ผู้ใช้:Tamphimai007/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เครือข่ายแบบสลับว[แก้]

เครือข่ายแบบแพ็กเกตสวิตชิง (packet switching technology)[แก้]


เป็นวิทยาการใช้ในการติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายดิจิตอลความเร็วสูง แพ็กเกตสวิตชิงเป็นเทคนิคในการหาเส้นทางให้กับแต่ละ แพ็กเกต (packet) ที่มีจุดหมายปลายทางต่างกัน ปลายทาง คือ DTE ( Data Terminal Equipment ) อุปกรณ์ที่ช่วยถ่ายทอดข่าวสารคือ DCE ( Data Communication Equipment )
แพ็กเกตสวิตชิงใช้หลักการ Store & Forword การรับส่งข้อมูลจะเรียกหน่วยย่อยว่า "แพ็กเกต(Packet)" โดยจะทำงานแบบไม่ต้องรอให้ ข้อมูล (message) ครบทั้งหมดก่อนค่อยส่งข้อมูลออกไป ทั่วไปแล้ว แต่ละ Packet จะมีความยาวประมาณ 64 Byte (512 bits) ต่อหนึ่ง Packet ซึ่งเป็นข้อดีเพราะว่าแต่ละ Packet มีขนาดเล็ก ทำให้ชุมสายใช้เวลาน้อยในการส่งแต่ละ Packet ส่งผลให้การ รับ-ส่ง Packet เป็นไปได้อย่างรวดเร็วมากเหมาะกับการทำงาน On-Line ตลอดเวลาหรือ interactive ตลอดเวลาแต่ละ packet จะมีโครงสร้างง่ายๆ ประกอบไปด้วยส่วนที่ถูกเพิ่มเติม(Packer Overhead) และส่วนที่เป็นข้อมูลของผู้ใช้งาน (User Date) ส่วน Packer Overhead ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับ Address (ฝั่งปลายทาง)ซึ่งแต่ละ node หรือแต่ละชุมสายที่ใช้งานรับส่งข้อมูลจำเป็นจะต้องใช้ ข้อมูลนี้ตลอดการรับส่ง Layer ของ การทำงานของ packet switching ทำหน้าที่จัดหาเส้นทาง จากเส้นทาง(ต้นทาง) ไปยังเส้นทาง(ปลายทาง) Packet Switching สามารถนำไปใช้ได้กับเครื่อง ATM (Asynchronous Transfer Mode) และสามารถนำไปใช้กับ โทรศัพท์มือถือได้ด้วยบริการที่เรียกว่า GPRS สำหรับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย Packet Switching ข้อมูลจะถูกส่งออกไปทีละ packet เรียง ลำดับตามกันถ้ามีข้อผิดพลาดใน packet ขึ้นทำให้การส่งข้อมูลในเครือข่าย Packet Switching สามารถ ทำงาน ได้เร็วมากจนดูเหมือนกับไม่มีการเก็บกักข้อมูลเลยสวิตชิ่งนั้นก็จะทำการร้องขอให้สวิตชิ่ง ก่อนหน้านั้นส่งเฉพาะ packet ที่มีความผิดพลาดนั้นมาให้ใหม่ และไม่จำเป็นจะต้องรอให้ผู้ส่งทำ การส่งข้อมูลมาให้ครบทุก packet แล้วจึงค่อยส่งข้อมูลไป Packet Switching นั้นมีประสิทธิภาพมากในการสื่อสาร การสื่อสารแบบเป็น Packet Switching มีประสิทธิภาพสูงทั้งในด้านกระบวนการทำงาน และการติดต่อระหว่างเครื่อง Server ทั้งสองเครื่องPacket Switching technology นี้ข้อมูลทั้งหมดจะถูกแบ่งเป็นส่วนย่อยๆ เรียกว่า packet แล้วทำการเพิ่มส่วนรายละเอียดที่จะบอกถึงลำดับของส่วนย่อยและ ผู้รับปลายทาง แล้วส่งไปยังทุกๆเส้นทางโดยกระจัดกระจายแยกกันไปโดย จะมีอุปกรณ์ที่แยกและตรวจสอบว่าสายที่จะส่งไปนั้นว่างถ้าว่างจึงส่งไป เมื่อส่วนย่อยของสารข้อมูลทั้งหมดมาถึงปลายทางฝั่งผู้รับก็จะนำมารวมกันเป็นข่าวสารชิ้นเดียวกันการส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย Packet Switching ข้อมูลจะถูกส่งออกไปทีละส่วนย่อยเรียงตามลำดับ ภายในการส่งข้อมูลในเครือข่าย Packet Switching สามารถทำงานได้รวดเร็วมากจนเหมือนกับไม่มีการเก็บข้อมูลเลย ถ้าเกิดผิดพลาดจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ Layer ที่สูงกว่าจัดการให้ และจะไม่รอให้ผู้ส่งทำการส่งข้อมูลให้ครบทุกส่วนย่อยก่อนค่อยส่งข้อมูลไป
เทคโนโลยีของ Packet Switching Time Domain Multiplexing ระบบ TDM เป็นการมัลติเพล็กซ์ที่แต่ละช่องสัญญาณมีแบนด์วิดธ์แบบคงที่ (Fixed Bandwidth) ซึ่งจะใช้ งานได้ดีมากสำหรับการรับส่งที่ต้องการอัตราบิตที่ต่อเนื่อง (Continous Bit Rate : CBR) เช่น traditional voice and video แต่ถ้าจะใช้งานกับข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีการจราจร(traffic) เป็นแบบ bursts traffic (ทราฟฟิกที่มีขนาดไม่คงที่คืออาจจะมีการเปลี่ยนแปลงขนาดอย่างฉับพลัน)

