ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดาวดึงส์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: ดาวดึงส์ หรือ ไตรตรึงษ์ เป็นสวรรค์ชั้นสูงจากชั้นจาตุมหา...
 
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด +แจ้งรอตรวจสอบด้วยบอต
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
ดาวดึงส์ หรือ ไตรตรึงษ์
ดาวดึงส์ หรือ ไตรตรึงษ์



รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:51, 11 มิถุนายน 2551

ดาวดึงส์ หรือ ไตรตรึงษ์

           เป็นสวรรค์ชั้นสูงจากชั้นจาตุมหาราชิก ขึ้นไป ๓๓๖,๐๐๐,๐๐๐ วา หรือ ๑๖๘,๐๐๐ กิโลเมตร ดาวดึงส์อยู่บนเขาพระสุเมรุ มีพระอินทร์เป็นผู้ปกครองอยู่ เป็นเมืองใหญ่ที่สร้างอย่างงดงามด้วยทองและแก้ว ๗ ประการ มีเสียงดนตรีบรรเลงอยู่อย่างไพเราะ กลางเมืองดาวดึงส์มีปราสาทใหญ่ที่งดงามเป็นที่ประดับของพระอินทร์ บนสวรรค์ชั้นนี้มีอุทยานที่งดงามมากอยู่ ๔ แห่ง อุทยานทางทิศตะวันออกมีชื่อว่า นันทวนุทยาน หรือสวนนันทวัน แปลว่า สวนที่รื่นรมย์ ในสวนด้านที่ใกล้กับตัวเมืองมีสระใหญ่ ๒ สระ สระหนึ่งมีชื่อว่า สระนันทาโบกขรณี อีกสระหนึ่งมีชื่อว่า จุลนันทาโบกขรณี มีแผ่นศิลา ๒ แผ่น แผ่นหนึ่งมีชื่อว่า นันทาปริถิปาสาณ อีกแผ่นหนึ่งมีชื่อว่า จุลนันทาปริถิปาสาณ เป็นศิลาที่มีรัศมีเรืองรอง เมื่อจับดูจะรู้สึกว่านิ่มเหมือนขนสัตว์ นอกเมืองดาวดึงส์ออกไปทางทิศใต้ มีอุทยานอีกแห่งหนึ่งมีชื่อว่า ผรุสกวัน หรือปารุสกวัน แปลว่า ป่าลิ้นจี่ ในอุทยานนี้ด้านใกล้ตัวเมือง มีสระใหญ่ ๒ สระ สระหนึ่งมีชื่อว่า ภัทราโบกขรณี อีกสระหนึ่งมีชื่อว่า สุภัทราโบกขรณี มีก้อนแก้วใส ๒ ก้อน ก้อนหนึ่งมีชื่อว่า ภัทราปริถิปาสาณ อีกก้อนหนึ่งมีชื่อว่า สุภัทราปริถิปาสาณ เป็นแก้วเกลี้ยงและอ่อนนุ่ม ทางด้านทิศตะวันตกของนครไตรตรึงษ์ มีอุทยานอีกแห่งหนึ่งมีชื่อว่า จิตรลดาวัน แปลว่า ป่ามีเถาวัลย์หลากสีสวยงาม สระในอุทยานนี้มีชื่อว่า จิตรโบกขรณี และจุลจิตรโบกขรณี ส่วนแผ่นศิลาแก้วในอุทยานนี้แผ่นหนึ่งมีชื่อว่า จิตรปาสาณ อีกแผ่นหนึ่งมีชื่อว่า จุลจิตรปาสาณ อุทยานสุดท้ายทางด้านทิศเหนือมีชื่อว่า สักกวัน หรือ มิสกวัน แปลว่า ป่าไม้ระคน สระใหญ่ในอุทยานนี้มีชื่อว่า ธรรมาโบกขรณี และสุธรรมาโบกขรณี ส่วนแผ่นศิลาแก้วมีชื่อว่า ธรรมาปริถิปาสาณ และสุธรรมาปิริถิปาสาณ