ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาวไทพวน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Komsun875 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่
Komsun875 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่
บรรทัด 5: บรรทัด 5:


== วิถีชีวิต ==
== วิถีชีวิต ==
ชาวไทพวน หรือลาวพวน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เมื่อว่างจากการทำนาก็จะประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผู้ชายจะสานกระบุง ตะกร้า และเครื่องมือหาปลา ส่วนผู้หญิงจะทอผ้า ที่มีชื่อเสียงคือ "ผ้ามัดหมี่ลพบุรี" อาหารที่ชาวไทพวนนิยม คือ [[ปลาร้า]] นิยมทานขนมจีนและข้าวหลามในงานบุญ [[ปลาส้ม]] ส่วนอาหารอื่น ๆ จะประกอบขึ้นจากวัตถุดิบในท้องถิ่น
ชาวพวนมีนิสัย รักความสงบ ใจคอเยือกเย็น มีความโอบอ้อมอารี ยึดมั่นในศาสนา รักอิสระ มีความขยันขันแข็งในการการประกอบอาชีพ เมื่อว่างจากการทำไร่ทำนาก็จะทำงานหัตถกรรม คือ ผู้ชายจะสานกระบุง ตะกร้า เครื่องมือหาปลา ส่วนผู้หญิงจะทอผ้า ซึ่งรู้จักกันแพร่หลายในปัจจุบันคือ ผ้ามัดหมี่ลพบุรี


ชาวไทพวนมีความเชื่อเรื่องผี มีศาลประจำหมู่บ้านเรียกว่า ศาลตาปู่ หรือศาลเจ้าปู่บ้าน รวมทั้งการละเล่นก็มีผีนางด้ง ผีนางกวัก มีประเพณีใส่กระจาด(เส่อกระจาด) ประเพณีกำฟ้า(กำฟ้าพาแลง) เป็นประเพณีเอกลักษณ์ ซึ่งเป็นการสักการะต่อธรรมชาติและผี
อาหาร ของชาวไทยพวนที่มีประจำทุกครัวเรือนคือ ปลาร้า เมื่อมีงานบุญมักนิยมทำขนมจีน และข้าวหลาม ส่วนอาหารอื่น ๆ จะเป็นอาหารง่าย ๆ ที่ประกอบจากพืชผัก ปลา ที่มีในท้องถิ่น เช่น ปลาส้ม ปลาส้มฟัก เป็นต้น ในด้านความเชื่อนั้น ชาวพวนมีความเชื่อเรื่องผี จะมีศาลประจำหมู่บ้านเรียกว่า ศาลตาปู่ หรือศาลเจ้าปู่บ้าน รวมทั้งการละเล่นในเทศกาลก็จะมีการเล่นผีนางด้ง ผีนางกวัก ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวพวนคือ ประเพณีใส่กระจาด ประเพณีกำฟ้า ซึ่งเป็นประเพณีที่แสดงถึงการสักการะฟ้า เพื่อให้ผีฟ้า หรือเทวดาพอใจ เพื่อไม่ให้เกิดภัยพิบัติ


วัฒนธรรมด้านภาษา ชาวพวนจะมีภาษาเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน ภาษาของไทยพวน ใช้ภาษาไทยแท้เสียงวรรณยุกต์ใกล้เคียงกับภาษาภาคกลางมากกว่า เสียงของชาวภาคอีสานส่วนมากเช่น แม่ก็ออกเสียงว่า แม่ ตรงกับภาษาภาคกลางไม่ใช่แหม่ น้ำก็ออกเสียงว่า น้ำ ไม่ใช่ น่าม เมื่อเทียบเคียงกับภาษาไทยสาขาอื่น เห็นว่าใกล้เคียงกับภาษาผู้ไทย หรือ ไทยภู และภาษาย้อ คือ ออกเสียงสระไอไม้ม้วนเป็นเสียงสระเออ เช่น ใต้ ออกเสียงเป็น เต้อ ให้ ออกเสียงเป็น เห้อ เป็นต้น ขนบธรรมเนียมประเพณีก็คล้ายคลึงกัน นับถือพระพุทธศาสนามั่นคงเช่นเดียวกัน แต่ปัจจุบันภาษาเขียนจะไม่มีคนเขียนได้ ยังคงเหลือเพียงภาษาพูด ซึ่งมีสำเนียงคล้ายเสียงภาษาถิ่นเหนือ อักษร "ร " ในภาษาไทยกลาง จะเป็น "ฮ" ในภาษาพวน เช่น รัก - ฮัก หัวใจ - หัวเจอ ใคร - เผอ ไปไหน - ไปกะเลอ
ภาษาของชาวไทพวนมีสำเนียงคล้าย[[ภาษาถิ่นเหนือ]] คงเหลือแต่เพียงภาษาพูด ภาษาเขียนแทบจะไม่มีคนเขียนได้แล้ว

