ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เลขที่อยู่ไอพี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
แทนที่เนื้อหาด้วย "== ง่วงงละสิ ขอให้โชคดีที่เว็บอื่นนะ == หมวดหมู่:กา..."
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
== ง่วงงละสิ ขอให้โชคดีที่เว็บอื่นนะ ==
'''เลขที่อยู่ไอพี'''<ref>[http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php ศัพท์บัญญัติ ราชบัณฑิตยสถาน] (สืบค้นออนไลน์)</ref> ({{lang-en|IP address: Internet Protocol address}}<ref name=":0" />) หรือชื่ออื่นเช่น ''ที่อยู่ไอพี, หมายเลขไอพี, เลขไอพี, ไอพีแอดเดรส'' คือฉลากหมายเลขที่กำหนดให้แก่อุปกรณ์แต่ละชนิด (เช่น[[คอมพิวเตอร์]] [[เครื่องพิมพ์]]) ที่มีส่วนร่วมอยู่ใน[[เครือข่ายคอมพิวเตอร์]]หนึ่ง ๆ ที่ใช้[[อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล]]ในการสื่อสาร <ref name="rfc760">RFC 760, ''DOD Standard Internet Protocol'' (January 1980)</ref> เลขที่อยู่ไอพีทำหน้าที่สำคัญสองอย่างได้แก่ [[การระบุ (สารสนเทศ)|การระบุ]]แม่ข่ายหรือส่วนต่อประสานเครือข่าย และ[[เลขที่อยู่เชิงตรรกะ|การกำหนดที่อยู่]]ให้ตำแหน่งที่ตั้ง บทบาทของมันได้บรรยายไว้ว่า "[[ชื่อแม่ข่าย|ชื่อ]]ใช้แสดงว่าเราค้นหาอะไร ที่อยู่ใช้แสดงว่ามันอยู่ที่ไหน เส้นทางใช้แสดงว่าจะไปที่นั่นอย่างไร" <ref name="rfc791">RFC 791, ''Internet Protocol – DARPA Internet Program Protocol Specification'' (September 1981)</ref>
[[หมวดหมู่:การกำหนดที่อยู่เครือข่าย]]

แต่เดิมผู้ออกแบบอินเทอร์เน็ตโพรโทคอล ได้กำหนดเลขที่อยู่ไอพีให้เป็นตัวเลข [[32 บิต]]ค่าหนึ่ง <ref name=rfc760 /> ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ[[เลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4]] (IPv4) และระบบนี้ยังคงมีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี เนื่องจาก[[อินเทอร์เน็ต]]เติบโตขึ้นอย่างมหาศาล และมีการคาดการณ์ว่า[[การใช้หมดไปของเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4|เลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 จะถูกใช้หมดไป]] เลขที่อยู่ไอพีรุ่นใหม่จึงได้พัฒนาขึ้นใน ค.ศ. 1995 คือ[[เลขที่อยู่ไอพีรุ่น 6]] (IPv6) ซึ่งใช้ตัวเลข 128 บิตกำหนดที่อยู่ <ref name=rfc1883>RFC 1883, ''Internet Protocol, Version 6 (IPv6) Specification'', S. Deering, R. Hinden (December 1995)</ref> และได้ทำให้เป็นมาตรฐานใน อาร์เอฟซี 2460 เมื่อ ค.ศ. 1998 <ref name =rfc2460>RFC 2460, ''Internet Protocol, Version 6 (IPv6) Specification'', S. Deering, R. Hinden, The Internet Society (December 1998)</ref> ส่วน[[การเผยแพร่เลขที่อยู่ไอพีรุ่น 6|การนำมาใช้จริง]]นั้นเริ่มตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษ 2000

เลขที่อยู่ไอพีเป็น[[เลขฐานสอง]] แต่ก็มักจะแสดงผลและเก็บบันทึกในไฟล์ข้อความด้วยสัญกรณ์ที่[[มนุษย์สามารถอ่านได้]] ตัวอย่างเช่น <tt>172.16.254.1</tt> (รุ่น 4) และ <tt>2001:db8:0:1234:0:567:8:1</tt> (รุ่น 6) เป็นต้น

[[องค์การกำหนดหมายเลขอินเทอร์เน็ต]] (IANA) เป็นผู้ดำเนินการจัดสรรปริภูมิเลขที่อยู่ไอพีทั่วโลก และมอบอำนาจให้[[หน่วยงานทะเบียนอินเทอร์เน็ตประจำภูมิภาค]] (RIR) ทั้ง 5 เขต ทำหน้าที่จัดสรรกลุ่มเลขที่อยู่ไอพีสำหรับ[[หน่วยงานทะเบียนอินเทอร์เน็ตส่วนท้องถิ่น]] ([[ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต]]) และหน่วยงานอื่น ๆ

