ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พันท้ายนรสิงห์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
แทนที่เนื้อหาด้วย "{{ความหมายอื่น|ดูที่=พันท้ายนรสิงห์ (แก้ความกำกวม)}} หมวดหมู่:ขุนนางในสมัยกรุงศรีอยุธยา หมวดหมู่:นักมวยไทยชาวไทยยุคคาดเชือก หมวด..."
ป้ายระบุ: ถูกแทน ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ไฟล์:ศาลพันท้ายนรสิงห์ 02.JPG|thumb|220px|รูปเคารพพันท้ายนรสิงห์ ที่ศาลพันท้ายนรสิงห์ ภายในอุทยานประวัติศาสตร์พันท้ายนรสิงห์]]
{{ความหมายอื่น|ดูที่=พันท้ายนรสิงห์ (แก้ความกำกวม)}}
{{ความหมายอื่น|ดูที่=พันท้ายนรสิงห์ (แก้ความกำกวม)}}
'''พันท้ายนรสิงห์''' เป็นนายท้ายเรือในรัชสมัยพระเจ้าเสือ หรือ[[สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8]] พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 แห่ง[[ราชวงศ์บ้านพลูหลวง]] ตอนปลาย[[อาณาจักรอยุธยา]] โดยพันท้ายนรสิงห์เป็นผู้มีชื่อเสียงด้าน[[ความซื่อสัตย์]]<ref>{{cite web|url=http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9490000029422|title= ความซื่อสัตย์นั้น สำคัญไฉน - Quality of Life - Manager Online|work=ผู้จัดการออนไลน์}}</ref>


== ประวัติ ==

เรื่องของพันท้ายนรสิงห์ ปรากฏครั้งแรกใน[[พระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม]] โดยกล่าวว่า พ.ศ. 2247 [[พระเจ้าเสือ]]เสด็จโดยเรือพระที่นั่งเอกไชย ประพาสเพื่อทรงเบ็ด ณ ปากน้ำเมืองสาครบุรี เมื่อเรือพระที่นั่งถึงตำบลโคกขามซึ่งเป็นคลองคดเคี้ยวและมีกระแสน้ำเชี่ยวกราก '''พันท้ายนรสิงห์'''ซึ่งถือท้ายเรือพระที่นั่งมิสามารถคัดแก้ไขได้ทัน โขนเรือพระที่นั่งกระทบกับกิ่งไม้หักตกลงไปในน้ำ พันท้ายนรสิงห์จึงได้กระโดดขึ้นฝั่งแล้วกราบทูลให้ทรงลงพระอาญาตามพระกำหนดถึงสามครั้งด้วยกัน เนื่องจากในครั้งแรก พระเจ้าเสือพระราชทานอภัยโทษ เพราะเห็นว่าเป็นอุบัติเหตุสุดวิสัย ครั้งที่สองก็รับสั่งให้สร้างรูปปั้นปลอมแล้วตัดหัวรูปปั้นนั้นแทน แต่ท้ายสุดก็ได้ตรัสสั่งให้[[ประหารชีวิต]]ด้วยการตัดศีรษะพันท้ายนรสิงห์ตามคำขอ แล้วสร้างศาลเพียงตา นำศีรษะของพันท้ายนรสิงห์และโขนเรือเอกไชยขึ้นตั้งบนศาลไว้บูชาพร้อมกัน แล้วเสด็จออกไปทรงเบ็ด ณ ปากน้ำเมืองสาครบุรี เมื่อกลับกรุงศรีอยุธยา โปรดให้นำศพของพันท้ายนรสิงห์มาพระราชทานเพลิงศพ พระราชทานเงินทองสิ่งของจำนวนมากแก่ภรรยาลูกเมียพันท้ายนรสิงห์ ภายหลังพระเจ้าเสือได้ทรงให้สมุหนายกเกณฑ์ไพร่พลจำนวน 30,000 คน ให้พระยาราชสงครามเป็นแม่กอง ทำการขุดคลองลัดคลองโคกขามที่คดเคี้ยว ไปออกที่บริเวณ[[แม่น้ำท่าจีน]] กว้าง 5 วา ลึก 6 ศอก ขุดเสร็จในสมัย[[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ]] พ.ศ. 2252 ได้พระราชทานนามคลองนี้ว่า"คลองสนามไชย" ต่อมาเรียกเป็น[[คลองมหาชัย]] ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเมืองมหาชัย แต่ชาวบ้านเรียกว่า"คลองถ่าน" ปัจจุบันชาวบ้านฝั่งธนบุรี เรียกชื่อว่า "คลองด่าน"

