๕ บ้านป่าแงะ หมู่ที่ ๖ บ้านใหม่ใต้ หมู่ที่ ๗ บ้านสัก โดยมี นายสุพัฒน์ ใจปิน เป็นผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้น ต่อมาประมาณ ปี ๒๕๑๒ พื้นที่ตำบลป่าแดด ได้ก่อตั้งเป็นกิ่งอำเภอป่าแดด จึงทำให้มีการแบ่งเขตปกครองจำนวน ๓ ตำบล ได้แก่ ตำบลป่าแดด ตำบลป่าแงะ ตำบลสันมะค่า โดยมีกำนันตำบลป่าแงะคนแรก ชื่อนายอุ่นเรือน คงชนะ แบ่งการปกครอง ๖ หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ ๑ บ้านป่าแงะ หมู่ที่ ๒ บ้านป่าเส้า หมู่ที่ ๓ บ้านใหม่พัฒนา หมู่ที่ ๔ บ้านสันมะเกิ้ม หมู่ที่ ๕ บ้านหล่ายร้อง หมู่ที่ ๖ บ้านป่าตึง ปัจจุบันตำบลป่าแงะแบ่งการปกครองเป็น ๑๘ หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ ๑ บ้านป่าแงะ หมู่ที่ ๑๐ บ้านห้วยลึก(แยกจาก ม.๓) หมู่ที่ ๒ บ้านป่าเส้า หมู่ที่ ๑๑ บ้านสันเจริญ(แยกจาก ม.๒) หมู่ที่ ๓ บ้านใหม่พัฒนา หมู่ที่ ๑๒ บ้านสันติสุข(แยกจาก ม.๑) หมู่ที่ ๔ บ้านสันมะเกิ้ม หมู่ที่ ๑๓ บ้านรำจวน (แยกจาก ม.๑) หมู่ที่ ๕ บ้านหล่ายร้อง หมู่ที่ ๑๔ บ้านศรีดอนชัย (แยกจาก ม.๒) หมู่ที่ ๖ บ้านป่าตึง หมู่ที่ ๑๕ บ้านศรีรุ่งเรือง แยกจาก ม.๓) หมู่ที่ ๗ บ้านร่องเปา (แยกจาก ม.๓) หมู่ที่ ๑๖ บ้านสามัคคี (แยกจาก ม.๖) หมู่ที่ ๘ บ้านหนองสองห้อง(แยกจาก ม.๖) หมู่ที่ ๑๗ บ้านชัยมงคล (แยกจาก ม.๘) หมู่ที่ ๙ บ้านถิ่นเจริญ (แยกจาก ม.๕) หมู่ที่ ๑๘ บ้านใหม่เจริญ (แยกจาก ม.๑๑) แผนที่แบ่งเขตการปกครองตำบลป่าแงะ ๑๘ หมู่บ้าน รายชื่อกำนันตำบลป่าแงะจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ๑. นายอุ่นเรือน คงชนะ ๖.นายสงคราม ปิจดี ๒.นายเพชร สงสัย ๗.นายน้อย สุรินต๊ะ ๓.นายสุรชัย โตบันลือภพ ๘.นายศรีมูล ตาน้อย ๔.นายบุญทา ทะนิจ ๙.นายบุญทอน ปิจดี ๕.นายวงค์ ดวงแก้ว --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ นางศศิวรรณ จักรมูล (พูดคุยหน้าที่เขียน) 19:56, 12 มีนาคม 2563 (ICT)

คัดค้านการลบ[แก้]

เหตุผลที่ไม่ควรลบหน้านี้

ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลของตำบลป่าแงะ อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย มีเนื้อหา อ้างอิงข้อมูลจากเทศบาลตำบลป่าแงะ ซึ่งเหมาะแก่การให้บุคคลทั่วไปศึกษา โดยผู้จัดทำได้รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำประวัติและข้อมูลทุกตำบลของอำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย ที่มีประวัติศาสตร์ เชื่อมโยงไปยังจังหวัดเชียงราย ไม่สมควรลบออก



--นางศศิวรรณ จักรมูล (คุย) 00:11, 15 มีนาคม 2563 (+07) นางศศิวรรณ จักรมูล[ตอบกลับ]

คัดค้านการลบ[แก้]

เหตุผลที่ไม่ควรลบหน้านี้

ข้อความข้างต้นยังแก้ไขยังไม่เสร็จ เมื่อทำการแก้ไขแล้วเสร็จโยจะทำการอ้างอิงเอกสารต่างๆ จึงขอรับงับการลบข้อความไว้ก่อนซึ่งข้อความข้างต้นมีประโยชน์ในการสืบค้นข้อมูล และควรค่าแก่การศึกษาประวัติความเป็นมาของตำบลป่าแงะและตำบลต่างๆที่เชื่อโยงกับวัติอำเภอป่าแดด


--นางศศิวรรณ จักรมูล (คุย) 00:15, 15 มีนาคม 2563 (+07) นางศศิวรรณ จักรมูล[ตอบกลับ]