ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คำบุพบท"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
→‎อ้างอิง: สแปม
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
'''คำบุพบท''' บางตำราก็ว่า '''คำบุรพบท''' คือ[[คำ]]ที่ใช้นำหน้า[[คำนาม]] [[คำสรรพนาม]] [[คำกริยา]] หรือ[[คำวิเศษณ์]] เพื่อบอกสถานภาพของคำเหล่านั้น หรือเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำหรือประโยค
'''คำบุพบท''' บางตำราก็ว่า '''คำบุพบท''' คือ[[คำ]]ที่ใช้นำหน้า[[คำนาม]] [[คำสรรพนาม]] [[คำกริยา]] หรือ[[คำวิเศษณ์]] เพื่อบอกสถานภาพของคำเหล่านั้น หรือเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำหรือประโยค


== ชื่อเรียก ==
== ชื่อเรียก ==
บรรทัด 7: บรรทัด 7:
คำบุพบทมี 7 ประเภท
คำบุพบทมี 7 ประเภท
#* บอกความเป็นเจ้าของ ใช้คำว่า ''ของ แห่ง ใน'' เช่น บ้าน<u>ของ</u>ฉัน พระราชนิพนธ์<u>ใน</u>รัชกาลที่ 5
#* บอกความเป็นเจ้าของ ใช้คำว่า ''ของ แห่ง ใน'' เช่น บ้าน<u>ของ</u>ฉัน พระราชนิพนธ์<u>ใน</u>รัชกาลที่ 5
#* บอกความเป็นเครื่องใช้หรือความเกี่ยวข้อง ใช้คำว่า ''กับ ทั้ง ด้วย โดย ตาม ทาง'' เช่น เขาทำงาน<u>ด้วย</u>ตัวเขาเอง
#* บอกความเป็นเครื่องใช้หรือความเกี่ยวข้อง ใช้คำว่า ''กับ ทั้ง ด้วย โดย ตาม ทาง'' เช่น เขาทำงาน<u>ด้วย</u>ตัวเขาเองอิอิเขัามจแล้วหรอ
#*
#* บอกการให้หรือการรับ ใช้คำว่า ''แก่ แด่ แต่ ต่อ สำหรับ เพื่อ'' เช่น พ่อให้รางวัล<u>แก่</u>ฉัน เขายอมไป<u>เพื่อ</u>พ่อแม่
#* บอกการให้หรือการรับ ใช้คำว่า ''แก่ แด่ แต่ ต่อ สำหรับ เพื่อ'' เช่น พ่อให้รางวัล<u>แก่</u>ฉัน เขายอมไป<u>เพื่อ</u>พ่อแม่
#* บอกเวลา ใช้คำว่า ''ตั้งแต่ แต่ เมื่อ ใน กระทั่ง จนกระทั่ง จนถึง จน ก่อน หลัง'' ฯลฯ เช่น เขามาทำงาน<u>ตั้งแต่</u>เช้า
#* บอกเวลา ใช้คำว่า ''ตั้งแต่ แต่ เมื่อ ใน กระทั่ง จนกระทั่ง จนถึง จน ก่อน หลัง'' ฯลฯ เช่น เขามาทำงาน<u>ตั้งแต่</u>เช้า

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:32, 6 ธันวาคม 2559

คำบุพบท บางตำราก็ว่า คำบุพบท คือคำที่ใช้นำหน้าคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ เพื่อบอกสถานภาพของคำเหล่านั้น หรือเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำหรือประโยค

ชื่อเรียก

คำบุพบท (preposition) มีชื่อเรียกหลายชนิดในภาษาอื่นตามตำแหน่งของการวาง เช่น คำปัจฉิมบท (postposition) เนื่องจากวางไว้หลังคำที่ต้องการบอกสถานภาพ, คำอันตรบท (interposition) เนื่องจากถูกแทรกไว้ระหว่างกลางกลุ่มคำ (Melis 2003), ambiposition เป็นคำที่สามารถวางไว้หน้าหรือหลังคำที่ต้องการก็ได้ (Reindl 2001, Libert 2006), circumposition เป็นคำที่มีสองส่วน วางล้อมรอบหน้าและหลังคำที่ต้องการ เป็นต้น โดยนัยทั่วไป ทั้งหมดสามารถเรียกรวมกันว่า adposition

