พระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล)
พระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) | |
---|---|
เกิด | 15 มิถุนายน พ.ศ. 2362 |
เสียชีวิต | 26 สิงหาคม พ.ศ. 2439 (77 ปี) |
คู่สมรส | คุณหญิงพลอย ไกรฤกษ์ |
บุตร | พระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล) พระยาเพ็ชรพิไชย (เจิม อมาตยกุล) พระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน (แฉล้ม อมาตยกุล) คุณหญิงทรามสงวน อภัยรณฤทธิ์ |
บิดามารดา | พระยามหาอำมาตยาธิบดี (ป้อม) คุณหญิงเย็น |
พระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) (15 มิถุนายน พ.ศ. 2362 – 26 สิงหาคม พ.ศ. 2439) เป็นขุนนางในสมัยรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 ที่มีความรู้ในเชิงช่าง สามารถซ่อมเครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องไฟฟ้า มีความสามารถในวิชาช่างชุบโลหะ สามารถประดิษฐ์สร้างเครื่องกลึง
ประวัติ
[แก้]พระยากระสาปนกิจโกศล เดิมชื่อ โหมด เกิดเมื่อวันอังคาร แรม 8 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2362 เป็นบุตรของพระยามหาอำมาตยาธิบดี (ป้อม) กับคุณหญิงเย็น[1]
บุตร-ธิดา
[แก้]เกิดแต่เอกภรรยา คือ คุณหญิงพลอย (ธิดาพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ทองดี ไกรฤกษ์) น้องสาวต่างมารดาของเจ้าจอมอิ่ม ในรัชกาลที่ 2) คือ
- พระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล)
- พระยาเพ็ชรพิไชย (เจิม อมาตยกุล)
- พระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน (แฉล้ม อมาตยกุล)
- คุณหญิงทรามสงวน อภัยรณฤทธิ์
เกิดแต่อนุภรรยา คือ นิ่ม (ธิดาหลวงแก้วอายัติ (อ้น ไกรฤกษ์)) คือ
- หนู อมาตยกุล
- เจ้าจอมสังวาลย์ ในรัชกาลที่ 5
การทำงาน
[แก้]โหมดได้ศึกษาวิชาการเครื่องจักรและการผสมธาตุผสมโลหะกับมิชชันนารีชาวอเมริกัน เป็นคนไทยคนแรกที่ศึกษาวิทยาการการถ่ายภาพจากหลุยส์ ลาร์โนดี (L' abbe Larnaudie) บาทหลวงชาวฝรั่งเศส[2] และเป็นช่างภาพชาวไทยคนแรก มีผลงานถ่ายภาพทิวทัศน์ ภาพวัง และภาพวิถีชีวิตของชาวสยาม ให้กับหมอเฮาส์ ส่งไปสหรัฐ
ในปี พ.ศ. 2403 สมัยรัชกาลที่ 4 วิศวกรชาวอังกฤษที่เดินทางเข้ามาติดตั้งเครื่องจักรที่โรงกระสาปน์สิทธิการ เพื่อผลิตเงินเหรียญใช้แทนเงินพดด้วง ได้เสียชีวิตอย่างกะทันหัน โหมดสามารถติดตั้งเครื่องจักรจนใช้งานได้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีบรรดาศักดิ์เป็น พระวิสูตรโยธามาตย์ ทำหน้าที่กำกับการทำเงิน
ในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนเป็น พระยากระสาปนกิจโกศล เมื่อปี พ.ศ. 2411 ดำรงตำแหน่งจางวางกรมกระสาปน์สิทธิการ ตำแหน่งผู้บังคับการโรงหล่อเหล็กของกรมทหารเรือ และตำแหน่งผู้บังคับการโรงแก๊สของหลวง [1] และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งใน ปรีวีเคาน์ซิล หรือ สภาที่ปรึกษาในพระองค์ เมื่อปี พ.ศ. 2417[3]
บั้นปลายชีวิต
[แก้]พระยากระสาปนกิจโกศล ถูกปลดออกจากตำแหน่ง ถอดบรรดาศักดิ์ และจำคุก เมื่อปี พ.ศ. 2422 เนื่องจากกรณีที่พระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล) บุตรชายต้องโทษ เขาได้รับการปล่อยตัวเมื่อปี พ.ศ. 2430 และถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2439 สิริอายุ 77 ปี[1]
ลำดับสาแหรก
[แก้]ลำดับสาแหรกของพระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 เอนก นาวิกมูล. ลิ้นชักภาพเก่า ประมวลภาพ จากคอลัมน์เปิดกรุภาพเก่าในนิตยสารแพรวรายปักษ์ และคอลัมน์ลิ้นชักภาพเก่าในวิทยาจารย์. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์วิญญูชน, พ.ศ. 2550. 392 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-94365-2-3
- ↑ กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ๑๐๐ ปีภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในงานพระพุทธชินราชประจำปี วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม รัตนโกสินทรศก ๑๒๓. กรุงเทพฯ : ดำรงวิทยา, 2548. 132 หน้า. ISBN 974-93740-5-3
- ↑ จีรวัฒน์ ครองแก้ว. องคมนตรี ศักดิ์ศรีแผ่นดิน. กรุงเทพ : มูลนิธิทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ, พ.ศ. 2550. 269 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-7362-09-1