พิพิธภัณฑ์บ้านเลทัน

พิกัด: 51°29′54.89″N 0°12′11.12″W / 51.4985806°N 0.2030889°W / 51.4985806; -0.2030889
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิพิธภัณฑ์บ้านเลทัน
ที่ตั้งฮอลแลนด์พาร์ก
ลอนดอน, W14
สหราชอาณาจักร
พิกัด51°29′54.89″N 0°12′11.12″W / 51.4985806°N 0.2030889°W / 51.4985806; -0.2030889
สร้างเมื่อ1866–1895
สถาปนิกจอร์จ ไอชิสสัน
ผู้ดูแลสภาเขตเคนซิงตันและเชลซี
ป้อนข้อมูลไม่ถูกต้อง
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนLeighton House
ขึ้นเมื่อ30 สิงหาคม 1961[1]
เลขอ้างอิงแม่แบบ:Listed building England
พิพิธภัณฑ์บ้านเลทันตั้งอยู่ในรอยัลโบโรออฟเคนซิงทันแอนด์เชลซี
พิพิธภัณฑ์บ้านเลทัน
ตำแหน่งที่ตั้งพิพิธภัณฑ์บ้านเลทันในรอยัลโบโรออฟเคนซิงทันแอนด์เชลซี

พิพิธภัณฑ์บ้านเลทัน (อังกฤษ: Leighton House Museum) เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะในย่านฮอลแลนด์พาร์ก รอยัลโบโรออฟเคนซิงตันแอนด์เชลซี ในลอนดอน

อาคารหลังนี้เป็นที่อยู่อาศัยในลอนดอนของจิตรกร เฟรเดอริก เลทัน บารอนเลทันที่หนึ่ง (1830–1896) ผู้จ้างวานสถาปนิกและนักออกแบบ จอร์จ ไอชิสสัน ให้ออกแบบอาคารเป็นบ้านและสตูดิโอผสมกัน อาคารนี้มีความโดดเด่นที่การผสมผสานเอาองค์ประกอบและงานกระเบื้องจากตะวันออกใกล้มาใช้ในการสร้างห้องกาอะ หรือห้องรับรองแบบอาหรับ อาคารสร้างแล้วเสร็จในปี 1866 ถึง 1895 บนพื้นที่อิลเชสเตอร์เอสเตต ปละปัจจุบันได้รับการขึ้นทะเบียนระดับ II* อาคารมีชื่อเสียงด้วยการออกแบบภายในที่เป็นแบบโอเรียนทัลลิสต์ และ แอสเธติก[1]

ตัวบ้าน[แก้]

พิพิธภัณฑ์นี้เปิดสู่สาธารณะตั้งแต่ปี 1929 และในปี 1958 สภามณฑลลอนดอนได้ติดตั้งบลูแพล็กนะลึกถึงเลทันที่พิพิธภัณฑ์นี้[2] พิพิธภัณฑ์ได้รับรางวัลมรดกวัฒนธรรมยูโรปานอสตราโดยสหภาพยุโรปในปี 2012[3][4] อาคารเปิดให้เข้าชมทุกวันเว้นวันอังคาร และเป็นพิพิธภัณฑ์ร่วมของบ้านเลขที่ 18 สตัฟเฟิร์ด เทอร์เรซ ซึ่งเป็นบ้านของศิลปินยุควิกตอเรียนอีกคนในเคนซิงตัน

การออกแบบสร้าง[แก้]

"โถงอาหรับ"

ไอชิสสันออกแบบส่วนแรกของบ้าน (เลขที่ 2 ถนนฮอลแลนด์พาร์ก, ต่อมาจัดเรียงเลขที่ใหม่เป็นบ้านเลขที่ 12) ในปี 1864 แม้ว่าเลทันจะไม่ได้สามารถเช่าที่ดินนี้ได้กระทั่งเดือนเมษายน 1866[5] การก่อสร้างบ้านเริ่มต้นไม่นานหลังจากนั้น ค่าใช้จ่ายการก่อสร้างบ้านอยู่ที่ 4500 ปอนด์เท่ากับ £470,719 ในปี 2021 และสามารถเข้าอยู่ได้ภายในสิ้นปี[6] อาคารสร้างจากอิฐซัฟเฟิก (Suffolk bricks) ประกอบ หินคาน ตกแต่ง สถาปัตยกรรมแบบคลาสสิก