ปัจจุบันชาวพวนในแต่ละจังหวัดยังคงสภาพความเป็นสังคมเกษตรกรรม ยังมีความผูกพันกัน แน่นแฟ้นในหมู่ชาวพวน และมีความสัมพันธ์อันดีกับชาวไทยกลุ่มอื่น ทั้งยังคงพยายามรักษาประเพณี วัฒนธรรมของเผ่าพันธ์อย่างดีแต่เพราะความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ และสภาพสังคม เศรษฐกิจ ที่เปลี่ยนไป ทำให้วิถีชีวิตของชาวพวนเปลี่ยนไปจากเดิมบ้าง เช่น ภาษาพูด คนหนุ่มสาวจะนิยมพูดภาษาไทยกลาง แม้จะอยู่ในหมู่เดียวกัน หรือประเพณีพื้นบ้านบางอย่างก็มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจ เช่น แต่เดิมประเพณีใส่กระจาด ประเพณีเทศน์มหาชาติ จะจัดทำทุกปี และมีการทำอาหารเลี้ยงดู และใส่กระจาดกันทุกบ้าน
สิ่งของเครื่องใช้

เมื่อก่อนส่วนใหญ่จะมีอาชีพทำนา โดยมีเครื่องมือทำนา คือ แอก เฝือ ไถ ล่อ ใช้วัวใช้ควาย ใช้ โซ๊ะ วิดน้ำตอนที่นาไม่มีน้ำ อาหารโดยทั่วไปจะกินน้ำพริกกินผักที่มีอยู่ตามธรรมชาติเช่น ผักแคบ ผักบุ้ง ผักกาด ผักระ มีเห็ด ในหน้าฝน หน่อไม้จะมีในหน้าฝน ถ้าหาปูหาปลากบเขียดก็ขุดเอา แล้วนำไป แกงแค ทำแจ่ว ขนมของหวาน จะมี ขนมแหนบ ข้าวต้ม ลอดช่อง ขนมมะเกลือ ขนมมะแตงทำมาจากแตง ขนมตาลทำมาจากลูกตาล ขนมกล้วยทำมาจากกล้วยน้ำว้า ขนมแดง ใส่กะทิมะพร้าวน้ำอ้อยเคี่ยวให้แดงแล้วนำข้าวเหนียวนึ่ง ใส่ลงไปแล้วกวนให้แดง

เครื่องมือในการตีเหล็ก
มีสูบเป่าลมให้เหล็กแดง ค้อนเหล็ก เอาท่อนไม้มาเจาะหลุม เรียกว่า ทั่ง

สิ่งของ เครื่องใช้ทั่วไปและของใช้ในครัว
ซา เปาะ กระด้ง ก๋วย น้ำเต้าใส่น้ำ บังคอกใส่น้ำ หม้อดินใช้ทำกับข้าว หม้อน้ำใสน้ำกิน หามบุง โสง ครก จานช้อนสังกะสี โม่ที่ใช้โม่แป้ง

เครื่องมือจับปลา ล่าสัตว์
แห แน่ง น่าง จำยอ ตุ้ม แห่ว ไซร สุ่ม ข่อง หิง

เครื่องมือในการตีเหล็ก
มีสูบเป่าลมให้เหล็กแดง ค้อนเหล็ก เอาท่อนไม้มาเจาะหลุม เรียกว่า ทั่ง

เครื่องใช้ทั่วไป
ซา เปาะ กระด้ง ก๋วย น้ำเต้าใส่น้ำ บังคอกใส่น้ำ หม้อดินใช้ทำกับข้าว หม้อน้ำใสน้ำกิน หามบุง โสง ครก

เครื่องมือจับปลา ล่าสัตว์
สุ่ม ข่อง หิง แห แน่ง น่าง จำยอ ตุ้ม แห่ว ไซร

เครื่องดนตรี
ปี่ ขลุ่ย ซอ สล้อ ซึง กลอง

เครื่องชั่ง
ชั่งค่อนก้อม ชั่งลำหาบ ขนานทำจากไม้ไผ่สานแล้วไปเทียบกับลิตร
1 กระบุงมี 35 ลิตร
2 บุง เรียก หาบ มี 70 ลิตร
1 หาบ มี 70 ขนาน
2 หาบ มี 70 ถัง 140 ลิตร

