พูดคุย:จังหวัดนนทบุรีในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การพิจารณาที่นั่งเดิม และที่นั่งใหม่[แก้]

จากการที่พบการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเกี่ยวกับพิจารณาที่นั่งเดิม และที่นั่งใหม่ในหน้าเพจนี้ ผมขอให้ความเห็นดังนี้

การพิจารณาความต่อเนื่องของเขตเลือกตั้งเดิมต้องยึดจำนวนประชากรภายในเขตเลือกตั้งเป็นหลักในการพิจารณา เพราะการแบ่งเขตเลือกตั้งใช้เกณฑ์จำนวนประชากรในการแบ่งเขตเลือกตั้งมาโดยตลอด (ใช้จำนวนประชากรเฉพาะที่มีสัญชาติไทยตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งล่าสุด) การพิจารณาโดยหาผ่านการหาสัดส่วนจำนวนประชากรคงเหลือในเขตเลือกตั้งที่มากจะสามารถสะท้อนความต่อเนื่องของเขตเลือกตั้งเดิมได้ดีที่สุด ในขณะเดียวกัน การใช้ตัวบุคคลในการพิจารณาเขตเลือกตั้งเดิมเป็นสิ่งที่มีอคติ เพราะบางครั้งตัวบุคคลสามารถเลือกไปลงเลือกตั้งในเขตอื่นๆที่ตนคิดว่าได้เปรียบ หรือด้วยเหตุผลทางการเมืองอื่นๆ ทั้งๆที่มีสัดส่วนประชากรในพื้นที่เดิมน้อยกว่า

ดังนั้น เขตเลือกตั้งที่ 7 ในการเลือกตั้งครั้งนี้คือ เขตเลือกตั้งที่ 6 ในการเลือกตั้งปี 2562 เพราะพื้นที่เขตเลือกตั้งในปัจจุบันมีสัดส่วนประชากรเป็นส่วนมากของเขตเลือกตั้งเดิม ในขณะที่เขตเลือกตั้งที่ 6 ในการเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นเขตใหม่เพราะเป็นการรวมพื้นที่สัดส่วนน้อยจากเขตเลือกตั้งที่ 3 และ 5 ในปี 2562 (เขตที่ 3 และ 8 ในปัจจุบัน)ที่ตัดออกไป

ผมได้ทำGG Sheet การเปรียบเทียบเขตเลือกตั้งในกรณีของนนทบุรีไว้ตามลิงก์นี้ครับ[1]

@Pongsak ksm@NorthernTH@Potapt@Iamike@RKC Vakwai ทุกท่านมีความเห็นต่อประเด็นนี้อย่างไรบ้างครับ Ooooooòojkddff (คุย) 22:07, 30 พฤศจิกายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]

สำหรับผมยึดเจ้าของที่นั่งเดิมก่อนครับ สัดส่วนพื้นที่ไว้เทียบว่าเป็นเขตเลือกตั้งใหม่หรือไม่แค่นั้น ไม่งั้นเจ้าของที่นั่งเดิม แต่บอกว่าเป็นเขตเลือกตั้งใหม่ มันขัดแย้งกัน ไม่ตรงกับความเป็นจริง RKC Vakwai (คุย) 22:45, 30 พฤศจิกายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]
ความขัดแย้งที่คุณว่ามันเกิดขึ้นเป็นปกติครับ เนื่องด้วยระบบเลือกตั้งส.ส.เป็นการเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียว เมื่อมีการแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ ตัวบุคคลมักเลือกลงสมัครในเขตที่ตนเองถนัดซึ่งบางครั้งก็ไม่ใช่ตัวเขตพื้นที่หลักเดิมครับ ดังนั้นการพิจารณาจึงควรยึดสัดส่วนประชากรในพื้นที่เดิมเป็นหลักมากกว่าตัวบุคคลครับ
หากจะมีการใช้ตัวบุคคลในการพิจารณาร่วมกับพื้นที่ด้วยนั้น สามารถทำได้ในกรณีของการพิจารณาที่นั่งเดิมที่มีการเปลี่ยนผ่านจากระบบเลือกตั้งแบบหนึ่งเขตหลายคน เป็นเขตเดียวเบอร์เดียว อย่างการพิจารณาที่นั่งเดิมในการเลือกตั้งพ.ศ. 2544 และ 2554 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นหลังจากการเปลี่ยนระบบเลือกตั้งดังที่กล่าวไปครับ