== รุ่นของอินเทอร์เน็ตโพรโทคอล ==
* รุ่นของอินเทอร์เน็ตโพรโทคอล (Internet Protocol: IP) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีสองรุ่นคือ อินเทอร์เน็ตโพรโทคอลรุ่น 4 (IPv4) และอินเทอร์เน็ตโพรโทคอลรุ่น 6 (IPv6) แต่ละรุ่นก็กำหนดเลขที่อยู่ไอพีแตกต่างกัน แต่เนื่องด้วยความแพร่หลาย คำว่า ''เลขที่อยู่ไอพี'' โดยทั่วไปมักจะหมายถึง ''เลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4'' ส่วนเลขระหว่าง 4 กับ 6 ที่หายไปคือการกำหนดหมายเลข 5 ให้แก่อินเทอร์เน็ตสตรีมโพรโทคอล (Internet Stream Protocol) เชิงทดลองเมื่อ ค.ศ. 1979 ซึ่งไม่เคยถูกเอ่ยถึงว่าเป็นเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 5

=== เลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 ===
{{Main}}
[[ไฟล์:Ipv4 address.svg|right|thumb|แผนภาพแสดงการแยกเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 จากเลขฐานสิบคั่นด้วยจุดเป็นเลขฐานสอง]]
เลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 ประกอบด้วยเลข 32 [[บิต]] ซึ่งสามารถรองรับที่อยู่ที่ไม่ซ้ำกันมากสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 4,294,967,296 (2<sup>32</sup>) หมายเลข แต่เลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 ก็ได้สงวนบางหมายเลขไว้สำหรับจุดประสงค์พิเศษอย่างเช่น เครือข่ายส่วนตัว (ประมาณ 18 ล้านหมายเลข) และเลขที่อยู่มัลทิแคสต์ (ประมาณ 270 ล้านหมายเลข)

เลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 เขียนแทนด้วยสัญกรณ์จุดฐานสิบแบบบัญญัติ ซึ่งประกอบด้วยเลขฐานสิบ 4 จำนวน แต่ละจำนวนมีค่าได้ตั้งแต่ 0 ถึง 255 และคั่นด้วยจุด ตัวอย่างเช่น <tt>172.16.254.1</tt> เป็นต้น แต่ละส่วนของหมายเลขแทนกลุ่มของเลข 8 บิต ([[ออกเตต]]) ในงานเขียนเชิงเทคนิคบางงาน เลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 ก็อาจเขียนแทนด้วยเลขฐานสิบหก [[เลขฐานแปด]] หรือ[[เลขฐานสอง]]ก็ได้

==== การแบ่งเครือข่ายย่อยของรุ่น 4 ====
ในช่วงแรก ๆ ของการพัฒนาอินเทอร์เน็ตโพรโทคอล <ref name=rfc760/> ผู้ดูแลระบบเครือข่ายแปลเลขที่อยู่ไอพีเป็นสองส่วนคือ ส่วนหมายเลขเครือข่าย และส่วนหมายเลขแม่ข่าย ออกเตตอันดับสูงสุด (กลุ่ม 8 บิตที่มีนัยสำคัญมากสุด) ของเลขที่อยู่ไอพีถูกตั้งให้เป็น ''หมายเลขเครือข่าย'' (network number) และจำนวนบิตที่เหลือเรียกเป็น ''เขตข้อมูลส่วนเหลือ'' (rest field) หรือ ''ตัวระบุแม่ข่าย'' (host identifier) และได้นำมาใช้กำหนดหมายเลขภายในเครือข่ายหนึ่ง ๆ

วิธีการในช่วงแรกนี้ได้รับการพิสูจน์ในเวลาต่อมาว่าไม่พอเพียง เนื่องจากเครือข่ายเพิ่มเติมที่พัฒนาขึ้นโดยอิสระจากเครือข่ายที่มีอยู่ มีหมายเลขเครือข่ายกำหนดไว้อยู่แล้ว คุณลักษณะการกำหนดที่อยู่อินเทอร์เน็ตจึงได้แก้ไขปรับปรุงใน ค.ศ. 1981 โดยแนะนำสถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบคลาส (classful network) เพิ่มเข้าไป <ref name=rfc791/>