{{คำพูด|ลุศักราชได้ ๑๐๖๖ ปีวอก ฉ่อศก ขะณะนั้นสมเดจ์พระเจ้าแผ่นดีน เสดจ์ด้วยเรือพระธินั่งเอกไชย จไปประภาษทรงเบจ์ณะปากน้ำเมืองษาครบูรี ครั้นเรือพระธินั่งไปถึ่งตำบลโขกฃาม แลคลองที่นั้นคตเคียวนัก แลพันท้ายนรสิงฆซึ่งถือท้ายเรือพระธินั่ง คัดแก้ไขมิทันที แลศิศะเรือพระธินั่งนั้นโดนกระทบกิ้งไม้อันใหญ่เข้าก็หักตกลงในน้ำ พันท้ายนรสิงฆ์เหนดังนั้นก็ตกใจ จึ่งโดษขึ้นเสียจากเรือพระธินั่ง แลขึ้นอยู่บนฝั่งแล้วร้องกราบทูลพระกรรุณาว่า ฃอเดชฝาลอองทุลีพระบาทปกเกล้าพระราชอาชญาเปนล้นเกล้า ฃองจงทรงพระกรรุณาโปรฎให้ทำสารขึ้นที่นี้สูงประมารเพียงตา แล้วจงตัษเอาศิศข้าพระพุทธเจ้ากับศิศเรือพระธินั่งซึ่งหักตกน้ำลงไปนั้น ขึ้นบ่วงส่วงไว้ด้วยกันที่นี้ ตามพระราชกำหนฎในบถพระไอยการเถีษ

จึ่งมีพระราชโองการตรัษว่า ไอ้พันท้ายซึ่งโทษเองนั้นถึ่งตายก็ชอบอยู่แล้ว แต่ทว่าบัดนี้กูจยกโทษเสีย ไม่เอาโทษเองแล้ว เองจงคืนมาลงเรือไปด้วยกูเถีด ซึ่งศิศเรือที่หักนั้นกูจทำต่อเอาใหม่แล้ว เองอย่าวิตกเลย พันท้ายนรสิงฆจึ่งกราบทูลว่า ซึ่งทรงพระกรรุณาโปรฎมิได้เอาโทษข้าพระพุทธิเจ้านั้นพระเดชะพระคุณหาที่สุดมิได้ แต่ทว่าจเสียทำนบทำเนียมในพระราชกำหนฎกฎหมายไป แลซึ่งสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัว จมาละพระราชกำหนฎสำหรับแผ่นดินเสิยดังนี้ดูมิควรยิงนัก นารไปภายหน้าเหนว่าคนทังปวง จล่วงคะระหาติเตียนดูหมินได้ แลพระเจ้าอยู่หัวอย่าทรงพระอาไลยแก่ข้าพระพุทธิเจ้า ผู้ถึ่งแก่มรณโทษนี้เลยจงทรงพระอาไลยถึงพระราชประเพณีย์ อย่าให้เสิยขนบทำเนียมไปนั้นดีกว่า อันพระราชกำหนฎมีมาแต่บูรานนั้นว่า ถ้าแลพันท้ายผู้ใดถือท้ายเรือพระธินั่งให้ศิศเรือพระธินั่งนั้นหัก ท่านว่าพันท้ายผู้นั้น ถึ่งมรณโทษให้ตัดศิศเสีย แลพระเจ้าอยู่หัวจงทรงพระกรรุณาโปรฎให้ตัดศิศข้าพระพุทธิเจ้าเสีย ตามโปราณราชกำหนฎนั้นเถีด

จึ่งมีพระราชดำหรัสสั่งให้ฝีภายทังปวงปั้นมูลดินเปนรูบพันท้ายนรสิงฆ์ขึ้นแล้ว ก็ให้ตัดศิศรูบดินนั้นเสีย แล้วดำหรัสว่าไอ้พันท้าย ซึ่งโทษเองถึ่งตายนั้น กูจประหารชีวิตร์เองเสีย ภ่อเปนเหตุแทนตัวแล้วเองอย่าตายเลย จงกลับมาลงเรือไปด้วยกูเถีด พันท้ายนระสิงฆ์เหนดังนั้น ก็มีความละอายนัก ด้วยกลัวว่าจเสียพระราชกำหนฎ โดยขนบทำเนียมโบราณไป เกรงคนทังปวงจะครหาติเตียนดูหมินในสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวแห่งตนได้ สู้เสียสะละชีวิตรของตัวมิได้อาไลย จึ่งกราบทูลไปว่าฃ่อพระราชทานซึ่งทรงพระกรรุณาโปรดฎข้าพระพุทธิเจ้าทังนี้ พระเดชพระคุณหาที่สุดมิได้ แต่ทว่าซึ่งตัดศิศรูบดินแทนตัว ข้าพระพุทธิเจ้าดังนี้ดูเปนทำเล่นไป คนทังหลายจล่วงคระหาติเตียนได้ ฃ่อพระองค์จงทรงพระกรรุณาโปรฎตัดศิศข้าพระพุทธิเจ้าเสิยโดยฉันจริงเถีด อย่าให้เสิยขนบทำเนียมในพระราชกำหนฎไปเลย ข้าพระพุทธิเจ้าจฃอกราบทูลฝากบุตรภรรยา แล้วก็จกราบถวายบังคมลาตายไปโดยลักษณยะถาโทษอันกราบทูลไว้นั้น

