ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดใหญ่วันนา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หน้าใหม่: '''วัดใหญ่วันนา (โคกใหญ่) ''' เป็นวัดในพระพุทธศาสนาเถรวาท สั...
เพิ่มเนื้อหาของวัด
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:04, 20 สิงหาคม 2559

วัดใหญ่วันนา (โคกใหญ่)

         เป็นวัดในพระพุทธศาสนาเถรวาท  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

ที่ตั้ง

         ตั้งอยู่เลขที่  ๕๔  ถนนพหลโยธิน  หมู่ที่  ๑๐  ตำบลหนองไข่น้ำ  อำเภอหนองแค  จังหวัดสระบุรี  ๑๘๑๔๐  ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่  ๑๑  ไร่  ๓๐  ตารางวา  โฉนดที่ดินเลขที่  ๗๖๒๓

อาณาเขต

          ทิศเหนือ                      จดที่ดินเอกชน  และถนนพหลโยธิน
          ทิศใต้                       จดที่ดินเอกชน
          ทิศตะวันออก                  จดที่ดินเอกชน
          ทิศตะวันตก                   จดที่ดินเอกชน  และถนนพหลโยธิน

ประวัติ

          วัดใหญ่วันนา  ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕  วัดตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกในหมู่บ้านโคกใหญ่  ซึ่งชื่อเดิมเรียกว่า  “ วัดโคกใหญ่ ” ห่างออกไปทางทิศตะวันออก  ๒  กิโลเมตร  มีวัดอีกแห่งหนึ่งมีชื่อเรียกว่า  วัดหนองตะวันนา  สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๔๗๒  ในสมัยนั้นการคมนาคมที่จะไปทำบุญยากลำบากมาก  คณะกรรมการของทั้ง ๒ วัด จึงประชุมกันและลงความเห็นว่า  ควรย้ายทั้ง ๒ วัดนี้ไปยังสถานที่ที่สะดวกในการเดินทางไปวัด  ใน พ.ศ. ๒๔๗๘  จึงได้รื้อถอนวัดทั้ง ๒ วัด ย้ายมารวมกันในพื้นที่ตั้งวัดของวัดใหญ่วันนาในปัจจุบัน  วึ่งคุณยัง และคุณตุ่นแก้ว  เขียวเนตร  ได้ถวายที่ดินให้กับทางวัดในปี  พ.ศ. ๒๔๗๕  ต่อมาใน  พ.ศ. ๒๕๐๒  ได้มีการเปลี่ยนชื่อของวัดใหม่ โดยได้นำเอาตอนท้ายของชื่อวัดเก่าทั้ง  ๒ วัด คือ วัดโคกใหญ่ และวัดหนองตะวันนา มาตั้งเป็นชื่อใหม่ คือ วัดใหญ่วันนา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  เมื่อวันที่ ๙  กุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๕๐๔  

ที่ธรณีสงฆ์

           จำนวน  ๒  แปลง   เนื้อที่  ๑๐  ไร่  ๓๐  ตารางวา

ศาสนสถาน

           อุโบสถ              กว้าง  ๒๐ เมตร   ยาว  ๓๕ เมตร     สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔   เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
           ศาลาการเปรียญ       กว้าง  ๓๐ เมตร   ยาว  ๑๕ เมตร     สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓    เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
           หอสวดมนต์          กว้าง  ๒๕ เมตร   ยาว  ๑๙ เมตร     สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕    เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
           กุฏิสงฆ์             จำนวน  ๒  หลัง   เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้
           วิหาร               กว้าง  ๔.๕ เมตร  ยาว  ๕.๕ เมตร    สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๑   เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
           ศาลาบำเพ็ญกุศล      จำนวน  ๑  หลัง   สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก
                  นอกจากนี้มีหอระฆัง  ๑  หลัง  โรงครัว  ๑  หลัง  เรือนเก็บพัสดุ  ๑  หลัง  

ปูชนียวัตถุ

           พระประธานประจำอุโบสถปางมารวิชัย     สร้างเมื่อ   พ.ศ. ๒๕๓๓
           พระประธานประจำศาลาการเปรียญปางมารวิชัย    สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๒๕
           พระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์    ลายพิกุล    ๒    องค์
           พระพุทธรูป ปางมารวิชัย       หน้าตักกว้าง  ๓๐  นิ้ว  ๑  องค์
           พระพุทธรูปปางสมาธิ          หน้าตักกว้าง  ๒๐  นิ้ว  ๑  องค์

การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ

            ๑. พระแก้ว                       พ.ศ.  ๒๔๙๕          ถึง     พ.ศ. ๒๔๙๖
            ๒. พระเสน                       พ.ศ.  ๒๔๙๗          ถึง     พ.ศ. ๒๕๐๑
            ๓. พระอธิการอำนวย                พ.ศ   ๒๕๐๒          ถึง     พ.ศ. ๒๕๑๒
            ๔. พระจำนง                      พ.ศ.  ๒๕๑๓          ถึง     พ.ศ. ๒๕๑๖
            ๕. พระมหาอารีย์                   พ.ศ.  ๒๕๑๗          ถึง     พ.ศ. ๒๕๒๐
            ๖. พระครูโสภณสังฆกิจ              พ.ศ.  ๒๕๒๑          ถึง      พ.ศ. ๒๕๓๙
            ๗. พระอธิการบุญธรรม  ฉนฺทธมฺโม     พ.ศ. ๒๕๔๐           ถึง     พ.ศ. ๒๕๔๖
            ๘. พระพฤหัส  ถาวโร               พ.ศ.  ๒๕๔๗          ถึง     พ.ศ. ๒๕๕๐
            ๙. พระชัยรัตน์  จนฺทปญฺโญ          พ.ศ.  ๒๕๕๐           ถึง     พ.ศ. ๒๕๕๖
            ๑๐.พระครูปลัดถิรถัมม์   ถิรธมฺโม      พ.ศ.  ๒๕๕๗           ถึง     ปัจจุบัน

อ้างอิง

           [1]
  1. หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร หน้า ๒๓๐ - ๒๓๑