เครือข่ายแบบคลาสได้ออกแบบให้สามารถกำหนดเครือข่ายเอกเทศได้จำนวนมากขึ้นกว่าเดิม และสามารถออกแบบเครือข่ายย่อย (subnetwork) โดยละเอียดได้ 3 บิตแรกของออกเตตที่มีนัยสำคัญมากสุดของเลขที่อยู่ไอพี ถูกนิยามว่าเป็น ''คลาส'' (class) ของหมายเลขนั้น คลาส 3 คลาส (A, B, และ C) ได้นิยามขึ้นเพื่อการกำหนดเลขที่อยู่ยูนิแคสต์ (unicast) อย่างสากล ตัวระบุเครือข่ายจะมีพื้นฐานอยู่บนส่วนขอบเขตของออกเตตจากทั้งเลขที่อยู่ โดยขึ้นอยู่กับคลาสที่มันอยู่ แต่ละคลาสจะใช้ออกเตตเพิ่มขึ้นเป็นตัวระบุเครือข่าย ดังนั้นจำนวนแม่ข่ายที่เป็นไปได้จะลดลงในคลาสอันดับที่สูงขึ้น (B กับ C) ตารางต่อไปนี้แสดงถึงภาพรวมของระบบซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว

{| class="wikitable"
|-
|-
|+ สถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบคลาส (เลิกใช้)
|-
! คลาส
! บิตขึ้นต้น
! ขนาดบิต <br>''หมายเลข<br>เครือข่าย''
! ขนาดบิต <br>''เขตข้อมูล<br>ส่วนเหลือ''
! จำนวนเครือข่าย
! จำนวนเลขที่อยู่<br>ต่อเครือข่าย
! เลขที่อยู่เริ่มต้น
! เลขที่อยู่สิ้นสุด
|-
! A
| 0
| 8
| 24
| 128 (2<sup>7</sup>)
| 16,777,216 (2<sup>24</sup>)
| <tt>0.0.0.0</tt>
| <tt>127.255.255.255</tt><!--อย่าเปลี่ยนค่านี้ 0/8 กับ 127/8 เป็นเครือข่ายในคลาสนี้เช่นกัน-->
|-
! B
| 10
| 16
| 16
| 16,384 (2<sup>14</sup>)
| 65,536 (2<sup>16</sup>)
| <tt>128.0.0.0</tt>
| <tt>191.255.255.255</tt>
|-
! C
| 110
| 24
| 8
| 2,097,152 (2<sup>21</sup>)
| 256 (2<sup>8</sup>)
| <tt>192.0.0.0</tt>
| <tt>223.255.255.255</tt>
|}

การออกแบบเครือข่ายแบบคลาสมีประโยชน์ต่อจุดประสงค์ของอินเทอร์เน็ตในสถานะเริ่มแรก แต่ก็ขาด[[ความสามารถในการปรับขนาด]] (scalability) เมื่อเผชิญกับการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเครือข่ายในคริสต์ทศวรรษ 1990 ระบบคลาสของปริภูมิเลขที่อยู่ถูกแทนที่ด้วย[[การจัดเส้นทางระหว่างโดเมนแบบไร้คลาส]] (Classless Inter-Domain Routing: CIDR) เมื่อ ค.ศ. 1993 โดยใช้พื้นฐานจากการพรางเครือข่ายย่อยความยาวแปรได้ (variable-length subnet masking: VLSM) เพื่อให้การกำหนดตำแหน่งและการจัดเส้นทางสามารถใช้บิตขึ้นต้นยาวเท่าใดก็ได้

ทุกวันนี้ สิ่งที่เหลืออยู่ของมโนทัศน์เครือข่ายแบบคลาสมีหน้าที่เฉพาะในขอบเขตจำกัด คือใช้เป็นพารามิเตอร์การตั้งค่าปริยายในส่วนประกอบซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ที่เกี่ยวกับเครือข่ายบางชนิด (เช่นตัวพรางเครือข่าย) และใช้เป็นศัพท์เทคนิคในการอภิปรายระหว่างผู้ดูแลระบบเครือข่ายด้วยกัน

==== เลขที่อยู่ส่วนตัวของรุ่น 4 ====
การออกแบบเครือข่ายในช่วงแรก ในตอนที่ความสามารถในการเชื่อมต่อจากปลายถึงปลาย (end-to-end connectivity) ของทั้งโลกสามารถแลเห็นได้เพื่อการสื่อสารกับแม่ข่ายอินเทอร์เน็ตทุกแม่ข่าย ได้ตั้งเจตนารมณ์ไว้ว่าเลขที่อยู่ไอพีจะถูกกำหนดให้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์แต่ละเครื่องโดยไม่ซ้ำกันทั้งโลก อย่างไรก็ตาม มันไม่จำเป็นเสมอไปเมื่อ[[เครือข่ายส่วนตัว]]ได้พัฒนาขึ้นและปริภูมิเลขที่อยู่สาธารณะจำเป็นต้องสงวนไว้

คอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตก็ไม่จำเป็นต้องมีเลขที่อยู่ไอพีที่ไม่ซ้ำกับใครในโลก เช่นเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่สื่อสารระหว่างกันผ่าน[[ชุดโพรโทคอลอินเทอร์เน็ต|ทีซีพี/ไอพี]]เป็นต้น ช่วงเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 จำนวน 3 ช่วงจึงถูกสงวนไว้ในอาร์เอฟซี 1918 สำหรับใช้กับเครือข่ายส่วนตัว เลขที่อยู่เหล่านี้จะไม่ถูกนำไปใช้จัดเส้นทางบนอินเทอร์เน็ต และการใช้งานเลขที่อยู่เหล่านี้ก็ไม่ต้องรายงานต่อหน่วยงานทะเบียนฯ แต่อย่างใด

ในทุกวันนี้ เครือข่ายส่วนตัวสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตผ่านทาง[[การแปลที่อยู่เครือข่าย]] (network address translation: NAT) เมื่อต้องการใช้

{| class="wikitable"
|+ ช่วงเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 ที่สงวนไว้สำหรับเครือข่ายส่วนตัวโดย IANA
|-
!
! เริ่มต้น
! สิ้นสุด
! จำนวนเลขที่อยู่
|-
| บล็อก 24 บิต (ขึ้นต้น 8 บิต, 1 × A)
| <tt>10.0.0.0</tt>
| <tt>10.255.255.255</tt>
| 16,777,216
|-
| บล็อก 20 บิต (ขึ้นต้น 12 บิต, 16 × B)
| <tt>172.16.0.0</tt>
| <tt>172.31.255.255</tt>
| 1,048,576
|-
| บล็อก 16 บิต (ขึ้นต้น 16 บิต, 256 × C)
| <tt>192.168.0.0</tt>
| <tt>192.168.255.255</tt>
| 65,536
|-
|}

ผู้ใช้สามารถใช้บล็อกที่สงวนไว้ดังกล่าวอันใดก็ได้ โดยทั่วไปแล้ว ผู้ดูแลเครือข่ายจะแบ่งบล็อกเป็น[[เครือข่ายย่อย]] ตัวอย่างเช่น [[เกตเวย์ในถิ่นที่อยู่|เราเตอร์ตามบ้าน]]หลาย ๆ เครื่องใช้ช่วงเลขที่อยู่ปริยายเป็น <tt>192.168.0.0</tt> ถึง <tt>192.168.0.255</tt> (เครือข่ายย่อย <tt>192.168.0.0/24</tt>) โดยอัตโนมัติ

=== การใช้หมดไปของเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 ===
[[การใช้หมดไปของเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4]] คือภาวะการจัดหาเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 ที่ว่างอยู่ขององค์การกำหนดหมายเลขอินเทอร์เน็ต (IANA) และหน่วยงานทะเบียนอินเทอร์เน็ตประจำภูมิภาค (RIR) เพื่อที่จะกำหนดให้ผู้ใช้ปลายทางและหน่วยงานทะเบียนอินเทอร์เน็ตส่วนท้องถิ่น เช่นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต มีจำนวนลดน้อยถอยลง เลขที่อยู่ส่วนกลางหลักของ IANA ได้ใช้หมดไปแล้วเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 เมื่อ 5 บล็อกสุดท้ายถูกจัดสรรให้กับ RIR ทั้ง 5 ภูมิภาค
<ref>{{cite web|url=http://www.nro.net/news/ipv4-free-pool-depleted|title=Free Pool of IPv4 Address Space Depleted|last=Smith|first=Lucie|author2=Lipner, Ian|date=3 February 2011|publisher=[[Regional Internet registry#Number_Resource_Organization|Number Resource Organization]]|accessdate=3 February 2011}}</ref><ref>{{cite web|url=http://mailman.nanog.org/pipermail/nanog/2011-February/032105.html |title=Five /8s allocated to RIRs – no unallocated IPv4 unicast /8s remain | author=ICANN,nanog mailing list}}</ref>
[[ศูนย์สารสนเทศเครือข่ายเอเชีย-แปซิฟิก]] (APNIC) เป็น RIR แรกที่ใช้เลขที่อยู่ส่วนภูมิภาคหมดไปเมื่อ 15 เมษายน ค.ศ. 2011 ยกเว้นปริภูมิเลขที่อยู่จำนวนเล็กน้อยที่สงวนไว้สำหรับการเปลี่ยนผ่านไปยังเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 6 ซึ่งเจตนาจัดสรรให้เป็นกระบวนการที่ถูกจำกัด
<ref>{{cite web|title=APNIC IPv4 Address Pool Reaches Final /8|url=http://www.apnic.net/publications/news/2011/final-8|accessdate=15 April 2011|author=Asia-Pacific Network Information Centre|date=15 April 2011}}</ref>

