ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อัลแบร์ท โฮฟมัน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: lv:Alberts Hofmanis
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
บรรทัด 32: บรรทัด 32:
[[หมวดหมู่:นักเคมีชาวสวิส|อัลเบิร์ต ฮอฟมานน์]]
[[หมวดหมู่:นักเคมีชาวสวิส|อัลเบิร์ต ฮอฟมานน์]]
[[หมวดหมู่:ชาวสวิสที่มีอายุเกิน 100 ปี]]
[[หมวดหมู่:ชาวสวิสที่มีอายุเกิน 100 ปี]]

[[af:Albert Hofmann]]
[[als:Albert Hofmann]]
[[be:Альберт Гофман]]
[[be-x-old:Альбэрт Гофман]]
[[bg:Алберт Хофман]]
[[bs:Albert Hofmann]]
[[ca:Albert Hofmann]]
[[cs:Albert Hofmann]]
[[da:Albert Hofmann]]
[[de:Albert Hofmann]]
[[dsb:Albert Hofmann]]
[[el:Άλμπερτ Χόφμαν]]
[[en:Albert Hofmann]]
[[eo:Albert Hofmann]]
[[es:Albert Hofmann]]
[[et:Albert Hofmann]]
[[fa:آلبرت هوفمان]]
[[fi:Albert Hofmann]]
[[fr:Albert Hofmann]]
[[gl:Albert Hofmann]]
[[he:אלברט הופמן]]
[[hr:Albert Hofmann]]
[[hu:Albert Hofmann]]
[[id:Albert Hofmann]]
[[is:Albert Hofmann]]
[[it:Albert Hofmann]]
[[ja:アルバート・ホフマン (化学者)]]
[[la:Albertus Hofmann]]
[[lb:Albert Hofmann]]
[[lv:Alberts Hofmanis]]
[[mr:आल्बर्ट हॉफमन]]
[[nl:Albert Hofmann]]
[[no:Albert Hofmann]]
[[pl:Albert Hofmann]]
[[pt:Albert Hofmann]]
[[ro:Albert Hofmann]]
[[ru:Хофман, Альберт]]
[[sh:Albert Hofmann]]
[[simple:Albert Hofmann]]
[[sk:Albert Hofmann]]
[[sl:Albert Hofmann]]
[[sq:Albert Hofmann]]
[[sr:Albert Hofman]]
[[sv:Albert Hofmann]]
[[tr:Albert Hofmann]]
[[uk:Альберт Гофманн]]
[[zh:艾伯特·霍夫曼]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:14, 10 มีนาคม 2556

ดร.อัลเบิร์ต ฮอฟมานน์ เมื่ออายุ 87 ปี
ดร.อัลเบิร์ต ฮอฟมานน์ เมื่ออายุ 100 ปีเมื่อ พ.ศ. 2549

อัลเบิร์ต ฮอฟมานน์ (อังกฤษ: Albert Hofmann; 11 มกราคม พ.ศ. 2449 - 29 เมษายน พ.ศ. 2551) เป็นนักเคมีคนสำคัญของสวิตเซอร์แลนด์ ได้รับการขนานนามว่าเป็น "บิดาแห่งแอลเอสดี" เกิดที่เมืองบาเดน สวิสเซอร์แลนด์ จบการศึกษาด้านเคมีจากมหาวิทยาลัยซูริก ขณะเรียนมีความสนใจเคมีที่เกี่ยวกับพืชและสัตว์ ซึ่งต่อมาได้นำไปสู่การค้นคว้าวิจัยงานสำคัญในโครงสร้างของสารที่มีอยู่ทั่วไปในสัตว์ คือ "สารชูติน" (สารหลักในเปลือกกุ้ง ปูและสัตว์ที่คล้ายกัน) ซึ่งเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของฮอฟมานน์

ดร.อัลเบิร์ต ฮอฟมานน์ ได้เข้าทำงานในแผนกเภสัช-เคมีในสถานนีทดลองของบริษัทแซนดอซ (ปัจจุบันคือบริษัทโนวาทริส) เมืองบาเซลโดยทำการวิจัยพืชหัวที่ใช้ทำยา และเออร์กอต ของพวกเห็ดรา เพื่อนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสังเคราะห์และทำความบริสุทธิ์ให้กับตัวยาสำคัญที่จะนำมาใช้ทางเภสัชกรรม