อาวุธ
หน้าไม้ คล้ายธนูแต่ใช้ลูกดินยิง หอก ดาบ ปืน ลูกปืนทำมาจากลูกตะกั่ว

เครื่องมือทอผ้า
มี กี่ พัดลอด หลา ธงมะล่อ กำฟั่น คอฟึม

เครื่องมือสร้างบ้าน
ค้อน ลูกดิ่ง สิ่ว เลื่อย ระเมาะ มรู เวลาเทียบระดับมีหลอดน้ำมีแก้วอยู่ตรงกลาง เวลาดูว่าเท่ากันดุจากน้ำอยู่ในแก้ว

เครื่องทุนแรง มีเกวียน สแลง กะโค่

การทำตุ้มน้ำ
ขุดดินโคลนใต้น้ำ นำมาปั้นแต่งให้เป็นรูปโอ่ง เอาอิฐมอญมาก่อตามรูปโอ่งที่ปั้นไว้ เอาสตายฉาบให้ได้ความหนาประมาณ 2 นิ้ว ใช้สีฝุ่นลงเป็นสีแดง สีฝุ่นทำมาจากก้อนอิฐที่เผาไฟให้แดงมาบดให้ละเอียด เอาดินออกเอาอิฐมอญออก ทำขอบปากทีหลัง

การทำสุ่มไก่
นำไม้ไผ่มาลบเสี้ยนออก สานให้เป็นรูปโดยคนสานจะต้องอยู่ตรงกลางด้านใน สุ่มไก่จะต้องหงายขึ้น โดยมีเส้นหลักแล้วใช้เส้นเล็กสานสลับไปมา มีไม้สลักกันหลุดออกจากกัน

อาหารการกิน
อาหารการกิน กินอาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ กินผักตามรั้วบ้านนิยมกินผักนึ่งมากกว่าผักต้ม ผักที่ปลูกตามบ้านตามไร่ตามนา อาหารประเภท ปู ปลาออกไปหาตามไร่ ตามนา เอาไปแกงแค คั่ว แจ่ว ปลาเต้นที่ทำมาจากปลาซิวและน้ำพริกมะเด่นทำจากมะเขือเทศเป็นอาหารที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมมากของคนไทยพวน
อาหาร ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ปลาเต้น ทำมาจากปลาซิวสด ๆ น้ำพริกมะเด่น ทำมาจากมะเขือเทศ อาหารทั่วไปจะมีแกงแค คั่ว แจ่ว ส่วนประกอบของอาหารที่ใส่อาหารเกือบทุกประเภทจะมี น้ำปู ทำมาจากปู ปลาร้า ทำมาจากปลาโดยนำไปหมัก ออกไปหาปูหาปลาในนา ตามแม่น้ำยม หนองน้ำ

ปลาเต้น มีเครื่องปรุงดังนี้
- ปลาซิวสด
- หัวปลี
- หน่อไม้ส้ม
- พริก ข่า ตะไคร้ หัวหอม
- น้ำปลาร้า

มีวิธีการทำเริ่มจากตำ พริก ข่า ตะไคร้ หัวหอม ต้มน้ำปลาร้าให้หอม หั่นหัวปลีใส่ หน่อไม้ส้มใส่ เคล้าเครื่องปรุงทั้งหมดกับปลาซิวสด ลักษณะของปลาเต้นตอนกินปลาซิวยังไม่ตายดิ้นได้เขาจึงเรียกว่า ปลาเต้น เป็นอาหารที่มีชื่อเสียงมาก ในสมัยก่อนนิยมกินอาหารดิบมาก ลาบปลาก็ดิบ ลาบเลือด แต่พอการแพทย์ได้เข้ามามีบทบาทจึงมีการให้เลิก กินอาหารดิบ เพราะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคพยาธิใบ้ไม้ดับ มีคนเสียชีวิตกับโรคนี้จำนวนมาก

