รานีสตี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระราณีสตี)

รานีสตี (อักษรโรมัน: Rani Sati) หรือบางทีเรียก นารายณีเทวี และ ดาดีจี ว่ากันว่าเป็นสตรีชาวราชสถานที่ประกอบพิธีสตีในสมัยศตวรรษที่ 13-17 เมื่อครั้นสามีเสียชีวิต มีการบูชาในฐานะเทวีอยู่ทั่วไปในรัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย

บันทึกเกี่ยวกับช่วงชีวิตของนางและเหตุการณ์ที่นำไปสู่การเสียชีวิตมีแตกต่างกันไปมาก มีการระบุวันที่นางเสียชีวิตอยู่ที่ปี 1295 จนถึง 1595,[1] ในศตวรรษที่ 14[2] หรือศตวรรษที่ 17[3]

มีมนเทียรอยู่จำนวนหนึ่งที่บูชาพระนางอยู่ในอินเดียโดยเฉพาะในแถบราชสถาน เช่นที่อัลวาร์, รายปุระ และ รานีภติยานีในชโสล ในอดีต พิธีสตีเป็นที่นิยมปฏิบัติในแถบนี้ พนารสิทาสระบุไว้ในอรธกฐานกะ (Ardhakathanaka, 1643) ว่าครอบครัวของเขาได้เดินทางไปยังศาลเจ้าสตีที่มีความสัมพันธ์กับวงศ์ตระกูลของเขา แม้จะมีการบูชารานีสตีอยู่ในทุกชนชั้นและกลุ่มคน ในต่างภูมิภาคและต่างศาสนา[4] แต่มีการบูชามากเป็นพิเศษในกลุ่มชาวมาร์วารีซึ่งเป็นพ่อค้า และในวรรณะย่อยอัคราวัล[3] ชุมชนเหล่านี้มีสมาชิกที่สนับสนุนทุนการก่อสร้างเทวาลัยรานีสตี และแปรสถานะของเทวีจากกุลเทวี (เทพเจ้าประจำครอบครัว) สู่เทวีที่บูากันทั่วไปในสาธารณชน[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Hardgrove, Anne (August 1999). "Sati worship and Marwari public identity in India". The Journal of Asian Studies. 58 (3): 723–752. doi:10.2307/2659117. JSTOR 2659117. S2CID 162498846.
  2. Sen, Mala (2002). Death by Fire: Sati, Dowry Death, and Female Infanticide in Modern India. Rutgers University Press. pp. 42–51. ISBN 9780813531021.
  3. 3.0 3.1 Courtright, Paul B (1994). "The iconographies of Sati". ใน Hawley, John Stratton (บ.ก.). Sati, the Blessing and the Curse: The Burning of Wives in India. Oxford University Press. ISBN 9780195360226.
  4. Weinberger-Thomas, Catherine (1999). Ashes of Immortality: Widow-Burning in India. University of Chicago Press. ISBN 9780226885698.
  5. Vaid, Sudesh; Sangari, Kumkum (27 April 1991). "Institutions, Beliefs, Ideologies: Widow immolation in contemporary Rajasthan". Economic and Political Weekly: 2–18.