ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หลวงพ่อกลั่น ธมฺมโชติ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Armonthap (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8.1
บรรทัด 22: บรรทัด 22:


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
* [http://www.khwunchai.is.in.th/?md=content&ma=show&id=4 ประวัติหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม]
* [http://www.khwunchai.is.in.th/?md=content&ma=show&id=4 ประวัติหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20110831235437/http://www.khwunchai.is.in.th/?md=content&ma=show&id=4 |date=2011-08-31 }}
* [http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=39481 หลวงพ่อกลั่น ธมฺมโชโต]
* [http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=39481 หลวงพ่อกลั่น ธมฺมโชโต]
* [http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-klun/lp-klun-hist-01.htm หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม]
* [http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-klun/lp-klun-hist-01.htm หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:12, 3 ตุลาคม 2564

พระอธิการกลั่น ธมฺมโชติ

(กลั่น ธมฺมโชติ)
ชื่ออื่นหลวงพ่อกลั่น
ส่วนบุคคล
เกิดพ.ศ. 2390 (87 ปี)
มรณภาพพ.ศ. 2477
นิกายมหานิกาย
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดพระญาติการาม พระนครศรีอยุธยา
อุปสมบทพ.ศ. 2417
พรรษา60
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระญาติการาม

หลวงกลั่น ธมฺมโชติ ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2390 ตรงกับปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาเจษฎาบดินทร์ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ณ ต.อรัญญิก อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ครอบครัวหนึ่งซึ่งมีฐานะยากจนได้ให้กำเนิดเด็กชายผู้มีบุญมาเกิด นามว่า "กลั่น" ในสมัยเด็ก ท่านต้องช่วยพ่อแม่ทำงานตามลำพัง และเพียงลำพังคนเดียว ทำให้ท่านเป็นคนเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว จนกระทั่งเมื่อมีอายุได้ 27 ปี ท่านได้อุปสมบท ณ วัดโลกยสุธาศาลาปูน โดยมี พระญาณไตรโลก (สอาด) ต่อมาเป็นพระธรรมราชานุวัตร (อาจ) เจ้าคณะใหญ่อยุธยา เป็นพระอุปัชฌายะ พระครูกุศลธรรมธาดา วัดขุนยวน (วัดพรหมนิวาส) กับ พระอธิการชื่น วัดพระญาติฯ เป็นคู่สวด ได้ฉายาว่า ธมฺมโชติ แปลว่า เป็นผู้สว่างในทางธรรม หลังจากนั้นท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดประดู่ทรงธรรม ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัย และ เรียนรู้วิชาอาคม จนแตกฉาน เมื่อฝึกฝนวิชาต่าง ๆ จนเชี่ยวชาญแล้ว จึงได้ออกธุดงค์ไปทั่วป่าเขาลำเนาไพรเผชิญสัตว์ร้ายนานา จากออกธุดงค์ มาถึงวัดพระญาติการามในเวลาค่ำ ท่านพิจารณาว่า วัดนี้เงียบสงบดี เหมาะแก่การบำเพ็ญสมณธรรม สามารถเจริญสมาธิและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้สะดวก ท่านจึงได้ปักกลดพักอยู่ที่บริเวณวัดในคืนนั้น หลวงพ่อกลั่นท่านยังมีวิชาลูกเบา หรือวิชาชาตรี ซึ่งเป็นวิชาอยู่ยงคงกระพันวิชาหนึ่งขอท่าน อำนาจจิตของหลวงพ่อกลั่นนั้นมากมาย เรื่องนี้หลวงพ่ออั้นอุปัฏฐาก หลวงพ่อกลั่นได้เล่าให้ลูกศิษย์ฟังถึงครั้งที่เรียนวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อกลั่นว่า ขณะที่เรียนกรรมฐานนั้นหลวงพ่อกลั่นได้ให้หลวงพ่ออั้นไปนั่งปฏิบัติในโบสถ์ หลวงพ่อท่านมีพระปฏิปทาที่ดี ท่านถึงแก่มรณภาพเมื่อปี พ.ศ. 2477 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร

อ้างอิง