=== เลขที่อยู่ไอพีรุ่น 6 ===
{{บทความหลัก|เลขที่อยู่ไอพีรุ่น 6}}
[[ไฟล์:Ipv6 address.svg|right|300px|thumb|แผนภาพแสดงการแยกเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 6 จากเลขฐานสิบหกเป็นเลขฐานสอง]]
ภาวะปริภูมิเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 ถูกใช้หมดไปอย่างรวดเร็ว ทั้งที่มีเทคนิคต่าง ๆ ในการอนุรักษ์ กระตุ้นให้[[คณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต]] (IETF) ต้องแสวงหาเทคนิคใหม่เพื่อขยายความสามารถในการกำหนดที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต จึงคิดค้นกันว่าวิธีแก้ปัญหาอย่างถาวรคือการออกแบบอินเทอร์เน็ตโพรโทคอลใหม่ อินเทอร์เน็ตโพรโทคอลรุ่นถัดไปที่เจตนาให้แทนที่รุ่น 4 ก็คือ [[อินเทอร์เน็ตโพรโทคอลรุ่น 6]] (IPv6) ซึ่งกำหนดเมื่อ ค.ศ. 1995 <ref name=rfc1883/><ref name=rfc2460/> โดยขนาดของเลขที่อยู่เพิ่มขึ้นจากเดิม 32 บิตเป็น 128 บิต หรือ 16 ออกเตต ทำให้น่าจะเพียงพอสำหรับอนาคตอันใกล้ ถึงแม้ว่าบล็อกเครือข่ายจะถูกกำหนดอย่างเหลือเฟือ ถ้าคำนวณโดยคณิตศาสตร์ ปริภูมิเลขที่อยู่ใหม่นี้มีจำนวนมากสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ประมาณ {{val|3.403|e=38}} (2<sup>128</sup>) หมายเลข

เจตนาหลักของการออกแบบใหม่ไม่เพียงแค่เพิ่มปริมาณเลขที่อยู่ให้เพียงพอเท่านั้น ยังช่วยให้มีการรวบรวมหมายเลขขึ้นต้นของเครือข่ายย่อยที่จุดจัดเส้นทางอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ตารางจัดเส้นทางมีขนาดเล็กกว่า และการจัดสรรแบบเอกเทศเล็กสุดเท่าที่เป็นไปได้ คือเครือข่ายย่อยที่มีแม่ข่ายจำนวน 2<sup>64</sup> เครื่อง เท่ากับขนาดทั้งหมดของอินเทอร์เน็ตโดยเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 ยกกำลังสอง ด้วยระดับนี้ อัตราการใช้งานเลขที่อยู่จริงจะน้อยมากบนส่วนใด ๆ ของเครือข่ายเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 6 การออกแบบใหม่นี้ก็ยังรองรับโอกาสที่จะแบ่งโครงสร้างเลขที่อยู่ของส่วนเครือข่ายหนึ่ง ๆ ซึ่งเป็นการจัดการเฉพาะที่ของปริภูมิที่เหลืออยู่ของส่วนนั้น จากหมายเลขขึ้นต้นที่ใช้สำหรับจัดเส้นทางภายนอกเครือข่าย เลขที่อยู่ไอพีรุ่น 6 มีความสามารถในการเปลี่ยนหมายเลขขึ้นต้นของการจัดเส้นทางทั้งเครือข่ายได้อัตโนมัติ ซึ่งความสามารถในการเชื่อมต่อทั่วโลกหรือนโยบายการจัดเส้นทางควรเปลี่ยนแปลง โดยไม่จำเป็นต้องออกแบบเครือข่ายภายในใหม่หรือไล่หมายเลขใหม่ด้วยมือ

เลขที่อยู่ไอพีรุ่น 6 จำนวนมหาศาลช่วยให้สามารถกำหนดบล็อกขนาดใหญ่กับจุดประสงค์เฉพาะกิจ และรวบรวมการจัดเส้นทางได้อย่างมีประสิทธิภาพถ้าจัดสรรได้เหมาะสม เนื่องด้วยปริภูมิเลขที่อยู่ขนาดใหญ่ จึงไม่จำเป็นต้องมีวิธีการอนุรักษ์เลขที่อยู่ให้ซับซ้อนดังที่ใช้ในการจัดเส้นทางระหว่างโดเมนแบบไร้คลาส (CIDR)

