ผู้ใช้:Worawit Changdonpai/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยม่วง

สภาพทั่วไป[แก้]

องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยม่วง เดิมเป็นสภาตำบลห้วยม่วงตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลจากกระทรวงมหาดไทย เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2539 ปัจจุบันสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 50 หมู่ที่ 3 ตำบลห้วยม่วง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

ตำบลห้วยม่วงอยู่ห่างจากอำเภอกำแพงแสนประมาณ 18 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 31.51 ตารางกิโลเมตรเป็นที่ราบลุ่ม มีลำคลองตัดผ่านพื้นที่ เหมาะสำหรับทำการเกษตร

ลักษณะภูมิประเทศ[แก้]

ตำบลห้วยม่วงมีลักษณะภูมิประเทศ เป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีความลาดเอียงเล็กน้อย โดยเฉพาะด้าน ทิศตะวันออกและทิศเหนือของตำบลจะเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ ตาม คลองสายย่อยที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำท่าจีนทั่วพื้นที่ ในช่วงฤดูฝนจึงมีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรเป็นประจำ

ลักษณะภูมิอากาศ[แก้]

ภูมิอากาศของตำบลห้วยม่วง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จัดอยู่ในประเภทฝนเมืองร้อน เฉพาะฤดู (tropical savannah climate) สภาพอากาศโดยทั่วไปขึ้นอยู่กับอิทธิพลของลมมรสุม ฤดูฝนจึงมีฝนตกชุก ฤดูร้อนอากาศค่อนข้างร้อน ฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัด จากสถิติของสถานีตรวจอากาศเกษตรกำแพงแสน กรมอุตุนิยมวิทยาในช่วง ๒๐ปี(พุทธศักราช ๒๕๑๕ – ๒๕๓๕) เฉลี่ยแล้วอุณหภูมิตลอดทั้งปี ประมาณ ๒๘ องศาเซลเซียส โดยฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม อากาศจะร้อนและแห้ง อุณหภูมิสูงสุดจะอยู่ในช่วงเดือนเมษายน เฉลี่ย ๓๖.๘ องศาเซลเซียส และมีลมพัดจากอ่าวไทยเข้าสู่จังหวัด นครปฐมทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่าน มีปริมาณฝนตกต่อปี ๑ ,๐๐๒.๑ มิลลิเมตร มีจำนวนวันที่ฝนตกเฉลี่ย ๑๐๑.๘ วัน โดยฝนจะทิ้งช่วงในเดือน มิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม และจะตกชุกในเดือนกันยายน ช่วงฤดูฝนมีความชื้นเฉลี่ย ๗๒ % ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนมกราคม ซึ่งเป็นช่วงที่ลมมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือ พัดพาความหนาวมาสู่ประเทศไทย โดยมีลักษณะอากาศหนาวเย็นเป็นช่วงๆ ช่วงหนา ที่สุด จะอยู่ในราวปลายเดือนธันวาคมถึงสิ้นเดือนมกราคม อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย ๑๗.๒ องศาเซลเซียส และ ความชื้นเฉลี่ย ๓๔ – ๔๐ %

ประชากร[แก้]

ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร[แก้]

ใส่หัวตาราง ใส่หัวตาราง ใส่หัวตาราง ใส่หัวตาราง ใส่หัวตาราง
ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง
ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง
ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง
ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง
ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง
ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง
ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง
ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง
ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง
ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง
ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง
ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง
ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง
ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง
ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง
ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง
ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง


สภาพทางสังคม[แก้]

การศึกษา[แก้]

- โรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 3 แห่ง

1. โรงเรียนวัดห้วยม่วงม่วง

2. โรงเรียนวัดท่าเสา

3.โรงเรียนวัดปทุมทอง

- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง

-ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลห้วยม่วง

- ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน 1 แห่ง หมู่ที่ 3

- ศูนย์อินเตอร์เน็ตชุมชน 1 แห่ง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3

ด้านสาธารณสุข[แก้]

-โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต)  จำนวน 1 แห่ง
-สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติตำบลห้วยม่วง

การเกษตร[แก้]

จากข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ปี2559 พื้นที่ตำบลห้วยม่วงส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร ดังนี้

- นาข้าว จำนวน ๒๙๐ ครัวเรือน พื้นที่ 5,313.25 ไร่ (หมู่ที่ 1-12)  

- ไร่อ้อย จำนวน ๑๔ ครัวเรือน พื้นที่ 304.50 ไร่(หมู่ที่ ๕,๖,๘,๑๑)

- พืชผัก จำนวน 22 ครัวเรือน พื้นที่ 26.25 ไร่(หมู่ที่ 1,2,5,6,7,8,10,11,12)

- ไม้ยืนต้นไม้ผล จำนวน 19 ครัวเรือน พื้นที่ 86.75 ไร่ (หมู่ที่ 1,4,5,6,8,11,12) รวม 345 ครัวเรือน พื้นที่ 5,730.75 ไร่

การประมง[แก้]

จากข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ปี 2559 พื้นที่ตำบลห้วยม่วงประกอบอาชีพด้านการประมง ดังนี้

- เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จำนวน 397 ครัวเรือน พื้นที่ 5,189 ไร่(หมู่ที่ 1-12)

การท่องเที่ยว[แก้]

ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยม่วง ไม่มีแหล่งท่องเที่ยว

อุตสาหกรรม[แก้]

ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยม่วง มีโรงงานอุตสาหกรรม ๘ แห่ง ดังนี้

๑. บ.ยงฟ้าอินดัสเตรียล จำกัด หมู่ที่ ๔ (ผลิตนาฬิกา)

๒. บ.พีทีเอสแพ็คเกจจิ้ง จำกัด หมู่ที่ ๖ (ผลิตจำหน่ายถุงพลาสติก)

๓. บ.แค็ปปิตอลเลช จำกัด หมู่ที่ ๖ (ทอผ้า)

๔. บ.ลาวัณย์วิสุทธิ์พลาสติกไทย จำกัด หมู่ที่ ๖ (ผลิตพลาสติก)

๕. บ.ฟาร์มเมอร์ซัพพลาย จำกัด หมู่ที่ ๘ (บรรจุเคมีการเกษตร)

๖. บ.ทีแอนด์เอ็น เคมีการเกษตร จำกัด หมู่ที่ ๑๐ (บรรจุเคมีการเกษตร)

๗. บ.กำแพงแสนพัฒนา จำกัด หมู่ที่ ๑๒ (ฟอกย้อมผ้า)

๘. บ.แสงฟ้าสยามอุตสาหกรรม จำกัด หมู่ที่ ๑๐ (หน้าโต๊ะเครื่องจักร)

แรงงาน[แก้]

- ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยม่วง มีประชากรวัยแรงงาน (อายุ 19-59 ปี) 4,495 คน - แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ 548 คน

– แรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียน จำนวน ๓๘ คน

อ้างอิง[แก้]

http://www.huaymuang.go.th/images/sub_1347955412/%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87.pdf http://www.huaymuang.go.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539576147