ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Wanut2540/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กระชาย ถือว่าเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่งที่คนไทยคุ้นเคย กันมานานแล้วจะมีถิ่นกำเนิดในแถบร้อนอยู่ที่บริเวณเอเชียตะวันออกเชียงใต้ จะพบขึ้นอยู่บริเวณในป่าดิบร้อนชื้น เป็นไม้ลมลุกที่มีลำต้นอยู่ใต้ดินซึ่งจะเรียกว่า เหง้า และเหง้าที่อยู่ใต้ดินจะแตกรากออกไปเป็นกระจุกจำนวนมากจะเป็นที่สะสมอาหารอวบนำส่วนตรงกลางจะพองกว้างกว่าส่วนหัวและส่วนท้าย ส่วนเนื้อด้านในจะมีสีแตกต่างไปตามชนิดของกระชายและจะมีกลิ่นหอม ส่วนที่อยู่เหนือดินจะประกอบด้วยโคนก้านใบที่เป็นกาบหุ้มซ้อนกัน กาบใบจะมีสีแดงเรือๆตรงแผ่นใบจะเป็นรูปรีส่วนปลายจะแหลมกว้างประมาณ 4.5-10 ซม.ยาวประมาณ 15-30 ซม.ส่วนตรงกลางด้านในของก้านใบจะมีช่องลึก ดอกช่อออกแทรกอยู่ระหว่างกาบใบที่โคนต้น กลีบดอกมีสีขาวหรือสีชมพูอ่อน ดอกย่อยบานครั้งละ 1 ดอก (ลีนา ผู้พัฒนพงศ์ ,2530)ส่วนในเหง้ากระชายนี้จะมีน้ำมันหอมระเหยและมีสารสำคัญหลายชนิดสะสมอยู่ซึ่งจะมีสรรพคุณในการดับกลิ่นคาวและเป็นสารที่มีสรรพคุณทางยาสมุนไพรหลายชนิดสารทีว่านี้คือ สารแคมฟีน(Camphene) ทูจีน(Thujene) และการบูรเมื่อรับประทานเป็นอาหารจะพบได้ในน้ำยาขนมจีนและเครื่องผสมในเครื่องแกงต่างๆเนื่องจากว่ากระชายมีสารต่างๆจึงมีสรรพคุณทางที่ช่วยในการแก้โรคต่างๆดั้งนี้ จะมีสรรพคุณในการบำรุกำลัง,สรรพคุณในการแก้องคชาตตาย ,สรรพคุณแก้ปวดข้อ ,สรรพคุณแก้วิงเวียน,แน่นหน้าอกมสรรพคุณแก้ท้องเดิน , สรรพคุณแก้แผลในปาก , สรรพคุณแก้ฝี , สรรพคุณแก้กลาก , สรรพคุณแก้บิด , สรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ และในกระชายยังมีสารอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกายซึ่งจะพบตรงเหง้าของกระชาย คือ แคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตตามินต่าง ซึ่งมีประโยชน์แก่ร่างกาย (คณะทำงานรวบรวมความรู้เกี่ยวกับผักในโครงการหนูรักผักสีเขียว , 2545 ) ลักษณะทั่วไปของกระชาย ชื่อวิทยาศาสตร์ Boesenbergia pandurata (Roxb. ) Schitr (ภานุทรรศน์,2543)

              Gastrochilus   pandorata  Ridl  (จำลอง  ฝั่งชลจิตร ,  2542) 
              Kaempferia parviflora Wall. Ex Baker (เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม , 2544 )
              Boesenbergia rotunda (Linn.) Mansf (สำนักงานข้อมูลสมุนไพร, 2531)

ชื่อวงศ์ ZINGLBERACEAE (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม ) ชื่อท้องถิ่น โดยทั่วไปแล้วจะเรียกกระชาย ในกรุงเทพ บางที่อาจจะเรียกว่าว่านพระอาทิตย์ ส่วนภาคเรียกว่า หัวละแอน หัวระแอน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยเฉพาะมหาสาราครามเรียกว่า ขิงทราย ขิงแดง ขิงกระชาย กะเหรียง-แม่ฮ่องสอนเรียกว่า (สถาบัญการแพทย์แผนไทย กรรมการแพทย์,กระทรงสาธารณสุข,2542) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้นกระชายนับว่าเป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่งมีความสูงประมาณ 2-3ฟุต มีลำต้นใต้ดินเรียกว่า "เหง้า" เป็นเหง้าสั้นแตกหน่อได้ เช่นเดียวกับขิง ข่า และขมิ้น รากอวบรูปทรงกระบอกหรือรูปไข่ค่อนข้างยาวปลายเรียวแหลมออกเป็นกระจุก มีผิวสีน้ำตาลอ่อนเนื้อใบสีเหลืองมีกลิ่นหอมเฉาะตัว ส่วนที่อยู่เหนือดินเป็นกาบใบที่หุ้มซ้อนกันเป็นชั้นๆ สีแดงเรื่อๆ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับตัวใบรูปรีปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ เส้นกลางใบ ก้านใบและกาบใบด้านบนเป็นร่อง ด้านล่างนูนเป็นสัน ออกดอกเป็นช่อสีขาวหรือขาวอมชมพูที่ยอด (แทรกอยู่ระหว่างกาบใบ) ดอกบานทีละดอก มีลักษณะเป็นถุง ผลเป็นผลแห้งเมื่อแก่แล้ว (ภานุทรรศน์,2543 )

จะมีลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดจากส่วนต่างๆ คือ

ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นมีความสูงประมาณ 9 ซม. ส่วนกลางของลำต้นเป็นแกนแข็ง มีกาบหรือโคนใบหุ้ม ใบ มีกลิ่นหอม ก้านใบแทงขึ้นจากหัวในดิน ออกเป็นรัศมีติดผิว ขนาดใบจะกว้าง 7-9 ซม. ยาว 30-35 ซม. ดอก มีสีม่วงดอกออกเป็นช่อ กลีบรองกลีบดอกเชื่อมต่อกัน มีรูปลักษณะเป็นท่อ มีขน โคนเชื่อมติดกันเป็นช่อยาว เกสรตัวผู้จะเหมือนกับกลีบดอก อับเรณูอยู่ใกล้ปลาย ท่อเกสรตัวเมียมีขนาดยาว เล็ก ยอดของมันเป็นรูปปากแตร เกลี้ยงไม่มีขน(กรรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข ,2542) ผล ผลแก่มี 3 พู มีเมล็ดอยู่ด้านในเมื่อผลแก่เต็มที่จะไม่แตก (แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ ,2541 ) ส่วนที่นำมาใช้ จะเป็นส่วนของรากและเหง้าที่อยู่ใต้ดิน ซึ่งจะมีรสเผ็ดร้อน และขมเล็กน้อย (พรพรรณ ,2543 ) และในส่วนของลำต้น ใบ จะนำมาทำผักจิ้มได้ (อบเชย วงศ์ทอง ,2544 ) ชนิดของกระชาย กระชายสามารถแบ่งได้ 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง กระชายเหลือง (กาญจนวรรณ สารโชค ,2530 ) ซึ่งจะมีลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้ กระชายดำ ชื่อวิทยาศาสตร์ Kaempferia parviflora Wall. Ex Baker (เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม , 2544 ) ชื่อวงศ์ ZINGIBERACEAE (ผศ.สมสุข มัจฉาชีพ,2534 ) ส่วนที่ใช้ เหง้า / หัว (นิจศิริ เรืองรังษี ,2534) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ กระชายดำแตกต่างจากกระชายทั่วไป (ที่ใช้เป็นเครื่องแกง) คือ กระชายทั่วไปใช้ส่วนที่เป็นราก(tuber) ซึ่งงอกออกมาจากเหง้า (ลำต้นที่อยู่ใต้ดิน) มีกาบใบและใบซ้อนโผล่ขึ้นอยู่เหนือดิน ส่วนกระชายดำมีลำต้นอยู่ใต้ดิน (rhizome)หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าหัว ลักษณะคล้ายขิง หรือขมิ้นแต่มีขนาดเล็กกว่า ใบใหญ่และมีสีเขียวเข้มกว่ากระชายทั่วไป ขนาดใบกว้างประมาณ 7-15 ซม. ยาว 30-35 ซม. ใบมีกลิ่นหอม ประกอบด้วยกาบใบมีสีแดงจางๆ และหนาอวบ กำเนิดมาจากหัวที่อยู่ใต้ดิน ลำต้นมีความสูงประมาณ 30 ซม. ดอกออกจากยอด ช่อละหนึ่งดอก มีใบเลี้ยง ดอกมีสีชมพูอ่อน ๆ ริมปากดอกสีขาว เส้าเกสรสีม่วง เกสรสีเหลือง กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันมีลักษณะเป็นรูปท่อ มีขน โคนเชื่อมติดกันเป็นช่อยาว เกสรตัวผู้จะเหมือนกับกลีบดอก อับเรณูอยู่ใกล้ปลายท่อ เกสรตัวเมียมีขนาดยาวเล็ก ยอดของมันเป็นรูปปากแตรเกลี้ยงไม่มีขน หัวมีสีเข้ม แตกต่างกัน ตั้งแต่สีม่วงจาง ม่วงเข้ม และดำสนิท (ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ความแตกต่างของสีขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม อายุ หรือพันธุกรรม) สีของหัวเมื่อนำไปดองสุราจะถูกฟอกออกมา(จันทน์ขาว ,2543) พันธุ์ ในปัจจุบันยังไม่มีการรวบรวมและจำแนกพันธุ์อย่างเป็นทางการ แต่หากจำแนกตามลักษณะของสีของเนื้อหัว พอจะแยกได้ 3 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ที่มีเนื้อหัวสีดำ สีม่วงเข้ม สีม่วงอ่อนหรือสีน้ำตาล (รองศาสตราจารย์ สมพร หิรัญรามเดช,2525) ส่วนใหญ่แล้ว จะพบกระชายที่มีสีม่วงเข้มและสีม่วงอ่อน ส่วนกระชายที่มีสีดำสนิทจะมีลักษณะหัวค่อนข้างเล็ก ชาวเขาเรียกว่า กระชายลิง ซึ่งมีไม่มากนักจัดว่าเป็นกระชายที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด กระชายดำแบบหัวสด ใช้เหง้า (หัวสด) ประมาณ 4-5 ขีด ต่อสุราขาว 1 ขวด ดองสุราขาวดื่มก่อนรับประทานอาหารอาหารเย็นปริมาณ 30 ซีซี. หรือฝานเป็นแว่นบาง ๆ แช่น้ำดื่ม หรือจะดองกับน้ำผึ้ง ในอัตราส่วน 1: 1 กระชายดำแบบหัวแห้ง หัวแห้งดองกับน้ำผึ้งแท้ในอัตราส่วน 1:1 นาน 7 วัน แล้วนำมาดื่มก่อนนอน กระชายดำแบบชาชง ผงแห้งกระชายดำ 1 ซอง ชงน้ำร้อน 1 แก้ว (ประมาณ 120 ซีซี.) แต่งรสด้วยน้ำตาล หรือน้ำผึ้งตามต้องการ (ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ,2537 )

