ผ้าห่อศพแห่งตูริน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ผ้าห่อพระศพแห่งตูริน)
ผ้าห่อศพตูริน
ผ้าห่อศพตูริน: ภาพถ่ายสมัยใหม่แสดงส่วนใบหน้าด้วยภาพพอสซิทีฟ (ซ้าย) และภาพดิจิทัล (ขวา)
วัสดุลินิน
ขนาด4.4 × 1.1 m (14 ft 5 in × 3 ft 7 in)
ที่อยู่ปัจจุบันอาสนวิหารนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมา ตูริน ประเทศอิตาลี

ผ้าห่อศพตูริน (อิตาลี: Sindone di Torino, อังกฤษ: Shroud of Turin) หรือ ผ้าห่อพระศพอันศักดิ์สิทธิ์ (อังกฤษ: Holy Shroud,[2][3] อิตาลี: Sacra Sindone [ˈsaːkra ˈsindone] หรือ Santa Sindone) เป็นผ้าลินินผืนที่ปรากฏภาพเนกกาทีฟแสดงรูปมนุษย์ บ้างบรรยายว่าภาพที่เห็นนี้เป็นภาพของพระเยซูแห่งนาซาเรธ และเชื่อว่าผ้าผืนนี้คือผ้าห่อพระศพที่ห่อพระวรกายของพระเยซูหลังทรงถูกตรึงกางเขน

ปรากฏการกล่าวถึงผ้าผืนนี้ครั้งแรกในปี 1354 และถูกประกาศว่าเป็นของปลอมในปี 1389 โดยบิชอปแห่งโตรเยส ในปัจจุบัน คริสต์จักรคาทอลิกไม่ทั้งยืนยันหรือปฏิเสธว่าผ้าผืนนี้เป็นผ้าห่อพระศพของพระเยซูจริง และในปี 2013 พระสันตะปาปาฟรังซิสได้กล่าวถึงผ้าผืนนี้ว่าเป็น "รูปเคารพของบุรุษที่เฆี่ยนตีและตรึงกางเขน"[4] ผ้าห่อศพนี้เก็บรักษาอยู่ที่โบสถ์น้อยหลวงของอาสนวิหารตูริน ประเทศอิตาลี มาตั้งแต่ปี 1578[2]

ในปี 1988 การวิเคราะห์คาร์บอนทางรังสีพบว่าผ้าห่อศพนี้มีอายุจากยุคกลาง ในปี 1260 ถึง 1390[5] ข้อสันนิษฐานทุกข้อที่พยายามโต้เถียงการตรวจวิเคราะห์คาร์บอนนี้ถูกปฏิเสธทางวิทยาศาสตร์แล้วทั้งหมด[6] รวมถึงข้อสันนิษฐานว่าผ้าที่นำไปตรวจเป็นส่วนผ้าที่ซ่อมแซมในยุคกลาง[7][8][9] ข้อสันนิษฐานการปนเปื้อน[10] และข้อสันนิษฐานคาร์บอนมอนอกไซด์[11][12]

ภาพบนผ้าห่อศพจะสามารถเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นในรูปภาพเนกกาทีฟขาวดำมากกว่าที่จะเห็นได้จากสีซีเปียโดยธรรมชาติของผ้า มีข้อเสนอมากมายว่าภาพบนผ้าเกิดขึ้นจากอะไร แต่วิธีแท้จริงที่ใช้ยังไม่ได้นับการระบุหรือยืนยันโดยชัดเจน[13] ผ้าห่อศพนี้ยังคงถูกค้นคว้าในเชิงลึกอยู่ตลอด และยังคงเป็นประเด็นถกเถียงระหว่างนักวิทยาศาสตร์กับนักวิชาการไบเบิล[14][15][16][17]

ลักษณะ[แก้]

ผ้าห่อศพนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดประมาณ 4.4 โดย 1.1 เมตร (14 ฟุต 5 นิ้ว โดย 3 ฟุต 7 นิ้ว) ทอออกมาในรูปผ้าทวิลแบบก้างปลาสัดส่วนสามต่อหนึ่ง ทำมาจากเส้นใยป่าน ลักษณะเด่นของผ้าคือภาพสีน้ำตาลจาง ๆ ที่ปรากฏเป็นรูปด้านหล้าและด้านหลังของชายเปลือย มือประสานกันอยู่ที่ตรงขาหนีบ[18] ภาพสีเหลืองฟางจาง ๆ บนส่วนมงกุฏของผ้า (crown of the cloth fibres) ดูจะเป็นภาพบุรุษมีหนวดเครา ผมประบ่าแสกกลาง มีกล้ามเนื้อชัดเจน และมีส่วนสูงประมาณ 1.70 - 1.88 เมตร[19] คราบสีแดงน้ำตาลยังพบได้ตามจุดต่าง ๆ ของผ้า ตรงกับจุดที่เป็นรอบแผลบนร่างของพระเยซูขณะถูกตรึงกางเขน ตามที่สาธกไว้ในไบเบิล[20]

ในปี 1898 ช่างภาพชาวอิตาลี เซกอนโด ปิยา ได้รับอนุญาตให้ถ่ายภาพผ้าผืนนี้เป็นครั้งแรกในวันที่ 28 พฤษภาคม 1898 ในปี 1931 ช่างภาพอีกคน Giuseppe Enrie ได้ถ่ายภาพที่มีผลออกมาคล้ายกับของปิยา[21] ในปี 1978 ได้มีการถ่ายภาพอัลตราไวโอเลต[22][23]