สถาปนิกออกแบบบ้านนี้ในระยะเวลากว่า 30 ปี ประกอบด้วยระยะแรกซึ่งมีความกว้างแค่สามหน้าต่าง ห้องหลักประกอบด้วยสตูดิโอบนชั้นหนึ่งซึ่งหันหน้าออกทิศเหนือ มีขนาดแรกเริ่มอยู่ที่ 45 คูณ 25 ฟุต ตรงกลางมีกระจกใหญ่กลางเพื่อให้มีแสงเข้ามาเพียงพอต่อการสร้างงานจิตรกรรม ที่ปลายฝั่งตะวันออกยังมีระเบียงภาพและบันไดแยกสำหรับผู้มาเป็นแบบให้ภาพเขียน[6] บ้านขยายออกอีกครั้งในทางตะวันออกในปี 1869–70 และมีการต่อเติมครั้งใหญ่อีกในปี 1877-79 ที่ซึ่งได้สร้าง "โถงอาหรับ" (Arab Hall) ขนาดสองชั้น เพื่อแสดงกระเบื้องที่เลทันสะสมขณะเดินทางไปตะวันออกกลาง[6]

ในปี 1889 ได้มีการต่อเติมสตูดิโอฤดูหนาวเข้าไป และในปี 1895 เป็นการต่อเติมสุดท้ายของไอชิสสัน ซึ่งสร้างระเบียงภาพที่มีแสงส่องสว่างจากเพดาน หลังเลทันเสียชีวิตในปี 1896 สิ่งของในบ้านถูกนำไปขาย รวมถึงภาพเขียนของเลทันอย่างน้อยหนึ่งพันภาพ ภาพเขียนและวัตถุเกือบทั้งหมดนี้ สมาคมวิจิตรศิลป์เป็นผู้ซื้อไป ต่อมาในปี 1927 มิสซิส เฮนรี เพอริน (Mrs Henry Perrin) ได้เสนอจ่ายเงินสร้างพื้นที่ระเบียงภาพเพิ่ม อาคารจึงมีการขยับขยายอีกตรั้งตามการออกแบบของ Halsey Ricardo และเปิดให้บริการในปี 1929 ในฐานะ หอศิลป์เพอริน (Perrin Galleries)[6] การต่อเติมในครั้งนี้สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงลูกสาวของมิสซิสเพอริน ศิลปินและประติมากร มิวเรียล ไออา เพอริน (Muriel Ida Perrin)[7] ซึ่งจบจากวิทยาลัยศิลปะหลวง[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Historic England. "Leighton House (1191541)". National Heritage List for England. สืบค้นเมื่อ 14 February 2013.
  2. "Leighton, Frederick, Lord Leighton (1830–1896)". English Heritage. สืบค้นเมื่อ 13 December 2015.
  3. "EU Prize For Cultural Heritage / Europa Nostra Awards 2012". Europa Nostra. สืบค้นเมื่อ 25 September 2015.
  4. "Winners of 2012 EU Prize for Cultural Heritage / Europa Nostra Awards announced". European Commission. สืบค้นเมื่อ 25 September 2015.
  5. Dakers 1999, p. 60.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Sheppard 1973, p. 126–150.
  7. "The Church of St. Peter". Church of St.Peter, Bushey Heath, Hertfordshire. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-07. สืบค้นเมื่อ 25 September 2015.
  8. Bryon Parkin, The Arts and Crafts of Bushey Heath (Bushey Museum Trust, 2003), p. 12