ผู้ใช้:Watphummarin

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัดภุมรินทร์กุฎีทอง[แก้]

ตำบลสวนหลวง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ๗๕๑๑๐ สำนักปฏิบัติธรรมแห่งที่ ๒ ของจังหวัดสมุทรสงคราม

ประวัติวัดภุมรินทร์กุฎีทอง[แก้]

วัดภุมรินทร์กุฎีทองสันนิษฐานว่าก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๑ ตั้งอยู่ที่เลขที่ ๔ หมู่ ๘ ตำบลสวนหลวง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ประวัติโดยย่อของวัดภุมรินทร์กุฎีทองนี้สร้างขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๑ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยนางสาวพุ่ม พงษ์พิทักษ์ เป็นผู้สร้าง นอกจาก นางสาวพุ่มแล้วก็มี นายแจ้ง นางชม พงษ์พิทักษ์ ได้ร่วมบริจาคทรัพย์สร้างวัดด้วย และได้ตั้งชื่อว่า “วัดภุมรินทร์” หลังจากย้ายกุฎีทองจากวัดบางลี่บนมาสร้างไว้ที่วัดนี้ จึงเรียกชื่อรวมกันใหม่ว่า “วัดภุมรินทร์กุฎีทอง” และต่อมาใน ปี พ.ศ.๒๔๘๖ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เนื้อที่ที่ตั้งวัด ประมาณ ๘ ไร่ โดยประมาณ ฐานะเป็นวัดราษฎร์ สังกัดสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ปัจจุบันมีเนื้อที่โดยประมาณ ๒๕ ไร่

   ทิศเหนือ	ติดกับแม่น้ำแม่กลอง  
   ทิศใต้  ติดกับถนน
   ทิศตะวันออก ติดกับคลองประชาชมชื่น
   ทิศตะวันตก ติดเขตบ้านเรือนราษฎร
  
   วัดภุมรินทร์กุฎีทอง มีเจ้าอาวาส ดังต่อไปนี้
  ๑.	พระวินัยธรพุก
  ๒.	พระอธิการเกีย
  ๓.	พระอธิการเจริญ สุปญฺโญ
  ๔.	พระอธิการหยา  ธมฺธโร
  ๕.	พระครูสถิตสมุทรคุณ
  ๖.  พระครูวิมลภาวนาจารย์ (รูปปัจจุบัน)

ความสำคัญทางประวัติศาสตร์คือมีกุฎีทองขนาดใหญ่สร้างโดยสมเด็จพระชนกนาถของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระอัครมเหสีในรัชกาล ที่ ๑ เพื่อถวายเจ้าอาวาสวัดบางลี่บน ต่อมาบริเวณที่ปลูก กุฎีทองถูกน้ำเสาะจนตลิ่งพังจึงต้องย้ายกุฎีทองมาไว้ที่วัดภุมรินทร์ หลังจากย้ายกุฎีทองจากวัดบางลี่บนมา ไว้ที่วัดนี้จึงเรียกชื่อรวมกันว่า วัดภุมรินทร์กุฎีทอง

ประวัติความเป็นมาของกุฎีทอง[แก้]

