พีแอลดี
หน้าตา
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
พีแอลดี (อังกฤษ Programmable Logic Devices, PLDs) เป็นไอซีที่ใช้สร้างวงจรดิจิทัล แต่มีจุดที่แตกต่างจากลอจิกเกตตรงที่ฟังก์ชันการคำนวณไม่ได้ถูกกำหนดตั้งแต่ตอนผลิต ผู้ที่นำพีแอลดีไปใช้ต้องโปรแกรมพีแอลดีก่อนจึงจะนำไปใช้ในวงจรได้
พีแอลดีมีหลายขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กที่สามารถสังเคราะห์ 2 ถึง 10 ฟังก์ชัน (หรือสัญญาณออก) ของตัวแปร (หรือสัญญาณเข้า) 4 ถึง 6 ตัว ไปจนถึงฟังก์ชันขนาดใหญ่ที่ซับซ้อน มีทั้งชนิดวงจรจัดกลุ่ม (Combinational PLD) และวงจรลำดับ (Sequential PLD) การใช้พีแอลดีมีข้อดีคือสามารถใช้แทนที่ไอซีขนาดเล็ก (Small scale integration, SSI) และขนาดกลาง (Medium scale integration, MSI) หลาย ๆ ตัวในการรวมวงจร อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงการออกแบบสามารถทำได้โดยง่ายโดยการเปลี่ยนโปรแกรมของ พีแอลดีโดยไม่ต้องแก้ส่วน Wiring ในระบบ
ชนิดที่มีของพีแอลดี
[แก้]- PLA (Programmable Logic Array)
- PAL (Programmable Array Logic)
- EPLD (Erasable PLDs)
- PEEL (Programmable Electrically Erasable Logic)
- GAL (Generic Array Logic)