ท่านอื่นๆ มีความเห็นอย่างบ้างครับ Ooooooòojkddff (คุย) 00:20, 1 ธันวาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
ไอ่ประมาณการทางพื้นที่ แล้วมาเทียบประชากร โดยยึดเอาเป็นหลักสถานเดียว ไม่ได้คำนึงถึงพื้นที่เดิมที่ สส.เจ้าของพื้นที่สังกัด ผมว่าไม่ถูกต้อง มันต้องใช้หลายวิธีเปรียบเทียบ ไม่ใช่ยึดวิธีเทียบพื้นที่อย่างเดียว และต้องใกล้เคียงกับความเป็นจริงเวลาข่าวนำเสนอ แม้เทียบพื้นที่คุณว่ามันเป็นเขตใหม่ แต่ข่าวเสนอว่าเขาเป็นเจ้าของพื้นที่เดิมมันก็ไม่ถูกต้อง เหมือนที่อภิปรายใน จ.กรุงเทพมหานคร ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ RKC Vakwai (คุย) 16:13, 1 ธันวาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
ผมว่ากรณีของกรุงเทพไม่ใช่ประเด็นปัญหาแล้วนะครับ ในกรณีนั้นหากใช้เกณฑ์การพิจารณาที่ที่คุณ@NorthernTHเสนอไป เขาก็ให้พิจารณาพื้นที่ และประชากรก่อน แล้วพิจารณา พรรค และบุคคลทีหลัง ซึ่งในกรณีนี้ได้เกิดเหตุการณ์การแปลงเขตครั้งใหญ่จนหลายเขตถูกยุบ จนต้องมีการประนีประนอมด้วยการตัดเขตใหม่ให้เหลือ 3 นั่งพอดี ทั้งๆที่สวนทางกับความเป็นจริง และกรณีเขตคุณณัฐชาก็ไม่ใช่ประเด็นปัญหาเช่นกัน เพราะหากพิจารณาพื้นที่เขตใหม่ บางขุนเทียนที่คุณณัฐชาได้ทั้ง 2 แขวง เหลือเพียงแขวงเดียว แต่โชคดีแขวงที่เหลือเป็นแขวงที่มีจำนวนประชากรส่วนมาก ทำให้เขตเลือกตั้งนั้นยังดำรงสถานะเขตเดิมได้ต่อไป
สำหรับกรณีของนนทบุรี ผมจะขออธิบายเหตุผลเพิ่มเติมดังนี้
1) กรณีเขตเลือกตั้ง 6
เมื่อคุณยึดคุณมานะศักดิ์เป็นหลักของเขตเดิม ทำให้เกิดความย้อนแย้งกับเขตเลือกตั้งเดิมที่คุณมานะศักดิ์เป็นส.ส. มาก่อน
ด้วยเขตเลือกตั้งเดิมของคุณมานะศักดิ์ (เขตเลือกตั้งที่ 3) ประกอบด้วยอำเภอบางกรวยและอำเภอบางใหญ่ (เฉพาะตำบลบางใหญ่ ตำบลบ้านใหม่ และตำบลบางแม่นาง)
เมื่อมาพิจารณากับเขตเลือกตั้งอันเกิดจากพื้นที่ของเขตเลือกตั้งเดิมจะประกอบด้วย
1. เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอบางกรวยและอำเภอเมืองนนทบุรี (เฉพาะตำบลบางไผ่)
2. เขตเลือกตั้งที่ 6 : อำเภอบางใหญ่
จะพบว่าพื้นที่เดิมถูกแบ่งให้กับ 2 เขตเลือกตั้ง และเมื่อมาพิจารณาจำนวนประชากรที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการแบ่งเขตเลือกตั้งแล้ว จะพบว่าพื้นที่ที่มีประชากรส่วนมากของเขตเลือกตั้งเดิมอยู่ที่อำเภอบางกรวย ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 63.61% ในขณะที่พื้นที่อำเภอบางใหญ่ อีก 3 ตำบล คิดเป็นสัดส่วน 36.39%