สมเดจ์พระเจ้าแผ่นดีนตรัษได้ทรงฟังดังนั้น ก็ดำหรัสวิงวรไปเปนหลายครั้ง พันท้ายนระสิงฆก็มิยอมอยู่ สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวทรงพระมหาการุญภาพแก่พันท้ายนรสิงฆ์เปนอันมาก จนกลั่นน้ำพระเนตรนั้นไว้มิได้จำเปนจำทำตามพระราชกำหนฎ จึ่งดำหรัสสั่งนายเพชฆาฎ ให้ประหารชีวิตรพันท้ายนระสิงฆ์เสีย แล้วให้ทำสารขึ้นสูงเพียงตา แลให้เอาศิศพันท้ายนรสิงกับศิศเรือพระธินั่งซึ่งหักนั้น ขึ้นพลิกรรมไว้ด้วยกันบนสานนั้น แล้วให้ออกเรือพระธินั่งไปประภาษทรงเบจ์ณปากน้ำเมืองษาครบูรีย แล้วเสดจ์กลับยังพระมหานคร และสารเทภารักษที่ตำบลโฃกฃามนั้น ก็มีปรากฏมาตราบท้าวทุกวันนี้

จึ่งพระบาทบรมบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัว ก็ทรงพระราชตำหริว่า ณะคลองโฃกฃามนั้นคตเคียวนัก คนทังปวงจเดีรเรือเข้าออกก็ยาก ต้องอ้อมวงไปไกลกันดานหนัก ควรเราจให้ฃุดลัดตัดเสียให้ตรงจึ่งจชอบ อหนึ่งพันท้ายนรสิงฆ์ซึ่งตายเสิยนั้น เปนคนสัจซือมั่นคงนัก สู้เสียสะละชีวิตรหมิได้อาไลยกลัวว่าเราจเสียพระราชประเพณียไป เรามีความเสิยดายนัก ด้วยเปนข้าหลวงเดีมมาแต่ก่อน อันจหาผู้ซึ่งรักใคร่ซื่อตรงต่อจ้าว เหมือนพันท้ายนระสิงฆ์นี้ยากนัก แล้วดำหรัสให้เอากะเฬวระพันท้ายนระสิงฆ์นั้น มาแต่งการถาปณะกิจพระราชทานเพลีง แลบุตรภรรยานั้นก็พระราชทานเงีนทองสิงฃองเปนอันมาก

แล้วมีพระราชโองการตรัษสั่งสมุหนายก ให้กะเกนเลกหัวเมืองให้ได้ ๓๐๐๐๐ ไปขุดคลองโขกฃาม แลให้ขุดลัดตัดให้ตรงตลอดไป โดยฦกหกศอกบ์ากคลองกว้างแปดวา พืนคลองกว้างห้าวาแลให้พระราชสงครามเปนแม่กอง คุมพลหัวเมืองทังปวงขุดคลองจงแล้วสำเรจ์ดุจพระราชกำหนฎ|พระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม}}<ref>http://www.bl.uk/manuscripts/FullDisplay.aspx?ref=Or_11827</ref>

พระราชพงศาวดารที่ชำระในรุ่นหลัง เช่น [[พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา]] และ [[พระราชพงศาวดาร ฉบับหมอบรัดเล]] ก็ยังคงยึดถือเนื้อหาในพระราชพงศาวดาร กรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียมเป็นต้นแบบ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับหลักฐานอื่น ๆ แล้ว ไม่ปรากฏพบเรื่องราวของนายขนมต้มแต่อย่างใด

ใน[[พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)]] ซึ่งเก่ากว่าฉบับบริติชมิวเซียม กล่าวถึงการขุดคลองโคกขามในสมัย[[พระเจ้าท้ายสระ]] พ.ศ. 2264 โดยไม่ได้มีการกล่าวถึงการขุดคลองโคกขามในสมัยพระเจ้าเสือหรือเหตุการณ์พันท้ายนรสิงห์แต่อย่างใด<ref>พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9</ref> ในกฎมณเฑียรบาลก็ไม่มีการระบุโทษของพันท้ายเรือพระที่นั่งดังที่พงศาวดารบันทึกไว้ โทษส่วนใหญ่เป็นการรับผิดชอบของคนทั้งเรือพระที่นั่ง<ref>กฎหมายตรา 3 ดวง เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ, 2548.</ref> และพันท้ายเรือพระที่นั่งมี 2 คน แต่พระราชพงศาวดารกลับระบุถึงการประหารพันท้ายนรสิงห์เพียงผู้เดียว