  • ข้อดีของ Packet Switching

-รับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง และใช้เวลาในการ ส่งข้อมูลน้อยเหมาะสำหรับการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย LAN หลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกันเช่น WAN -มีความผิดพลาดในการรับส่งข้อมูลน้อยมากๆ -สามารถลดประสิทธิภาพคอมพิวเตอร์ให้มีขนาดเล็กลง และสามารถกระจายศูนย์ กลาง ประมวลผลได้ -สามารถรองรับการเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่องค์กรใช้งาน เช่น ICP/IP -ควบคุมค่าใช้จ่ายได้คงที่แน่นอน -รับประกันความรวดเร็วในการส่งข้อมูล (Committed Information Rate ; CIR)

  • ข้อเสียของ Packet Switching

-delay time ที่มากขึ้นเมื่อมีผู้ใช้งานมากขึ้น (กรณีที่ traffic ที่ผ่านเครือข่ายสูง) ซึ่ง -สามารถแก้ไข ได้โดยกการ เพิ่มจำนวนวงจรเชื่อมโยงระหว่างชุมสาย (หมายถึงวงจร -จริงที่จับต้องได้คือเป็น physical circuit )ให้ มากขึ้นใน -กรณีที่มี traffic ผ่านมากๆ หรือเพิ่ม capacity ของชุมสายให้สามารถรองรับปริมาณ traffic สูงๆ ได้ หรืออาจใช้การปรับเปลี่ยน parameter ต่างๆใน routing algorithm ในแต่ละชุมสายให้เหมาะสมกับปริมาณ traffic ซึ่งจะเป็นการกระจาย traffic ไปผ่านชุมสายต่างๆแทนที่จะไปผ่าน ชุมสาย ใดชุมสายหนึ่งโดยเฉพาะซึ่ง -อาจจะทำให้เกิดสภาวะคอขวด (bottle neck) หรือเกิดการ congestion ขึ้นภายในเครือข่ายได้

เครือข่ายแบบเมสเซจสวิตชิง (Message Switching)[แก้]