แจ่วมะเด่น มีเครื่องปรุงดังนี้
มะเขือเทศ
พริกสด
ปลาร้า
กระเทียม

มีวิธีการทำเริ่มจากนำกระเทียมใส่เกลือแลัวตำ พริกสดปิ้งไฟหลังจากนั้นนำไปตำ มะเขือเทศก็นำไปปิ้งไฟ นำมาปลาร้ามาสับห่อด้วยใบตองแล้วนำไปหมกไฟ แล้วนำส่วนผสมทั้งหมดมาตำรวมกัน กินกับมะเขือ แตง ถั่ว
ฝอเขียด มีส่วนผสมดังนี้คือ
เขียด มะแว้งเขือ พริกสด เกลือ หอม ปลาร้า มะเขือแจ้ ขมิ้น ข่า ตะไคร้ กระเทียม
มีวิธีทำดังนี้คือ นำกระเทียมใส่เกลือ ข่า ตระไคร้ หั่น ขมิ้น ตำให้ละเอียด พริกแห้งนำไปเผาไปนิหน่อย นำไปตำรวมกับเครื่องที่ตำไว้ ใส่ปลาร้า เขียดเอาขี้ออกมาสับให้ละเอียด นำไปคั่ว นำส่วนผสมทั้งหมดไปผัดรวมกันให้หอม ใส่มะแว้งเขือ มะเขือแจ้ ใส่น้ำนิดหน่อยคนให้เข้ากัน

ตามจาง มีส่วนผสมดังนี้คือ
หน่อไม้ดอง กระเทียม แคบหมู พริกยาว ใบกำก็
มีวิธีทำดังนี้คือ นำหน่อไม้ไปลวก โครกพริกสด กระเทียม แคบหมู ให้เข้ากันใส่หน่อไม้ ใบกำก็คลุกเคล้าให้เข้ากัน

แกงยอดขี้เหล็ก ส่วนผสมดังนี้คือ
ยอดขี้เหล็ก พริก หอม ปลาร้า ปลาทูเค็ม
มีวิธีทำดังนี้คือ นำยอดขี้เหล็กอ่อนไปล้างน้ำ นำไปต้ม โครกพริกหอมส่วนต่าง ๆให้เข้ากัน ใส่ลงไปใส่น้ำปลาร้า กินกับปลาทูเค็มปิ้ง


== ถิ่นอาศัยในประเทศไทย ==
== ถิ่นอาศัยในประเทศไทย ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:45, 1 มีนาคม 2558

ชาวไทพวน หรือ ชาวลาวพวน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไท ใช้ภาษาพวน ซึ่งเป็นตระกูลภาษาไท-กะได อาศัยอยู่ในหลายจังหวัดของประเทศไทย เดิมอาศัยอยู่ในประเทศลาว

ประวัติ

พวน (Phuen, Puen) เป็นคำที่เรียกกลุ่มชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแคว้นเชียงขวางหรือบริเวณที่ราบสูง ในประเทศสาธารณรัฐธิปไตยประชาชนลาว มีอาณาเขตติดต่อกับญวน ได้ชื่อว่าพวน เพราะเชียงขวางมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านพื้นที่ ชื่อแม่น้ำพวน ชาวพวนนิยมตั้งถิ่นฐานสร้างที่ทำกิน บริเวณลุ่มแม่น้ำ ด้วยมีอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ไถนา ชาวพวนได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยหลายครั้งด้วยกัน คือ สมัยกรุงธนบุรีตอนปลาย สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งที่ไทยยกทัพไปปราบฮ่อ เมื่ออพยพมาอยู่ในประเทศไทย จึงเลือกสถานที่สร้างบ้านเรือนอยู่ตามแม่น้ำลำคลอง สังเกตได้จากชาวไทยพวนอำเภอปากพลี จะสร้างบ้านอยู่ตามลำคลองตลอดแนว ตั้งแต่ตำบลหนองแสง ตำบลเกาะหวาย ตำบลเกาะโพธิ์ จนถึงตำบลท่าเรือ เป็นต้น ที่อำเภอเมืองนครนายก จะมีชาวไทยพวนอาศัยอยู่ที่ตำบลสาริกาและตำบลเขาพระชาวไทยพวนในจังหวัดนครนายก เชื่อกันว่า อพยพเข้ามาในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ประมาณ ปี พ.ศ. 2322 เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงโปรดเกล้าให้ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์และหัวเมืองต่างๆ ซึ่งมีชื่อเรียกรวมกันว่า หัวพันทั้งห้าทั้งหก ประกอบด้วย เมืองคำม่วน เมืองคำเกิด เมืองเวียงไชย เมืองไพศาลลี เมืองซำเหนือ และเมืองเชียงขวาง ได้กวาดต้อนเอาลาวเวียง(ลาวเวียงจันทน์) ลาวพวนและลาวโซ่ง มาไว้ที่เมืองร้าง (เพราะถูกพม่ากวาดต้อนราษฎรไปตั้งแต่สมัยกรุงศรัอยุธยาเสียแก่พม่า เมื่อ พ.ศ. 2310) เช่นเมืองสระบุรี ลพบุรี นครนายก และฉะเชิงเทรา ระยะที่สอง ในราวปี พ.ศ. 2335 สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมืองแถงและเมืองพวนแข็งข้อต่อเมืองเวียงจันทน์ เจ้าเมืองเวียงจันทน์จึงได้ยกทัพไปปราบ และกวาดต้อนครอบครัวลาวทรงดำ(ลาวโซ่ง)และลาวพวนส่งมากรุงเทพฯ ลาวทรงดำถูกส่งไปอยู่ที่เพชรบุรี ลาวพวนถูกส่งมาที่เมืองลพบุรี สระบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา ราชบุรีและจันทบุรี ด้วย ระยะที่สาม ในราวปี พ.ศ. 2370 เจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ ก่อกบฏต่อกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าให้พระยาราชสุภาวดี(เจ้าพระยาบดินทร์เดชา) เป็นแม่ทัพ ขึ้นไปปราบกบฏ และได้กวาดต้อนครอบครัวลาวพวนมาไว้ที่อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว จังหวัดลพบุรี และจังหวัดพิจิตร เป็นต้น ชาวไทยพวน มีอุปนิสัยยิ้มแย้มแจ่มใส โอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และรักสงบ ยึดมั่นใน ขนบธรรมเนียมประเพณี มีวัฒนธรรม มีภาษา มีความผูกพันในระบบเครือญาติ เผ่าพันธุ์ เป็นเอกลักษณ์ของตนเองมาช้านาน ชาวไทยพวนจะพูดได้ทั้งภาษาไทยกลาง และภาษาไทยพวน โดยจะใช้ภาษาไทยกลางพูดกับคนต่างถิ่น แต่จะพูดภาษาไทยพวนกับกลุ่มชนเดียวกัน ภาษาพูดของไทยพวนมีสำเนียงไพเราะ ซึ่งจะแตกต่างจากภาษาพูดของลาวเวียง ที่มีสำเนียงสั้นๆห้วนๆ