[[สุเนตร ชุตินธรานนท์]] วิเคราะห์ว่าพันท้ายนรสิงห์เป็นเรื่องที่ถูกแต่งเสริมขึ้นมาในสมัยต้นรัตนโกสินทร์เพื่ออธิบายสาเหตุของการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยาว่ามาจากผู้ปกครองไม่ดี โดยใช้พันท้ายนรสิงห์เป็นคนวิจารณ์พระเจ้าเสือว่าไม่ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมกฎหมาย และเล่าที่มาของคลองมหาชัย<ref>https://www.youtube.com/watch?v=CfcK4-nVm3s</ref><ref>https://www.youtube.com/watch?v=glMXMpcQLh4&t=0s</ref>

ส่วนเรื่องที่ว่าพันท้ายนรสิงห์ มีชื่อเดิมว่า "สิน" เป็นชาวบ้านนรสิงห์ แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ (ปัจจุบัน คือ [[อำเภอป่าโมก]] [[จังหวัดอ่างทอง]]) มีภรรยาชื่อ "นวล" หรือ "ศรีนวล" ได้รู้จักกับพระเจ้าเสือด้วยการแข่งขันชกมวยไทยกัน เมื่อพระองค์แปลงองค์มาเป็นชาวบ้านธรรมดาและทรงโปรดในอุปนิสัยใจคอ ต่อมาได้กลายมาเป็นนายท้ายเรือพระที่นั่งของพระเจ้าเสือ ในบรรดาศักดิ์พันนั้น เป็นเรื่องราวจากบทละครเวทีที่ประพันธ์โดย[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล]]<ref>https://www.matichon.co.th/uncategorized/news_2515187</ref>

== มรดกสืบทอด ==
[[ไฟล์:ศาลพันท้ายนรสิงห์ 01.JPG|thumb|220px|ศาลพันท้ายนรสิงห์ ภายในอุทยานประวัติศาสตร์พันท้ายนรสิงห์ ตำบลพันท้ายนรสิงห์ [[อำเภอเมืองสมุทรสาคร]] [[จังหวัดสมุทรสาคร]]]]
ปัจจุบันมีสถานที่รำลึกหรือเกี่ยวเนื่องกับพันท้ายนรสิงห์หลายแห่ง ได้แก่

===ศาลพันท้ายนรสิงห์===
ศาลพันท้ายนรสิงห์ แห่งแรกตั้งอยู่บริเวณปากคลองโคกขาม ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร (พิกัดภูมิศาสตร์{{coord|13|34|24.6|N|100|20|44.8|E|region:MM}}) เชื่อว่าเป็นศาลพันท้ายนรสิงห์ที่เก่าแก่ที่สุดและเป็นจุดที่เชื่อว่าพันท้ายนรสิงห์ถูกประหารชีวิต ตัวศาลเดิมนั้นได้ผุพังไปตามกาลเวลาและถูกน้ำกัดเซาะตลิ่ง จึงได้มีการสร้างใหม่ และมีศาลในลักษณะศาลเพียงตาที่มีขา 6 ขา ที่ตั้งอยู่หน้าตัวศาลใหญ่ สร้างโดย [[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล]] เมื่อปี พ.ศ. 2493 จากการที่ได้สร้างภาพยนตร์เรื่องพันท้ายนรสิงห์ในปีเดียวกัน รูปเคารพพันท้ายนรสิงห์ในศาลแห่งนี้ สร้างขึ้นจากไม้จันทร์หอม<ref name=พัน/>

===วัดโคกขาม===
[[วัดโคกขาม]] ตำบลโคกขาม อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร (พิกัดภูมิศาสตร์{{coord|13|34|10.2|N|100|20|36.9|E|region:MM}}) ก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่เชื่อว่าเป็นจุดที่พันท้ายนรสิงห์ถูกประหารชีวิตด้วยเช่นกัน<ref name=พัน/>

=== อุทยานประวัติศาสตร์พันท้ายนรสิงห์ ===
เป็นอีกหนึ่งสถาณที่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลพันท้ายนรสิงห์ ตั้งอยู่ที่บ้านพันท้ายนรสิงห์ ตำบลพันท้ายนรสิงห์ [[อำเภอเมืองสมุทรสาคร]] [[จังหวัดสมุทรสาคร]] (พิกัดภูมิศาสตร์{{coord|13|31|58.34|N|100|22|43.43|E|region:MM}}) เป็นอีกจุดหนึ่งที่เชื่อว่าพันท้ายนรสิงห์ถูกประหารชีวิต เนื่องจากกรมศิลปากรร่วมด้วยคณาจารย์[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]]ได้งมพบท่อนไม้ท่อนหนึ่ง พร้อมกับไม้ที่ยาวราว 80 เซนติเมตร ที่เชื่อว่าเป็นโขนเรือเอกไชย ซึ่งมีร่องรอยความเสียหาย และเมื่อได้ผ่านการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์แล้วพบว่า ตรงกับสมัยที่พันท้ายนรสิงห์ถูกประหารชีวิต จึงเชื่อว่าท่อนไม้นั้นเป็นหลักประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์ และยังมีศาลเจ้าแม่ศรีนวล ผู้ที่เชื่อว่าเป็นภรรยาของพันท้ายนรสิงห์ และมีรูปเหมือนของพระเจ้าเสือและพันท้ายนรสิงห์ที่ทูลขอพระราชทานอาญาโทษประหารชีวิต<ref name=พัน/>