ประเภท

คำบุพบทมี 7 ประเภท

    • บอกความเป็นเจ้าของ ใช้คำว่า ของ แห่ง ใน เช่น บ้านของฉัน พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5
    • บอกความเป็นเครื่องใช้หรือความเกี่ยวข้อง ใช้คำว่า กับ ทั้ง ด้วย โดย ตาม ทาง เช่น เขาทำงานด้วยตัวเขาเองอิอิเขัามจแล้วหรอ
    • บอกการให้หรือการรับ ใช้คำว่า แก่ แด่ แต่ ต่อ สำหรับ เพื่อ เช่น พ่อให้รางวัลแก่ฉัน เขายอมไปเพื่อพ่อแม่
    • บอกเวลา ใช้คำว่า ตั้งแต่ แต่ เมื่อ ใน กระทั่ง จนกระทั่ง จนถึง จน ก่อน หลัง ฯลฯ เช่น เขามาทำงานตั้งแต่เช้า
    • บอกตำแหน่งหรือสถานที่ ใช้คำว่า ณ ที่ จาก ถึง สู่ เหนือ ใต้ ใน นอก บน ล่าง ซ้าย ขวา ข้าง ขอบ ชิด ริม ฯลฯ เขากลับมาจากลอนดอน หนังสือวางอยู่บนโต๊ะ
    • บอกการเปรียบเทียบ ใช้คำว่า เท่า เท่ากับ กว่า เช่น เขารวยกว่าฉัน
    • บอกการประมาณหรือการคาดคะเน ใช้คำว่า รวม สัก เกือบ แทบ พอ หมด สิ้น ทั้งหมด ทั้งสิ้น ทั้ง ตลอด ฯลฯ ฉันไปโรงเรียนเกือบไม่ทัน

== แต่ต่างกันตรงที่ คำบุพบทวางไว้หน้าคำ ส่วนคำวิเศษณ์ทำหน้าที่ขยายอยู่หลังคำ

คำบุพบทในภาษาอังกฤษ

Preposition แปลว่า คำบุพบท ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง นามหรือสรรพนาม กับคำอื่น ๆ ในประโยค

ประเภท

แบ่งตามชนิดของคำ

1. Simple Preposition ได้แก่ บุพบทที่เป็นคำเดียวโดด ๆ เช่น

in, on, under, at, by, with, of, like, down, per, from, off, till, out, through, near, since, over, for


2. Compound Preposition ได้แก่ บุพบทที่เป็นคำผสม ตั้งแต่ 2 พยางค์ขึ้นไป ทั้งนี้อาจเกิดจากการเติมคำอื่นหน้านามบ้าง, หน้าคุณศัพท์บ้าง หรือ หน้ากริยาวิเศษณ์บ้าง เช่น

about, above, across, along, amidst, against, among, around, before, behind, below, beneath, beside, besides, between, beyond, despite, except, inside, into, outside, toward, under, until, upon, within, without, underbeneath


3. Participial Preposition ได้แก่ บุพบทที่มีรูปเช่นเดียวกับ Participle โดยลงท้ายด้วย ing เช่น

barring : เว้นแต่, นอกจากว่า

concerning : เกี่ยวกับ

pending: ระหว่าง

touching : เกี่ยวกับ

during : ระหว่าง

considering : ถ้าพิจารณาถึง

regarding : เกี่ยวกับ

notwithstanding : โดยไม่คำนึงถึง, แม้

ตัวอย่างประโยค

Barring accidents, the mail will arrive tomorrow. (ถ้าไม่มีอุบัติเหตุ จดหมายไปรษณีย์ก็คงจะมาถึงวันพรุ่งนี้)

Pending(during) his return you should call me up. (ระหว่างที่เขากลับมา คุณควรจะโทรไปหาฉันบ้าง)

Concerning yesterday's fire, there were many rumours in the bazaar. (เกี่ยวกับไฟไหม้เมื่อวานนี้ มีข่าวล่ำลือกันมากในย่านตลาด)

Considering the quantity, the price is not hight. (ถ้าพิจารณาถึงคุณสมบัติแล้ว ราคาก็ไม่สูงเท่าไรหรอก)

A letter regarding(about) the boy's rudeness was sent to his father. (จดหมายเกี่ยวกับความประพฤติหยาบคายของคนนั้นได้ถูกส่งไปยังคุณพ่อของเขาแล้ว)

Respecting the plan you mention, I shall write to you here after. (เรื่องแผนการที่คุณปรารภถึงนั้น ผมจะเขียนจะหมายไปหาคุณอีกทีหนึ่ง)

Touching this matter I have not made up my mind. (เกี่ยวกับเรื่องนี้ผมยังไม่ได้ตัดสินใจเลย)