วิถีชีวิต

ชาวพวนมีนิสัย รักความสงบ ใจคอเยือกเย็น มีความโอบอ้อมอารี ยึดมั่นในศาสนา รักอิสระ มีความขยันขันแข็งในการการประกอบอาชีพ เมื่อว่างจากการทำไร่ทำนาก็จะทำงานหัตถกรรม คือ ผู้ชายจะสานกระบุง ตะกร้า เครื่องมือหาปลา ส่วนผู้หญิงจะทอผ้า ซึ่งรู้จักกันแพร่หลายในปัจจุบันคือ ผ้ามัดหมี่ลพบุรี

    อาหาร ของชาวไทยพวนที่มีประจำทุกครัวเรือนคือ ปลาร้า เมื่อมีงานบุญมักนิยมทำขนมจีน และข้าวหลาม ส่วนอาหารอื่น ๆ จะเป็นอาหารง่าย ๆ ที่ประกอบจากพืชผัก ปลา ที่มีในท้องถิ่น เช่น ปลาส้ม ปลาส้มฟัก เป็นต้น ในด้านความเชื่อนั้น ชาวพวนมีความเชื่อเรื่องผี จะมีศาลประจำหมู่บ้านเรียกว่า ศาลตาปู่ หรือศาลเจ้าปู่บ้าน รวมทั้งการละเล่นในเทศกาลก็จะมีการเล่นผีนางด้ง ผีนางกวัก ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวพวนคือ ประเพณีใส่กระจาด ประเพณีกำฟ้า ซึ่งเป็นประเพณีที่แสดงถึงการสักการะฟ้า เพื่อให้ผีฟ้า หรือเทวดาพอใจ เพื่อไม่ให้เกิดภัยพิบัติ
    วัฒนธรรมด้านภาษา ชาวพวนจะมีภาษาเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน     ภาษาของไทยพวน ใช้ภาษาไทยแท้เสียงวรรณยุกต์ใกล้เคียงกับภาษาภาคกลางมากกว่า เสียงของชาวภาคอีสานส่วนมากเช่น แม่ก็ออกเสียงว่า แม่ ตรงกับภาษาภาคกลางไม่ใช่แหม่ น้ำก็ออกเสียงว่า น้ำ ไม่ใช่ น่าม เมื่อเทียบเคียงกับภาษาไทยสาขาอื่น เห็นว่าใกล้เคียงกับภาษาผู้ไทย หรือ ไทยภู และภาษาย้อ คือ ออกเสียงสระไอไม้ม้วนเป็นเสียงสระเออ เช่น ใต้ ออกเสียงเป็น เต้อ ให้ ออกเสียงเป็น เห้อ เป็นต้น ขนบธรรมเนียมประเพณีก็คล้ายคลึงกัน นับถือพระพุทธศาสนามั่นคงเช่นเดียวกัน  แต่ปัจจุบันภาษาเขียนจะไม่มีคนเขียนได้ ยังคงเหลือเพียงภาษาพูด ซึ่งมีสำเนียงคล้ายเสียงภาษาถิ่นเหนือ อักษร "ร " ในภาษาไทยกลาง จะเป็น "ฮ" ในภาษาพวน เช่น รัก - ฮัก หัวใจ - หัวเจอ ใคร - เผอ ไปไหน - ไปกะเลอ  
    ปัจจุบันชาวพวนในแต่ละจังหวัดยังคงสภาพความเป็นสังคมเกษตรกรรม ยังมีความผูกพันกัน แน่นแฟ้นในหมู่ชาวพวน และมีความสัมพันธ์อันดีกับชาวไทยกลุ่มอื่น ทั้งยังคงพยายามรักษาประเพณี วัฒนธรรมของเผ่าพันธ์อย่างดีแต่เพราะความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ และสภาพสังคม เศรษฐกิจ ที่เปลี่ยนไป ทำให้วิถีชีวิตของชาวพวนเปลี่ยนไปจากเดิมบ้าง เช่น ภาษาพูด คนหนุ่มสาวจะนิยมพูดภาษาไทยกลาง แม้จะอยู่ในหมู่เดียวกัน หรือประเพณีพื้นบ้านบางอย่างก็มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจ เช่น แต่เดิมประเพณีใส่กระจาด ประเพณีเทศน์มหาชาติ จะจัดทำทุกปี และมีการทำอาหารเลี้ยงดู และใส่กระจาดกันทุกบ้าน 