ศาลพันท้ายนรสิงห์แห่งนี้ถูกประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ใน[[ราชกิจจานุเบกษา]] เล่ม 72 ตอนที่ 2 เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2498 [[กรมศิลปากร]]ได้ดำเนินการจัดสร้างศาลพันท้ายนรสิงห์ขึ้นอยู่ถัดจากศาลเก่าที่พังลงมาไม่มากนัก โดยกันอาณาบริเวณรอบ ๆ ศาลไว้ประมาณ 100 ไร่ เพื่อจัดตั้งเป็น "อุทยานประวัติศาสตร์พันท้ายนรสิงห์" ภายในศาลมีรูปเคารพของพันท้ายนรสิงห์ขนาดเท่าของจริงในท่าถือท้ายคัดเรือ ที่สร้างขึ้นและนำมาประดิษฐานไว้เมื่อปี พ.ศ. 2519<ref name=พัน/>

ผู้ที่ศรัทธากราบไหว้พันท้ายนรสิงห์จะเรียกพันท้ายนรสิงห์ด้วยความเคารพว่า "พ่อพันท้าย" และเชื่อว่าสามารถบนบานสักการะขอได้ในทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องการเกณฑ์ทหาร ที่บนบานขอแล้วจะไม่ประสบความสำเร็จ<ref name=พัน>{{cite web|url=https://tv.lakorn.asia/line%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B8%81/16513|work=เนชั่นทีวี|title=Lineกนก วันที่ 7 พฤษภาคม 2017|date=2017-05-07|accessdate=2017-05-08}}</ref>
=== อนุสาวรีย์พันท้ายนรสิงห์ ===
จากบันทึกประวัติศาสตร์อ้างถึงถิ่นฐานเดิมว่าเป็นชาวบ้านนรสิงห์ แขวง[[เมืองวิเศษชัยชาญ]] เพื่อเป็นการรำลึกถึงความสำคัญของบรรพบุรุษ[[จังหวัดอ่างทอง|ชาวอ่างทอง]] จึงได้มีการร่วมกันจัดสร้างอนุสาวรีย์พันท้ายนรสิงห์ ขึ้นที่วัดนรสิงห์ ตำบลนรสิงห์ [[อำเภอป่าโมก]] [[จังหวัดอ่างทอง]] และทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์ขึ้นในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532<ref>[http://www.m-culture.in.th/moc_new/album/65434/พิธีบวงสรวงอนุสาวรีย์พันท้ายนรสิงห์/ พิธีบวงสรวงอนุสาวรีย์พันท้ายนรสิงห์ - ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม]{{ลิงก์เสีย|date=กันยายน 2021 |bot=InternetArchiveBot |fix-attempted=yes }}</ref>

=== การแข่งขันมวยไทย ===
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ได้มีการจัดการแข่งขัน[[มวยไทย]]นานาชาติ ชิงแชมป์เข็มขัดพันท้ายนรสิงห์ขึ้นเป็นครั้งแรกที่[[จังหวัดสมุทรสาคร]]<ref>{{cite web|url=http://www.manager.co.th/Travel/viewNews.aspx?NewsID=9570000014561|title= ตามรอยพันท้ายนรสิงห์ ในงาน สมุทรสาคร นคร แห่งความซื่อสัตย์|work=ผู้จัดการออนไลน์}}</ref><ref>{{Cite web |url=http://www.tlcthai.com/travel/22756/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%8C-%E0%B9%83%E0%B8%99.html |title='มหาชัย'จัดใหญ่ รำลึกความซื่อสัตย์ 'พันท้ายนรสิงห์' |access-date=2021-09-26 |archive-date=2020-08-07 |archive-url=https://web.archive.org/web/20200807124019/http://www.tlcthai.com/travel/22756/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%8C-%E0%B9%83%E0%B8%99.html |url-status=dead }}</ref>

== ในวัฒนธรรมร่วมสมัย ==
เรื่องราวของพันท้ายนรสิงห์ได้รับการนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เช่น [[ละครเวที]], [[ภาพยนตร์]], [[ละครโทรทัศน์]], [[หุ่นกระบอกไทย]]<ref>{{cite web|url=http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000035994|title= MRT พาน้องชมหุ่นกระบอกไทย - iBiz - Manager Online|work=ผู้จัดการออนไลน์}}</ref> และ[[หนังสือการ์ตูน]]<ref>[http://jindamanee.lib.ku.ac.th/cgi-bin/koha/opac-detail.pl?biblionumber=14678 พันท้ายนรสิงห์ (ฉบับการ์ตูน) - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]</ref>

