ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Thithaporn/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กระบวนการสรรหาคัดเลือกบุคลากร

การสรรหาและคัดเลือกบุคลากรเพื่อให้ได้คนที่ใช่ มีวิธีการหลากหลาย และมีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกันไปแล้วแต่องค์กร บางองค์กรก็มีรูปแบบการคัดกรอง หรือชุดคำถามสำหรับทดสอบที่เป็นของตนเอง บางองค์กรก็มีบทสัมภาษณ์ที่อิงหลักการทฤษฎีตามสมัยนิยม แต่ส่วนใหญ่แล้วขั้นตอนในการสรรหาคัดเลือกก็จะคล้าย ๆ กัน เกณฑ์การคัดเลือกหลัก ๆ ที่นิยมใช้กันก็คือ คุณสมบัติตรงตำแหน่งที่ต้องการ สามารถทำงานได้ และเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้ นั่นคือ can do และ culture fit


กระบวนการในการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร เพื่อให้มั่นใจว่าได้คนที่ใช่มีดังนี้

- วิเคราะห์หาความต้องการของงาน ว่าต้องการคนที่มีคุณสมบัติอย่างไร

- ประกาศรับสมัครหรือเสาะแสวงหาจากแหล่งที่น่าจะมีแคนดิเดตที่ตรงตามต้องการ

- คัดกรองผู้สมัครเบื้องต้น ประเมินทักษะความรู้และประสบการณ์ที่ผ่านมา

- นัดหมายเข้ามาสัมภาษณ์ตัวต่อตัว

- ทดสอบด้วยเครื่องมือวิธีการต่าง ๆ

- ตรวจสอบบุคคลอ้างอิง เช็คประวัติย้อนหลัง

- กลั่นกรองแคนดิเดตที่เข้าตา

- คัดเลือกรอบสุดท้าย

- แจ้งผลการสัมภาษณ์

- ยื่นข้อเสนอจ้างงาน

- รับเข้าทำงาน ปฐมนิเทศพนักงาน

- ติดตามความคืบหน้าหลังการรับเข้าทำงาน

- ค้นหาศักยภาพเพื่อพัฒนาคนเก่งต่อไป

ขั้นตอนดังกล่าว อาจจะมีมากบ้างน้อยบ้างในแต่ละองค์กร แต่แนวโน้มในการสรรหาว่าจ้างสมัยใหม่จะเน้นการหาคนที่เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้เป็นหลัก แล้วมาพัฒนาทักษะที่ต้องการต่อโดยใช้การฝึกอบรมและพัฒนา แต่ข้อสำคัญคือพนักงานจะต้องมีศักยภาพในการเรียนรู้ที่สูงพอสมควร องค์กรใดที่สามารถลดขั้นตอนให้สั้นและเร็วกว่าคู่แข่งได้ ก็มีแนวโน้มที่จะได้คนเก่งมาร่วมงานได้ก่อนนั่นเอง




7 หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกพนักงาน พนักงานคือผู้ที่อยู่เบื้องหลังม่านความสำเร็จของบริษัทมาโดยตลอด เรียกได้ว่าบริษัทไหนมีพนักงานดีก็มีชัยไปแล้วกว่าครึ่ง พนักงานจึงกลายเป็นบุคคลที่มีความสำคัญไม่ต่างจากลูกค้าของกิจการเลยก็ว่าได้ ทุกบริษัทจึงต่างแสวงหาพนักงานที่ดีและมีคุณภาพมากที่สุดเพื่อดึงเข้ามาร่วมงานกับองค์กรของตนเอง แต่พนักงานแต่ละคนก็ล้วนมีที่มาที่ไป มีความรู้ ประสบการณ์ รวมไปถึงลักษณะอุปนิสัยใจคอที่แตกต่างกันออกไป การคัดเลือกพนักงานสักคนเข้ามาทำงานภายในบริษัทจึงต้องอาศัยมากกว่าความถูกอกถูกใจของผู้ประกอบการแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องใช้บรรทัดฐานและหลักเกณฑ์ที่ดีในการพิจารณาคัดเลือกอีกด้วย ซึ่งหลักเกณฑ์ที่จำเป็นต้องใช้มีดังนี้

