ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เซลล์ (ชีววิทยา)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:


=== 8;p ===


sadadsa
[[ทฤษฎีเซลล์]]ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกในปี [[พ.ศ. 2382]] (ค.ศ. 1839) โดย[[แมตเทียส จาคอบ ชไลเดน]] (Matthias Jakob Schleiden) และ [[ทีโอดอร์ ชวานน์]] (Theodor Schwann) ได้อธิบายว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหมดประกอบด้วยเซลล์หนึ่งเซลล์หรือมากกว่า เซลล์ทั้งหมดมีกำเนิดมาจากเซลล์ที่มีมาก่อน (preexisting cells) ระบบการทำงานเพื่อความอยู่รอดของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหมดเกิดขึ้นภายในเซลล์ และภายในเซลล์ยังประกอบด้วย[[สารพันธุกรรม|ข้อมูลทางพันธุกรรม]] (hereditary information) ซึ่งจำเป็นสำหรับการควบคุมการทำงานของเซลล์ และการส่งต่อข้อมูลทางพันธุกรรมไปยังเซลล์รุ่นต่อไป

คำว่า''เซลล์'' มาจาก[[ภาษาละติน]]ที่ว่า ''cella'' ซึ่งมีความหมายว่า ห้องเล็กๆ ผู้ตั้งชื่อนี้คือ[[โรเบิร์ต ฮุก]] (Robert Hooke) เมื่อเขาเปรียบเทียบเซลล์ของไม้คอร์กเหมือนกับห้องเล็กๆ

=== คุณสมบัติของเซลล์ ===
[[ไฟล์:Cellsize.jpg|thumb|right|190px|เซลล์ของหนูในจานเพาะเชื้อ เซลล์เหล่านี้กำลังขยายขนาดใหญ่ขึ้น แต่ละเซลล์มีขนาดประมาณ 50 [[ไมโครเมตร]]]]

แต่ละเซลล์มีองค์ประกอบและดำรงชีวิตได้ด้วยตัวของมันเอง โดยการนำสารอาหารเข้าไปในเซลล์และเปลี่ยนสารอาหารให้กลายเป็นพลังงานเพื่อการดำรงชีวิตและการสืบพันธุ์ เซลล์มีความสามารถหลายอย่างดังนี้:
* เพิ่มจำนวนโดย[[การแบ่งเซลล์]]
* [[เมแทบอลิซึม]]ของเซลล์ (cell metabolism) ประกอบด้วย การลำเลียงวัตถุดิบเข้าเซลล์,การสร้างส่วนประกอบของเซลล์,การสร้าง[[พลังงาน]]และ[[โมเลกุล]]และปล่อย[[ผลิตภัณฑ์]]ออกมา การทำงานของเซลล์ขึ้นกับความสามารถในการสกัดและใช้พลังงานเคมีที่สะสมในโมเลกุลของสารอินทรีย์ พลังงานเหล่านี้จะได้จาก[[วิถีเมแทบอลิซึม]] (metabolic pathway)
* [[การสังเคราะห์โปรตีน]]เพื่อใช้ในระบบการทำงานของเซลล์ เช่น [[เอนไซม์]] โดยเฉพาะเซลล์ของ[[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม]]จะมี[[โปรตีน]]ต่าง ๆ ถึง 10,000 ชนิด
* ตอบสนองต่อ[[สิ่งกระตุ้น]]ทั้งภายนอกและภายใน เช่น การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ [[pH]] หรือระดับอาหาร.
* [[การขนส่ง]]ของ[[เวสิเคิล]] (vesicle)