เป็นระบบการสื่อสารข้อมูลที่มีความชาญฉลาดมากขึ้น การทำงานในระบบผู้ส่งจะส่ง Message ไปยัง node แรก เมื่อ node แรกได้รับข้อมูลจะเก็บข้อมูล(ไว้ใน Buffer) และติดต่อไปยัง node ต่อไป เมื่อหาเส้นทางไปยัง node ต่อไปได้แล้ว ก็จะทำการส่งข้อมูลที่เก็บไว้ใน Buffer ออกไปยัง node นั้น และไปจนกว่าจะถึงปลายทางเรียกว่า Stort และ Forward ข้อดี:ระบบ Message Switching การใช้สายมีประสิทธิภาพมากขึ้น การติดต่อระหว่างผู้เรียกกับผู้ถูกเรียกมีการรับประกันเรื่องความถูกต้อง ข้อเสีย:มีการหน่วยเวลา (Delay) ระหว่างผู้เรียกกับผู้ถูกเรียกไม่เหมาะกับงานที่โต้ตอบทันทีเพราะมีการหน่วงเวลาสูงการส่งข้อมูลมีขนาดใหญ่ ทำให้มีการใช้ช่องสัญญาณเป็นเวลานาน รูปที่ 3 เมสเสจสวิตชิงมีการจับจองหนึ่งเส้นทางเพื่อถือครองในช่วงเวลาหนึ่ง
ขั้นตอนแรก S ได้มีการส่งผ่านเส้นทางไปยัง a จากนั้น a ก็จะมีการจัดเก็บข้อมูลไว้ชั่วคราว ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวเส้นทาง จาก S ไปยัง a นั้นจะถูกปลดออก ทำให้ผู้อื่นสามารใช้เส้นทางได้ จากนั้น a ก็จะส่งเมสเสจนั้นไปยัง c และทำเช่นนี้เรื่อยไปจนกระทั่งถึงปลายทาง T ซึ่งเป็นการถือครองเส้นทางในการส่งข่าวสารในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น


OSI model + TCP/IP model[แก้]

TCP/IP Model OSI Model
Application Application (FTP,SMTP,HTTP,etc.)
Presentation Application (FTP,SMTP,HTTP,etc.)
Session Application (FTP,SMTP,HTTP,etc.)
Transport TCP (host-to-host)
Network IP
Data Link Network acess (usually Ethernet)
Physical Network acess (usually Ethernet)

OSI Model[แก้]

คือ องค์ประกอบ ที่สามารถพัฒนาขึ้นมาเพียงชั้นเดียวจากจำนวน 7 ชั้นแล้วนำไปใช้งานร่วมกับชั้นอื่นที่มีการพัฒนาไว้แล้วโดยหลักการแต่ละชั้นจะติดต่อกับชั้น
ในระดับเดียวกันที่อยู่บนเครื่องอีกเครื่องหนึ่ง

Open Systems Interconnection (OSI)
จัดตั้งและกำหนดโดย องค์การกำหนดมาตรฐานสากล หรือ ISO ( International Standards Organization ) เริ่มนำมาใช้งานราว ๆ กลางปี ค.ศ. 1970 และใช้อ้างอิงมาจนถึงปัจจุบัน จุดมุ่งหมาย
เพื่อเปิดช่องทางให้ข้อมูลที่เก็บอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์หนึ่ง ๆ รับส่งไปยังคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบเดียวกันหรือต่างระบบได้โดยอิสระ ไม่ขึ้นกับผู้ผลิตสร้างการทำงานที่เป็นระบบเปิด (Open System)

แนวคิดของการกำหนดมาตรฐานเป็นแบบชั้นสื่อสาร (layers) คือ
1.ชั้นสื่อสารแต่ละชั้นถูกกำหนดขึ้นมาตามบทบาที่แตกต่างกัน
2.แต่ละชั้นสื่อสารจะต้องทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายอย่างดียิ่ง
3.แต่ละฟังก์ชั่นในชั้นสื่อสารใดๆจะต้องกำหนดขึ้นมาโดยใช้แนวความคิดใน ระดับสากลเป็นวัตถุประสงค์หลัก

TCP/IP[แก้]

TCP/IP Model มีแนวคิดพื้นฐานแตกต่างจาก OSI Model คือไม่ได้มีพื้นฐานของการสื่อสารแบบการสนทนา TCP/IP Model เป็นภาพแสดงถึงโลกของระบบเครื่อข่ายสากล (Internetworking)
จะพบว่ามีบางเลเยอร์ที่มีการกำหนดคุณสมบัติที่เทียบได้ไกล้เคียงกัน แต่บางเลเยอร์ก็ไม่สามารถเทียบหาความสัมพันธ์กัน