กระชายแดง ปัจจุบันนี้ประชากรในซีกโลกตะวันตกหันมาตื่นตัวให้ความสนใจกับการแพทย์ทางเลือกกันมากขึ้น และให้ความสนใจเป็นอย่างสูงกับการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันสภาวะการเกิดโรค จะเห็นได้จากการขยายตัวของตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเสริมของไทยในปี พ.ศ.2548 ซึ่งทำรายได้ถึง 4 หมื่นล้านบาท ในปี พ.ศ.2548 นี้กระทรวงสาธารณสุขมีความประสงค์จะผลักดันสมุนไพรไทยสู่ตลาดโลก โดยมีแผนจะพัฒนาผลิตและแปรรูปสมุนไพรไทยให้เป็นยา เครื่องสำอาง และอาหารเสริมสุขภาพ เพื่อผลักดันสู่ตลาดโลกในยุทธศาสตร์พัฒนาไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพของเอเชีย โดยเลือกฤทธิ์ตามที่ตลาดโลกต้องการ คือชะลอแก่ บำรุงกำลัง และลดความอ้วน พระเอกของเราในวันนี้คือกระชาย (เหลือง) ธรรมดา อย่าเพิ่งดูถูกไม้พื้นๆ หน้าจืดๆ อย่างนี้ เพราะพระเอกของเรามีคุณสมบัติที่ตลาดโลกต้องการสองประการแรก คือ ชะลอความแก่และบำรุงกำลัง (ผศ.ดร.สุธาทิพ กมรประวัติ,2540) ชื่อวงศ์ และถิ่นกำเนิด กระชายเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของกระชาย คือ Boesenbergia rotunda (L) Mansf. วงศ์ขิง Zingiberaceae ชื่อท้องถิ่นมีมากมาย ได้แก่ กะแอน ละแอน (ภาคเหนือ) ขิงทราย (มหาสารคาม) ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ) จี๊ปู ซีฟู (ฉานแม่ฮ่องสอน) เป๊าะซอเร้าะ, เป๊าะสี่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) (รองศาสตราจารย์ ดร. วันดี กฤษณพันธุ์,2538) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ กระชายเป็นไม้ล้มลุก สูงราว 1-2 ศอก มีลำต้นใต้ดินเรียกเหง้า มีรากทรงกระบอกปลายแหลมจำนวนมากรวมติดอยู่ที่เหง้าเป็นกระจุก เนื้อในรากละเอียด สีเหลือง มีกลิ่นเฉพาะกาบใบสีแดงเรื่อ ใบใหญ่ยาวรีปลายแหลม ดอกเป็นช่อ สีขาวชมพู ขยายพันธุ์โดยใช้เหง้า กระชายชอบดินร่วนปนทราย ไม่ชอบดินแฉะ ต้องการแค่ปริมาณน้ำฝนตามธรรมชาติ ฤดูที่เหมาะกับการปลูกคือปลายฤดูแล้ง กระชายเป็นพืชสมุนไพรที่ปลูกตามบ้านเรือนทั่วไป ส่วนที่ใช้เป็นอาหารและยาในประเทศไทยคือเหง้าใต้ดินและราก ในประเทศจีนมีรายงานการใช้กระชายเป็นยา ในประเทศเวียดนามใช้กระชายในการปรุงอาหาร ในประเทศไทยมีพืชที่เรียกว่ากระชายอยู่ 3 ชนิด คือกระชาย (เหลือง) กระชายแดง และกระชายดำ ภูมิปัญญาไทยใช้รากกระชายบำบัดอาการอีดี โดยกินทั้งราก เนื่องจากในรากกระชายมีสารที่ออกฤทธิ์คลายการหดตัวของผนังหลอดเลือดในกลุ่มยารักษาอีดี กลุ่มที่ 3 จึงเห็นว่าเป็นการใช้งานที่ไม่ขัดกับข้อมูลจากวงการแพทย์ และเนื่องจากกระชายเป็นพืชอาหารของไทย ไม่พบรายงานความเป็นพิษเมื่อบริโภคในระดับที่เป็นอาหาร (พร้อมจิต ศรลัมและคนอื่นๆ,2532) กระชายเหลือง กระชาย (Kra-chai) ชื่อวิทยาศาสตร์ Boesenbergia pandurata (Roxb.) Holtt. Syn : Kaempferia pandurata Roxb. (ภานุทรรศน์,2543) วงศ์ ZINGIBERACEAE (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม ) ชื่ออื่นๆ ภาคกลาง : กะชาย (Ka-chai) ภาคเหนือ : ละแอน (La-an) กะแอน (Ka-an) กะเหรี่ยง – กำแพงเพชร : โป้ตาวอ (Po-ta-wo) เงี้ยว : ชี้พู้ (Chi-phu) (สถาบัญการแพทย์แผนไทย กรรมการแพทย์,กระทรวงสาธารณสุข,2542) ถิ่นกำเนิด อินเดีย มาเลเซีย (สันติสุข โสภณสิริ,2537) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้น เป็นไม้ล้มลุกมีเหง้าใต้ดิน มีรากสะสมอาหารจำนวนมาก ลักษณะอวบน้ำตรงกลางพองกว่าส่วนหัวท้าย ในช่วงท้ายฤดูฝน จะแตกยอดอ่อนชูขึ้นมาเหนือพื้นดิน มีกาบใบสีน้ำตาลแดง ห่อซ้อนกัน ใบ เป็นใบเดี่ยวสลับในระนาบเดียวกันรูปขอบขนาแกมรูปไข่ กว้าง 4.5-10 ซม. ยาว 15-30 ซม. เส้นกลางใบเป็นร่องลึก แผ่นใบเรียบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ดอกช่อออกแทรกอยู่ระหว่างกาบใบที่โคนต้น กลีบดอกมีสีขาวหรือชมพูอ่อน ใบประดับรูปใบหอกมีสีม่วงแดง ดอกย่อยบานครั้งละ 1 ดอก ผล ผลแก่จะแตกเองได้มี 3 พู เมล็ดค่อนข้างใหญ่ หัว มีรากสะสมอาหาร ลักษณะเป็นแท่งกลม อวบน้ำ มีสีน้ำตาลอ่อน มีกลิ่นรุนแรง (รุ้งรัตน์ เหลืองทีเทพ,2531) กระชายเหลืองและกระชายแดง เป็นพืชจำพวก (genus และ species) เดียวกัน แต่เป็นพืชต่างชนิดกันและมีฤทธิ์ทางยาต่างกันเล็กน้อย โดยกระชายแดงจะมีกาบใบสีแดงเข้มกว่ากระชายเหลือง ส่วนกระชายดำ เป็นพืชวงศ์ขิงเช่นกันแต่อยู่ในตระกูลเปราะหอม (ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ประเวศ วะสี,2537 แหล่งกำเนิดและการเพาะปลูก มีถิ่นกำเนิดในแถบร้อน บริเวณเอเชียตะวันออกเชียงใต้ จะพบขึ้นอยู่ในป่าดิบร้อนชื้น