ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฟองน้ำ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ฟฟฟนนน (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 54: บรรทัด 54:
=== แบบไม่อาศัยเพศ ===
=== แบบไม่อาศัยเพศ ===
สืบพันธุ์โดย[[การแตกหน่อ]]ด้วยการสร้าง[[เจมมูล]] (gemmule) การสร้างเจมมูลจะเกิดในฟองน้ำที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด เมื่อพบ[[สภาวะแวดล้อม]]ไม่เหมาะสมเช่นอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป หรือแห้งแล้งเกินไป
สืบพันธุ์โดย[[การแตกหน่อ]]ด้วยการสร้าง[[เจมมูล]] (gemmule) การสร้างเจมมูลจะเกิดในฟองน้ำที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด เมื่อพบ[[สภาวะแวดล้อม]]ไม่เหมาะสมเช่นอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป หรือแห้งแล้งเกินไป
กลุ่มเซลล์อาร์คีโอไซต์ ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจากเซลล์อะมีโบไซต์ ซึ่งหลังจากนั้นจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มแล้วจึงสร้างหรือขวากมาห่อหุ้มไว้จนกลายเป็นเจมมูล ซึ่งทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี ถึงแม้ฟองน้ำตัวแม่จะตายไป เจมมูลจะยังคงดำรงชีวิตอยู่ได้ เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมแล้ว เจมมูลจะรวมกลุ่มกันจนกลายเป็นฟองน้ำตัวใหม่ต่อไป
กลุ่มเซลล์อาร์คีโอไซต์ ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจากเซลล์อะมีโบไซต์ ซึ่งหลังจากนั้นจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มแล้วจึงสร้างหรือขวากมาห่อหุ้มไว้จนกลายเป็นเจมมูล ซึ่งทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี ถึงแม้ฟองน้ำตัวแม่จะตายไป เจมมูลจะยังคงดำรงชีวิตอยู่ได้ เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมแล้ว เจมมูลจะรวมกลุ่มกันจนกลายเป็นฟองน้ำตัวใหม่ต่อไป ฟองน้ำอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิเก่งมากกกก


=== แบบอาศัยเพศ ===
=== แบบอาศัยเพศ ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:45, 23 มกราคม 2562

ฟองน้ำ
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Ediacaran - ปัจจุบัน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
โดเมน: Eukaryota
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Porifera
Grant in Todd, 1836
ชั้น

Calcarea
Hexactinellida
Demospongiae

ฟองน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกเดียวในไฟลัมพอริเฟอรา (Porifera มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน - porus หมายถึง รู และ ferre หมายถึง พยุงหรือค้ำเอาไว้) เป็นสัตว์หลายเซลล์ที่มีวิวัฒนาการต่ำสุด มีรูปร่างคล้ายแจกันที่มีรูพรุนเล็ก ๆ ทั่วตัวซึ่งเป็นช่องทางให้น้ำผ่านเข้าไปในลำตัว มีเซลล์เรียงกันเป็นสองชั้นแต่ยังไม่มีเส้นประสาทและกล้ามเนื้อที่แท้จริง ไม่มีอวัยวะและทางเดินอาหาร ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำทะเล มีบางชนิดเท่านั้นที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด ตัวอ่อนของฟองน้ำนั้นมีเซลล์ที่สามารถว่ายไดน้ำได้ เรียกระยะนี้ว่า แอมพิบลาสทูลา (Amphiblastula) โดยจะว่ายน้ำไปเกาะตามก้อนหิน เมื่อเจริญเติบโตแล้วจะกลายเป็นฟองน้ำที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ฟองน้ำในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 7,000 สายพันธุ์ มักพบในเขตน้ำลึกกลางมหาสมุทร (ลึกประมาณ 8,500 เมตร)

ต้นกำเนิดของฟองน้ำอาจย้อนไปถึงยุคพรีคัมเบรียน (Precambrian) หรือประมาณ 4,500 ล้านปีที่แล้ว พิสูจน์โดยซากฟอสซิลของฟองน้ำ

นอกจากนี้แล้ว ฟองน้ำยังถือว่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนสูงสุดในบรรดาอาณาจักรสัตว์ทั้งหมดอีกด้วย โดยมีอายุยืนได้ถึงหมื่นปี[1]

โครงสร้าง

โครงสร้างภายใน

  • เป็นสัตว์ที่มีรูเล็ก ๆ ทั่วตัว มีช่องทางให้น้ำผ่านเข้าเรียกว่าออสเทีย (Ostium) ส่วนรูใหญ่ที่อยู่ด้านบนเป็นทางให้น้ำออกเรียกว่าออสคูลัม (Osculum)
  • ผนังลำตัวประกอบด้วยเนื้อยื่อสองชั้นคือเนื้อเยื่อชั้นนอกเป็นเซลล์รูปร่างแบนเรียงกันคล้ายแผ่นกระเบื้อง ประกอบด้วยเซลล์เป็นปลอก มีแส้เซลล์ช่วยโบกพัดให้น้ำเคลื่อนผ่านลำตัว และทำหน้าที่กินสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่ปนมากับน้ำ เรียกเซลล์เหล่านี้ว่าเซลล์ปลอกคอ (Choanocyte)
  • ระหว่างเนื้อเยื่อสองชั้น จะมีชั้นกลางที่มีลักษณะคล้ายวุ้นเรียกว่าชั้นมีเซนไคม์ (Mesenchyme) ในชั้นนี้จะเซลล์ที่สามารถเคลื่อนที่และเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็นเซลล์อื่นได้ เรียกว่าอะมีโบไซต์ (Amoebocyte) เช่นเปลี่ยนไปเป็นสเกลอโรบลาสต์ (Scleroblast) เพื่อทำหน้าที่ขนส่งอาหารและลำเลียงของเสียออกจากตัวมัน