1. Process Layer จะเป็น Application Protocal ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับผู้ใช้และให้บริการต่าง ๆ
2. Host – to – Host Layer จะเป็น TCP ที่ทำหน้าที่คล้ายกับชั้นที่ 4 ของ OSI Model คือควบคุมการรับส่งข้อมูลจากปลายด้านส่งถึงปลายทางด้านรับข้อมูล
3. Internetwork Layer ได้แก่ส่วนของโปรโตคอล IP ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับชั้นที่ 3 ของ OSI Model คือเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่ายที่อยู่ชั้นล่างลงไป
4. Network Interface เป็นส่วนที่ควบคุมฮาร์ดแวร์การรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย เปรียบได้กับชั้นที่ 1 และ2 ของ OSI Model

ประสบการณ์การเตรียมตัวสอบ CCNA สวัสดีครับ ห่างหายไปนานเหลือเกินเนื่องจากงานค่อนข้างยุ่งๆ ไหนจะมีงานสอนวันเสาร์-อาทิตย์อีกแหนะ วันนี้ได้พักละ ผมจึงอยากมาเล่าประสบการณ์ของผมในการเตรียมตัวและแนะนำการสอบ CCNA ให้ฟังครับ เพื่อใครหลายๆคนอยากที่จะสอบ แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไงดี วันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังครับ ไปกันเลย !!!!


บทความ IT ที่สนใจ[แก้]

CCNA (Cisco Certified Network Associate)[แก้]

CCNA (Cisco Certified Network Associate) เป็นใบประกาศนียบัตรวิชาชีพของบริษัท Cisco สำหรับผู้ที่จะเริ่มต้นในสายงาน IT Networking นั่นเอง ซึ่งถามว่า ทำไมต้อง Cisco ผมสอบของยี่ห้ออื่นไม่ได้หรอ ? คำตอบคือ ได้ครับ แต่ในตลาด Network ทั่วโลก Cisco เป็นผู้ครองตลาดมากถึง 80% เมื่อหลายปีก่อน (ปีหลังๆอาจจะลดลงบ้างเนื่องจากการแข่งขันและการพัฒนาที่สูงขึ้นของเจ้าอื่นไม่ว่าจะเป็น Juniper , HP เป็นต้น) รวมถึง Cisco มีสื่อการสอน และ Course ต่างๆ ให้ได้เรียนรู้ค่อนข้างเยอะกว่ายี่ห้ออื่นและยังเจาะตลาดลงไปถึงระดับมหาวิทยาลัย ทำให้การเรียนการสอนในวิชา Network นั้นจะอยู่กับ Cisco ซะเป็นส่วนมากครับ แต่ถ้าท่านใดไปทำงานที่ไม่ใช่ Product Cisco เช่น HP , Juniper , Allied Telesis , Acatel , Huawei และอื่นๆอีกมากมาย นั่นก็แาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องมาสอบ Certified ของ Cisco ก็ได้ครับ อาจจะสอบตาม Product นั้นๆไปเลย (เอาคร่าวๆเท่านี้ละกันครับ)

ช่วงเวลาก่อนที่จะสอบ CCNA ของผมเป็นอย่างไร ---> เริ่มด้วยที่มหาวิทยาลัยผมนั้นมีหลักสูตรของ Cisco Networking Academy มาให้เรียน ดังนั้นผมจึงมีพื้นมาบ้างแล้ว (ทั้งๆที่ตอนนั้นทั้ง Drop ทั้ง F วิชา Network เลย 555+) เมื่อเรียนจบผมเริ่มหางานทันทีด้วยความรู้เท่าที่มีอยู่ โดยที่ยังไม่มีใบ Certificate อะไรเลยแม้แต่ใบเดียว (มีแต่ใบปริญญา) เนื่องด้วยผมจบเกรดน้อยครับ 2.43 และมหาลัยที่ผมอยู่ไม่ใช่มหาลัยแนวหน้าซักเท่าไหร่ ทำให้การหางานของผมในช่วงแรกเป็นไปอย่างยากลำบากเลยก็ว่าได้ เปิด Google แล้ว Search เลย Cisco Partner (ผมรู้ว่าหลายคนเคยทำ 555+) แล้วไล่ส่ง Resume ไปทีละบริษัท ตั้งแต่ Premier ยัน Gold Partner เลย (ในใจก็คิดนะว่า เกรดก็น้อย มหาลัยก็ไม่ติดอันดับ Gold , Silver ที่ไหนเค้าจะเอาฟระ) MFEC , Datacraft (ปัจจุบันคือ Dimension Data) , Datapro , NetOne , TPS , Netbright , CSLox , Jasmine , 3BB , ITM และอื่นๆอีกเพียบ แล้วทุกที่ก็ เงียบบบบ T-T มีประมาณ 3 ที่ ที่เรียกมาคือ Jasmine , 3BB , NetOne แต่ทั้ง 3 ที่ให้ผมไปทำงาน Outsource โดยไม่เกี่ยวกับ Network เลย เค้าให้เหตุผลว่าน้องเกรดน้อย และไม่มีประสบการณ์การทำงาน (แน่ดิ กรูเพิ่งจบใหม่นี่หว่า T-T) แล้วเค้าก็ทิ้งท้ายไว้ถ้าน้องมี Cert. CCNA พี่อาจจะพิจารณาอีกทีในตำแหน่ง Network Engineer ให้ก็ได้นะ ผมเศร้าเลย ปฏิเสธไปทุกที ผมไม่ได้เลือกงานนะ แต่ผมแค่ขอได้ทำงานที่ชอบอยากทำเท่านั้นเอง...

