ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เยเรเมียส ฟาน ฟลีต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
แทนที่เนื้อหาด้วย "... ==อ้างอิงและเชิงอรรถ== {{รายการอ้างอิง}} {{lifetime|1602|1663|ฟ}} ห..."
ป้ายระบุ: ถูกแทน การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ blanking
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
...
'''เยเรเมียส ฟาน ฟลีต''' ({{lang-nl|Jeremias van Vliet}}; เกิด: [[ค.ศ. 1602]] - [[ค.ศ. 1663]] <ref name="kraan">[http://www.une.edu.au/asiacenter/v_d_Kraan_1.pdf The Dutch in Siam: Jeremias van Vliet and the 1636 Incident at Ayutthaya]</ref>) หรือที่คนไทยเรียกกันว่า '''วัน วลิต''' <ref>[http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=2065 การเรียกชื่อเฉพาะ (๒)], รศ. ดร.นิตยา กาญจนะวรรณ</ref> พ่อค้า[[ชาวดัตช์|ชาวเนเธอร์แลนด์]] ของบริษัท[[ดัตช์อีสต์อินเดีย]] เป็นผู้อำนวยการการค้าของอีสต์อินเดียใน[[กรุงศรีอยุธยา]] ในรัชสมัย[[สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง]] ระหว่าง [[พ.ศ. 2176]] ถึง [[พ.ศ. 2185]] <ref>[http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=642 จากพิษณุโลกสู่เวียงแหง ตามรอยนเรศวรมหาราช นอกกรอบประวัติศาสตร์ “ชาตินิยม”] นิตยสารสารคดี, ปีที่ 22 ฉบับที่ 262, ธันวาคม 49</ref> และได้เขียนหนังสือบันทึกเกี่ยวกับ[[ประเทศไทย]]ไว้ 5 เล่ม <ref>{{อ้างหนังสือ
|ผู้แต่ง=[[คึกฤทธิ์ ปราโมช]]
|ชื่อหนังสือ=กฤษฎาภินิหารอันบดบังมิได้
|URL=
|จังหวัด=กรุงเทพฯ
|พิมพ์ที่=สยามรัฐ
|ปี=2519
|ISBN=974-85680-9-7
|จำนวนหน้า=104
}}
</ref> เป็น[[ภาษาดัตช์]] ต่อมาได้มีผู้แปลเป็น[[ภาษาอังกฤษ]] <ref>[http://www.moohin.com/thaihistory/h017c003.shtml บันทึกของ วันวลิต หรือ เยเรเมียส ฟาน ฟลีต]</ref>
* ''Description of the Kingdom of Siam'' (การพรรณนาเรื่องราชอาณาจักรสยาม) เมื่อ พ.ศ. 2179 แปลเป็นภาษาไทยโดย[[กรมศิลปากร]]
* ''The Short History of the Kingdom of Siam'' (พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาโดยสังเขป) เมื่อต้นปี พ.ศ. 2183 แปลเป็นภาษาไทยโดย พล.ต. [[หม่อมราชวงศ์ศุภวัฒย์ เกษมศรี|ม.ร.ว. ศุภวัฒย์ เกษมศรี]] ชื่อ "พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา" และโดย[[วนาศรี สามนเสน]] และ[[ประเสริฐ ณ นคร]] ชื่อ "พระราชพงศาวดารสังเขป"
* ''The Historical Account of the War of Succession following the death of king Pra Interajatsia, 22nd King of Ayuthian Dynasty'' (รายงานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสงครามสืบราชสมบัติหลังจาก[[สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม|สมเด็จพระอินทรราชา]]<ref>จดหมายเหตุวันวลิต เรียกสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมว่า พระอินทราชาเจ้าช้างเผือก</ref> พระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 22 แห่งกรุงศรีอยุธยา) เมื่อปลายปี พ.ศ. 2183 แปลเป็นภาษาไทยโดยกรมศิลปากร ตีพิมพ์ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 79 ชื่อ "[[จดหมายเหตุวันวลิต (ฉบับสมบูรณ์)]]"

เยเรเมียส ฟาน ฟลีต เกิดที่เมือง[[สกีดาม]] เป็นบุตรคนสุดท้องของ Eewout Huybrechtszoon และ Maritge Cornelisdochter van Vliet <ref name="kraan"/> ได้เดินทางออกจากเนเธอร์แลนด์ด้วยเรือ Het Wapen van Rotterdam (The Rotterdam Arms) เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2171 ถึงเมือง[[ปัตตาเวีย]]เมื่อ พ.ศ. 2172 ก่อนจะได้รับคำสั่งให้ไปประจำที่[[ญี่ปุ่น]] ก่อนจะได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นพ่อค้า ทำหน้าที่ทำการค้ากับ[[สยาม]]ในปี พ.ศ. 2176 ใขณะที่อยู่ในสยาม ฟาน ฟลีตได้มีภรรยาลับชื่อ[[ออสุต พะโค]] (Osoet Pegua) หญิงชาวมอญ โดยทั้งคู่มีบุตรสาว 3 คน ภายหลังเมื่อนายฟานฟลีตออกจากสยามในปี [[พ.ศ. 2184]] จึงได้มีศึกชิงลูกกัน ผลก็คือบุตรทั้งสามคนอยู่กับนางออสุตตราบจนเธอสิ้นชีวิต<ref>สุภัตรา ภูมิประภาส (กันยายน 2552). "นางออสุต:เมียลับผู้ทรงอิทธิพลแห่งการค้าเมืองสยาม". ''ศิลปวัฒนธรรม'' 30:11, หน้า 97</ref>

หลังจากเป็นผู้อำนวยการสถานีการค้าในสยามเป็นเวลา 9 ปี เยเรเมียส ฟาน ฟลีต ได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการเมือง[[มะละกา]] คนที่ 2 เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2185 <ref name="kraan"/> เขาเดินทางกลับเนเธอร์แลนด์เมื่อ พ.ศ. 2190 และใช้ชีวิตที่บ้านเกิดจนเสียชีวิตเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2206 อายุ 61 ปี


==อ้างอิงและเชิงอรรถ==
==อ้างอิงและเชิงอรรถ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:55, 4 พฤษภาคม 2563

...

อ้างอิงและเชิงอรรถ