ภาพกุฎีทอง
ภายในกูฎีทอง
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง

มีเศรษฐีตระกูลหนึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่แขวงบางช้างคืออำเภออัมพวาในปัจจุบัน โดยเรียกว่าเศรษฐีบางช้างเป็นที่รูจักกันไปทั่ว บุคคลในตระกูลนี้รับราชการเป็นเจ้าเมืองเช่น พระแม่กลองบุรี(เสม)ต้นตระกูลวงศ์ศาโรจน์ พระแม่กลองบุรี(ศร) ต้นตระกูลณบางช้างมีฐานะมั่นคงกว่าตระกูลอื่นในลุ่มน้ำแม่กลองเศรษฐีทองและเศรษฐีสั้นตั้งเรือนอยู่แขวงบางช้างบริเวณวัดจุฬามณีมีบุตรธิดาหลายคนธิดานางหนึ่ง ชื่อว่านางสาวนาคเป็นกุลสตรีที่มีความงามเป็นที่เลื่องลือสมัยนั้นพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยามีพระทัยหมกมุ่นอยู่ในกามคุณแสวงหาสตรีรูปงามไปเป็นนางสนมนางบำเรอจึงโปรดให้มหาดเล็กคอยสืบเสาะหาสตรีรูปงามไปถวายครั้งหนึ่งมหาดเล็กคนสนิทกราบทูลว่ามีสตรีรูปงามในแขวงบางช้างนางหนึ่งเป็นบุตรเศรษฐีบางช้างจึงโปรดให้เจ้าเมืองราชบุรีไปสู่่ขอต่อบิดามารดาด้วยสมัยนั้นเมืองสมุทรสงครามเป็นหัวเมืองขึ้นต่อเมืองราชบุรีส่วนเมืองราชบุรีเป็นหัวเมืองชั้นโทท่านเศรษฐีทองและภรรยาได้บ่ายเบี่ยงว่าขอถามความสมัครใจของธิดาก่อน และนำความไปปรึกษาพระแม่กลองบุรี(เสม)เจ้าเมืองแม่กลองซึ่งเป็นญาติก่อน ธิดาเศรษฐีทองไม่สมัครใจเป็นนางสนมในวัง เศรษฐีทองสงสารธิดาจึงพร้อมด้วยเจ้าเมืองสมุทรสงครามนำความเข้าหารือกับหลวงพินิจอัษร(ทองดี)เสมียนตรามหาดไทย หลวงพินิจอักษรได้เกิดปัญญาว่านายทองด้วงบุตรชายได้บวชเรียนแล้วยังไม่มีคู่ครองหากได้ธิดาเศรษฐีทองมาเป็นภรรยาก็นับว่าเหมาะสมกันยิ่งนักเพราะเป็นหญิงอุดมไปด้วยทรัพสมบัติและรูปสมบัติฝ่ายชายแลก็รูปงามมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดรับราชการในวังนับว่าเหมาะสมกันดียิ่งนักทั้งยังเป็นเกราะป้องกันมิให้ธิดาตกเป็นสนมในวังเมื่อคิดอุบายได้ทั้งสองจึงเห็นดีด้วย จึงได้ทำฎีกาเข้ากราบทูลว่าธิดาของท่านเศรษฐีบางช้างตนได้สู่ขอให้นายทองด้วงบุตรชายแล้วขอพระราชทานให้แก่บุตรของตนเสียเถิด พระเจ้าแผ่นดินได้ทราบเพียงกิตติศัพท์ความงามของนางนาคแต่ยังมิเคยได้ทอดพระเนตรรูปร่างหน้าตาจึงมิได้อาลัยและพระราชทานอนุญาติให้วิวาห์ได้ตามประสงค์

ครั้นถึงเมืองสมุทรสงครามเศรษฐีทองจึงชวนภรรยาและธิดาไปทำบุญที่วัดบางลี่บนและขอให้สมภารตรวจโชคชะตาราศี และกำหนดวันวิวาห์มงคลสมภารตรวจดูแล้วจึงได้กล่าวกับเศรษฐีทั้งสองว่าธิดาของท่านจะมีบุญวาสนามากจะได้เป็นนางพญามหากษัตริย์ยกวงศ์ตระกูลให้เป็นสุขเป็นที่พึ่งแก่คนทั้งหลายเศรษฐีทองกล่าวว่าถ้าเป็นจริงจะสร้างกุฎีทองถวาย

ต่อมาธิดาท่านเศรษฐีทองได้วิวาห์มงคลกับนายทองด้วงมหาดเล็ก ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งหลวงอร่ามฤทธิ์ หลวงยกบัตรราชบุรีและสมุทรสงคราม รับราชการในกรุงธนบุรีได้เลื่อนเป็น พระราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตรวจซ้าย พระยาอภัยรณฤทธิ์ พระยามหาราช พระยาจักรีสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเมื่อหมดบุญพระเจ้าตากสินมหาราชได้ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ นางสาวนาคจึงได้เป็นอัครมเหสีของพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสิน

สำนักปฏิบัติธรรมวัดภุมรินทร์กุฎีทอง[แก้]

ภาพปฏิบัติธรรม

สำนักปฏิบัติธรรมวัดภุมรินทร์กุฎีทอง ได้รับการแต่งตั้งจาก มหาเถระสมาคม ให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรม (แห่งที่ ๒) ในจังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อ วันที่ ๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔ และได้รับคัดเลือกจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นสำนักปฏิบัติธรรมดีเด่นประจำปี ๒๕๕๒

โดยแนวทางของการปฏิบัติเป็นตามแนวทางของการเจริญ"สติปัฏฐาน ๔"

เชิญท่านที่มีความสนใจในการปฏิบัติ และการศึกษาธรรมเข้าร่วมการปฏิบัติธรรม โดยทางสำนักปฏิบัติธรรมวัดภุมรินทร์ฯได้ร่วมกับพุทธสมาคมจังหวัดสมุทรสงคราม จัดให้มีการปฏิบัติเดือนละ ๑ ครั้ง ตลอดทั้งปี หากต้องการมาเป็นกลุ่มคณะก็สามารถที่จะแจ้งความประสงค์กำหนดวันในการเข้าปฏิบัติของท่านเองได้ หรือจะเข้าร่วมตามที่ทางสำนักกำหนดไว้ในปฏิทินการปฏิบัติของสำนักได้

สถานที่ที่น่าสนใจภายในวัด[แก้]

ภาพพระประธานภายในอุโบสถ
ภาพหลวงปู่ทิม
ภาพรอยพระพุทธบาทจำลอง
ภาพพิพิธภัณฑ์
ภาพภายในพิพิธภัณฑ์
ภาพภายในพิพิธภัณฑ์๒

วัดภุมรินทร์กุฎีทองเป็นวัดที่มีความสำคัญทางการท่องเที่ยวของจังหวัดสมุทรสงครามเป็นอันดับต้นๆ เพราะภายในวัดภุมรินทร์กุฎีทองมี"กุฎีทอง"ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับหลักฐานประวัติศาสตร์ของปฐมบรมกษัตริย์ ที่พระชนกนาถของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์สร้างถวายไว้แก่วัดบางลี่บน ภายในเป็นศิลปปิดทองลายรดน้ำสมัยต้นรัตนโกสินทร์ และอีกทั้งยังมีพิพิธภัณฑ์อุทยานการศึกษา ที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุมากมายล้วนแล้วแต่เป็น ของเก่าที่มีอายุหลายสิบปีจนถึงหลายร้อยปี เหมาะแก่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงศึกษา

และทางวัดภุมรินทร์กุฎีทอง ยังเป็นสถานที่จอดรถให้ท่านที่มาเที่ยวตลาดน้ำอัมพวา โดยมีเรือข้ามฟาก และเจ้าหน้าที่ของทางตำบลสวนหลวงคอยบริการให้ความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว

การเดินทาง[แก้]

ทางรถยนต์[แก้]

จากตัวเมืองสมุทรสงคราม ไปตามทางหลวงหมายเลข 35 (แม่กลอง-อัมพวา) ประมาณ 5 กม. เลยวัดบางกะพ้อม(ยังไม่ถึงทางเข้าตลาดอัม พวา)ให้สังเกตทางแยกซ้ายมือ เลี้ยวซ้ายขึ้นสะพานพระศรีสุริเยนทร์ ตรงไปถึงทางแยกเลี้ยวขวา ตรงไปข้ามสะพานวัดอยู่ขวามือ

รถประจำทาง[แก้]

จากตัวเมืองสมุทรสงคราม นั่งรถโดยสารสองแถว สายแม่กลอง-วัดปราโมทย์,สายแม่กลอง-วัดแก้วเจริญ,สายแม่กลอง-วัดสาธุ, สายแม่กลอง-วัดแว่นจันทร์ คิวรถอยู่บริเวณธนาคารธนชาติ สาขาสมุทรสงคราม รถวิ่งผ่านวัด