มันเป็นเหตุผลให้ผมต้องสอบ CCNA ---> จากนั้นผมกลับมาคิดทบทวนซักพักนึง แล้วผมก็ตั้งเป้าหมายแรกกับตัวเองเลยว่าผมต้องสอบ CCNA ให้ได้ เนื่องด้วยตอนที่ผมเรียนหลักสูตร Cisco Network Academy นั้น ถ้าทำคะแนนของหลักสูตรได้เกิน 80% จะมี Voucher Discount CCNA ให้ 80% จึงเหลือค่าสอบเพียง 2,xxx บาท จาก 9,xxx โดยประมาณ

IP Address คืออะไร[แก้]

IP Address คืออะไร

      IP Address ย่อมาจากคำเต็มว่า Internet Protocal Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลแบบ TCP/IP 

ถ้าเปรียบเทียบก็คือบ้านเลขที่ของเรานั่นเอง ในระบบเครือข่าย จำเป็นจะต้องมีหมายเลข IP กำหนดไว้ให้กับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องการ IP ทั้งนี้เวลามีการโอนย้ายข้อมูล หรือสั่งงานใดๆ จะสามารถทราบตำแหน่งของเครื่องที่เราต้องการส่งข้อมูลไป จะได้ไม่ผิดพลาดเวลาส่งข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1 เป็นต้น โดยหมายเลข IP Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีค่าไม่ซ้ำกัน สิ่งตัวเลข 4 ชุดนี้บอก คือ Network ID กับ Host ID ซึ่งจะบอกให้รู้ว่า เครื่อง computer ของเราอยู่ใน network ไหน และเป็นเครื่องไหนใน network นั้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่า Network ID และ Host ID มีค่าเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับว่า IP Address นั้น อยู่ใน class อะไร