{|class="wikitable"
|- style="background:lightgreen; color:black" align=center
| '''''รูปแบบการนำเสนอ''''' || '''''ปี''''' || '''''พันท้ายนรสิงห์''''' || '''''นวล''''' || '''''พระเจ้าเสือ'''''
|-
| ละครเวที || พ.ศ. 2488 || [[สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์]] ||rowspan=2| [[สุพรรณ บูรณะพิมพ์]] || จอก ดอกจันทร์
|-
| [[พันท้ายนรสิงห์ (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2493)|ภาพยนตร์]] || พ.ศ. 2493 || [[ชูชัย พระขรรค์ชัย]] || ถนอม อัครเศรณี
|-
| ละครเวที || พ.ศ. 2508 ||rowspan=2| [[กำธร สุวรรณปิยะศิริ]] ||rowspan=2| นงลักษณ์ โรจนพรรณ || ฉลอง สิมะเสถียร
|-
| ละครโทรทัศน์ || พ.ศ. 2515 || ถนอม อัครเศรณี
|-
| ละครโทรทัศน์ || พ.ศ. 2521 || [[นิรุตติ์ ศิริจรรยา]] || [[ดวงใจ หทัยกาญจน์]] || ตรัยเทพ เทวะผลิน
|-
| ภาพยนตร์ || พ.ศ. 2525 || [[สรพงษ์ ชาตรี]] || [[อาภาพร กรทิพย์]] || [[สมบัติ เมทะนี]]
|-
| ละครเวที || พ.ศ. 2532 || [[ศรัณยู วงษ์กระจ่าง]] || [[นาถยา แดงบุหงา]] || [[พิศาล อัครเศรณี]]
|-
| ละครโทรทัศน์ || พ.ศ. 2543 || [[ธีรภัทร์ สัจจกุล]] || [[พิยดา อัครเศรณี]] || [[พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง]]
|-
| [[พันท้ายนรสิงห์ (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2558)|ภาพยนตร์]] || พ.ศ. 2558 || rowspan=2| [[พงศกร เมตตาริกานนท์]] || rowspan=2| [[พิมดาว พานิชสมัย]] || rowspan=2| [[วันชนะ สวัสดี|พันเอกวันชนะ สวัสดี]]
|-
| [[พันท้ายนรสิงห์ (ละครโทรทัศน์)|ละครโทรทัศน์]] || พ.ศ. 2559
|}

=== ละครเวที ===
* ละครเวทีครั้งแรกในปี พ.ศ. 2488 [[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล]] ทรงนิพนธ์เป็นบทละครเวทีพันท้ายนรสิงห์ โดยเล่าเรื่องที่แต่งขึ้นจากเรื่องเกร็ดในพงศาวดารและประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลพระเจ้าเสือ กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย แสดงโดยคณะศิวารมณ์ นำโดย [[สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์]] เป็น พันท้ายนรสิงห์, [[สุพรรณ บูรณะพิมพ์]] เป็น นวล, จอก ดอกจันทร์ เป็น พระเจ้าเสือ มีเพลงประกอบคือเพลง [[น้ำตาแสงไต้]] เป็นเพลงประกอบในฉากพันท้ายนรสิงห์และนวลร่ำลากัน ละครเวทีได้รับความนิยมอย่างสูงสุดในช่วงสงครามและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
* ปี พ.ศ. 2508 ได้นำมาสร้างเป็นละครเวทีพิเศษเพื่อการกุศลของสมาคมต่อต้านยาเสพติดแห่งประเทศไทย แสดงที่หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำแสดงโดย กำธร สุวรรณปิยะศิริ รับบทเป็น พันท้ายนรสิงห์ และ นงลักษณ์ โรจนพรรณ รับบทเป็น นวล ฉลอง สิมะเสถียร แสดงเป็นพระเจ้าเสือ