ระบบปฏิบัติการเดสก์ท็อปและเซิร์ฟเวอร์องค์การสมัยใหม่หลายระบบได้รองรับอินเทอร์เน็ตโพรโทคอลรุ่น 6 อยู่แล้วในตัวเอง แต่อุปกรณ์อื่นยังนำมาใช้ไม่แพร่หลาย เช่นเราเตอร์ตามบ้าน [[วอยซ์โอเวอร์ไอพี]] (VoIP) กับอุปกรณ์สื่อผสม และอุปกรณ์รอบข้างอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครือข่าย

==== เลขที่อยู่ส่วนตัวของรุ่น 6 ====
บล็อกเลขที่อยู่บางบล็อกในรุ่น 6 ก็สงวนไว้ใช้สำหรับเครือข่ายส่วนตัวหรือภายในเช่นเดียวกับรุ่น 4 สำหรับรุ่น 6 นี้จะเรียกว่า [[เลขที่อยู่เฉพาะที่หนึ่งเดียว]] (unique local address: ULA) อาร์เอฟซี 4193 ได้สงวนเลขขึ้นต้นของการจัดเส้นทาง <tt>fc00::/7</tt> สำหรับบล็อกนี้ ซึ่งแบ่งเป็นบล็อก <tt>/8</tt> อีกสองบล็อกที่ใช้นโยบายต่างกัน เลขที่อยู่เหล่านี้ใช้ตัวเลข[[สุ่มเทียม]]จำนวน 40 บิตเพื่อลดความเสี่ยงของการชนกันของหมายเลขหากไซต์ผสานเข้าด้วยกันหรือกลุ่มข้อมูลเดินไปผิดเส้นทาง <ref>RFC 4193 section 3.2.1</ref>

การออกแบบในช่วงแรกได้กำหนดใช้บล็อกหนึ่งสำหรับจุดประสงค์นี้ (<tt>fec0::</tt>) เรียกว่าเลขที่อยู่เฉพาะไซต์ (site-local address) <ref name=":0">RFC 3513</ref> อย่างไรก็ตาม การนิยามว่าสิ่งใดประกอบขึ้นเป็น ''ไซต์'' ยังคงไม่ชัดเจน และนโยบายการกำหนดเลขที่อยู่ที่ไม่ดีพอทำให้เกิดความสับสนในการจัดเส้นทาง ข้อกำหนดสำหรับช่วงเลขที่อยู่นี้จึงถูกทอดทิ้ง และจะต้องไม่มีการใช้ในระบบใหม่ ๆ <ref>RFC 3879</ref>

เลขที่อยู่ที่ขึ้นต้นด้วย <tt>fe80:</tt> เรียกว่า[[เลขที่อยู่เฉพาะลิงก์]] (link-local address) ถูกกำหนดให้ส่วนต่อประสานใช้เพื่อสื่อสารผ่านลิงก์เท่านั้น เลขที่อยู่นี้จะสร้างขึ้นมาโดยอัตโนมัติโดยระบบปฏิบัติการสำหรับส่วนต่อประสานเครือข่ายแต่ละส่วน ช่วยให้เกิดความสามารถในการเชื่อมต่อเครือข่ายทันทีและอัตโนมัติแก่เครื่องแม่ข่ายไอพีรุ่น 6 และหมายความว่า ถ้าเครื่องแม่ข่ายหลายเครื่องเชื่อมต่อกันผ่านฮับหรือสวิตช์ทั่วไป มันจะมีเส้นทางการสื่อสารผ่านทางเลขที่อยู่เฉพาะลิงก์ของมัน คุณลักษณะนี้มีใช้ในชั้นที่ต่ำกว่าของการควบคุมดูแลเครือข่ายไอพีรุ่น 6 (เช่น [[โพรโทคอลค้นพบจุดต่อข้างเคียง]], NDP)

เลขขึ้นต้นของเลขที่อยู่ส่วนตัวต่าง ๆ จะไม่ถูกนำไปใช้จัดเส้นทางบนอินเทอร์เน็ตสาธารณะ

== เครือข่ายย่อยของไอพี ==
เครือข่ายไอพีอาจแบ่งเป็น[[เครือข่ายย่อย]]ได้ทั้งไอพีรุ่น 4 และไอพีรุ่น 6 เลขที่อยู่ไอพีหมายเลขหนึ่งจะถูกจำแนกเป็นสองส่วนเพื่อจุดประสงค์นี้ได้แก่ ''เลขขึ้นต้นเครือข่าย'' (network prefix) และ ''ตัวระบุแม่ข่าย'' (host identifier) สำหรับรุ่น 4 หรือ ''ตัวระบุส่วนต่อประสาน'' (interface identifier) สำหรับรุ่น 6 ตัวพรางเครือข่ายย่อยหรือเลขขึ้นต้นไซเดอร์จะบ่งบอกว่าเลขที่อยู่ไอพีจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนดังกล่าวอย่างไร

