พิพิธภัณฑ์ยิว เบอร์ลิน

พิกัด: 52°30′07″N 13°23′42″E / 52.502°N 13.395°E / 52.502; 13.395
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิพิธภัณฑ์ยิว เบอร์ลิน
Jüdisches Museum Berlin
Jüdisches Museum Berlin
Kollegienhaus and Libeskind-Bau
อาคารคอลเลอเฌียนเฮาส์ (Kollegienhaus, สร้างปี 1735) ทางซ้าย และ ลีเบอสไคด์-เบา (Libeskind-Bau, สร้างปี 1992)
แผนที่
ก่อตั้ง2001
ที่ตั้งคร็อยซ์แบร์ค เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี
พิกัดภูมิศาสตร์52°30′07″N 13°23′42″E / 52.502°N 13.395°E / 52.502; 13.395
ประเภทพิพิธภัณฑ์ยิว
ผู้อำนวยการเฮทที แบร์ค
สถาปนิกดาเนียล ลีเบอสไคด์
เว็บไซต์www.jmberlin.de/en

พิพิธภัณฑ์ยิว เบอร์ลิน (อังกฤษ: Jewish Museum Berlin, Jüdisches Museum Berlin) เป็นพิพิธภัณฑ์ยิวตั้งอยู่ในเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เปิดให้บริการในปี 2001 และถือเป็นพิพิธภัณฑ์ยิวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป ด้วยพื้นที่ใช้สอย 3,500 ตารางเมตร (38,000 ตารางฟุต) พิพิธภัณฑ์จัดแสดงประวัติศาสตร์ของชาวยิวในเยอรมนีนับตั้งแต่ยุคกลางมาจนถึงยุคปัจจุบัน ตัวพิพิธภัณฑ์ประกอบด้วยสามอาคาร ในจำนวนนี้มีสองอาคารที่สร้างขึ้นมาใหม่และเป็นผลงานออกแบบโดยสถาปนิก ดาเนียล ลีเบอสไคด์ พิพิธภัณฑ์มีของสะสม หอสมุด และหอจดหมายเหตุที่เก็บรวบรวมและบอกเล่าเรื่องราวของประวัติศาสตร์ชาวยิวในเยอรมนี

ในปี 2012 ได้มีการสร้างสถาบันดับเบิลยู ไมเคิล บลูเมินทัล แห่งพิพิธภัณฑ์ยิว เบอร์ลิน ขึ้น ตัวอาคารออกแบบโดยลีเบอสไคด์เช่นกัน ภายในสถาบันประกอบไปด้วยหอจดหมายเหตุ, หอสมุด, ส่วนงานการศึกษาพิพิธภัณฑ์, โถงบรรยาย และ "สวนผู้ลี้ภัย" (Diaspora Garden)[1]

พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในเขตที่อดีตเป็นเบอร์ลินตะวันตก[2] และประกอบด้วยสองอาคาร คือ อาคารเก่าสถาปัตยกรรมบาโรก "คอลเลอเฌียนเฮาส์" (Kollegienhaus) อดีตใช้งานเป็นคัมเมอร์เฌริตช์ และเคยใช้งานเป็นพิพิธภัณฑ์เบอร์ลิน และอาคารหลังใหม่ สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบคติรื้อสร้างใหม่ ผลงานออกแบบโดยลีเบอสไคด์ อาคารหลังใหม่นี้มีขนาดพื้นที่ 15,000 m2 (160,000 sq ft) สร้างด้วยแปลนรูปซิกแซ็ก หักงอ และไม่มีทางเชื่อมติดต่อกับอาคารหลังเก่าบนดิน มีแต่ทางเดินใต้ดินเชื่อมกัน[3] ชั้นใต้ดินของอาคารมีโถงทางเดินเอียง ๆ สามทางที่เชื่อมต่อกัน ลักษณะคล้ายกันกับอาคารแรกของลีเบอสไคด์ ซึ่งคือ เฟลีกซ์ นูซเบาม์ เฮาส์ อย่างเห็นได้ชัด ทางสามทางนี้ยังแบ่งต่อเป็นพื้นที่สามส่วนที่แทนสามความหมาย "แกนสามแกน" นี้แทนความหมายของวิถีชีวิตสามทางของชาวยิวในเยอรมนี คือ คงอยู่ต่อในประวัติศาสตร์ของเยอรมนี, อพยพออกจากเยอรมนี และ ฮอโลคอสต์[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Rosenfield, Karissa (17 November 2012). "Daniel Libeskind's Academy of the Jewish Museum Berlin Opens Today". ArchDaily.
  2. "Berlin Wall Trail". City of Berlin. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2014. สืบค้นเมื่อ 9 December 2014.
  3. 3.0 3.1 "Information about the architecture". Jewish Museum Berlin. สืบค้นเมื่อ 9 December 2014.