ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โมโม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Redstar (คุย | ส่วนร่วม)
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 57: บรรทัด 57:


{{novelinyr|1973}}
{{novelinyr|1973}}
{{โครงวรรณกรรม}}


[[หมวดหมู่:งานเขียนของมิชาเอล เอ็นเด้]]
[[หมวดหมู่:งานเขียนของมิชาเอล เอ็นเด้]]
บรรทัด 64: บรรทัด 63:
[[หมวดหมู่:วรรณกรรมภาษาเยอรมัน]]
[[หมวดหมู่:วรรณกรรมภาษาเยอรมัน]]
[[หมวดหมู่:นวนิยายแฟนตาซี]]
[[หมวดหมู่:นวนิยายแฟนตาซี]]
{{โครงวรรณกรรม}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:34, 18 มิถุนายน 2556

โมโม  
ผู้ประพันธ์มิชาเอล เอนเด้
ชื่อเรื่องต้นฉบับMomo
ผู้แปลชินนรงค์ เนียวกุล
ประเทศเยอรมัน
ภาษาเยอรมัน
ประเภทนวนิยายแฟนตาซี
สำนักพิมพ์ Thienemann Verlag
วันที่พิมพ์ 1 มกราคม ค.ศ. 1973

โมโม (อังกฤษ: Momo) เป็นนวนิยายแฟนตาซีและวรรณกรรมเยาวชน ภาษาเยอรมัน ของมิชาเอล เอ็นเด ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1973 เนื้อหาเป็นแนวคิดเกี่ยวกับเวลา และการใช้เวลาของมนุษย์ในสังคมสมัยใหม่ มีตัวละครเอกคือ "โมโม"

เนื้อเรื่อง

ในซากปรักหักพังของอัฒจันทร์นอกเมืองเป็นที่อาศัยของโมโม สาวน้อยที่มีความเป็นมาลึกลับ เธอเดินมาเพื่อทำลาย อนาถาและสวมเสื้อตัวนอกยาวใหญ่ เธอไม่รู้หนังสือเลยและยังไม่สามารถนับตัวเลขได้ด้วย และเธอไม่รู้วิธีการนับอายุของเธอว่านับอย่างไหร่ อายุของเธอคืออะไร เมื่อถูกถาม เธอจะตอบว่า “ฉันจำได้ว่า ฉันอยู่ที่นั่นตลอด” เธอเป็นคนโดดเด่นในหมู่เพื่อนบ้านใกล้เคียง เพราะเธอมีความสามารถพิเศษที่จะรับฟัง – ฟังอย่างแท้จริง โดยเพียงแค่ได้อยู่กับผู้คนและฟังพวกเขาพูด เธอสามารถช่วยพวกเขาได้รับคำตอบสำหรับปัญหาของพวกเขาได้อย่างถูกต้อง เกิดขึ้นกับคนต่อคนและเป็นเกมส์ที่สนุก ได้มีการแนะนำหรือบอกต่อว่า “ไปดูโมโม” กลายเป็นวลีที่ใช้ในครัวเรือน และโมโมได้เพื่อนมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความซื่อตรง เงียบสงบ คนทำความสะอาดถนน เบ็พโพ และเหมือนบทกวี ไกด์นำเที่ยวสนใจโลกภายนอก

บรรยากาศอันน่ารื่นรมย์นี้ถูกทำลายโดยการมาถึงของผู้ชายในชุดสีเทา ในที่สุดก็ถูกเปิดเผยออกมา เป็นการแข่งขันที่เหนือธรรมชาติของผู้ที่ชอบเกาะคนอื่นกินเป็นปรสิตอยู่เหนือกฎเกณฑ์ของธรรมชาติขโมยเวลาของมนุษย์ ที่ปรากฏตัวในรูปแบบการแต่งกายด้วยชุดสีเทา ผิวสีเทา ศีรษะล้านผมโล่งเตียน ผู้คนเหล่านี้นำเสนอตัวเองแปลกประหลาดว่าตัวเองเป็นตัวแทนของธนาคารประหยัดเวลา และส่งเสริมความคิดของการ การประหยัดเวลา ในหมู่ประชากร ดังเช่นว่าเวลาสามารถนำไปฝากไว้กับธนาคารได้และกลับไปเป็นลูกค้าที่มีความสนใจในภายหลัง หลังจากได้เผชิญหน้ากับผู้ชายในชุดสีเทา ประชาชนถูกทำให้ลืมทั้งหมดเกี่ยวกับพวกเขา แต่ไม่เกี่ยวกับการลงมติเพื่อประหยัดเวลามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ที่จะใช้ในภายหลัง ค่อยๆ แผ่ขยายอิทธิพลของผู้ชายในชุดสีเทาส่งผลกระทบต่อคนทั้งเมือง ชีวิตกลายเป็นหมัน (ชีวิตหยุดอยู่กับที่ไม่ขยับเขยื่อน) ขาดแคลนปราศจากทุกสิ่งทุกอย่างโดยพิจารณาการสูญเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ เช่นกิจกรรมทางสังคม นันทนาการ การพักผ่อนหย่อนใจ ศิลปะ ฝีมือ ความสามารถ จินตนาการ หรือ ความเฉื่อยชา อาคารและเสื้อผ้าถูกทำให้เหมือนกันสำหรับทุกคนและจังหวะของชีวิตกลายเป็นวุ่นวาย ในความเป็นจริงการที่ประชาชนประหยัดเวลาเพิ่มขึ้นพวกเขายิ่งมีเวลาน้อย

