ผู้ใช้:Whanjai/E-commerce

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
 การซื้อขายทางอินเทอร์เน็ตหรือเรียกอีกอย่างว่า E-Commerce (พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์) คือ ระบบอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) หรือ ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทุกรูปแบบ ซึ่งครอบคลุมถึงการซื้อ - ขายสินค้าหรือบริการ การชำระเงิน การโฆษณา โดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะเครือข่ายทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งกำลังเป็นที่นิยม ในปัจจุบัน ไม่ว่าธุรกิจใหญ่ หรือเล็ก ๆ อย่าง SME ก็ยังนำระบบ อีคอมเมิร์ซมาใช้ในการบริหารงาน  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจกล่าวกันว่าในปัจจุบันนี้ถ้าบริษัทห้างร้านใดไม่มีหน้าโฮมเพจในอินเทอร์เน็ต บริษัทห้างร้านนั้นก็ ไม่มีตัวตน นั่นคือไม่มีใครรู้จัก เมื่อไม่มีใครรู้จักก็ไม่มีใครทำมาค้าขายด้วย แล้วถ้าไม่มีใครทำมาค้า ขายด้วยก็อยู่ไม่ได้ต้องล้มหายตายจากไป ว่ากันว่าอินเทอร์เน็ต คือ แหล่งข้อมูลข่าวสาร และข้อมูลข่าวสารอย่างหนึ่งก็คือ ข้อมูลเกี่ยว กับราคาสินค้า ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้านั้นๆ และข้อมูลเกี่ยวกับผู้ขายผู้ผลิต ซึ่งในปัจจุบัน ผู้บริโภคมีทางเลือกในการที่จะซื้อสินค้ากันมากขึ้น เช่นการเข้าไปเลือกซื้อจากในเว็บไซต์ มีการ เข้าไปเปรียบเทียบราคาสินค้าก่อนที่จะซื้อ หากจะกล่าวว่า "ข่าวสาร" คืออำนาจ ในปัจจุบันนี้ผู้ บริโภคก็ได้รับการติดอาวุธอย่างใหม่ที่มีอำนาจมากพอที่จะ ต่อรองกับผู้ผลิต และผู้จำหน่ายสินค้า ได้ผลดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา และพฤติกรรมของผู้บริโภคทั่วโลกก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง 
    ในการทำอีคอมเมิร์ซนั้นไม่ใช่เพียงแค่เป็นเว็บเพจหรือช่องทางการจำหน่าย สินค้า แต่อีคอมเมิร์ซยังมีความหมายรวมไปถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการทาง ธุรกิจ เพื่อลดค่าใช้จ่าย ลดเวลาที่ต้องสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ รวม ไปถึงการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของกับผู้บริโภค และผู้ค้าส่ง 


==องค์ประกอบหลักของระบบ E-Commerce ==

1. ผู้ซื้อ คือ ผู้ที่สั่งซื้อสินค้าผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

2. ผู้ขาย คือ ผู้ที่เปิดเว็บไซต์เพื่อใช้เป็นร้านค้าของตนเอง

3. ผู้ผลิต คือ ผู้ที่ใช้บริการเว็บไซต์ของผู้ขาย และ อาจมีการนำสินค้าของตนเองฝากขายในเว็บไซต์ของผู้ขาย

4. สินค้าและบริการ


อีคอมเมิร์ซ ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้[แก้]

(๑) ผู้ประกอบการจัดตั้งร้านค้าหรือทำหน้าโฆษณาที่เรียกว่าโฮมเพจ หรือเว็บเพจบนอินเทอร์เน็ต

(๒) ผู้ซื้อเข้าไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าในอินเทอร์เน็ต

(๓) ผู้ซื้อติดต่อสอบถามรายละเอียดจากผู้ขาย เช่น ของดีจริงหรือไม่ ส่งได้รวดเร็วเท่าใด มี ส่วนลดหรือไม่ เป็นต้น 

(๔) ผู้ซื้อสั่งสินค้าและระบุวิธีจ่ายเงิน เช่น โดยผ่านบัตรเครดิต เป็นต้น

(๕) ธนาคารตรวจสอบว่าผู้ซื้อมีเครดิตดีพอหรือไม่และแจ้งให้ผู้ขายทราบ

(๖) ผู้ขายส่งสินค้าให้ผู้ซื้อ

(๗) ผู้ซื้ออาจจะใช้อินเทอร์เน็ตในการติดต่อขอบริการหลังการขายจากผู้ขาย

ประโยชน์ของ E-Commerce[แก้]

1. การนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในเชิงการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่นการเปิดเว็บไซต์ เพื่อทำเป็นร้านค้า เท่ากับเป็นการเปิดตลาดใหม่ในการสนองตอบต่อความต้องการของลูกค้าและคู่ค้า นอกจากนั้นแล้ว การกระจายข้อมูลสามารถกระจายออกไปได้ทั่วโลก ทำให้เกิดประโยชน์ในการเพิ่มช่องทางการค้าระหว่างประเทศ ที่สามารถดำเนินการได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันทั้งปีไม่มีวันหยุด

2. ความรวดเร็ว การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถดำเนินการกันได้ทั่วโลกภายในช่วงระยะเวลาอันสั้นมากเป็นวินาทีและเป็นการค้าที่ไร้พรมแดน ไม่มีขีดจำกัด ไม่มีการแบ่งว่าจะเป็นประเทศไหนหรือว่าอยู่ที่ทวีปไหน ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับระยะเวลาเป็นการค้าที่ไร้พรมแดน ไม่มีขีดจำกัด ไม่มีการแบ่งว่าจะเป็นประเทศไหนหรือว่าอยู่ที่ทวีปไหน ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับระยะเวลา หรือว่าการเดินทาง เราสามารถที่จะซื้อสินค้าจากร้านหนึ่ง และเดินทางไปซื้อสินค้าจากร้านอีกร้านหนึ่งซึ่งแม้จะไม่ได้อยู่ในประเทศหรือคนละทวีปก็ได้ซึ่งในการซื้อขายเพียงไม่กี่นาทีเวลาเพียงไม่กี่นาที

หรือว่าการเดินทาง เราสามารถที่จะซื้อสินค้าจากร้านหนึ่ง และเดินทางไปซื้อสินค้าจากร้านอีกร้านหนึ่งซึ่งแม้จะไม่ได้อยู่ในประเทศหรือคนละทวีปก็ได้ซึ่งในการซื้อขายเพียงไม่กี่นาทีเวลาเพียงไม่กี่นาที ทำให้ประหยัดเวลาในการทำการซื้อขาย และเนื่องจากได้มีกฎหมายรับรองการทำธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ การดำเนินการผ่านเอกสารที่ต้องใช้เวลาในการจัดส่ง จะค่อยๆ ลดลงไปทำให้เกิดการประหยัด 

3.ประหยัดต้นทุน ในการดำเนินการ นอกจากการประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดทำเอกสารแล้ว ยังสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เพื่อไปติดต่อกัน โดยอาศัยเทคโนโลยี การประชุมทางจอภาพ หรืออาจก้าวไปไกลถึง การให้พนักงานทำงานอยู่กับบ้านและยังไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสร้างตึกแถว เพื่อใช้เป็นร้านค้า เพียงแค่เราสร้างเว็บไซต์ ก็ถือว่าเรามีร้านค้าเป็นของเราแล้ว สามารถทำกำไรได้มากกว่าระบบการขายแบบเดิม เนื่องจากต้นทุนการผลิตและการจำหน่ายต่ำกว่า ทำให้ได้กำไรจากการขายต่อหน่วยเพิ่มขึ้น


==ลักษณะสำคัญของ E-Commerce== 


    1. เป็นการค้าที่ไร้พรมแดน ไม่มีขีดจำกัด ไม่มีการแบ่งว่าจะเป็นประเทศไหนหรือว่าอยู่ที่ทวีปไหน ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับระยะเวลา หรือว่าการเดินทาง เราสามารถที่จะซื้อสินค้าจากร้านหนึ่ง และเดินทางไปซื้อสินค้าจากร้านอีกร้านหนึ่งซึ่งแม้จะไม่ได้อยู่ในประเทศหรือคนละทวีปก็ได้ซึ่งในการซื้อขายเพียงไม่กี่นาทีเวลาเพียงไม่กี่นาที
         2. เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นการค้าที่เข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายขนาดใหญ่ทั่วโลก แวดวงผู้ซื้อก็ขยายกว้างมากยิ่งขึ้นและ ช่องทางการจัดจำหน่ายมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ
         3. สามารถทำการค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมงสามารถเปิดร้านขายได้ตลอดทั้งวันเปิด และให้บริการได้ทั่วโลก ประหยัดเวลาและขั้นตอนทางการตลาด
         4. ไม่มีความจำเป็นต้องจ้างพนักงานขายเพราะเจ้าของธุรกิจ จะทำการค้าแบบอัตโนมัติให้เราเองและสามารถ ปรับปรุงหรืออัปเดต ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการได้ตลอดเวลา
         5. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสร้างตึกแถว เพื่อใช้เป็นร้านค้า เพียงแค่เราสร้างเว็บไซต์ ก็ถือว่าเรามีร้านค้าเป็นของเราแล้ว สามารถทำกำไรได้มากกว่าระบบการขายแบบเดิม เนื่องจากต้นทุนการผลิตและการจำหน่ายต่ำกว่า ทำให้ได้กำไรจากการขายต่อหน่วยเพิ่มขึ้น
         6. ธุรกิจ อี-คอมเมิร์ซ สามารถเก็บเงิน และนำเงินฝากเข้าบัญชี ให้เราโดยอัตโนมัติ และยังสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ซื้อหรือลูกค้า เช่น ชื่อ ที่อยู่ หรือพฤติกรรม การบริโภค สินค้าที่ต้องการเพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการวางแผนการตลาด เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการของตลาดมากขึ้น