เป็นไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นอยู่ใต้ดิน (คณะทำงานรวบรวมความรู้เกี่ยวกับผักในโครงการหนูรักผักสีเขียว,2545) สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม คือ กระชายจะเจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีอากาศร้อนชื้น ในที่ที่มีอากาศอบอุ่น ชอบดินเป็นทราย มักปลูกเป็นผักสวนครัว (กาญจนวรรณ สารโชค ,2530) การปลูก กระชายนั้น ปลูกไม่อยากอะไรเลย คือในการปลูกก็เอาเหง้ากระชาย หรือ หัวกระชายมาปลูก แต่จะต้องทราบเสียก่อนว่า ต้นกระชายนั้นชอบดินร่วนปนทราย จะเจริญงอกงามได้ดีกว่าดินเหนียว แต่ก็ไม่ชอบดินแฉะ และไม่ชอบแดดจัด ดังนั้นในการปลูกจะต้องปลุกในที่ที่ไม่มีแสงแดดจัด และควรยกร่อง พรวนดิน แล้วก็เตรียมเอาหัวหรือเหง้ากระชายมาตัดส่วนของใบออก แล้วเอาส่วนที่เป็นหัวไว้ ขุดหลุมเพื่อปลูกกระชาย หรือ ขุดไถดินตากไว้ 7 วัน ใส่ปุ๋ยคอกและพรวนดินเพื่อให้ดินโปร่ง ยกเป็นแปลงหรือยกร่อง นำเหง้ากระชายมาแบ่งส่วน ตัดแต่งรากให้เหลือไว้เพียง 2 ราก ปลูกลงหลุม ระยะปลูก 20 x 20 เซนติเมตร และกลบดินให้หัวเสมอผิวดิน คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งรดน้ำให้ชุ่ม (รุ้งรัตน์ เหลืองทอง ,2532) การขยายพันธุ์ การขยายพันธุ์ใช้ส่วนหัวที่อยู่ใต้ดิน (เหง้า) (พรพรรณ ,2543) การเก็บเกี่ยว ควรเก็บเกี่ยวในช่วงที่พืชเจริญเติบโตเต็มที่ อายุเก็บเกี่ยวของกระชาย ประมาณ 8-9 เดือน ซึ่งจะเก็บเกี่ยวในเดือนธันวาคม-มกราคม ในช่วงนี้จะสังเกตดูใบจะเริ่มแก่มีสีเหลืองและแห้งตายลงในที่สุด การเก็บเกี่ยวเร็วกว่ากำหนดอาจมีผลต่อคุณภาพ โดยเฉพาะสีของหัวจะไม่เข้ม ซึ่งเป็นกระชายดำที่ตลาดไม่ต้องการ(ก่องกานดา ยามฤต,2528) การขุดหัวกระชาย ถ้ายกเป็นแปลงตอนปลูก จะเก็บเกี่ยวได้ง่าย โดยใช้จอบหรือเสียมขุดหัวขึ้นมาแล้วเคาะดินให้หลุดออกจากหัวและราก เกษตรกรนิยมนำหัวกระชายที่ขุดได้ใส่ถุง แล้วนำไปทำความสะอาดที่บ้าน โดยการปลิดรากออกจากหัว ให้หมดให้เหลือแต่หัวล้วน ๆ โดยเฉลี่ยหัวพันธุ์ 1 กิโลกรัม สามารถให้ผลผลิตได้ 5-8 กิโลกรัม ดังนั้น 1 ไร่ จะได้ผลผลิต ประมาณ 1,000-2,000 กิโลกรัม (เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ,2544) ประโยชน์ของกระชาย ประโยชน์ทางด้านอาหาร เนื่องจากว่ากระชายนั้นมีรสเผ็ดร้อน ช่วยในการดับกลิ่นคาวในอาหารได้ (สถาบัญการแพทย์แผนไทย กรรมการแพทย์,กระทรวงสาธารณสุข,2542)จึงทำให้กระชายเป็นส่วนประกอบหลักในจานอาหารและนิยมใช้ในการแต่งรสอาหารคาวหลายชนิดเช่น แกงป่าปลาดุก ผัดเผ็ดปลาไหล และเป็นส่วนประกอบหลักของน้ำยาขนนจีน ไม่ว่าจะเป็นภาคไหน นอกจากนี้ยังใส่ในกะปิคั่ว ห่อหมกปลาดุก และเป็นเคล็ดลับในการทำเครื่องแกงส้มให้อร่อยโดยไม่ต้องใส่กระเทียมแต่จะใส่กระชายประมาณ 4-5 หัว (คณะทำงานรวบรวมความรู้เกี่ยวกับผักในโครงการหนูรักผักสีเขียว ,2445)ส่วนลำต้นและใบนิยมนำมารับประทานเป็นผักจิ้ม หรือนำมาหั่นฝอยใช้ทำยำกระชายได้(อบเชย วงทอง ,2544 ) และที่สำคัญก็คือในอาหารรสจัดหรืออาหารที่มีปลาเป็นส่วนประกอบจะต้องเพิ่มรสชาติ เพิ่มกลิ่นด้วยกระชาย (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มุกดา สุขสวัสดิ์ ,2545) ประโยชน์ทางยาสมุนไพร บรรเทาอาการจุกเสียด นำเหง้าแห้งประมาณครึ่งกำมือต้มเอาน้ำดื่ม (ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ,2537) บรรเทาอาการแผลในปาก ปั่นรากกระชายทั้งเปลือก 2 แง่งกับน้ำสะอาด 1 แก้วในโถปั่นน้ำ เติมเกลือครึ่งช้อนกาแฟโบราณ กรองด้วยผ้าขาวบาง ใช้กลั้วปากวันละ 3 เวลาจนกว่าแผลจะหาย ถ้าเฝื่อนเกินไปให้เติมน้ำสุกได้อีก ส่วนที่ยังไม่ได้แบ่งใช้เก็บในตู้เย็นได้ 1 วัน (ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี,2539) แก้ฝ้าขาวในปาก บดรากกระชายที่ล้างสะอาด ไม่ต้องปอกเปลือก ในโถปั่นพอหยาบ ใส่ขวดปิดฝาแช่ไว้ในตู้เย็น กินก่อนอาหารครั้งละ 1 ช้อนกาแฟเล็ก (เหมือนที่เขาใช้คนกาแฟโบราณ) วันละ 3 มื้อก่อนอาหาร 15 นาที สัก 7 วัน (ผศ.ดร.