=== ประเภทของเซลล์ ===
[[ไฟล์:celltypes.png|thumbnail|330px|'''ภาพเปรียบเทียบเซลล์ยูแคริโอต (eukaryotes) และเซลล์โพรแคริโอต (prokaryotes) ''' - รูปนี้แสดงเซลล์มนุษย์ (ยูแคริตโอต) และ เซลล์แบคทีเรีย (โพรแคริโอต) ด้านซ้ายแสดงโครงสร้างภายในของเซลล์ยูแคริโอต ซึ่งประกอบด้วย นิวเคลียส (''สีฟ้า'') , นิวคลีโอลัส (''สีน้ำเงิน'') , ไมโทคอนเดรีย (''สีส้ม'') , และไรโบโซม (''สีน้ำเงินเข้ม'') รูปทางขวาแสดงดีเอ็นเอของแบคทีเรีย ที่อยู่ในโครงสร้างที่เรียกว่า นิวคลิออยด์ (''สีฟ้าอ่อน'') และโครงสร้างอื่นๆ ที่พบในเซลล์[[โพรแคริโอต]] ซึ่งประกอบด้วย เยื่อหุ้มเซลล์ (''สีดำ'') , ผนังเซลล์ (''สีน้ำเงิน'') , แคปซูล (''สีส้ม'') , ไรโบโซม (''สีน้ำเงินเข้ม'') , แฟลกเจลลัม (''สีดำ'')]]

วิธีการจัดกลุ่มเซลล์ไม่ว่าเซลล์นั้นจะอยู่ตามลำพังหรืออยู่เป็นกลุ่ม ได้แก่ [[สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว]] (unicellular) ซึ่งดำรงชีวิตเพื่อความอยู่รอด จนไปถึงการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มที่เรียกว่า โคโลนี (''colonial forms'') หรือ สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (multicellular) ซึ่งเซลล์เหล่านี้จะกลายเป็นเซลล์เฉพาะทางที่แตกต่างกันหลายรูปแบบ เช่น เซลล์ต่างๆ ในร่างกายมนุษย์

โดยสรุป เซลล์สามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบคือ

* '''[[โพรแคริโอต]]''' (prokaryote) เป็นเซลล์ที่มีโครงสร้างอย่างง่าย อาจอยู่เป็นเซลล์เดี่ยวๆ หรือรวมกลุ่มเป็น[[โคโลนี]] (Colony) ใน[[การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์]]แบบระบบสามโดเมน (three-domain system) ได้จัดโพรแคริโอตอยู่ในโดเมน[[อาร์เคีย]] (Archaea) และ[[แบคทีเรีย]] (Eubacteria)

* '''[[ยูแคริโอต]]''' (eukaryote) เป็นเซลล์ที่มี[[ออร์แกเนลล์]] (organelle) และผนังของออร์แกเนลล์ มีตั้งแต่เซลล์เดียวเช่น [[อะมีบา]] (amoeba) และ[[เห็ดรา]] (fungi) หรือเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เช่นพืชและสัตว์รวมทั้ง[[สาหร่ายสีน้ำตาล]]

== ส่วนประกอบย่อยของเซลล์ ==
[[ไฟล์:biological_cell.svg|thumb|330px|ภาพเซลล์โดยสัตว์ทั่วไป ประกอบด้วย[[ออร์แกเนลล์]]ต่าง ๆ ดังนี้ (1) [[นิวคลีโอลัส]], (2) [[นิวเคลียสเซลล์|นิวเคลียส]], (3) [[ไรโบโซม]], (4) [[เวสิเคิล]], (5) [[เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ]], (6) [[กอลจิแอปพาราตัส]], (7) [[ระบบเส้นใยของเซลล์]], (8) [[เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ]], (9) [[ไมโทคอนเดรีย]], (10) [[แวคิวโอล]], (11) [[ไซโทพลาซึม]], (12) [[ไลโซโซม]], (13) [[เซนทริโอล]]]]

[[ไฟล์:Plant cell structure.png|thumb|330px|ภาพเซลล์พืชทั่วไป แสดงส่วนประกอบย่อยของเซลล์ (ดูตาราง 2 แสดงการเปรียบเทียบระหว่างเซลล์พืชและสัตว์)]]

