ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุคหินเก่า"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 29: บรรทัด 29:
== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}Noob guys
{{รายการอ้างอิง}}Noob guys
Bump
[[หมวดหมู่:ยุคหิน]]
[[หมวดหมู่:ยุคหิน]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:50, 12 กันยายน 2561

ถูกล่าจนศูนย์พันธุ์สองพันปีหลังมุษย์มาถึงอเมริกาใต้]]

Cave of Altamira and Paleolithic Cave Art of Northern Spain

ยุคหินเก่า (อังกฤษ: Paleolithic) เป็น ช่วงเวลาก่อนประวัติศาสตร์ของมนุษย์ มีจุดเด่นอยู่ที่การพัฒนาเครื่องมือหินยุคแรกเริ่ม และครอบคลุมประมาณ 95% ของเทคโนโลยีก่อนประวัติศาสตร์ของมนุษย์อ้างอิงผิดพลาด: ไม่มีการปิด </ref> สำหรับป้ายระบุ <ref>

ยุคต่อมาหลังยุคหินเก่า คือ ยุคหินกลาง (Mesolithic)

สังคมมนุษย์ยุคหินเก่า

คนในยุคหินเก่าดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์ และเสาะแสวงหาพืชผักผลไม้กินเป็นอาหารมีการพึ่งพาอาศัยธรรมชาติ และสภาวะแวดล้อมอย่างเต็มที่ กล่าวคือ เมื่อฝูงสัตว์ที่ล่าเป็นอาหารหมดลงก็ต้องอพยพย้ายถิ่นติดตามฝูงสัตว์ไปเรื่อย ๆ การที่มนุษย์จำเป็นต้องแสวงหาถิ่นที่อยู่ใหม่เพราะต้องล่าสัตว์ดังกล่าว อาจทำให้คนต้องปรับพฤติกรรมการบริโภคไปในตัวด้วย เนื่องจากชีวิตส่วนใหญ่ของคนในยุคหินเก่าต้องอยู่ กับการแสวงหาอาหารและการป้องกันตัวจากสัตว์ร้ายและภัยธรรมชาติรวมถึงการต่อสู้ในหมู่พวกเดียวกันเพื่อ การอยู่รอด จึงทำให้ต้องพัฒนาเกี่ยวกับเครื่องมือล่าสัตว์ โดยการพัฒนาอาวุธที่ทำด้วยหินสำหรับตัด ขูดหรือ สับ เช่น หอก มีด และเข็ม เป็นต้น

ระบบความสัมพันธ์ทางสังคมพบว่า คนในยุคหินเก่าเริ่มอยู่กันเป็นครอบครัว แล้ว แต่ยังไม่มีการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนอย่างแท้จริง เพราะวิถีชีวิตแบบเร่ร่อนไม่เอื้ออำนวยให้มีการตั้งหลักแหล่งถาวรขณะเดียวกันองค์กรทางการเมืองการปกครองก็ยังไม่เกิดขึ้น สังคมจึงมีสภาพเป็นอนาธิปัตยคือไม่มีผู้เป็นใหญ่แน่นอน ผู้ที่มีอำนาจมักเป็นผู้ที่มีความแข็งแรงเหนือผู้อื่น

นอกจากนี้ยังพบว่า คนในยุคนี้เริ่มรู้จักแสดงความรู้สึกออกมาในรูปของศิลปะบ้างแล้ว ศิลปะที่สำคัญ ได้แก่ รูปเขียนกระทิงเรียงกันเป็นขบวน ขุดค้นพบภายในถ้ำอัลตะมิระ ทางตอนใต้ของสเปนและ ภาพสัตว์ส่วนใหญ่เป็นภาพสัตว์ที่คนสมัยนั้นล่าเป็นอาหาร มีวัวกระทิง ม้าป่า กวางแดง และกวางเรนเดียร์ เป็นต้น พบที่ถ้ำสาบโก ในประเทศฝรั่งเศส ส่วนประเทศไทย พบที่ถ้ำตาด้วง จังหวัดกาญจนบุรี ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี และถ้ำผีหัวโต จังหวัดกระบี่ เป็นต้น

สังคมของมนุษย์ยุคหินเก่าตอนกลาง และยุคหินเก่าตอนปลาย มีระยะเวลาที่สั้น ปรากฏอารยธรรมเกิดขึ้นในทวีปยุโรป แอฟริกาและเอเชีย สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนยุคหินเก่าตอนกลางส่วนมากคล้ายกับยุคหินเก่าตอนต้นแต่ก็พบว่าคนยุคกินเก่าตอนกลางบางแห่งมีพัฒนาการมากขึ้น

มีการพบหลักฐานแสดงว่า คนยุคหินเก่าในช่วงปลายมีความสามารถในการจับสัตว์น้ำได้ดีและมีการคมนาคมทางน้ำเกิดขึ้นแล้ว เทคโนโลยีของยุคกินเก่าตอนปลายจะมีขนาดเล็กกว่ายุคหินเก่าตอนต้นและประโยชน์ใช้สอยดีขึ้นกว่าเดิม คนยุคหินเก่าตอนกลางจะมีวัฒนธรรมแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่บนภูเขา ตามถ้ำ หรือเพิงผา ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่บนพื้นราบ ริมน้ำหรือชายทะเล

วิวัฒนาการของมนุษย์

กะโหลกศีรษะของ Homo heidelbergensis

วิวัฒนาการของมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการทางชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับการเกิดของมนุษย์ที่เป็นสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน

ภูมิศาสตร์ดึกดำบรรพ์และสภาพภูมิอากาศ

สภาพภูมิอากาศของช่วงเวลายุคหินยาวนานถึงสองยุคทางธรณีวิทยาที่รู้จักกันคือ สมัยไพลโอซีน (Pliocene) และ สมัยไพลทซีน (Pleistocene) ทั้งสองยุคนี้ได้ประสบการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศที่สำคัญที่มีผลต่อสังคมมนุษย์ ในช่วงระหว่างยุค Pliocene ทวีปยังคงเลื่อนตัวอาจจะเป็นระยะไกลเท่าที่เป็นไปได้คือ 250 กิโลเมตรจากตำแหน่งที่ตั้งเดิมของพวกเขาไปอยู่ในตำแหน่งเพียง 70 กิโลเมตรจากตำแหน่งที่ตั้งปัจจุบันของพวกเขา ทวีปอเมริกาใต้กลายเป็นที่เชื่อมโยงไปยังทวีปอเมริกาเหนือผ่านคอคอดปานามา

อ้างอิง

Noob guys

Bump