สิ่งของเครื่องใช้

เมื่อก่อนส่วนใหญ่จะมีอาชีพทำนา โดยมีเครื่องมือทำนา คือ แอก เฝือ ไถ ล่อ ใช้วัวใช้ควาย ใช้ โซ๊ะ วิดน้ำตอนที่นาไม่มีน้ำ อาหารโดยทั่วไปจะกินน้ำพริกกินผักที่มีอยู่ตามธรรมชาติเช่น ผักแคบ ผักบุ้ง ผักกาด ผักระ มีเห็ด ในหน้าฝน หน่อไม้จะมีในหน้าฝน ถ้าหาปูหาปลากบเขียดก็ขุดเอา แล้วนำไป แกงแค ทำแจ่ว ขนมของหวาน จะมี ขนมแหนบ ข้าวต้ม ลอดช่อง ขนมมะเกลือ ขนมมะแตงทำมาจากแตง ขนมตาลทำมาจากลูกตาล ขนมกล้วยทำมาจากกล้วยน้ำว้า ขนมแดง ใส่กะทิมะพร้าวน้ำอ้อยเคี่ยวให้แดงแล้วนำข้าวเหนียวนึ่ง ใส่ลงไปแล้วกวนให้แดง

เครื่องมือในการตีเหล็ก มีสูบเป่าลมให้เหล็กแดง ค้อนเหล็ก เอาท่อนไม้มาเจาะหลุม เรียกว่า ทั่ง

สิ่งของ เครื่องใช้ทั่วไปและของใช้ในครัว ซา เปาะ กระด้ง ก๋วย น้ำเต้าใส่น้ำ บังคอกใส่น้ำ หม้อดินใช้ทำกับข้าว หม้อน้ำใสน้ำกิน หามบุง โสง ครก จานช้อนสังกะสี โม่ที่ใช้โม่แป้ง

เครื่องมือจับปลา ล่าสัตว์ แห แน่ง น่าง จำยอ ตุ้ม แห่ว ไซร สุ่ม ข่อง หิง

เครื่องมือในการตีเหล็ก มีสูบเป่าลมให้เหล็กแดง ค้อนเหล็ก เอาท่อนไม้มาเจาะหลุม เรียกว่า ทั่ง

เครื่องใช้ทั่วไป ซา เปาะ กระด้ง ก๋วย น้ำเต้าใส่น้ำ บังคอกใส่น้ำ หม้อดินใช้ทำกับข้าว หม้อน้ำใสน้ำกิน หามบุง โสง ครก

เครื่องมือจับปลา ล่าสัตว์ สุ่ม ข่อง หิง แห แน่ง น่าง จำยอ ตุ้ม แห่ว ไซร

เครื่องดนตรี ปี่ ขลุ่ย ซอ สล้อ ซึง กลอง

เครื่องชั่ง ชั่งค่อนก้อม ชั่งลำหาบ ขนานทำจากไม้ไผ่สานแล้วไปเทียบกับลิตร 1 กระบุงมี 35 ลิตร 2 บุง เรียก หาบ มี 70 ลิตร 1 หาบ มี 70 ขนาน 2 หาบ มี 70 ถัง 140 ลิตร