เซลล์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นโพรแคริโอตหรือยูแคริโอตจะต้องมี[[เยื่อหุ้มเซลล์]] (cell membrane) ทำหน้าที่ห่อหุ้มเซลล์เสมอ เพื่อแยกส่วนประกอบภายในเซลล์ออกจากสิ่งแวดล้อม เป็นการควบคุมการขนส่งสารเข้าออกเซลล์ และเพื่อรักษา[[ความต่างศักย์ทางไฟฟ้าของเซลล์]] (cell potential) ภายในเยื่อหุ้มเซลล์จะประกอบไปด้วย ไซโทพลาซึมที่มีสภาพเป็น[[เกลือ]] และเป็นเนื้อที่ส่วนใหญ่ของเซลล์ ภายในเซลล์จะมี ดีเอ็นเอ [[หน่วยพันธุกรรม]]ของเซลล์หรือยีน และ [[อาร์เอ็นเอ]]ชึ่งจะมีข้อมูลที่จำเป็นในการถ่ายทอดพันธุกรรม รวมทั้ง[[โปรตีน]]ต่างๆ เช่น เอนไซม์ นอกจากนี้ภายในเซลล์ก็ยังมีสาร[[ชีวโมเลกุล]] (biomolecule) ชนิดต่างๆ อีกมากมาย

=== เยื่อหุ้มเซลล์ - ส่วนหุ้มและปกป้องเซลล์ ===
[[ไซโทพลาซึม]]ของเซลล์ประเภท[[ยูแคริโอต]]จะถูกห้อมล้อมด้วยส่วนที่เรียกว่า [[เยื่อหุ้มเซลล์]] หรือ [[พลาสมา เมมเบรน]] (plasma membrane) พลาสมาเมมเบรนจะพบในเซลล์ประเภทโพรแคริโอตด้วย เยื่อนี้จะทำหน้าที่แยกและปกป้องเซลล์จากสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ส่วนใหญ่แล้วถูกสร้างขึ้นจากชั้นของลิพิดสองชั้น หรือ ฟอสโฟลิพิด ไบแลร์ (Phospholipid bilayer) และโปรตีน ภายในเยื่อจะมีโมเลกุลหลากชนิดที่ทำหน้าที่เป็นทั้งช่องทางผ่านของสารและ ปั๊ม (channels and pumps) เพื่อทำหน้าที่เฉพาะในการขนส่ง[[โมเลกุล]]เข้าหรือออกจากเซลล์

=== [[ไซโทสเกเลตอน]] (cytoskeleton) - ส่วนที่เป็นโครงสร้างของเซลล์ ===
[[ไซโทสเกเลตอน]]เป็นโครงสร้างที่สำคัญ ซับซ้อน และเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีบทบาทในการจัดรูปแบบและจัดเรียงตำแหน่งของ[[ออร์แกเนลล์]]ให้อยู่ในที่ที่เหมาะสม, ช่วยให้เกิดกระบวนการ[[เอนโดไซโทซิส]] (endocytosis) หรือการนำสารจากภายนอกเซลล์เข้ามาในเซลล์เพื่อใช้ในกระบวนการเจริญเติบโตและการเคลื่อนไหว, บทบาทในการทำงานของกล้ามเนื้อ, และมีโปรตีนจำนวนมากมายในไซโทสเกลเลตอนที่ควบคุมโครงสร้างของเซลล์

ไซโทสเกเลตอน แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดตามขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ได้แก่ [[ไมโครทูบูล]] (Microtubule) , [[อินเทอร์มีเดียท ฟิลาเมนท์]] (Intermediate Filament) และ [[ไมโครฟิลาเมนท์]] (Microfilament)

=== สารพันธุกรรม (Genetic Material) ===
[[สารพันธุกรรม]]แตกต่างกันสองชนิดคือ :
* [[ดีเอ็นเอ]] (deoxyribonucleic acid-DNA)
* [[อาร์เอ็นเอ]] (ribonucleic acid-RNA)