คำว่า ''ตัวพรางเครือข่ายย่อย'' (subnet mask) ใช้กับไอพีรุ่น 4 เท่านั้น แต่ทั้งสองรุ่นก็ใช้มโนทัศน์และสัญกรณ์ของไซเดอร์เหมือนกัน โดยเขียนเครื่องหมายทับตามด้วยตัวเลขฐานสิบต่อท้ายเลขที่อยู่ไอพี ซึ่งบางทีก็เรียกว่า ''เลขขึ้นต้นของการจัดเส้นทาง'' (routing prefix) ยกตัวอย่าง กำหนดให้เลขที่อยู่ไอพีเป็น <tt>192.0.2.1</tt> และตัวพรางเครือข่ายย่อยเป็น <tt>255.255.255.0</tt> [[สัญกรณ์ไซเดอร์]]สำหรับทั้งสองนี้ก็คือ <tt>192.0.2.1/24</tt> เพราะ 24 บิตแรกของเลขที่อยู่ไอพีแสดงถึงหมายเลขเครือข่ายและเครือข่ายย่อย

== การกำหนดเลขที่อยู่ไอพี ==
การกำหนดเลขที่อยู่ไอพีให้แก่เครื่องแม่ข่ายหนึ่ง ๆ จะได้หมายเลขใหม่ขณะเปิดเครื่อง หรือไม่ก็หมายเลขตายตัวจากการตั้งค่าของฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ การตั้งค่าหมายเลขให้คงอยู่คือการใช้ ''เลขที่อยู่ไอพีสถิต'' (static IP address) ในทางตรงข้าม สถานการณ์ที่เลขที่อยู่ไอพีของคอมพิวเตอร์ถูกกำหนดใหม่ทุกครั้งคือการใช้ ''เลขที่อยู่ไอพีพลวัต'' (dynamic IP address)

=== วิธีการ ===
ผู้ดูแลระบบจะเป็นผู้กำหนดเลขที่อยู่ไอพีสถิตให้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งขั้นตอนการปฏิบัตินั้นก็แตกต่างกันไปในแต่ละแพลตฟอร์ม ต่างจากเลขที่อยู่ไอพีพลวัตที่กำหนดโดยส่วนต่อประสานของคอมพิวเตอร์เอง หรือโดยซอฟต์แวร์ของแม่ข่ายเองเช่นซีโรคอนฟิก (Zeroconf) หรือโดยเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้โพรโทคอลการตั้งค่าแม่ข่ายพลวัต (DHCP) ถึงแม้ว่าเลขที่อยู่ไอพีที่กำหนดโดยดีเอชซีพีจะคงอยู่ในช่วงระยะเวลาที่ยาวนานเหมือน ๆ กัน แต่มันก็สามารถเปลี่ยนได้ สิ่งนี้ช่วยให้สามารถตั้งค่าเลขที่อยู่ไอพีสถิตแบบรวมศูนย์ได้ โดยไม่ต้องไปตั้งค่าคอมพิวเตอร์ทีละเครื่องในเครือข่าย

ในกรณีการตั้งค่าเลขที่อยู่แบบสถิตหรือแบบมีสถานะ (stateful) โดยดีเอชซีพี ขาดหายไปหรือล้มเหลว ระบบปฏิบัติการอาจกำหนดเลขที่อยู่ไอพีให้กับส่วนต่อประสานเครือข่ายด้วยวิธีการตั้งค่าอัตโนมัติแบบไร้สถานะ (stateless) เช่นซีโรคอนฟิก

=== ประโยชน์ของการกำหนดเลขที่อยู่พลวัต ===
บ่อยครั้งมากที่เลขที่อยู่ไอพีถูกกำหนดโดยดีเอชซีพีอย่างพลวัตบนแลนและเครือข่ายแถบความถี่กว้าง ดีเอชซีพีนำมาใช้เพราะช่วยหลีกเลี่ยงภาระของผู้ดูแลระบบในการกำหนดเลขที่อยู่สถิตให้กับอุปกรณ์บนเครือข่ายแต่ละอุปกรณ์ ช่วยให้อุปกรณ์ทั้งหลายใช้ปริภูมิเลขที่อยู่อันจำกัดบนเครือข่ายร่วมกัน ถึงแม้ว่าอุปกรณ์บางอุปกรณ์จะออนไลน์เพียงแค่เวลาหนึ่ง ๆ การตั้งค่าเลขที่อยู่ไอพีพลวัตได้เปิดใช้งานอยู่แล้วในระบบปฏิบัติการปัจจุบันเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นผู้ใช้จึงไม่จำเป็นต้องเข้าไปตั้งค่าใด ๆ ด้วยตนเองเพื่อที่จะเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายที่มีดีเอชทีพีเซิร์ฟเวอร์ ดีเอชซีพีไม่ได้เป็นเทคโนโลยีเดียวที่ใช้กำหนดเลขที่อยู่ไอพีอย่างพลวัต ไดอัลอัปและเครือข่ายแถบความถี่กว้างบางแห่งใช้คุณลักษณะกำหนดเลขที่อยู่พลวัตของโพรโทคอลแบบจุดต่อจุด (PPP)