ผ้าผืนนี้เสียหายจากไฟในปี 1532 ขณะอยู่ในโบสถ์น้อยหลังหนึ่งใน Chambery ประเทศฝรั่งเศส จึงปรากฏหลุมรอยไหม้ด้านล่างของทั้งสองฝั่งของผ้า อันเกิดจากเงินที่หลอมจากไฟไหม้โดยผ้าขณะพับไว้[24]

หมายเหตุ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Taylor, R.E. and Bar-Yosef, Ofer. Radiocarbon Dating, Second Edition: An Archaeological Perspective. Left Coast Press, 2014, p. 165.
  2. 2.0 2.1 "Shroud of Turin | History, Description, & Authenticity". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 16 September 2020.
  3. "Turin Shroud: full text of Pope Francis' comments". The Telegraph (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2022. สืบค้นเมื่อ 16 September 2020.
  4. "Pope Francis and the Shroud of Turin". National Catholic Reporter (ภาษาอังกฤษ). 1 April 2013. สืบค้นเมื่อ 16 September 2020.
  5. Damon, P. E.; Donahue, D. J.; Gore, B. H.; Hatheway, A. L.; Jull, A. J. T.; Linick, T. W.; Sercel, P. J.; Toolin, L. J.; Bronk, C. R.; Hall, E. T.; Hedges, R. E. M.; Housley, R.; Law, I. A.; Perry, C.; Bonani, G.; Trumbore, S.; Woelfli, W.; Ambers, J. C.; Bowman, S. G. E.; Leese, M. N.; Tite, M. S. (16 February 1989). "Radiocarbon dating of the Shroud of Turin" (PDF). Nature. 337 (6208): 611–615. Bibcode:1989Natur.337..611D. doi:10.1038/337611a0. S2CID 27686437.
  6. Radiocarbon Dating, Second Edition: An Archaeological Perspective, By R.E. Taylor, Ofer Bar-Yosef, Routledge 2016; pp. 167–168.
  7. R. A. Freer-Waters, A. J. T. Jull, "Investigating a Dated piece of the Shroud of Turin", Radiocarbon 52, 2010, pp. 1521–1527.
  8. Schafersman, Steven D. (14 March 2005). "A Skeptical Response to Studies on the Radiocarbon Sample from the Shroud of Turin by Raymond N. Rogers". llanoestacado.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-14. สืบค้นเมื่อ 2 January 2016.
  9. The Shroud, by Ian Wilson; Random House, 2010, pp. 130–131.
  10. Gove, H. E. (1990). "Dating the Turin Shroud: An Assessment". Radiocarbon. 32 (1): 87–92. doi:10.1017/S0033822200039990.
  11. Christopher Ramsey (March 2008). "The Shroud of Turin". Oxford Radiocarbon Accelerator Unit, University of Oxford.
  12. "Chemistry in the face of belief". Chemistry World. 23 December 2013.
  13. Ball, P. (2008). "Material witness: Shrouded in mystery". Nature Materials. 7 (5): 349. Bibcode:2008NatMa...7..349B. doi:10.1038/nmat2170. PMID 18432204.
  14. Meacham, William (1983). "The Authentication of the Turin Shroud, An Issue in Archeological Epistemology". Current Anthropology. 24 (3): 283–311. doi:10.1086/202996. JSTOR 2742663. S2CID 143781662.
  15. According to LLoyd A. Currie, it is "widely accepted" that "the Shroud of Turin is the single most studied artifact in human history". Currie, Lloyd A. (2004). "The Remarkable Metrological History of Radiocarbon Dating". Journal of Research of the National Institute of Standards and Technology. 109 (2): 200. doi:10.6028/jres.109.013. PMC 4853109. PMID 27366605.
  16. Habermas, G. R. (2011). "Shroud of Turin". ใน Kurian, G. T. (บ.ก.). The Encyclopedia of Christian Civilization. Wiley-Blackwell. p. 2161.
  17. "Is It a Fake? DNA Testing Deepens Mystery of Shroud of Turin". Live Science. สืบค้นเมื่อ 9 April 2018.
  18. Adler, Alan D. (2002). The orphaned manuscript: a gathering of publications on the Shroud of Turin. p. 103. ISBN 978-88-7402-003-4.
  19. "How Tall is the Man on the Shroud?". ShroudOfTurnForJournalists.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-27. สืบค้นเมื่อ 12 April 2009.
  20. Heller, John H. (1983). Report on the Shroud of Turin. Houghton Mifflin. ISBN 978-0-395-33967-1.
  21. Scott, John Beldon (2003). Architecture for the shroud: relic and ritual in Turin. University of Chicago Press. p. 302. ISBN 978-0-226-74316-5.
  22. Miller, V. D.; Pellicori, S. F. (July 1981). "Ultraviolet fluorescence photography of the Shroud of Turin". Journal of Biological Photography. 49 (3): 71–85. PMID 7024245.
  23. Pellicori, S. F. (1980). "Spectral properties of the Shroud of Turin". Applied Optics. 19 (12): 1913–1920. Bibcode:1980ApOpt..19.1913P. doi:10.1364/AO.19.001913. PMID 20221155.
  24. Cruz, Joan Carroll (1984). Relics. Our Sunday Visitor. p. 49. ISBN 978-0-87973-701-6.

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]