พวยแก๊ส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พวยก๊าซ ถ่ายเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2011 ภาพสีผสมเท็จถ่ายที่ความยาวคลื่น รังสีอัลตราไวโอเลต 304 Å
พวยก๊าซที่สังเกตเห็นระหว่างสุริยุปราคาเต็มดวง

พวยก๊าซ หรือ โพรมิเนนซ์ (prominence) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากการที่ส่วนหนึ่งของชั้นโครโมสเฟียร์ซึ่งเป็นชั้นบรรยากาศด้านล่างของดวงอาทิตย์ ได้ยื่นออกมาสู่ชั้นโคโรนาซึ่งเป็นบรรยากาศชั้นบน ตามเส้นแรงแม่เหล็ก[1]

พวยก๊าซจะปรากฏเป็นสีแดงเนื่องจากส่วนใหญ่ปล่อยรังสี Hα เช่นเดียวกับโครโมสเฟียร์ การสังเกตการณ์ทำได้ง่ายเมื่อเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง หรืออาจทำได้ในช่วงเวลาทั่วไปด้วยการใช้ฟิลเตอร์ที่เลือกให้รังสี Hα ผ่านได้

เมื่อสังเกตพวยก๊าซบนโฟโตสเฟียร์ ที่ความยาวคลื่น Hα จะมองเห็นเป็นเส้นมืดกว่าบริเวณอื่น

บางครั้งความสูงของพวยก๊าซอาจสูงถึง 20 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของโลก

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "秒速500キロ、猛スピードの太陽ガスを観測 京大チーム". 日本経済新聞. 2017-04-15. สืบค้นเมื่อ 2022-09-28.