<center>
<gallery mode="nolines" widths="210" heights="150">
ไฟล์:กำธรนงลักษณ์หน้าศาล.jpg|ภาพจากสูจิบัตรละครเวทีเรื่อง พันท้ายนรสิงห์ ของ สมาคมต่อต้านยาเสพติดแห่งประเทศไทย แสดงที่หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในภาพ นงลักษณ์ โรจนพรรณ - กำธร สุวรรณปิยะศิริ ถ่ายที่หน้าศาลพันท้ายนรสิงห์ ในวันที่ไปบวงสรวง
ไฟล์:ละครเวทีเรื่องพันท้ายนรสิงห์.jpg|ภาพปกซองแผ่นเสียงจากละครเวทีเรื่อง พันท้ายนรสิงห์ ของ สมาคมต่อต้านยาเสพติดแห่งประเทศไทย แสดงที่หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในภาพ นงลักษณ์ โรจนพรรณ - กำธร สุวรรณปิยะศิริ
ไฟล์:สูจิบัตรพันท้ายนรสิงห์2508.jpg|ภาพหน้าปกสูจิบัตรจากละครเวทีเรื่อง พันท้ายนรสิงห์ ของ สมาคมต่อต้านยาเสพติดแห่งประเทศไทย แสดงที่หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พุทธศักราช 2508
ไฟล์:รายชื่อพันท้ายนรสิงห์2508.jpg|รายชื่อทีมงานและผู้แสดงละครเวทีเรื่อง พันท้ายนรสิงห์ ของ สมาคมต่อต้านยาเสพติดแห่งประเทศไทย แสดงที่หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พุทธศักราช 2508
</gallery>
</center>

* ปี พ.ศ. 2532 จัดแสดงละครเวที พันท้ายนรสิงห์ขึ้น ณ ศาลาเฉลิมไทย เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการอำลา ศาลาเฉลิมไทย นำแสดงโดย ศรัณยู วงษ์กระจ่าง รับบทเป็น พันท้ายนรสิงห์ นาถยา แดงบุหงา รับบทเป็น นวล และ พิศาล อัครเศรณี รับบทเป็น พระเจ้าเสือ
* ละครเวทีพันท้ายนรสิงห์ มีการนำมาสร้างอีกหลายต่อหลายครั้ง โดยสร้างจากบทละครเวทีของ[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล]]

=== ภาพยนตร์ ===
* ปี พ.ศ. 2493 [[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล]] ได้นำมาสร้างใหม่เป็นภาพยนตร์ครั้งแรก ในชื่อเรื่อง [[พันท้ายนรสิงห์ (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2493)|พันท้ายนรสิงห์]] โดยสร้างจากบทละครเวทีเดิม นำแสดงโดย [[ชูชัย พระขรรค์ชัย]] ซึ่งเป็น[[นักมวยไทย]]ที่มีชื่อเสียง มารับบทเป็นพันท้ายนรสิงห์<ref>[http://www.thairath.co.th/content/367050 นักซ่อมพระกรุงเก่า สุดแน่ไม่แท้ไม่ซ่อม - ข่าวไทยรัฐออนไลน์]</ref> [[สุพรรณ บูรณะพิมพ์]] รับบทเป็น นวล และ ถนอม อัครเศรณี รับบทเป็น พระเจ้าเสือ ร่วมด้วย ทัต เอกทัต, ชั้น แสงเพ็ญ, [[อบ บุญติด]] และ [[สมพงษ์ พงษ์มิตร]] กำกับการแสดงโดย [[มารุต]]
* ปี พ.ศ. 2525 บริษัท[[ไชโยภาพยนตร์]] ได้สร้างเป็นภาพยนตร์ 35 มม. ในชื่อ ''พระเจ้าเสือ พันท้ายนรสิงห์'' กำกับการแสดงโดย [[เนรมิต]] นำแสดงโดย [[สรพงษ์ ชาตรี]] เป็น พันท้ายนรสิงห์, [[สมบัติ เมทะนี]] เป็น พระเจ้าเสือ, [[อาภาพร กรทิพย์]] เป็น นวล ร่วมด้วย [[พิศมัย วิไลศักดิ์]], [[มานพ อัศวเทพ]], [[ส.อาสนจินดา]], [[สีเทา เพ็ชรเจริญ|สีเทา]], [[สุพรรณ บูรณะพิมพ์]], จิรศักดิ์ อิศรางกูร ภาพยนตร์เน้นเรื่องราวและความผูกพันของพระเจ้าเสือและพันท้ายนรสิงห์
* ปี พ.ศ. 2558 [[หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล]] ได้นำมาสร้างใหม่เป็นภาพยนตร์อีกครั้ง นำแสดงโดย [[พงศกร เมตตาริกานนท์]] รับบทเป็น พันท้ายนรสิงห์ [[วันชนะ สวัสดี|พันโทวันชนะ สวัสดี]] รับบทเป็น พระเจ้าเสือ และ [[พิมดาว พานิชสมัย]] รับบทเป็น นวล กำหนดฉายวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558