หากยึดเอาตัวคุณมานะศักดิ์เป็นหลัก มันจะย้อนแย้งตรงที่ว่าเป็นเจ้าพื้นที่เดิมของพื้นที่ส่วนน้อยจากเขตเลือกตั้งเดิม ความต่อเนื่องของเขตเลือกตั้งควรจะยึดพื้นที่ส่วนใหญ่ที่คงเหลือของเขตเลือกตั้งเดิมเป็นหลักมากกว่า ดังนั้น เขตเลือกตั้งที่ 3 ในการเลือกตั้งครั้งนี้จึงมีความต่อเนื่องจาก เขตเลือกตั้งที่ 3 ในปี 62 ส่วนเขตเลือกตั้งที่ 6 ในการเลือกต้ังครั้งนี้ คือเขตใหม่
2) กรณีเขตเลือกตั้งที่ 7 และ 8
ในกรณีนี้ เขตเลือกตั้งเดิมมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก แต่เขตเลือกตั้งทั้ง 2 คือ เขตเลือกตั้งที่ 6 และ 5 ตามลำดับ โดย
2.1 เขตเลือกตั้งที่ 7
กรณีนี้ต้องดูพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 6 เดิม ซึ่งประกอบด้วย อำเภอไทรน้อยและอำเภอบางบัวทอง (เฉพาะตำบลบางบัวทอง ตำบลละหาร ตำบลลำโพ และตำบลบางคูรัด)
เมื่อมีการแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่จะพบว่าพื้นที่เดิมถูกกระจายไปยัง 3 เขตเลือกตั้งดังนี้
1] อำเภอบางบัวทอง (เฉพาะตำบลลำโพและตำบลละหาร) ไปยังเขตเลือกตั้งที่ 5 (สัดส่วน 18.25 % ของพื้นที่เดิม)
2] อำเภอบางบัวทอง (เฉพาะตำบลบางบัวทอง) และอำเภอไทรน้อย (เฉพาะตำบลไทรน้อยและตำบลคลองขวาง) ไปยังเขตเลือกตั้งที่ 7 (สัดส่วน 46.86 % ของพื้นเดิม)
3] อำเภอไทรน้อย (ยกเว้นตำบลไทรน้อยและตำบลคลองขวาง) และอำเภอบางบัวทอง (เฉพาะตำบลบางคูรัด) ไปยังเขตเลือกตั้งที่ 8 (สัดส่วน 34.88 ของพื้นที่เดิม)
จะเห็นได้ว่า พื้นที่ที่แบ่งไปยังเขตเลือกตั้งที่ 7 เป็นพื้นที่ส่วนมากของเขตเดิม และกินสัดส่วนประชากรไปมากที่สุด ถึง 102,201 คน ดังนั้น เขตเลือกตั้งที่ 7 จีงเป็นเขตที่มีความต่อเนื่องจากเขตเลือกตั้งที่ 6 ของปี 62
2.2 เขตเลือกตั้งที่ 8
กรณีนี้ต้องดูพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 5 เดิม ซึ่งประกอบด้วย อำเภอบางใหญ่ (เฉพาะตำบลบางม่วง ตำบลบางเลน และตำบลเสาธงหิน) และอำเภอบางบัวทอง (เฉพาะตำบลบางรักใหญ่ ตำบลบางรักพัฒนา ตำบลพิมลราช และตำบลโสนลอย)
เมื่อมีการแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่จะพบว่าพื้นที่เดิมถูกกระจายไปยัง 3 เขตเลือกตั้งดังนี้
1] อำเภอบางใหญ่ (เฉพาะตำบลบางม่วง ตำบลบางเลน และตำบลเสาธงหิน) ไปยังเขตเลือกตั้งที่ 6 (สัดส่วน 35.45 % ของพื้นที่เดิม)
2] อำเภอบางบัวทอง (เฉพาะตำบลพิมลราช และตำบลโสนลอย) ไปยังเขตเลือกตั้งที่ 7 (สัดส่วน 27.99 % ของพื้นที่เดิม)
3] อำเภอบางบัวทอง (เฉพาะตำบลบางรักพัฒนา และตำบลบางรักใหญ่) ไปยังเขตเลือกตั้งที่ 8 (สัดส่วน 36.56% ของพื้นที่เดิม)
จะเห็นได้ว่า พื้นที่ที่แบ่งไปยังเขตเลือกตั้งที่ 8 เป็นพื้นที่ส่วนมากของเขตเดิม ดังนั้น เขตเลือกตั้งที่ 8 จีงเป็นเขตที่ความต่อเนื่องจากเขตเลือกตั้งที่ 5 ของปี 62
จริงๆ แล้วพื้นที่ส่วนมากของเขตเลือกตั้งเดิมของทั้ง 2 มีสัดส่วนไม่ถึง 50% ทั้ง 2 เขต จนมีแนวโน้มว่าจะเป็นเขตใหม่ทั้งคู่ แต่โชคดีที่พื้นที่ที่ถูกเติมให้เขตเลือกตั้งทั้ง 2 มีสัดส่วนน้อยพื้นที่เดิมที่เหลืออยู่ ทำให้ทั้ง 2 เขตดำรงสถานะเขตเดิมไว้ได้
