ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอกอัครราชทูต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 3510545 สร้างโดย 182.253.11.18 (พูดคุย)
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
'''เอกอัครราชทูต''' ({{lang-en|ambassador}}) เป็นนักการทูตตำแหน่งสูงสุด ซึ่งจัดการแทนประเทศหนึ่ง ๆ และปรกติมักได้รับการส่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง, ไปยังรัฐบาลต่างด้าว หรือไปยังองค์การระหว่างประเทศ
'''เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม''' ({{lang-en|ambassador extraordinary and plenipotentiary}}) หรือมักเรียกกันโดยทั่วไปว่า '''เอกอัครราชทูต''' ({{lang-en|ambassador}}) เป็นตำแหน่ง[[นักการทูต]]ระดับสูงสุดที่เป็นตัวแทนของประเทศของตน โดยประจำการอยู่ในสถานเอกอัครราชทูต ณ [[ประเทศ]]ที่ประเทศของตนมีความสัมพันธ์ทางการทูตด้วย ในประวัติศาสตร์การทูตสากล ตำแหน่ง "เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม" มักมีนัยมุ่งหมายถึงว่า บุคคลผู้นั้นเป็นตัวแทนองค์อธิปัตย์หรือ[[ประมุขแห่งรัฐ]] ไปประจำอยู่ในราชสำนักของประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ แม้จนปัจจุบันนี้ การแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มของประเทศหนึ่งไปประจำในอีกประเทศหนึ่ง ก็ยังกระทำโดยการที่ประมุขแห่งรัฐนั้น มีสาส์นตราตั้ง หรือพระราชสาส์นตราตั้ง (credentials) ไปยังประมุขแห่งรัฐผู้รับ แต่งตั้งให้บุคคลดังกล่าวเป็นเอกอัคคราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม

ในความหมายธรรมดา คำ "ทูต" (ambassador) บ่งถึง บุคคลซึ่งรัฐบาลประเทศหนึ่งส่งไปประจำอีกประเทศหนึ่งเพื่อให้จัดการแทนตน และไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีตำแหน่งใด โดยรัฐผู้รับ (host State) จะให้ทูตมีเขตอำนาจอยู่ใน [[สถานเอกอัครราชทูต|สถานทูต]] (embassy) ซึ่งตั้งอยู่ในดินแดนของรัฐผู้รับ และรัฐผู้รับจะให้[[ความคุ้มกัน]] (immunity) แก่พัทธสีมาของสถานทูต รวมถึงบรรดาเจ้าหน้าที่และทรัพย์สินของสถานทูต

บางประเทศอาจแต่งตั้งบุคคลผู้เป็นที่เลื่อมใสกว้างขวางให้เป็น[[เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง]] (Ambassador at Large) เพื่อให้จัดการเพียงบางอย่างโดยเฉพาะ หรือรับผิดชอบท้องที่อันจำกัด ขณะที่เอกอัครราชทูตมักมีอำนาจจัดการทั่วไป

สำหรับประเทศใน[[เครือจักรภพ]] มักเรียกเอกอัครราชทูตว่า [[ข้าหลวงใหญ่]] (High Commissioner) และ[[คณะผู้แทนทางทูต]]จะเรียก [[คณะข้าหลวงใหญ่]] (High Commissioner) แทน ส่วนเอกอัครราชทูตของ[[สันตะสำนัก]] (Holy See) นั้นเรียก [[เอกอัครสมณทูต]] (nuncio)


{{เรียงลำดับ|เอกอัครราชทูต}}
{{เรียงลำดับ|เอกอัครราชทูต}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:44, 12 ตุลาคม 2554

เอกอัครราชทูต (อังกฤษ: ambassador) เป็นนักการทูตตำแหน่งสูงสุด ซึ่งจัดการแทนประเทศหนึ่ง ๆ และปรกติมักได้รับการส่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง, ไปยังรัฐบาลต่างด้าว หรือไปยังองค์การระหว่างประเทศ

ในความหมายธรรมดา คำ "ทูต" (ambassador) บ่งถึง บุคคลซึ่งรัฐบาลประเทศหนึ่งส่งไปประจำอีกประเทศหนึ่งเพื่อให้จัดการแทนตน และไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีตำแหน่งใด โดยรัฐผู้รับ (host State) จะให้ทูตมีเขตอำนาจอยู่ใน สถานทูต (embassy) ซึ่งตั้งอยู่ในดินแดนของรัฐผู้รับ และรัฐผู้รับจะให้ความคุ้มกัน (immunity) แก่พัทธสีมาของสถานทูต รวมถึงบรรดาเจ้าหน้าที่และทรัพย์สินของสถานทูต

บางประเทศอาจแต่งตั้งบุคคลผู้เป็นที่เลื่อมใสกว้างขวางให้เป็นเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง (Ambassador at Large) เพื่อให้จัดการเพียงบางอย่างโดยเฉพาะ หรือรับผิดชอบท้องที่อันจำกัด ขณะที่เอกอัครราชทูตมักมีอำนาจจัดการทั่วไป

สำหรับประเทศในเครือจักรภพ มักเรียกเอกอัครราชทูตว่า ข้าหลวงใหญ่ (High Commissioner) และคณะผู้แทนทางทูตจะเรียก คณะข้าหลวงใหญ่ (High Commissioner) แทน ส่วนเอกอัครราชทูตของสันตะสำนัก (Holy See) นั้นเรียก เอกอัครสมณทูต (nuncio)