Notwithstanding her naughtiness, I love my little girl. (แม้เธอจะซุกซน ผมก็ยังรักลูกสาวคนเล็กของผม)


4. Phrasal Preposition ได้แก่ บุพบทวลี คือ หมู่คำ หรือ กลุ่มคำที่ทำหน้าที่เป็นบุพบทคำเดียว เช่น

as to (ว่า, เพื่อว่า)

I will inquire again as to what your reason are. (ผมจะถามอีกครั้งว่า อะไรเป็นเหตุผลของคุณ)

because of (เนื่องจาก, เพราะเหตุ)

He couldn't leave the house because of the rainstorm. (เขาออกจากบ้านไม่ได้ เนื่องจากพายุฝน)

at home in (คุ้นเคยกับ, เป็นกันเองกับ)

Jane is at home in politics. (เจนคุ้นเคยกับการเมือง)

by force of (โดยอำนาจของ)

Most work can be made easily by force of patience. (งานส่วนมากทำให้ง่ายได้ โดยอาศัยอำนาจของความเพียร)

by the side of (ข้าง ๆ,beside)

The dog was sleeping by the side of its master. (สุนัขตัวนั้นกำลังหลับอยู่ข้าง ๆ นายของมัน)

by way of (เพื่อ, ก็โดยที่จะ (ตามด้วย V-ing เสมอ))

I mention this point by way of cautioning you. (ผมเอ่ยถึงจุดนี้ก็เพื่อเตือนคุณ)

in case of (ในกรณีที่มี, เผื่อ)

He has kept a reserved fund in case of his daughter's study. (เขาได้เก็บเงินทุนสำรองไว้ก็เผื่อการศึกษาของบุตรสาวของเขา)

in common with (ทำนองเดียวกันกับ)

You deserve to be blamed in common with the rest. (คุณสมควรถูกตำหนิทำนองเดียวกันกับคนอื่นที่เหลือ)

in consequence of (ผลของ)

In consequence of the plane accident many families are in mourning. (ผลของการเกิดอุบัติเหตุทางเครื่องบนคราวนั้น ทำให้หลายครอบครัวต้องไว้ทุกข์กัน)

in front of (ข้างหน้า)

His house stood in front of the bridge. (บ้านของเขาตั้งอยู่หน้าสะพาน)

instead of (แทนที่, แทนที่จะ)

We had better work instead of idling away our time. (เราควรจะลงมือทำงานเสียดีกว่า แทนที่จะใช้เวลาให้หมดไปโดยไม่ทำอะไร)

in event of (ในกรณีที่มี, in case of)

I shall have another chance in event of failure. (ผมจะมีโอกาสอีกครั้งหนึ่งในกรณีที่มีความล้มเหลวเกิดขึ้น)

in order to (เพื่อที่จะ)

She came here in order to see her mother. (หล่อนมาที่นี่ก็เพื่อที่จะพบกับมารดาของเธอ)

แบ่งตามชนิดการใช้

1. Preposition ที่แสดงเวลา

2. Preposition ที่แสดงสถานที่

3. Preposition ที่แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับหัวข้อเรื่อง (topics) และวิชา (subjects)

4. Preposition ที่แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับเนื้อวัตถุ (Materials) และส่วนผสม (ingredients)

5. Preposition ที่แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับจุดหมายปลายทาง (destination) และจุดประสงค์ (purpose)

6. Preposition ที่แสดงความเกี่ยวพัน, การครอบครองส่วนต่าง ๆ ทางร่างกาย (having, carrying)

7. Preposition ที่แสดงถึงวิธีการ, ตัวแทน, (agents, ways or means)

8. Preposition ที่ใช้ในความหมายอื่น (other meanings)

9. Preposition ที่ใช้เป็นสำนวน

อ้างอิง

  • Libert, Alan R. (2006) Ambipositions. LINCOM studies in language typology (No. 13). LINCOM. ISBN 3-89586-747-0.
  • Melis, Ludo. (2003) La préposition en français. Gap: Ophrys.
  • Reindl, Donald F. (2001) "Areal Effects on the Preservation and Genesis of Slavic Postpositions". In Lj. Šarić and D. F. Reindl On Prepositions (= Studia Slavica Oldenburgensia 8), pp. 85–100. Oldenburg: Carl-von-Ossietzky-Universitat Oldenburg.
  • ภาษิตา วิสารสุข. (2555) ภาษาไทย คนไทยต้อง พูด-อ่าน-เขียน เป็น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : แพรธรรม. ISBN 978-616-7351-69-8