[[รหัสพันธุกรรม]] (Genetic code) ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเป็นข้อมูลทางพันธุกรรมของเซลล์ซึ่งเก็บอยู่ในรูปดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอ สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ใช้ดีเอ็นเอสำหรับเก็บข้อมูลทางพันธุกรรม แต่ไวรัสบางชนิด เช่น รีโทรไวรัส (retrovirus) มีอาร์เอ็นเอเป็นสารพันธุกรรม อาร์เอ็นเอนอกจากจะเป็นสารพันธุกรรมแล้วยังทำหน้าที่เป็นสารที่ขนถ่ายข้อมูลด้วย ได้แก่ [[เมสเซนเจอร์ อาร์เอ็นเอ]] (mRNA) และอาจทำหน้าที่เป็นเอนไซม์ได้โดยเฉพาะในเซลล์ที่มีอาร์เอ็นเอเป็นสารพันธุกรรม ได้แก่ [[ไรโบโซมัล อาร์เอ็นเอ]] หรือ (rRNA)

สารพันธุกรรมของพวก[[โปรคาริโอต]] จะถูกจัดอยู่ในโมเลกุลของดีเอ็นเอรูปวงกลมง่ายๆ เช่น ดีเอ็นเอของ[[แบคทีเรีย]]ซึ่งอยู่ใน[[บริเวณนิวคลอยด์]] (nucleoid region) ของไซโตพลาสซึม ส่วนสารพันธุกรรมของพวกยูคาริโอต จะถูกจัดแบ่งให้อยู่ในโมเลกุลที่เป็นเส้นตรงที่เรียกว่า [[โครโมโซม]] (chromosome) ภายในนิวเคลียส และยังพบว่ามีสารพันธุกรรมอื่นๆ นอกจากในโครโมโซมในออร์แกเนลล์บางชนิด เช่น ไมโทคอนเดรียและคลอโรพลาสต์ (ดูเพิ่มเติมที่[[ทฤษฎีเอ็นโดซิมไบโอติก]] (endosymbiotic theory)) เช่น ในเซลล์มนุษย์จะมีสารพันธุกรรมในบริเวณดังนี้ในนิวเคลียส เรียกว่า [[นิวเคลียร์ จีโนม]] (nuclear genome) แบ่งเป็นโมเลกุลเส้นตรง ดีเอ็นเอ 46 เส้น หรือ 23 คู่ เรียกว่า โครโมโซม
* ในไมโทคอนเดรีย เรียกว่า [[ไมโทคอนเดรียล จีโนม]] (mitochondrial genome) เป็นโมเลกุลดีเอ็นเอรูปวงกลมที่แยกจากดีเอ็นเอใน[[นิวเคลียส]] ถึงแม้[[ไมโทคอนเดรีย]] จีโนมจะเล็กมากแต่ก็มีรหัสสำหรับการสร้าง[[โปรตีน]]ที่สำคัญ

สารพันธุกรรมจากภายนอกที่สังเคราะห์ขึ้นได้เองสามารถนำไปใส่ในเซลล์ได้เราเรียกกระบวนการนี้ว่า [[ทรานสเฟกชัน]] (transfection)