อาวุธ หน้าไม้ คล้ายธนูแต่ใช้ลูกดินยิง หอก ดาบ ปืน ลูกปืนทำมาจากลูกตะกั่ว

เครื่องมือทอผ้า มี กี่ พัดลอด หลา ธงมะล่อ กำฟั่น คอฟึม

เครื่องมือสร้างบ้าน ค้อน ลูกดิ่ง สิ่ว เลื่อย ระเมาะ มรู เวลาเทียบระดับมีหลอดน้ำมีแก้วอยู่ตรงกลาง เวลาดูว่าเท่ากันดุจากน้ำอยู่ในแก้ว

เครื่องทุนแรง มีเกวียน สแลง กะโค่

การทำตุ้มน้ำ ขุดดินโคลนใต้น้ำ นำมาปั้นแต่งให้เป็นรูปโอ่ง เอาอิฐมอญมาก่อตามรูปโอ่งที่ปั้นไว้ เอาสตายฉาบให้ได้ความหนาประมาณ 2 นิ้ว ใช้สีฝุ่นลงเป็นสีแดง สีฝุ่นทำมาจากก้อนอิฐที่เผาไฟให้แดงมาบดให้ละเอียด เอาดินออกเอาอิฐมอญออก ทำขอบปากทีหลัง

การทำสุ่มไก่ นำไม้ไผ่มาลบเสี้ยนออก สานให้เป็นรูปโดยคนสานจะต้องอยู่ตรงกลางด้านใน สุ่มไก่จะต้องหงายขึ้น โดยมีเส้นหลักแล้วใช้เส้นเล็กสานสลับไปมา มีไม้สลักกันหลุดออกจากกัน

อาหารการกิน อาหารการกิน กินอาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ กินผักตามรั้วบ้านนิยมกินผักนึ่งมากกว่าผักต้ม ผักที่ปลูกตามบ้านตามไร่ตามนา อาหารประเภท ปู ปลาออกไปหาตามไร่ ตามนา เอาไปแกงแค คั่ว แจ่ว ปลาเต้นที่ทำมาจากปลาซิวและน้ำพริกมะเด่นทำจากมะเขือเทศเป็นอาหารที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมมากของคนไทยพวน อาหาร ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ปลาเต้น ทำมาจากปลาซิวสด ๆ น้ำพริกมะเด่น ทำมาจากมะเขือเทศ อาหารทั่วไปจะมีแกงแค คั่ว แจ่ว ส่วนประกอบของอาหารที่ใส่อาหารเกือบทุกประเภทจะมี น้ำปู ทำมาจากปู ปลาร้า ทำมาจากปลาโดยนำไปหมัก ออกไปหาปูหาปลาในนา ตามแม่น้ำยม หนองน้ำ

ปลาเต้น มีเครื่องปรุงดังนี้ - ปลาซิวสด - หัวปลี - หน่อไม้ส้ม - พริก ข่า ตะไคร้ หัวหอม - น้ำปลาร้า

มีวิธีการทำเริ่มจากตำ พริก ข่า ตะไคร้ หัวหอม ต้มน้ำปลาร้าให้หอม หั่นหัวปลีใส่ หน่อไม้ส้มใส่ เคล้าเครื่องปรุงทั้งหมดกับปลาซิวสด ลักษณะของปลาเต้นตอนกินปลาซิวยังไม่ตายดิ้นได้เขาจึงเรียกว่า ปลาเต้น เป็นอาหารที่มีชื่อเสียงมาก ในสมัยก่อนนิยมกินอาหารดิบมาก ลาบปลาก็ดิบ ลาบเลือด แต่พอการแพทย์ได้เข้ามามีบทบาทจึงมีการให้เลิก กินอาหารดิบ เพราะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคพยาธิใบ้ไม้ดับ มีคนเสียชีวิตกับโรคนี้จำนวนมาก