=== ละครโทรทัศน์ ===
* ประมาณปี พ.ศ. 2515 ละครโทรทัศน์ครั้งแรก ออกอากาศทาง[[ช่อง 4 บางขุนพรหม]] นำแสดงโดย กำธร สุวรรณปิยะศิริ รับบทเป็น พันท้ายนรสิงห์ และ นงลักษณ์ โรจนพรรณ รับบทเป็น นวล
* ปี พ.ศ. 2521 ละครโทรทัศน์ออกอากาศทาง[[ช่อง 5]] นำแสดงโดย [[นิรุตติ์ ศิริจรรยา]] รับบทเป็น พันท้ายนรสิงห์ [[ดวงใจ หทัยกาญจน์]] รับบทเป็น นวล และ ตรัยเทพ เทวะผลิน รับบทเป็น พระเจ้าเสือ<ref>{{Cite web |url=http://www.thaifilm.com/forumDetail.asp?topicID=4255&page=2&keyword= |title=สำเนาที่เก็บถาวร |access-date=2015-12-26 |archive-date=2016-03-04 |archive-url=https://web.archive.org/web/20160304204328/http://www.thaifilm.com/forumDetail.asp?topicID=4255&page=2&keyword= |url-status=dead }}</ref>
* ปี พ.ศ. 2543 ละครโทรทัศน์ออกอากาศทาง[[สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7]] นำแสดงโดย [[ธีรภัทร์ สัจจกุล]] รับบทเป็น พันท้ายนรสิงห์ [[พิยดา อัครเศรณี]] รับบทเป็น นวล และ [[พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง]] รับบทเป็น พระเจ้าเสือ ร่วมด้วย [[กมลชนก โกมลฐิติ]], [[ธนายง ว่องตระกูล]], [[สุวัจนี ไชยมุสิก]], [[ชุติมา นัยนา]], [[วิทิต แลต]] กำกับการแสดงโดย [[พิศาล อัครเศรณี]] <ref>[http://70-90memory.blogspot.com/2013/08/2000_29.html ALWAYS ON MY MIND: พันท้ายนรสิงห์ (2000)]</ref>
* ปี พ.ศ. 2558 [[หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล]] หรือ ท่านมุ้ย ได้นำฉบับเต็มของภาพยนตร์ที่ฉายในปี พ.ศ. 2558 มาออกอากาศเป็นละครโทรทัศน์ความยาว 20 ตอนทาง[[ช่องเวิร์คพอยท์]] นำแสดงโดย [[พงศกร เมตตาริกานนท์]] รับบทเป็น พันท้ายนรสิงห์ [[วันชนะ สวัสดี|พันโทวันชนะ สวัสดี]] รับบทเป็น พระเจ้าเสือ และ [[พิมดาว พานิชสมัย]] รับบทเป็น นวล โดยเริ่มออกอากาศในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2559 และอวสานเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ในตอนแรกละครเรื่องนี้จะออกอากาศทาง[[ช่อง 3]] เนื่องจาก พงศกร เมตตาริกานนท์ ผู้รับบท พันท้ายนรสิงห์ เป็นนักแสดงในสังกัดช่อง 3 แต่ด้วยปัญหาเรื่องช่วงเวลาออกอากาศทำให้ท่านมุ้ยทรงนำพันท้ายนรสิงห์ไปตัดต่อและฉายเป็นภาพยนตร์ ต่อมา [[หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล]] หรือ คุณชายอดัม โอรสของท่านมุ้ยได้ตัดสินใจซื้อละครพันท้ายนรสิงห์กลับมาจากช่อง 3 และนำไปออกอากาศทางช่อง[[โมโน 29]] แต่ด้วยเหตุผลบางประการทำให้ละครเรื่องนี้ไม่สามารถออกอากาศทางช่องโมโน 29 ได้ ทำให้ท่านมุ้ยตัดสินใจนำละครเรื่องพันท้ายนรสิงห์มาออกอากาศทาง[[ช่องเวิร์คพอยท์]]แทน มีจำนวน 19 ตอน ตอนสุดท้ายออกอากาศเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559

== ดูเพิ่ม ==
* [[น้ำตาแสงไต้]] เพลงประกอบละครเวทีพันท้ายนรสิงห์ พ.ศ. 2488
* [[พันท้ายนรสิงห์ (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2493)]]
* [[พันท้ายนรสิงห์ (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2558)]]

== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}

==แหล่งข้อมูลอื่น==
{{commonscat|Phanthai Norasing Shrine|พันท้ายนรสิงห์}}
*ธนพงศ์ จิตต์สง่า. (2556, ต.ค.–2557, มี.ค.). การมองพันท้ายนรสิงห์ในบริบททางประวัติศาสตร์ไทย. '''วารสารไทยคดีศึกษา'''. 11(1): 81–126.


{{มรดกภูมิปัญญาชาติ/วรรณกรรมพื้นบ้าน}}
{{เกิดปี}}
{{ตายปี|2241}}
[[หมวดหมู่:พันท้ายนรสิงห์| ]]
[[หมวดหมู่:พันท้ายนรสิงห์| ]]
[[หมวดหมู่:ขุนนางในสมัยกรุงศรีอยุธยา]]
[[หมวดหมู่:ขุนนางในสมัยกรุงศรีอยุธยา]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:45, 26 มกราคม 2565