      เหตุที่ต้องมีการแบ่ง class ก็เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ เป็นการแบ่ง IP Address ออกเป็นหมวดหมู่นั้นเอง สิ่งที่จะเป็นตัวจำแนก class ของ network ก็คือ bit ทางซ้ายมือสุดของตัวเลขตัวแรกของ IP Address (ที่แปลงเป็นเลขฐาน 2 แล้ว) นั่นเอง โดยที่ถ้า bit ทางซ้ายมือสุดเป็น 0 ก็จะเป็น class A ถ้าเป็น 10 ก็จะเป็น class B ถ้าเป็น 110 ก็จะเป็น class C ดังนั้น IP Address จะอยู่ใน class A ถ้าตัวเลขตัวแรกมีค่าได้ตั้งแต่ 0 ? 127 (000000002 ? 011111112) จะอยู่ใน class B ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 128 ? 191 (100000002 ? 101111112) และ จะอยู่ใน class C ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 192 - 223 (110000002 ? 110111112) มีข้อยกเว้นอยู่นิดหน่อยก็คือตัวเลข 0, 127 จะใช้ในความหมายพิเศษ จะไม่ใช้เป็น address ของ network ดังนั้น network ใน class A จะมีค่าตัวเลขตัวแรก ในช่วง 1 ? 126 
      สำหรับตัวเลขตั้งแต่ 224 ขึ้นไป จะเป็น class พิเศษ  อย่างเช่น  Class D ซึ่งถูกใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Multicast ของบาง Application และ Class E ซึ่ง Class นี้เป็น Address ที่ถูกสงวนไว้ก่อน ยังไม่ถูกใช้งานจริง ๆ  โดย Class D และ Class E นี้เป็น Class พิเศษ ซึ่งไม่ได้ถูกนำมาใช้งานในภาวะปกติ
   ตัวอย่าง IP Address
   Class A ตั้งแต่ 10.xxx.xxx.xxx
   Class B ตั้งแต่ 172.16.xxx.xxx ถึง 172.31.xxx.xxx
   Class C ตั้งแต่ 192.168.0.xxx ถึง 192.168.255.xxx 
      จาก IP Address เราสามารถที่จะบอก ได้คร่าวๆ ว่า computer 2 เครื่องอยู่ใน network วงเดียวกันหรือเปล่าโดยการเปรียบเทียบ Network ID ของ IP Address ถ้ามี Network ID ตรงกันก็แสดงว่าอยู่ใน network วงเดียวกัน เช่น computer เครื่องหนึ่งมี IP Address 1.2.3.4 จะอยู่ใน network วงเดียวกับอีกเครื่องหนึ่งซึ่งมี IP Address 1.100.150.200 เนื่องจากมี Network ID ตรงกันคือ 1 (class A ใช้ Network ID 1 byte) 
   วิธีตรวจสอบ IP Address
   1.คลิกปุ่ม Start เลือก Run
   2.พิมพ์คำว่า cmd กดปุ่ม OK
   3.จะได้หน้าต่างสีดำ
   4.พิมพ์คำว่า ipconfig กด enter
   5.จะเห็นกลุ่มหมายเลข IP Address

10 ทักษะไอทีที่นายจ้างต้องการมากที่สุดในปี 2015[แก้]

   เว็บไซต์ Computer world’s สหรัฐฯ ได้ทำการสำรวจความต้องการของผู้ประกอบการในการจ้างพนักงานไอทีเข้าทำงานในปี 2015 จำนวน 194 ราย พบว่า 10 ทักษะไอทีที่นายจ้างต้องการมากที่สุด ได้แก่ ทักษะด้านงาน Programming และ application development ซึ่งคงอันดับ 1 เช่นเดียวกับเมื่อปีที่แล้ว
48% มองหาคนที่มีทักษะด้าน Programming/application development

คงที่อันดับ 1 เมื่อปีที่แล้ว

         โปรแกรมเมอร์มีส่วนสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้า คนที่มีความถนัดด้านการพัฒนาโปรแกรมและมีประสบการณ์มากพอที่จะจัดการความต้องการที่ซับซ้อนได้เป็นอย่างดีกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมาก

35% มองหาคนที่มีทักษะด้าน Project management ขยับขึ้นจากอันดับ 5 เมื่อปีที่แล้ว

         จะเห็นว่าในปีนี้มีความต้องการ Project Manager เพิ่มขึ้นถึง 4 อันดับ โดย Project Manager ที่ดีต้องมีทั้งความเฉียบแหลมทางธุรกิจและความรู้ด้านเทคโนโลยีควบคู่กัน นอกจากจะสามารถดูแลโครงการขนาดใหญ่ได้แล้ว ยังจำเป็นต้องมีประสบการณ์เป็นผู้นำในการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบต่าง ๆ เช่น เปลี่ยนจากวิธีดั้งเดิมแบบ Waterfall เป็น Agile เพื่อให้งานสั้นลง ประหยัดเวลา และประหยัดงบประมาณ ใครมีคุณสมบัติเหล่านี้รับรองว่าไปได้ไกลแน่นอน

30% มองหาคนที่มีทักษะด้าน Help desk/technical support ตกจากอันดับ 2 เมื่อปีที่แล้ว

         ความต้องการ Help desk และ technical support ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตราบใดที่ยังมีการพัฒนาอุปกรณ์และและแอพลิเคชั่น ก็ยังคงต้องการความช่วยเหลือจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญงาน IT Support อยู่นั่นเอง
28% มองหาคนที่มีทักษะด้าน Security/compliance governance