ชีวิตการทำงาน

งานค้นคว้าเกี่ยวกับกรดไลเซอร์จิกของฮอฟมานน์นำไปสู่การสังเคราะห์แอลเอสดี – 25 เมื่อ พ.ศ. 2481 ซึ่งในอีกห้าปีต่อมาหลังจากถูกลืม ฮอฟมานน์ก็ได้กลับมาค้นพบผลโดยความบังเอิญว่าสารแอลเอสดีเป็นตัวก่ออาการโรคจิต โดยฮอฟมานน์รับรู้ผลของอาการได้หลังจากการซึมของสารเข้าสู่ร่างกายของเขาทางปลายนิ้ว เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2486 อีก 3 วันต่อมาในวันที่ 19 เมษายน(ต่อมาเรียกวันนี้กันว่า “วันจักรยาน” หลังจากที่ฮอฟมานน์ขี่จักรยานกลับบ้านภายใต้อิทธิพลของแอลเอสดี) ดร.ฮอฟมานน์จงใจเสพย์สารนี้เป็นจำนวน 250 ไมโครกรัมและได้ประสบกับอิทธิพลของสารในระดับที่เข้มขึ้น หลังจากได้ทดลองกับตนเองอีกหลายครั้ง ฮอฟมานน์จึงได้เขียนรยงานผลการทดลองนี้เมื่อวันที่ 22 เมษายน ปีเดียวกัน

ฮอฟมานน์ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการแผนกผลิตภัณฑ์ธรรมชาติของบริษัทแซนดอสและได้ทำการทดลองสารก่อประสาทหลอนที่พบในเห็ดแม็กซิกันและพืชชนิดอื่นที่ชนพื้นเมืองใช้เสพ ทำให้นำไปสู่การสังเคราะห์ “ซิโลไซบิน” (จัดอยู่ในกลุ่มอัลคาลอยด์) ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของ “เห็ดวิเศษ” ดังกล่าว

นอกจากนี้ ฮอฟมานน์ยังสนใจในเมล็ดของต้นแม็กซิกันมอร์นิงกลอรี ซึ่งจัดอยู่ในชนิกหรือสปีชีส์ ริเวีย คอริมโบซา ซึ่งได้พบอย่างน่าแปลกใจว่าสารที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของมล็ดพืชชนิดนี้มีความคล้ายคลึงกับแอลเอสดีเป็นอย่างมาก

ในปี พ.ศ. 2505 ฮอฟมานน์และภริยาได้เดินทางไปเยือนเม็กซิโกตอนใต้เพื่อเสาะหาต้นไม้ชื่อ “ใบแมรี่เดอะเชเปอร์เดส” ต่อมาได้ชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า ซาลเวีย ดิวิโนรุม แม้จะขออนุญาตนำกลับประเทศได้ แต่ฮอฟมานน์ก็ไม่สามารถแยกและบ่งชี้องค์ประกอบหลักทางเคมีที่สำคัญของพืชชนิดนี้ได้

ฮอฟมานน์เรียกแอลเอสดีว่า “ยาแห่งจิตวิญญาณ” และหงุดหงิดจากการที่ประชาคมโลกพากันถือว่าสารนี้เป็นสิ่งต้องห้าม ทำให้สารนี้หายไปจากบนดินกลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ฮอฟมานน์กล่าวว่า “สารนี้ได้ถูกใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ทางจิตอย่างระมัดระวังมานานถึง 10 ปี” ก่อนที่จะถูกกลุ่มเยาวชนยุค 1960’s มายึดไปใช้ในทางที่ผิด ทำให้สารนี้กลายเป็นสิ่งชั่วร้ายที่ถูกต่อต้าน แต่อย่างไรก็ดี ฮอฟมานน์ยอมรับว่าหากสารนี้ตกอยู่ในมือของคนไม่ดีก็มีอันตรายมากได้

ฮอฟมานน์ได้เขียนบทความทางวิทยาศาสตร์มากกว่า 100 บทความและหนังสืออีกหลายเล่มรวมทั้ง “แอลเอสดี ลูกเจ้าปัญหาของข้าพเจ้า” ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นอัตชีวประวัติและการบรรยายถึงการขี่จักรยานที่โด่งดังของตน

ในโอกาสครบอายุ 100 ปีเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2549 ฮอฟมานน์กลับมาเป็นจุดเด่นของ “การประชุมเอกสารัตถ์นานาชาติว่าด้วยแอลเอสดี เนื่องในวาระครบอายุ 100 ปีของอังเบิร์ต ฮอฟมานน์” ในเมืองบาเซลที่ทำให้สื่อต่างๆ ให้ความสนใจในการค้นพบแอลเอสดีของเขาอีกครั้งหนึ่ง

แหล่งข้อมูลอื่น