หากใช้ตัวบุคคลเป็นหลัก ซึ่งได้แก่ คุณวันชัย เจริญนนทสิทธิ์ และคุณภณณัฏฐ์ ศรีอินทร์สุทธิ์ ทั้ง 2 ท่านได้รับผลกระทบอย่างหนักมากจากการแบ่งเขตเลือกตั้งในครั้ง เมื่อดูอย่างคร่าวๆจะมองหาเขตเดิมได้อย่างยากลำบากมาก ซึ่งผมว่าคุณกำลังคิดว่าเขตเลือกตั้งทั้ง 2 ควบรวมกัน ซึ่ง ณ วินาทีแรกที่ผมมอง ผมก็มองคล้ายๆกับคุณ แต่เมื่อนำการคำนวนวิเคราะห์สัดส่วนพื้นที่มาใช้ จะพบว่าเขตเลือกตั้งของ ทั้ง 2 คน ไม่ได้ถูกควบรวมแต่อย่างใด เพียงถูกแบ่งใหม่ให้สอดรับการข้อกำหนดจำนวนประชากรต่อเขตเลือกตั้งห้ามมากกว่ามหรือน้อยกว่าค่าเฉลี่ยประชากรต่อเขตของจังหวัดไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 เท่านั้นั้น
จะเห็นได้ว่า การใช้ตัวบุคคลในการตัดสินความต่อเนื่องของเขตเลือกตั้ง และที่นั่ง ทำได้ยากลำบาก และเติมไปด้วยอุปสรรค และความย้อนแย้ง การคำนวนสัดส่วนประชากรในเขตเลือกตั้งเดิม และใหม่จึงช่วยขจัดปัญหา และอุปสรรคในพิจารณา และสะท้อนความต่อเนื่องของเขตเลือกตั้งในแต่ละครั้งได้ชัดเจนกว่า เพราะอยู่บนฐานของการสร้างเขตเลือกตั้งบนฐานประชากร (การใช้จะอ้างอิงข่าวเรื่องเจ้าของพื้นที่จึงเป็นสิ่งที่ยากจะอ้างอิงได้ เพราะบางครั้งนักข่าวที่ต้องทำเนื้อข่าวก็ต่อรีบทำให้ทันส่ง อาจจะเก็บละเอียด หรือข้อสังเกตบางอย่างไม่ครบถ้วน) Ooooooòojkddff (คุย) 23:25, 2 ธันวาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
ตอบความคิดเห็นที่ให้ผมแสดงในเขตเลือกตั้งที่ 3, 5 และ 6 ในปี พ.ศ. 2566 เทียบกับ เขตที่ 3, 6, 7 และ 8 ปี พ.ศ. 2562 จ. นนทบุรี ในเพจอภิปรายของ จ. ชลบุรี
เขตเลือกตั้งที่ 3 พ.ศ. 2566 ให้เป็นเขตที่ไม่มีพื้นที่เจ้าของเดิม เพราะ เจ้าของพื้นที่เดิมอย่าง คือ
มานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ ลงในเขตที่ 6 พ.ศ. 2566 ซึ่งมีพื้นที่ อ.บางใหญ่ ทับซ้อนเขตที่ 3 พ.ศ. 2562 และเจ้าของพื้นที่ในตำแหน่งนายกเทศมนตรีอย่างตระกูล วันชาญเวศ ก็ยังไม่พบความเกี่ยวข้องกับ เพื่อไทย ตามข่าว จึงไม่สามารถเป็นเจ้าของพื้นที่เดิมแทน มานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ link : https://today.line.me/th/v2/article/gzNJ6Qm และ https://www.dailynews.co.th/articles/2306438/
เขตเลือกตั้งที่ 6 พ.ศ. 2566 สืบเนื่องจากเขตเลือกตั้งที่ 3 เจ้าของพื้นที่เดิมคือ พรรคเพื่อไทย ครับ
เขตเลือกตั้งที่ 7 พ.ศ. 2566 เป็นของพรรคเพื่อไทย ลักษณะพื้นที่เหมือนแบ่งแยกออกมาจากเขตเลือกตั้งที่ 8 และส่งญาติบ้านใหญ่ นนทบุรี อย่าง วิเชียร เจริญนนทสิทธิ์ จึงใช้เหตุการณ์ของคุณวันชัยเทียบเคียงในเขตเลือกตั้งที่ 8