     

คำแนะนำในการซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต[แก้]

  • ให้ศึกษาข้อมูลของบริษัทที่จะทำการสั่งซื้อสินค้า ก่อนที่จะตัดสินใจสั่งซื้อ
  • ให้ตรวจสอบนโยบายการขายสินค้าของเว็บไซต์ที่ต้องการสั่งซื้อสินค้า
  • ได้แก่ การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าไว้เป็นความลับ การรับประกันสินค้า การรับประกันความพึงพอใจของลูกค้าการคืนสินค้า ตลอดจนการสั่งซื้อสินค้าต้องมีความปลอดภัย
  • ให้ตรวจสอบว่ากระบวนการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางเว็บต้องเป็นไปอย่างปลอดภัย
  • ให้ปฏิเสธไม่รับคุกกี้ (Cookies) ที่ไม่มีความจำเป็น (ให้ดูในหัวข้อ “คุกกี้” เพิ่มเติมด้วย) คุกกี้อาจเก็บข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลที่บ่งบอกถึงลักษณะและความชอบส่วนตัวรวมไปถึงข้อมูลอื่นๆ ของผู้ใช้งานเว็บเบราว์เซอร์
  • ให้ติดตั้งโปรแกรมอุดช่องโหว่ให้กับเว็บเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน เพื่อให้เบราว์เซอร์มีความปลอดภัย
  • ให้ตรวจสอบและทำความเข้าใจในกระบวนการส่งสินค้าและการคืนสินค้า
  • หากบนเว็บไซต์มี FAQ (Frequently Asked Questions) ให้อ่าน FAQ อย่างละเอียด
  • ในการให้ข้อมูลส่วนตัวเพื่อประกอบกระบวนการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางเว็บไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเกินความจำเป็น
  • ไม่เปิดเผยรหัสผ่านในการเข้าเว็บไซต์ให้กับบุคคลหนึ่งบุคคลใดทราบ
  • เก็บรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับการสั่งซื้อไว้ทั้งหมด อาทิ ก่อนจบกระบวนการสั่งซื้อ อาจมีหน้าเว็บที่บอกรายละเอียดของสินค้าที่สั่งซื้อนั้น ให้ทำการบันทึกข้อมูลนั้นเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเอง หรือเก็บอีเมล์ที่ยืนยันการสั่งซื้อสินค้าของเราเอาไว้ เมื่อพบปัญหาเกิดขึ้นในภายหลัง เช่น สินค้าไม่ตรงตามที่สั่งซื้อ จำนวนเงินที่จะต้องชำระทางบัตรเครดิตไม่ถูกต้อง เป็นต้น จะได้ใช้ข้อมูลที่บันทึกเก็บไว้นั้นเป็นหลักฐานได้
  • ให้ตรวจสอบ Statements บัตรเครดิตที่ทางธนาคารส่งมาให้เป็นประจำเช่น ทุกเดือน เพื่อดูว่าเกิดความผิดพลาดใดๆ หรือมีการใช้บัตรเครดิตโดยบุคคลอื่นหรือไม่ และเมื่อพบความผิดพลาด ให้ดำเนินการแจ้งธนาคารโดยทันที
  • ให้ระมัดระวังบริษัทที่โอ้อวดเกินความเป็นจริง
  • ให้ตรวจสอบเงื่อนไขการสั่งซื้อให้ชัดเจน เช่น การคืนสินค้า การคืนเงินการประกันสินค้า การส่งสินค้า เป็นต้น
  • ให้ใช้บัตรเครดิตในการสั่งซื้อมากกว่าบัตรเดบิต เพราะเมื่อมีการสั่งซื้อด้วยบัตรเดบิต เงินในบัญชีของบัตรเดบิตจะถูกหักออกทันที ซึ่งจะทำให้เกิดความยุ่งยากในการแก้ไขปัญหาที่อาจตามมาในภายหลัง
  • หากเป็นไปได้ ให้ทำการตรวจสอบกฎหมายการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคด้วย