ขยับขึ้นจากอันดับ 7 เมื่อปีที่แล้ว

         ความปลอดภัยด้านไอทีหมายถึงความปลอดภัยของธุรกิจ ปัจจุบันผู้ประกอบการยอมลงทุนมากขึ้นในเรื่องความปลอดภัย จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ทักษะด้านงาน IT Security และ compliance governance เป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้นในปีนี้ องค์กรต้องการคนที่มีความชำนาญที่จะช่วยรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ป้องกันภัยคุกคาม และอุดช่องโหว่ทางไอทีให้แก่บริษัท
28% มองหาคนที่มีทักษะด้าน Web development

ไม่ติดอันดับเมื่อปีที่แล้ว

         ความเชี่ยวชาญในการพัฒนาเว็บเป็นหนึ่งในทักษะที่หายากที่สุด เนื่องจากความต้องการของฝ่ายนายจ้างกับลูกจ้างไม่สัมพันธ์กัน มีช่องว่างระหว่างสิ่งที่บริษัทต้องการจะทำ กับความสามารถในการดำเนินการของ Web Developer ตามความต้องการนั้น
26% มองหาคนที่มีทักษะด้าน Database administration

คงที่อันดับ 6 เมื่อปีที่แล้ว

         การบริหารฐานข้อมูลเป็นบทบาทที่เหนื่อยและหนัก ยิ่งบริษัทที่ต้องจัดการกับ Big Data ยิ่งต้องการตัวคนที่มีทักษะด้านงาน Database ซึ่งไม่ใช่แค่สามารถจัดเก็บข้อมูลมหาศาล แต่ต้องเข้าใจว่าฐานข้อมูลเหล่านั้นถูกจัดเก็บอย่างไรด้วย
24% มองหาคนที่มีทักษะด้าน Business intelligence/analytics

ขยับขึ้นจากอันดับ 8 เมื่อปีที่แล้ว

         เมื่อผู้ประกอบการหันมาสนใจ Big Data มากขึ้น จึงไม่แปลกที่ Business intelligence/analytics จะเป็นที่ต้องการขึ้นมาด้วย เนื่องจากบริษัทต้องการคนที่จะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นในเชิงลึก และนำข้อมูลที่ได้มาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด
24% มองหาคนที่มีทักษะด้าน Mobile applications and device management

ตกจากอันดับ 4 เมื่อปีที่แล้ว

         ยิ่งความต้องการใช้งาน mobile apps เพิ่มขึ้น องค์กรยิ่งต้องการคนพัฒนาแอพให้ทันต่อความต้องการของตลาด อย่างไรก็ดี การจ้างพนักงานใหม่อาจไม่สามารถตอบโจทย์เพียงพอ หลายองค์กรจึงเลือกที่จะเทรนด์พนักงานที่มีอยู่ให้สามารถดำเนินการตามความต้องการได้อย่างทันท่วงที เพราะเหตุนี้ทักษะนี้จึงตกอันดับลงมา
22% มองหาคนที่มีทักษะด้าน Networking

ตกจากอันดับ 3 เมื่อปีที่แล้ว

         ยังคงมีความต้องการคนไอทีที่มีทักษะด้านงาน Networking ในปีนี้ สอดคล้อดกับผลสำรวจของ Robert Half Technology IT Hiring Forecast and Local Trend Report พบว่า 57% ระบุว่า network administration เป็นทักษะที่องค์กรต้องการอย่างมาก เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียที่ระบุว่า ทักษะ Networking เป็น 1 ใน 7 ทักษะที่หน่วยงานด้านไอทีต้องการ
20% มองหาคนที่มีทักษะด้าน  Big data

ขยับขึ้นจากอันดับ 11 เมื่อปีที่แล้ว

         เว็บไซต์หางานด้านไอทีในสหรัฐฯ เปิดเผยผลสำรวจเมื่อเดือนกันยายน 2557 ว่า มีการลงประกาศงานในตำแหน่งที่เกี่ยวกับ Big data เพิ่มขึ้นถึง 56% จากปีที่ผ่านมา ซึ่งความต้องการที่มีมากขึ้นนี้ทำให้ค่าตอบแทนสำหรับคนที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้สูงตามไปด้วย