อย่างแรกที่ผู้ประกอบการจะต้องนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินรับพนักงานก็คือ “ความรู้” ซึ่งความรู้ในที่นี้จะต้องเป็นความรู้ที่พนักงานคนดังกล่าวรู้และมีความเชี่ยวชาญในสาขานั้นจริงๆ ไม่ใช่รู้แบบน้ำเต้าปูปลาอันหรือรู้แบบฉาบฉวยและไม่สามารถนำมาใช้ปฏิบัติงานได้จริง ดังนั้นก่อนที่จะรับใครสักคนเข้ามาทำงานในบริษัทผู้ประกอบการจะต้องแน่ใจเสียก่อนว่าเขามีความรู้ในเรื่องดังกล่าวจริงๆ ซึ่งอาจจะใช้วิธีการตรวจวัดโดยให้ทำแบบทดสอบหรือการทดลองงานก็ได้ จึงจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในการสรรหาผู้ที่มีความรู้เข้ามาทำงานกับบริษัท

เป็นอีกหนึ่งหลักเกณฑ์ที่ผู้ประกอบการจำนวนมากมักจะนำมาใช้เป็นบรรทัดฐานในการคัดเลือกพนักงาน ซึ่งผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานมักจะมีไหวพริบและสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้ดีกว่าคนที่ยังไม่มีประสบการณ์การทำงาน อีกทั้งผู้ประกอบการก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมาเสียเวลานั่งสอนวิธีการทำงานให้ใหม่ทั้งหมด ดังนั้นประสบการณ์คืออีกหนึ่งคุณสมบัติที่ผู้ประกอบการจะต้องมองหาในการรับพนักงานแต่ละครั้งเข้ามาทำงาน

เกรดเฉลี่ยหรือผลการศึกษาคืออีกสิ่งหนึ่งี่ผู้ประกอบการควรให้ความสนใจ เพราะมันเปรียบเสมือนเป็นการวัดระดับความรู้ของผู้ที่มาสมัครในเบื้องต้นว่ามีความรู้และความเหมาะสมมากเพียงไรกับการทำงานในบริษัทของคุณ ซึ่งเกรดเฉลี่ยที่เหมาะสมควรจะต้องอยู่สูงกว่า 2.5 ขึ้นไป แต่ถ้าผู้มาสมัครมีเกรดเฉลี่ยที่น้อยกว่านี้ก็ขอให้พิจารณาคุณสมบัติด้านอื่นๆประกอบด้วย

สถาบันการศึกษาแต่ละแห่งย่อมมีชื่อเสียงในสาขาที่แตกต่างกันออกไป เช่น มหาวิทยาลัย A โด่งดังในเรื่องของวิศวกรรม แต่มหาวิทยาลัย B โด่งดังในเรื่องการบัญชี ดังนั้นผู้ประกอบการจึงสามารถใช้สถาบันเป็นอีกเกณฑ์หนึ่งในการตัดสินเพื่อให้ได้บุคลากรที่มีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการ แต่ทั้งนี้ก่อนจะรับพนักงานเข้ามาทำงานในบริษัท ผู้ประกอบการจะต้องตรวจสอบข้อมูลจากทางสถาบันการศึกษาต้นสังกัดของพนักงานเสียก่อน เพื่อความปลอดภัยและมั่นใจว่าคุณจะไม่ถูกย้อมแมว

ความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบถือเป็นหลักเกณฑ์ที่สำคัญมากในการตรวจสอบพิจารณาคัดเลือกพนักงานเข้าสู่บริษัท เพราะคนที่มีความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบทั้งต่อตัวเองและผู้อื่นจะเป็นคนที่มีความจริงใจกับบริษัทและผู้ร่วมงานมาก ซึ่งคนที่มีลักษณะดังที่กล่าวมานี้ทั้งสอง ประการจะเป็นผู้ที่มีมาตรฐานในการทำงานสูงและผู้ประกอบการสามารถไว้วางใจให้เขาดูแลในเรื่องที่สำคัญๆของธุรกิจแทนได้ในบางโอกาสด้วย โดยความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบนี้อาจจะเป็นเรื่องที่ตรวจสอบได้ค่อนข้างยากในช่วงของการสัมภาษณ์งาน จึงขอแนะนำให้ผู้ประกอบการใช้การสังเกตในช่วงการทดลองงานแทน

การจะคัดเลือกให้ใครสักคนเข้ามาร่วมงานกับทางบริษัท ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาในเรื่องของบุคลิกภาพควบคู่กันไปด้วยเสมอ อย่าได้ใส่ใจกับข้อติฉินนินทาของคนอื่นเพราะคนที่พูดเรื่องเหล่านี้เขาไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบธุรกิจของผู้ประกอบการ ซึ่งบุคลิกภาพตามที่กล่าวมาไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นคนที่หน้าตาดีแต่ขอให้มีมารยาททั้งการพูดและการปฏิบัติ มีกาลเทศะ สะอาด แต่งตัวดูดี น่าเชื่อถือ เป็นพอ

การทำงานในบริษัทเป็นลักษณะของการทำงานในรูปแบบทีมเวิร์คที่จะต้องอาศัยการพึ่งพาติดต่อระหว่างกันภายในองค์กรอยู่ตลอด ถ้าบริษัทไหนมีพนักงานที่มีมนุษยสัมพันธ์ไม่ดีระบบการทำงานก็จะพังไปทั้งระบบ ซึ่งการตรวจสอบด้านมนุษยสัมพันธ์อาจจะอาศัยช่วงการทดลองงาน (ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 3 - ุ6 เืดือน) เพราะการได้คลุกคลีกันจะทำให้เห็นลักษณะนิสัยที่แท้จริงมากขึ้น ว่าพนักงานที่เข้ามาฝึกงานใหม่นั้นสามารถปรับตัวเข้าหาพนักงานคนอื่นๆได้ดีขนาดไหน แต่ทั้งนี้หากผู้ประกอบการใช้หลักเกณฑ์การอ้างอิงคำพูดจากพนักงานคนอื่นๆประกอบด้วย ผู้ประกอบการก็ต้องชั่งน้ำหนักให้ดีเพราะอาจพบปัญหาเรื่องอคติส่วนบุคคลตามมาในภายหลัง

หากผู้ที่มาสมัครงานกับทางบริษัทของผู้ประกอบการมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กล่าวไปแล้วล่ะก็ ต้องขอแสดงความยินดีไว้ ณ ที่นี้เลยว่าผู้ประกอบการได้พบเพชรแท้ในตลาดแรงงานเข้าให้แล้ว แต่ถ้ายังไม่เจออีก ทั้งบริษัทของผู้ประกอบการก็ยังไม่ได้รีบร้อนมากนักก็ขอแนะนำให้ค่อยๆเสาะหาพนักงานที่มีคุณสมบัติครบครันดังที่กล่าวไว้ไปก่อน เพราะทุกๆปีก็จะมีเด็กที่จบใหม่หรือพนักงานที่ลาออกจากบริษัทเดิมและพร้อมเข้าสู่ระบบการทำงานในตลาดแรงงานหลายแสนคน ผู้ประกอบการจึงมีโอกาสที่จะคัดเลือกคนที่ดีที่สุดให้กับบริษัทได้ โดยขอให้ยึดหลักสุภาษิตไทยที่ว่า “ช้าๆได้พร้าเล่มงาม” รับรองว่าผู้ประกอบการจะได้ฟันเฟืองที่มีคุณภาพเข้ามาร่วมขับเคลื่อนกลไกของบริษัทอย่างแน่นอน