เวลาที่พวกเขาประหยัดนั้นตามความเป็นจริงพวกเขาสูญเสียเวลา แต่มันจะถูกบริโภคโดยผู้ชายในชุดสีเทาในรูปแบบของบุหรี่ซิการ์ ที่ทำจากกลีบดอกลิลลี่ในหนึ่งชั่วโมงที่แสดงเวลา หากปราศจากบุหรี่ซิการ์เหล่านี้ผู้ชายในชุดสีเทาก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้

อย่างไรก็ตามโมโมเป็นประแจสำคัญในแผนธนาคารเรื่องของการประหยัดเวลา ขอบคุณบุคคลิกพิเศษของเธอ ผู้ชายในชุดสีเทาพยายามต่างๆนานาที่จะดูแลเธอและหยุดชะงักเธอจากการหยุดโครงการของพวกเขา แต่พวกเขาก็ล้มเหลวทั้งหมด ถึงแม้ว่าเพื่อนสนิทของเธอจะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ชายในชุดสีเทาในทางเดียวหรืออย่างอื่น โมโมเพียงหวังว่าจะประหยัดเวลาเพื่อมวลมนุษยชาติคือ การเป็นตัวตนแห่งเวลาของศาสตราจารย์ “เซ็คคุนดุส มินูทุส ฮอร่า” (“Secundus Minutus Hora” หมายถึง ชั่วโมง, นาที, วินาที) และกลุ่มดาวเหนือเต่าน้อย ซึ่งสามารถสื่อสารผ่านการเขียนบนกระดองของเธอ และสามารถมองเห็นอนาคตใน 30 นาที การผจญภัยของโมโมจะพาเธอมาจากส่วนลึกของหัวใจ ที่ซึ่งเธอเป็นเจ้าของเวลาล่องลอยไปในอากาศในรูปแบบของดอกลิลลี่ เธอได้ไปยังที่หลบซ่อนของผู้ชายในชุดสีเทา ที่ซึ่งเก็บสะสมเวลาของมนุษย์

ประเด็นหลัก

ตามที่รู้จักกันดีในงานของเขา จินตนาการไม่รู้จบ (อังกฤษ: The Neverending Story; เยอรมัน: Die unendliche Geschichte) มิชาเอล เอนเด้ ใช้จินตนาการและสัญญลักษณ์ที่จะจัดการกับเรื่องของโลกแห่งความเป็นจริง เช่น ธรรมชาติและความสำคัญของเวลา อำนาจของเรื่องราว มิตรภาพ ความสัมพันธ์ ความเห็นอกเห็นใจ ความสงสาร และความคุ้มค่าของสิ่งเล็กๆน้อยๆ เพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่ามากขึ้น

หัวใจหลักของโมโม คือการแสดงถึงสภาพสังคมบริโภคนิยมที่ทุกคนต้องรีบเร่งในการใช้ชีวิต ทุกนาทีมีคุณค่าต้องใช้มันให้คุ้มที่สุด เพียงเพื่อใช้ในการแลกสิ่งของฟุ่มเฟื่อยเกินจำเป็น แต่นั้นไม่ได้ทำให้คนเรานั้นมีความสุข แต่กลับจะทำให้เราตกเป็นทาสของการบริโภคมากยิ่งขึ้น ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดถูกชักนำโดยกลุ่มนายทุน โดยเอาความเจริญของสังคมเมืองเป็นตัวอย่าง เพื่อใช้ชักจูงผู้คนให้เห็นดีเห็นงานกับการดำเนินชีวิตอย่างนี้ เพียงเพื่อผลประะโยชน์ของนายทุนที่ผลิตสินค้าออกมาขายเท่านั้น

การเสนอโลกในมุมมองของเด็กเป็นจุดเด่นที่ มิซาเอล เอนเด้ นิยมหยิบมาใช้เพื่อแสดงถึงแนวคิดที่เรามักหลงลืมไปเมื่อเป็นผู้ใหญ่ เด็กที่ใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาตินั้น เป็นเป้าหมายที่ยากยิ่งสำหรับผู้ชายในชุดสีเทา เด็กไม่สามารถเชื่อได้ว่าการละเล่นของพวกเขาเป็นการสูญเสียเวลาไปเปล่าๆ จึงได้มีการใช้ตุ๊กตาบาร์บี้และของเล่นแพงๆ เพื่อชักชวน จูงใจ ให้เข้าสู่วิถีของการเป็นผู้บริโภค

วิธีที่จะหนีออกมาจากวิถีการบริโภคนั้นคือการคิดอย่างอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ไม่ตกอยู่ในกระแสสังคมและการโฆษณาชวนเชื่อ โดยการพิจารณาไตร่ตรองอย่างมีสติ คุณจะพบวิถีชีวิตที่เหมาะสมสำหรับตัวของคุณเอง

คำติชม

เมื่อหนังสือได้ตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1985 นักข่าว นาตาลี บั๊บบิท จากหนังสือพิมพ์วอชิงตัน ให้ความเห็นว่า “มันเป็นหนังสือสำหรับเด็กใช่ไหม? ไม่ใช่ในอเมริกา”

ฉบับแปล

  • ภาษาไทย : โมโม่. มิชาเอล เอ็นเด้. ชินนรงค์ เนียวกุล. แปลจากภาษาเยอรมัน. แพรวเยาวชน. ISBN 9748368572

แหล่งข้อมูลอื่น