==== เลขที่อยู่ไอพีพลวัตแบบคงอยู่ ====
''เลขที่อยู่ไอพีพลวัตแบบคงอยู่'' (sticky dynamic IP address) เป็นชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการของผู้สมัครใช้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิลหรือดีเอสแอล เพื่ออธิบายถึงเลขที่อยู่ไอพีที่กำหนดอย่างพลวัตแต่แทบจะไม่เปลี่ยนแปลง เลขที่อยู่เหล่านี้มักจะกำหนดโดยดีเอชซีพี ด้วยเหตุที่โมเด็มมักจะเปิดไว้ยาวนานหรือตลอดเวลา การเช่า (lease) เลขที่อยู่จึงถูกกำหนดให้คงอยู่เป็นช่วงเวลานาน และเมื่อหมดเวลาก็เพียงแค่ต่ออายุ (renew) ถ้าโมเด็มถูกปิดแล้วเปิดใหม่อีกครั้งก่อนหมดเวลาเช่าครั้งถัดไป ก็เป็นไปได้มากว่าจะได้รับเลขที่อยู่ไอพีหมายเลขเดิม

=== การตั้งค่าเลขที่อยู่อัตโนมัติ ===
อาร์เอฟซี 3330 ได้นิยามบล็อกเลขที่อยู่ <tt>169.254.0.0/16</tt> เพื่อใช้เป็นกรณีพิเศษในการกำหนดเลขที่อยู่เฉพาะลิงก์สำหรับเครือข่ายไอพีรุ่น 4 ส่วนไอพีรุ่น 6 นั้น ทุก ๆ ส่วนต่อประสาน ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดเลขที่อยู่แบบสถิตหรือพลวัต จะได้รับเลขที่อยู่เฉพาะลิงก์ในบล็อก <tt>fe80::/10</tt> โดยอัตโนมัติ

เลขที่อยู่เหล่านี้สามารถใช้ได้กับลิงก์ที่มีแม่ข่ายเชื่อมต่ออยู่เท่านั้น เช่นส่วนหนึ่งของเครือข่ายเฉพาะที่หรือการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด เลขที่อยู่เหล่านี้ไม่สามารถจัดเส้นทางได้ และเหมือนเลขที่อยู่ส่วนตัว คือไม่สามารถเป็นต้นทางหรือปลายทางของกลุ่มข้อมูลที่ส่งผ่านอินเทอร์เน็ต

ขณะที่บล็อกเลขที่อยู่สำหรับไอพีรุ่น 4 ถูกสงวนไว้ให้กับเลขที่อยู่เฉพาะลิงก์ ยังไม่มีมาตรฐานใดมารองรับกลไกการกำหนดเลขที่อยู่อัตโนมัติ เพื่อเติมเต็มช่องว่างนี้ ไมโครซอฟท์จึงได้สร้างบรรทัดฐานชื่อว่า ''การกำหนดเลขที่อยู่ไอพีส่วนตัวอัตโนมัติ'' (Automatic Private IP Addressing: APIPA) ได้นำมาใช้กับอุปกรณ์และคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่อง และในเวลาต่อมาก็กลายเป็นมาตรฐานตามความนิยม (de facto standard) ในอุตสาหกรรม หลายปีต่อจากนั้น คณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับการทำงานนี้อย่างเป็นทางการคือ อาร์เอฟซี 3927 ชื่อว่า ''การตั้งค่าเลขที่อยู่เฉพาะลิงก์ของไอพีรุ่น 4 แบบพลวัต''

== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* อธิบายชื่อและเลขไอพี รวมถึงไอพีที่ใช้ในเมืองไทย จากเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
* ไอพีเวอร์ชัน 6

[[หมวดหมู่:การกำหนดที่อยู่เครือข่าย]]
[[หมวดหมู่:อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล]]
[[หมวดหมู่:อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล]]
<references />

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:01, 18 กุมภาพันธ์ 2561

ง่วงงละสิ ขอให้โชคดีที่เว็บอื่นนะ