แจ่วมะเด่น มีเครื่องปรุงดังนี้

   มะเขือเทศ
   พริกสด
   ปลาร้า
   กระเทียม

มีวิธีการทำเริ่มจากนำกระเทียมใส่เกลือแลัวตำ พริกสดปิ้งไฟหลังจากนั้นนำไปตำ มะเขือเทศก็นำไปปิ้งไฟ นำมาปลาร้ามาสับห่อด้วยใบตองแล้วนำไปหมกไฟ แล้วนำส่วนผสมทั้งหมดมาตำรวมกัน กินกับมะเขือ แตง ถั่ว ฝอเขียด มีส่วนผสมดังนี้คือ เขียด มะแว้งเขือ พริกสด เกลือ หอม ปลาร้า มะเขือแจ้ ขมิ้น ข่า ตะไคร้ กระเทียม มีวิธีทำดังนี้คือ นำกระเทียมใส่เกลือ ข่า ตระไคร้ หั่น ขมิ้น ตำให้ละเอียด พริกแห้งนำไปเผาไปนิหน่อย นำไปตำรวมกับเครื่องที่ตำไว้ ใส่ปลาร้า เขียดเอาขี้ออกมาสับให้ละเอียด นำไปคั่ว นำส่วนผสมทั้งหมดไปผัดรวมกันให้หอม ใส่มะแว้งเขือ มะเขือแจ้ ใส่น้ำนิดหน่อยคนให้เข้ากัน

ตามจาง มีส่วนผสมดังนี้คือ หน่อไม้ดอง กระเทียม แคบหมู พริกยาว ใบกำก็ มีวิธีทำดังนี้คือ นำหน่อไม้ไปลวก โครกพริกสด กระเทียม แคบหมู ให้เข้ากันใส่หน่อไม้ ใบกำก็คลุกเคล้าให้เข้ากัน

แกงยอดขี้เหล็ก ส่วนผสมดังนี้คือ ยอดขี้เหล็ก พริก หอม ปลาร้า ปลาทูเค็ม มีวิธีทำดังนี้คือ นำยอดขี้เหล็กอ่อนไปล้างน้ำ นำไปต้ม โครกพริกหอมส่วนต่าง ๆให้เข้ากัน ใส่ลงไปใส่น้ำปลาร้า กินกับปลาทูเค็มปิ้ง

ถิ่นอาศัยในประเทศไทย

  1. สุโขทัย ( อำเภอศรีสัชนาลัย )
  2. สระบุรี ( อำเภอหนองโดน อำเภอดอนพุด อำเภอวิหารแดง)
  3. นครนายก( อำเภอปากพลี อำเภอบ้านนา)
  4. ปราจีนบุรี (อำเภอศรีมหาโพธิ อำเภอศรีมโหสถ อำเภอบ้านสร้าง อำเภอกบินทร์บุรี )
  5. ฉะเชิงเทรา ( อำเภอพนมสารคาม)
  6. ลพบุรี ( อำเภอบ้านหมี่ อำเภอเมือง อำเภอโคกสำโรง)
  7. ราชบุรี
  8. เพชรบุรี ( อำเภอเขาย้อย อำเภอท่ายาง )
  9. น่าน (บ้านฝ่ายมูล อ.ท่าวังผา,บ้านหลับมืนพรวน อ.เวียงสา)
  10. แพร่ (ต.ทุ่งโฮ่ง อ.เมืองแพร่)
  11. สิงห์บุรี (หมู่ที่ 3 ต.บางน้ำเชี่ยว อ.พรหมบุรี)
  12. พิจิตร (อำเภอทับคล้อ อำเภอบางมูลนาค บ้านป่าแดง อ.ตะพานหิน)
  13. สุพรรณบุรี (บ้านดอนหนามแดง , บ้านไผ่เดี่ยว , รางบัว ต.วัดโบสถ์ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี)
  14. อุดรธานี (อำเภอบ้านผือ)
  15. อุตรดิตถ์ (บ้านปากฝาง อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์)
  16. หนองคาย (บ้านดงบัง บ้านกุดบง อ. โพนพิสัย บ้านกวดโคกสว่าง ต.นาข่า อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย)
  17. พะเยา (บ้านห้วยกั้น อำเภอจุน)
  18. เชียงราย( บ้านป่าก๋อย อำเภอแม่สาย บ้านศรีดอนมูล บ้านป่าสักน้อย อำเภอเชียงแสน ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเทิง)
  19. ชลบุรี (อำเภอพนัสนิคม)
  20. นครสวรรค์ ( อำเภอช่องแค อำเภอชุมแสง อำเภอไพศาลี อำเภอตากฟ้า)
  21. อุทัยธานี (อำเภอทัพทัน)
  22. กาญจนบุรี (บางหมู่บ้านในอำเภอพนมทวน)
  23. เพชรบูรณ์ (บ้านดงขุย อำเภอชนแดน อำเภอหนองไผ่ , ตำบลสระกรวด อำเภอศรีเทพ)

อ้างอิง

สิงห์บุรี อ.พรหมบุรี ต.บางน้ำเชี่ยว หมู่ 5 โภคาภิวัฒน์