== [[กายวิภาคศาสตร์]]ของเซลล์ ==

{| align="center" class="toccolours" border="1" style="border:1px solid gray; border-collapse:collapse;"
|+'''ตาราง 2: การเปรียบเทียบโครงสร้างของ เซลล์พืช และ เซลล์สัตว์'''
|-
|
![[เซลล์สัตว์]]
![[เซลล์พืช]]
|- valign="top"
!ออร์แกเนลล์ (Organelles)
|
* [[นิวเคลียสเซลล์|นิวเคลียส]] (Nucleus)
** [[นิวคลีโอลัส]] (Nucleolus in nucleus)
* [[เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม]] (Endoplasmic reticulum)
** [[เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ]] (Rough endoplasmic reticulum)
** [[เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ]] (Smooth endoplasmic reticulum)
* [[ไรโบโซม]] (Ribosome)
* [[ไซโทสเกเลตอน]] (Cytoskeleton)
* [[กอลจิแอปพาราตัส]] (Golgi apparatus)
* [[ไซโทพลาซึม]] (Cytoplasm)
* [[ไมโทคอนเดรีย]] (Mitochondria)
* [[เวสิเคิล]] (Vesicle)
* [[แวคิวโอล]] (Vacuole)
* [[ไลโซโซม]] (Lysosome)
* [[เซนทริโอล]] (Centriole)
|
* [[นิวเคลียสเซลล์|นิวเคลียส]] (Nucleus)
** [[นิวคลีโอลัส]]ในนิวเคลียส (Nucleolus in nucleus)
* [[เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม]] (Endoplasmic reticulum)
** [[เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ]] (Rough endoplasmic reticulum)
** [[เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ]] (Smooth endoplasmic reticulum)
* [[ไรโบโซม]] (Ribosomes)
* [[ไซโทสเกเลตอน]] (Cytoskeleton)
* [[กอลจิแอปพาราตัส]] หรือ [[ดิกไทโอโซม]] (dictiosomes)
* [[ไซโทพลาซึม]] (Cytoplasm)
* [[ไมโทคอนเดรีย]] (Mitochondria)
* [[เวสิเคิล]] (Vesicle)
* [[คลอโรพลาสต์]] (Chloroplast) และ [[พลาสติด]] (plastid)
* [[แวคิวโอล]] (Central vacuole)
** [[โทโนพลาสต์]] (Tonoplast-central vacuole membrane)
* [[เพอรอกซิโซม]] (Peroxisome)
* [[ไกลออกซิโซม]] (Glyoxysome)
|- valign="top"
!
|
* [[ซิเลีย]] (Cilium)
* [[แฟลเจลลัม]] (Flagellum)
* [[พลาสมา เมมเบรน]] (Plasma membrane)
|
* [[พลาสมา เมมเบรน]] (Plasma membrane)
* [[ผนังเซลล์]] (Cell wall)
* [[พลาสโมเดสมาตา]] (Plasmodesmata)
* [[แฟลเจลลัม]]ในเซลล์สืบพันธุ์ (Flagellum in gametes)
|}

== วัฏจักรของเซลล์ ==

วัฏจักรของเซลล์ๆหนึ่งจะเริ่มจากการเจริญสะสมสารอาหารและทำกิจกรรมต่างๆ จนถึงระยะหนึ่งก็จะแบ่งตัวเพือสร้างเซลล์ใหม่ไปเรื่อยๆ ในเซลล์[[ยูคาริโอต]]นั้น วัฏจักรของเซลล์มี 4 ระยะที่ชัดเจน คือ
* G1 เป็นช่วงหลังจากเซลล์ผ่านการแบ่งตัวมาใหม่ จนถึงเตรียมการจะแบ่งตัวอีกครั้ง เป็นช่วงที่เซลล์มีกิจกรรมมาก
* S เป็นช่วงเวลาที่มีการจำลองตัวของ DNA เพิ่มจาก 1 ชุดเป็น 2 ชุด เพื่อเตรียมสารพันธุกรรมไว้ให้เซลล์ใหม่ต่อไป
* G2 เป็นช่วงเวลาหลังจากจำลอง DNA เสร็จแล้ว รอการแบ่งเซลล์ต่อไป
* M เป็นช่วงเวลาที่มีการแบ่งเซลล์แบบ[[ไมโทซิส]] ซึ่งเมื่อแบ่งตัวเสร็จแล้วจะได้เซลล์ลูก 2 เซลล์ ซึ่งมีสารพันธุกรรมเหมือนเซลล์ตั้งต้นทุกประการ
ในเซลล์ที่ผิดปรกติหรือเซลล์บางชนิดเช่นเซลล์ประสาทจะเข้าไปในระยะ G0 ซึ่งเป็นช่วงที่เซลล์จะไม่มีการแบ่งเซลล์อีกและจะไม่สามารถอกกจากระยะนี้ได้
ซึ่งถ้าเป็นเซลล์ที่ผิดปรกติจะถูกทิ้งให้ตาย

== อ้างอิง ==
{{คอมมอนส์|Cell (biology) }}
* [http://www.ericdigests.org/2004-1/cells.htm Teaching about the Life and Health of Cells.]
* [http://www.biopic.co.uk/cellcity/cell.htm The cell like a city].

{{ออร์แกเนลล์}}
{{องค์ประกอบของสสาร}}


[[หมวดหมู่:เซลล์| ]]
[[หมวดหมู่:เซลล์| ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:10, 7 กรกฎาคม 2561

8;p

sadadsa