เขตเลือกตั้งที่ 8 พ.ศ. 2566 เป็นของพรรคเพื่อไทย ตระกูลเจริญนนทสิทธิ์ อย่าง วันชัย เจริญนนทสิทธิ์ เจ้าของพื้นที่ย้ายจาก เพื่อไทย ไปอยู่พรรคเพื่อไทย โดยลาออกจากพรรคเพื่อไทยวันที่ 28 ธันวาคม 2565 link : https://mgronline.com/politics/detail/9650000123337 ก่อน 180 วันเมื่อนับจากวันยุบสภาพ แค่ 2 วัน เลยตกอยู่ในข้ออภิปรายใน จ.กรุงเทพมหานคร กลุ่มที่ลาออกกลางสมัยไปสังกัดพรรคใหม่ โดยให้ยึด พรรคเจ้าของพื้นที่เดิมที่ได้ใน ปี พ.ศ. 2562 ก็คือ พรรคเพื่อไทย เพราะ เขตที่ 4 และ 5 ในปี พ.ศ. 2562 เพื่อไทยได้ทั้งคู่ RKC Vakwai (คุย) 14:34, 6 ธันวาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
ผมตั้งข้อสังเกตคำอธิบายของคุณ
1. ถ้าคุณมองว่าแล้วต้องใช้ตัวบุคคล แล้วกรณีภณณัฏฐ์ล่ะ คุณจะอธิบายอย่างไร
2. ถ้าคุณบอกว่าใช้ตัวบุคคลส.ส.เดิมทั้งหมด แต่คุณนำบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ใช้ส.ส.เดิมเป็นตัวพิจารณาหลักด้วยตามที่คุณเคยมาแล้ว
3. คำวางอธิบายที่ใช้นั้น ดูเหมือนว่าคุณคิดแบบปัจจุบันทันด่วนนะ ผมว่าคุณว่าไม่ได้ทำการบ้านตั้งแต่แรก ซึ่งหมายความว่าหลักการของคุณไม่ชัดเจนตั้งแต่แรก และมาค่อยเพิ่มหลักการไปเรื่อยๆเพื่อให้เหตุผลของคุณดูน่าเชื่อถือ เมื่อต้องมาเจอเคสยากๆ
4. การให้เหตุผลของคุณ พิสูจน์ให้เห็นตามเหตุผลที่ผมแย้งว่า ตัวบุคคลลื่นไหลได้ตลอดเวลาตามแต่ความได้เปรียบในเชิงยุทธศาสตร์ไม่ว่าเป็นในระดับบุคคล หรือระดับกลุ่มการเมือง การยึดเขตเลือกเดิมตามตัวบุคคล โดยไม่ยึดโยงการความต่อเนื่องของเขตเลือกตั้งจะทำให้ภาพความต่อเนื่องของเขตเลือกตั้งไม่สอดรับกัน
5. เขตเลือกตั้งบางใหญ่ ตามประวัติแล้วเกิดขึ้นครั้งแรกในการเลือกตั้งในปี 2557 ในฐานะเขตเลือกตั้ง บางใหญ่ บางคูรัด จากการนนทบุรี ได้ส.ส.เพิ่มขึ้นจาก 6 เป็น 7 เขต โดยในเวลานั้นเป็นการรวมกันของพื้นที่ประชากรส่วนน้อยจากเขตเลือกตั้งที่ 3, 5 และ 6 แต่ในการเลือกตั้งในปี 2562 เขตเลือกตั้งนี้ได้ถูกยุบ และพื้นที่เดิมได้กระจายไปอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ได้แก่เขตเลือกตั้งที่ 3, 5 และ 6 ก่อนพื้นที่ตำบลต่างๆในอำเภอบางใหญ่ของเขตที่ 3 และ 5 จะถูกนำกลับมารวมกันอีกครั้งใน เขตเลือกตั้งที่ 6 ที่เราเห็นในการเลือกตั้งครั้งนี้ Ooooooòojkddff (คุย) 11:54, 7 ธันวาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
ตอบข้อที่ 3 ไม่ได้คิดแบบปัจจุบันทันด่วน เพราะ พื้นที่ นนทบุรี ผมได้ทำการลงข้อมูล " ก่อนที่จะมีการสรุปผลในการอภิปรายที่ จ.กรุงเทพมหานคร " จึงไม่แปลกที่ผลการสรุปจะไม่เหมือนเดิม เมื่อได้รับผลการสรุปผลในการอภิปรายที่ จ.กรุงเทพมหานคร เกณฑ์ผมก็ต้องปรับตามผลสรุปไงครับ RKC Vakwai (คุย) 20:44, 7 ธันวาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
เท่าที่ผมจำได้ และเช็คประวัติ คุณทำของนนทบุรี หลังจากที่เคลียร์เรื่องกรุงเทพฯแล้วครับ Ooooooòojkddff (คุย) 19:19, 8 ธันวาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]