โครงสร้างภายนอก

โครงสร้างที่อยู่ในชั้นเซนไคม์ เรียกว่า "ขวาก" (spicule) เป็นตัวคงรูปร่างของฟองน้ำ สามารถแบ่งสารประกอบที่ใช้ในการคงรูปร่างได้เป็น 3 ชนิดคือ

  • ขวากหินปูน (Calacreous spicule) มีหินปูนเป็นองค์ประกอบ พบในฟองน้ำหินปูน
  • ขวากแก้ว (Siliceous spicule) มีซิลิกา (silica) เป็นองค์ประกอบ
  • สปอนจิน (Spongin) ไม่อยู่ในจำพวกของ "ขวาก" แต่เป็นเส้นใยที่มีองค์ประกอบเป็นสารสเกลอโรโปรตีน (Scleroprotein)
  ชนิดของเซลล์[2] สปิคุล[3] เส้นใยสปองจิน [4] โครงสร้างภายนอก[5] ระบบไหลเวียนน้ำ[6]
แคลคาเรีย นิวเคลียสอันเดียว, เยื่อหุ้มภายนอกชั้นเดียว แคลไซต์
อาจเป็นแบบเดี่ยวหรือ large masses
ไม่มี ปกติ
สร้างจากแคลไซต์ถ้ามี
แบบ แอสโคนอยด์ ไซโคนอยด์ หรือลิวโคนอยด์
ฟองน้ำแก้ว ส่วนใหญ่เป็น syncytia ในทุกสปีชีส์ ซิลิกา
อาจเป็นแบบเดี่ยวหรือ fused
ไม่มี ไม่มี ลิวโคนอยด์
เดโมสปองเจีย นิวเคลียสอันเดียว, เยื่อหุ้มภายนอกชั้นเดียว ซิลิกา ในหลายสปีชีส์ ในบางสปีชีส์
สร้างจาก อะราโกไนต์ ถ้ามี[7] [8]
ลิวโคนอยด์


การสืบพันธุ์

แบบไม่อาศัยเพศ

สืบพันธุ์โดยการแตกหน่อด้วยการสร้างเจมมูล (gemmule) การสร้างเจมมูลจะเกิดในฟองน้ำที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด เมื่อพบสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสมเช่นอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป หรือแห้งแล้งเกินไป กลุ่มเซลล์อาร์คีโอไซต์ ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจากเซลล์อะมีโบไซต์ ซึ่งหลังจากนั้นจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มแล้วจึงสร้างหรือขวากมาห่อหุ้มไว้จนกลายเป็นเจมมูล ซึ่งทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี ถึงแม้ฟองน้ำตัวแม่จะตายไป เจมมูลจะยังคงดำรงชีวิตอยู่ได้ เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมแล้ว เจมมูลจะรวมกลุ่มกันจนกลายเป็นฟองน้ำตัวใหม่ต่อไป ฟองน้ำอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิเก่งมากกกก

แบบอาศัยเพศ

ฟองน้ำจะสร้างอสุจิและไข่จากเซลล์อาร์คีโอไซต์ ซึ่งอยู่ในชั้นเวนไคม์ กระบวนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศนั้นจะเกิดขึ้นในตัวของฟองน้ำ เมื่ออสุจิเพศเมียผสมกับไข่เพศผู้ได้จากไซโกต เจริญเติบโตจนเป็นตัวอ่อนที่ขนเซลล์รอบตัวแล้ว ตัวอ่อนจะเคลื่อนตัวออกจากตัวแม่ผ่านทางออสคูลัม เพื่อว่ายน้ำไปเกาะตามหินและสืบพันธุ์ฟองน้ำตัวใหม่ต่อ ๆ ไป

การจำแนกหมวดหมู่

ฟองน้ำนั้นสามารถจำแนกให้เป็นหมวดหมู่ได้โดยการสังเกตลักษณะของขวากที่แตกต่างกัน ได้เป็น 3 ชั้น (class) ดังนี้

อ้างอิง

  1. ขวัญถุงเงินล้าน, รายการเกมโชว์ทางช่อง 5: อังคารที่ 24 กันยายน 2556
  2. Bergquist, P.R., (1998). "Porifera". ใน Anderson, D.T., (บ.ก.). Invertebrate Zoology. Oxford University Press. pp. 10–27. ISBN 0195513681.{{cite book}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. Bergquist, 2001
  4. Bergquist, 2001
  5. Bergquist, 2001
  6. Bergquist, 2001
  7. Bergquist, 2001
  8. Hooper, Van Soest, Debrenne, 2002