สุธาทิพ กมรประวัติ) แก้กลาก เกลื้อน น้ำกัดเท้า คันศีรษะจากเชื้อรา นำรากกระชายทั้งเปลือกมาล้างผึ่งให้แห้ง ฝานเป็นแว่น แล้วบดให้เป็นผงหยาบ เอาน้ำมันพืช (อาจใช้น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันมะพร้าวก็ได้) มาอุ่นในหม้อใบเล็กๆ เติมผงกระชายใช้น้ำมัน 3 เท่าของปริมาณกระชาย หุง (ผศ.ดร.สุธาทิพ กมรประวัติ) แก้ปวดมวนในท้อง แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด น้ำมันหอมระเหยของกระชายมีฤทธิ์บรรเทาอาการหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้ามเนื้อของระบบทางเดินอาหาร สารสกัดกระชายมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย E.coli ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการแน่นจุกเสียด นอกจากนั้นสาร cineole มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ จึงลดอาการปวดเกร็ง (ภานุทรรศ,2543) เป็นยาอายุวัฒนะ ผงกระชายทั้งเปลือกบดตากแห้งปั้นลูกกลอนกับน้ำผึ้ง กินวันละ 3 ลูกก่อนเข้านอน ตำรับนี้เคยมีผู้รายงานว่าใช้ลดน้ำตาลในเลือดได้ หรือใช้กระชายตากแห้งบดผงบรรจุแคปซูล แคปซูลละ 250 มิลลิกรัม กินวันละ 1 แคปซูลตอนเช้าก่อนอาหารเช้าในสัปดาห์แรก วันละ 2 แคปซูลตอนเช้าในสัปดาห์ที่ 2 เนื่องจากรากกระชายมีสาร pinostrobin และ ๕, ๗-dimethoxyflavone ที่มีรายงานว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ การบริโภคกระชายเป็นประจำอาจได้ผลคล้ายการบริโภคแอสไพริน และอาจป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุจากการอักเสบเรื้อรังในร่างกายได้ (กระยาทิพย์ เรือนใจ,2537) บำบัดโรคนกเขาไม่ขัน หรือโรคอีดี (Erectile Dysfuntional หรือ ED) วิธีที่ 1 ใช้ตำราแก้ฝ้าขาวในปาก อาการจะเริ่มเปลี่ยนแปลงหลังวันที่ 3-4 วิธีที่ 2 รากกระชายตากแห้งบดผงบรรจุแคปซูล แคปซูลละ 250 มิลลิกรัม กินวันละ 1 แคปซูลตอนเช้าก่อนอาหารเช้าในสัปดาห์แรก วันละ 2 แคปซูลตอนเช้าในสัปดาห์ที่ 2 ถ้าไม่เห็นผลกินอีก 2 แคปซูลก่อนอาหารเย็น หรือกลับไปใช้วิธีที่ 1 จะเริ่มกินบอกภรรยาด้วย ถ้าได้ผลแล้วภรรยาบ่นให้ภรรยากินด้วยเหมือนๆ กัน วิธีที่ 3 เพิ่มกระชายในอาหร ทำเป็นกับข้าวธรรมดาก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นต้มยำ (ทุบแบบหัวข่า) แกงเผ็ด (หั่นเป็นฝอย) กินทุกวัน พร้อมทั้งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เห็นผลในหนึ่งเดือน (ผศ.ดร.สุธาทิพ กมรประวัติ) บำบัดโรคกระเพาะ กินรากสดแง่งเท่านิ้วก้อยไม่ต้องปอกเปลือก วันละ 3 มื้อ ก่อนอาหาร 15 นาที สัก 3 วัน ถ้ากินได้ให้กินจนครบ 2 สัปดาห์ ถ้าเผ็ดร้อนเกินไปหลังวันที่ 3 ให้กินขมิ้นสดปอกเปลือกขนาดเท่ากับ 2 ข้อนิ้วก้อยจนครบ 2 สัปดาห์ (คณะเภสัชศาสตร์ มหาลัยมหิดล ,2533) บำรุงหัวใจ นำเหง้าและรากกระชายปอกเปลือกล้างน้ำให้สะอาด หั่นตากแห้ง บดเป็นผง ใช้ผงแห้ง 1 ช้อนชาชงน้ำดื่มครึ่งถ้วยชา (สมพร หิรัญรามเดช,2525) บำรุงกำลัง เอาหัวกระชายแก่ประมาณ 3หัว ทุบให้แตกแล้วห่อด้วยผ้าขาวบางแช่น้ำผึ้งแท้กินครั้งละ 1 ถ้วยชา ก่อนอาหารเย็นหรือก่อนนอน(ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ,2537)

แก้ปวดข้อ เอาหัวกระชายแก่ๆมาปอกเปลือกออก หั่นเป็นชิ้นเล็กๆตากให้แห้ง แล้วนำมาบดเป็นผง ใช้ชงกินกับน้ำร้อน ครั้งละ1 ช้อนกาแฟ วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็นแก้ปวดข้อ (ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ,2537) แก้วิงเวียน แน่นหน้าอก เอาหัวกระชายแก่ๆมาปอกเปลือกออก หั่นเป็นชิ้นเล็กๆตากให้แห้ง แล้วนำมาบดเป็นผง เก็บใส่ขวดไว้ใช้กินกับน้ำร้อน แก้โรคลมตีนขึ้น นำรากกระชายฝนน้ำซาวข้าว ประมาณ ½ ถ้วยชา กินแก้อาการแน่นหน้าอก(สุทธิชัย ปทุมล่องทอง,2545) แก้ฝี เอาหัวกระชายมาตำให้ละเอียดทาตรงหัวฝีที่พองบวมอยู่จะทำให้ลดอาการบวมลงและหายเร็วขึ้น(สุทธิชัย ปทุมล่องทอง,2545) แก้บิด จะนำเอาหัวกระชายแก่ๆมาล้างให้สะอาดแล้วนำมาเผาไฟให้สุก แล้วนำมาตำให้ละเอียดผสมน้ำปูนใสคนให้เข้ากันคั้นเอาแต่น้ำ กินครั้งละ3-5 ช้อนแกง ทุกครั้งที่ถ่ายเมื่ออาการหายแล้วก็กินต่อเพื่อที่จะให้เชื้อหายขาด (โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง,2539)








ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์พบว่า ในเหง้ากระชายมีน้ำมันหอมระเหยแต่พบในปริมาณน้อย (ราวร้อยละ 1-3) น้ำมันหอมระเหยของกระชายประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด เช่น 1.8-cineol,camphor, d-borneol และ methyl cinnamate น้ำมันหอมระเหยที่พบส่วนน้อย ได้แก่ d-pinene, zingiberene, zingiberone, curcumin และ zedoarin นอกจากนี้ ยังพบสารอื่น ได้แก่ กลุ่มไดไฮโดรซาลโคน boesenbergin A กลุ่ม ฟลาโวน ฟลาวาโนน และฟลาโวนอยด์ (ได้แก่ alpinetin, pinostrobin) และ pincocembrin และกลุ่มซาลโคน (ได้แก่ ๒, ๔, ๖-trihydroxy chalcone และ cardamonin) (ณาตยา ธนะศิริวัฒนา, สุนิดา ณ ตะกั่วทุ่ง, ธนนันต์ ฐานะจาโร,2540) ผลการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา 1. ฤทธิ์ต้านอักเสบ สาร 5,7 –ไดเมธอกซีฟลาโวน (5,7-DMF) ที่แยกได้จากเหง้ากระชายดำ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบเทียบได้กับยามาตรฐานหลายชนิด คือ แอสไพริน , อินโดเมธาซิน, ไฮโดรคอร์ติโซน และเพรดนิโซโลน จากการศึกษาฤทธิ์ต้านอักเสบของสารนี้ในสัตว์ทดลองด้วยวิธีการต่าง ๆ พบว่าสาร 5,7-DMF สามารถต้านการอักเสบแบบเฉียบพลันได้ดีกว่าแบบเรื้อรัง โดยแสดงฤทธิ์ยับยั้งการบวมของอุ้งเท้าหนูขาวจากสารคาราจีนแนนและเคโอลินได้ดีกว่าฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง granuloma จากการฝังสำลีใต้ผิวหนัง นอกจากนี้ พบว่า สาร 5,7-DMF มีฤทธิ์ยับยั้งการเกิด exudation และการสร้างสาร prostaglandin อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบในช่องปอดของหนูขาว (rat pleurisy) (วงศ์วิวัฒน์ ทัศนียกุล และอำไพ ปั้นทอง,2528) 2. ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ สาร 5,7,4’-trimethoxyflavone และ 5,7,3’,4’ –tetramethoxyflavone แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Plasmodium falciparum ที่เป็นสาเหตุของโรคมาลาเรีย ส่วนสาร 3,5,7,4’-tetramethoxyflavone และ 5,7,4’-trimethoxyflavone แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Candida albicans และแสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Mycobacterium อย่างอ่อน(Wattanapitayakul S, Nawinprasert A, Herunsalee A, et al,2003) 3. พิษต่อเซลล์มะเร็ง (cytotoxic activity) จากการทดสอบผลของฟลาโวนอยด์ 9 ชนิดของกระชายดำต่อเซลล์มะเร็ง เช่น KB , BC หรือ NCI-H187 ไม่พบว่ามีสารใดทำให้เกิดพิษต่อเซลล์มะเร็งที่ทดสอบ (วงศ์วิวัฒน์ ทัศนียกุล และอำไพ ปั้นทอง,2528) 4. ฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดง มีรายงานการวิจัยว่า สารสกัดด้วยเอธานอลของกระชายดำมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดงใหญ่ (aorta)ละลดการหดเกร็งของ ลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileum) ของหนูขาว และยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดของคน. (Yenchai C, Prasanphen K, Doodee S, et al,2004) การศึกษาทางพิษวิทยา การศึกษาพิษเรื้อรังระยะเวลา 6 เดือน ของผงกระชายดำในหนูขาว ในขนาด 20 , 200 , 1000 และ 2000 มก/กก./วัน เทียบกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับน้ำ พบว่า หนูที่ได้รับกระชายดำทุกกลุ่มมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น อาการและสุขภาพไม่แตกต่างจากลุ่มควบคุมหนูที่ได้รับกรายดำขนาด 2000 มก./กก. มีน้ำหนักสัมพันธ์ของตับสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ อาจเนื่องจากมีน้ำหนักตัวที่ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม และมีเม็ดเลือดขาวอิโอสิโนฟิสต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ แต่ยังคงอยู่ในช่วงค่าปกติ ในหนูเพสเมียที่ได้รับกระชายดำขนาด 2000 มก./กก. มีระดับโคเลสเตอรอลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ หนูทั้งสองเพสที่ได้รับกระชายดำ 2000 มก./กก. มีระดับซีรั่มโซเดียมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญแต่ยังอยู่ในช่วงค่าปกติ ผลการตรวจอวัยวะทางจุลพยาธิวิทยานั้นไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่บ่งชี้ว่าเกิดจากความเป็นพิษของกระชายดำ (ทรงพล ชีวะพัฒน์, ณุฉัตรา จันทร์สุวาณิชย์, ปราณี ชวลิตธำรง และคณะ,2547)