หลักการซื้อขายทางแพ่ง[แก้]

สัญญาซื้อขายทางแพ่ง นั้นมีหลักดังนี้

การซื้อขายนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ซื้อและผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย

ดังนั้นสัญญาซื้อขายจึงสามารถ แยกสาระสำคัญได้ 4ประการดังนี้

๑.สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์

๒ . สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาสองฝ่าย

๓ .วัตถุของสัญญาซื้อขายคือทรัพย์สิน

๔ .ผู้ซื้อตกลงชำระราคาให้


ข้อควรคำนึงถึงก่อนการทำนิติกรรมสัญญา[แก้]

๑ .ผู้ทำนิติกรรมสัญญาผู้เยาว์บุคคลวิกลจริตคนไร้ความสามารถคนเสมือนไร้ความสามารถบุคคลล้มละลาย

๒ . การแสดงเจตนาของผู้ทำนิติกรรมสัญญาต้องไม่มีลักษณะดังนี้ กล่าวคือ ไม่ตรงต่อความจริง, เจตนาลวง, สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมสัญญา, สำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์ซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญ, ถูกกลฉ้อฉล, ถูกข่มขู่

๓ . วัตถุประสงค์ของนิติกรรมสัญญาต้องไม่มีลักษณะดังนี้ กล่าวคือ ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย,พ้นวิสัย , ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน 
 ๔ . รูปแบบของนิติกรรมสัญญามีหลายรูปแบบคือ ทำหลักฐานเป็นหนังสือ, ทำเป็นหนังสือ, จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่, ตกลงด้วยวาจา 
 ๕ . ข้อตกลงในนิติกรรมสัญญาหรือข้อสัญญา พิจารณา - พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค กับ - พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ด้วย


การคุ้มครองสิทธิของผู้ซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต[แก้]

ปัญหาการฉ้อโกงจากการซื้อสินค้าออนไลน์ จริงๆ แล้วมีกฎหมายคุ้มครอง ซึ่งก็คือกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2550) มีหลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าทุกประเภท และ สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน


พ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา ๗ – มาตรา ๒๕)[1][แก้]

บทหลัก รับรองผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

มาตรา ๗ ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใดเพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

บทขยายความ กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม เมื่อธุรกรรมนั้น จัดทำเป็นหนังสือ, ลายมือชื่อ, ต้นฉบับ, ใช้อ้างอิงเป็นพยานหลักฐาน, และมีกฎหมายอื่นกำหนดให้เก็บรักษาเอกสาร (มาตรา ๘ ถึงมาตรา ๑๒)

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2541[2][แก้]

สำหรับการคุ้มครองสิทธิในการได้รับการชดเชยความเสียหาย กรณีได้สินค้าไม่ตรงตามคำโฆษณา ตามกฎหมายมีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2541 ซึ่งวางหลักการสำคัญเรื่องคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค 5 ประการ ได้แก่ ๑. สิทธิที่จะได้รับข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่ถูกต้อง

๒. สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าและบริการ

๓. ทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ

๔. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา

๕. สิทธิที่จะได้รับการชดเชยความเสียหาย

ซึ่งหลักการทั้ง 5 ประการนี้ แม้จะไม่มีบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองแก่ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะ แต่เจตนารมณ์ของกฎหมายได้ให้ความคุ้มครองแก่ผู้บริโภคทุกกรณี แม้ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าออนไลน์

ร้องเรียนผ่านสำนักงานตำรวจแห่งชาติ[แก้]

นอกจากนี้หากว่ามีการฉ้อโกงการซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ตก็สามารถที่จะร้องเรียนไปที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติยังมีหน่วยงานที่ดูแลคดีทางด้านอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ คือศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยี (High-Tech Crime Center) เว็บไซต์คือ http://htcc.ict.police.go.th หมายเลขโทรศัพท์ 0-2205-2627-8 ที่จะคอยให้ความช่วยเหลือคดีที่เป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ

  1. พรบ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
  2. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522