บทสรุป

กระชาย เป็นไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง และสามารถเป็นได้ทั้งพืชเครื่องเทศและสมุนไพรประกอบอาหาร ถิ่นกำเนิดก็พบในละแวกป่าดิบร้อนชื้นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (จำลอง ฝั่งชลจิต,2542) กระชายโดยทั่วไปมีอยู่ 3 ชนิด คือกระชายดำ กระชายเหลือง กระชายแดง แต่ส่วนมากคนจะนิยมกระชายเหลืองโดยนำมาประกอบอาหารและเป็นสมุนไพรรักษาโรค (รศ.ดร.วันดี กฤษณพันธ์,2538) และจะมีลักษณะทางพฤกษศาตร์ที่เห็นได้ชัดคือ จะมีต้นที่เป็นไม้ล้มลุก มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า มีลักษณะใบที่เป็นเรียวยาวสลับกัน ล่วนดอกจะเป็นดอกช่อออกแทกอยู่ระหว่างกาบใบ (แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ,2541)โดยจะมีการปลูกที่ไม่ยุ่งยากมากหนักคือจะปลูกลงดินก็ปลูกในดินร่วนปนทราย หรือจะปลูกลงกระถางก็ได้ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์มุกดา สุขสวัสดิ์,2545)ในทางด้านประโยชน์ของกระชายก็จะมีทั้งใช้ปรุงอาหาร คือสามารถเป็นส่วนประกอบในอาหารคาวได้หลายชนิดเช่น แกงคั่วปลาดุก แกงป่าและน้ำยาขนมจีน (ผู้ช่วยศาสตราจารย์มุกดา สุขสวัสดิ์,2545) ส่วนประโยชน์ทางยาสมุนไพรที่สามารถรักษาโรคก็มีมากมายเช่น บรรเทาอาการจุกเสียด บรรเทาอาการแผลในปาก แก้ฝ้าขาวในปาก แก้กลาก เกลื้อน น้ำกัดเท้า คันศีรษะจากเชื้อรา เป็นยาอายุวัฒนะ บำบัดโรคกระเพาะ บำรุงกำลัง แก้ปวดมวนในท้อง แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด บำบัดโรคนกเขาไม่ขัน หรือโรคอีดี (Erectile Dysfuntional หรือ ED) บำรุงหัวใจ และอื่นๆ (ผศ.ดร.สุธาทิพ กมรประวัติ) ซึ่งจะมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์รับรองได้ว่าไม่มีอันตรายต่อมนุษย์คือข้อมูลทางวิทยาศาสตร์พบว่า ในเหง้ากระชายมีน้ำมันหอมระเหยแต่พบในปริมาณน้อย (ราวร้อยละ 1-3) น้ำมันหอมระเหยของกระชายประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด เช่น 1.8-cineol,camphor, d-borneol และ methylcinnamate น้ำมันหอมระเหยที่พบส่วนน้อย ได้แก่ d-pinene, zingiberene, zingiberone, curcumin และzedoarin นอกจากนี้ ยังพบสารอื่น ได้แก่ กลุ่มไดไฮโดรซาลโคน boesenbergin A กลุ่ม ฟลาโวน ฟลาวาโนน และฟลาโวนอยด์ (ได้แก่ alpinetin, pinostrobin) และ pincocembrin และกลุ่มซาลโคน (ได้แก่ ๒, ๔, ๖-trihydroxy chalcone และ cardamonin) (ณาตยา ธนะศิริวัฒนา, สุนิดา ณ ตะกั่วทุ่ง, ธนนันต์ ฐานะจาโร,2540) และมี การศึกษาทางพิษวิทยาก็ได้พบว่า การศึกษาพิษเรื้อรังระยะเวลา 6 เดือน ของผงกระชายดำในหนูขาว ในขนาด 20 , 200 , 1000 และ 2000 มก/กก./วัน เทียบกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับน้ำ พบว่า หนูที่ได้รับกระชายดำทุกกลุ่มมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น อาการและสุขภาพไม่แตกต่างจากลุ่มควบคุมหนูที่ได้รับกรายดำขนาด 2000 มก./กก. มีน้ำหนักสัมพันธ์ของตับสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ อาจเนื่องจากมีน้ำหนักตัวที่ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม และมีเม็ดเลือดขาวอิโอสิโนฟิสต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ แต่ยังคงอยู่ในช่วงค่าปกติ ในหนูเพสเมียที่ได้รับกระชายดำขนาด 2000 มก./กก. มีระดับโคเลสเตอรอลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ หนูทั้งสองเพสที่ได้รับกระชายดำ 2000 มก./กก. มีระดับซีรั่มโซเดียมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญแต่ยังอยู่ในช่วงค่าปกติ ผลการตรวจอวัยวะทางจุลพยาธิวิทยานั้นไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่บ่งชี้ว่าเกิดจากความเป็นพิษของกระชายดำ(ทรงพล ชีวะพัฒน์, ณุฉัตรา จันทร์สุวาณิชย์, ปราณี ชวลิตธำรง และคณะ,2547)












เอกสารอ้างอิง

1. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544) พิมพ์ครั้งที่ 2 : กรุงเทพฯ : บริษัทประชาชน จำกัด , 2544 2 .ณาตยา ธนะศิริวัฒนา, สุนิดา ณ ตะกั่วทุ่ง, ธนนันต์ ฐานะจาโร “องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ต้านจุลชีพของน้ำมันหอมระเหยกระชายดำ เปราะหอม และเฒ่าหนังแห้ง”, คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 3.วงศ์วิวัฒน์ ทัศนียกุล และอำไพ ปั้นทอง. “การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของ 5,7-DMF “ วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2528. 4. ทรงพล ชีวะพัฒน์, ณุฉัตรา จันทร์สุวาณิชย์, ปราณี ชวลิตธำรง และคณะการศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรังของผงกระชายดำ. วารสารกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2547 (รอตีพิมพ์) 5ของดีจากพืชสมุนไพร-ว่านยา โดย จันทน์ขาว หน้า 135-137 6. Wattanapitayakul S, Nawinprasert A, Herunsalee A, et al. Vasodilation, antispasmodic and antiplatelet actions of Kaempferia parviflora. The Sixth JSPS-NECT Joint Seminar : Recent Advances in Natural Medicine Research. December 2-4, 2003 Bangkok, Thailand (Poster presen-tation) 7.Yenchai C, Prasanphen K, Doodee S, et al. Bioactive fla-vonoids from Kaempferia Parvifor. Fitoterapia 2004; 75(1) : 89-92. 8.ผศ.ดร.สุธาทิพ กมรประวัติ 9.อบเชย วงศ์ทอง , ขนิษฐาพูนผลกุล.หลักการประกอบอาหารสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ .พิมพ์ครั้งที่ 1 เดือน มีนาคม 2544. 10.จำลอง ฝั่งชลจิตร . ไม้ไกล้ครัว .พิมพ์ที่ บริษัทย์ คอมแพคท์พริ้นท์ จำกัด.2542. 11.สุทธิชัย ปทุมล่องทอง.เคล็ดลับสมุนไพร.สำนักพิมพ์ธารบัวแก้ว พิมพ์ครั้งที่2.เดือนมกราคม 2545. 12.โดยศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี.สมุนไพรไทย.เดือนสิงหาคม 2539. 13.โดยคณะทำงานรวบรวมความรู้เกี่ยวดับผัก ในโครงการหนูรักผักสีเขียว.มหัศจรรย์ผัก.สำนักพิมพ์คบไฟ.พฤศจิกายน 2545. 14.พร้อมจิต ศรลัมพ์และคนอื่นๆ.สมุนไพรและยาที่ควรรู้.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.2532. 15.กาญจนวรรณ สารโชค .พืชสมุนไพร.ยาพื้นบ้านเพื่อการสาธารณสุขมูลฐาน.วารสารเศรฐกิจธนาคารกรุงเทพ.ปีที่20 ฉบับที่ 2 (กุมภาพันธ์ 2530) 16.ก่องกานดา ยามฤต.สมุนไพร ตอนที่4. กรุงเทพมหานคร.ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้.2528 17.สมพร หิรัญรามเดช (ภูติยานนต์) .สมุนไพรใกล้ตัว ตอนที่ 3.ภาควิชาเภสัชเวท คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ .โรงพิมพ์พิฆเณศ.2525. 18.รุ้งรตน์ เหลืองทีเทพ .พืชเครื่องเทศและสมุนไพร.2531. 19.โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง.สมุนไพรชาวบ้าน.กรุงเทพฯ:ประพันธ์สาส์น.2539. 20.สันติสุข โสภณสิริ (บรรณาธิการ).สมุนไพรเพื่อสุขภาพ 2.กรุงเทพฯ.ปาปิรุส พับลิเคชั่น.2537. 21.ผู้ช่วยศาสตราจารย์มุกดา สุขสวัสดิ์.เกษตรธรรมชาติ.สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ พิมพ์ครั้งที่1 2545. 22.โดยพรพรรณ .สมุนไพรในครัว.สำนักพิมพ์วาดศิลป์ พิมพ์ครั้งที่ 1 ธันวาคม 2543. 23.กระยาทิพย์ เรือนใจ .สุขศาลาสมุนไพร.พิมพ์โดย ยูโรปาเพรส พริ้น.ครั้งที่ 1 2537. 24.แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ.ผักพื้นบ้านภาคอีสาน.พิมพ์โดยองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.พฤศจิกายน 2541. 25.ลีนา ผู้พัฒนาพงศ์.สมุนไพรไทย ตอนที่ 5.กรุงเทพฯ ห.จ.ก.ชุติมาการพิมพ์.2530. 26.รศ.ดร.วันดี กฤษณพันธ์.เกร็ดความรู้สมุนไพร.ที.พี.พริ้นท์ จำกัด.กรุงเทพฯ.2538. 27.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.ยาจากสมุนไพร.กรุงเทพฯ.2533. 28.ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม.พจนานุกรมสมุนไพรไทย.โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.2531. 29.การแพทย์แผนไทยกรรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข.โรงพิมพ์องค์การสงเคราะทหารผ่านศึก.กรุงเทพฯ.2542. 30.ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี.สมุนไพรชาวบ้าน.สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์นจำกัด.2537.