ผู้ใช้:Surachet khaoropwongchai/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติส่วนตัว[แก้]

ข้อมูลส่วนตัว[แก้]

ชื่อ[แก้]

นายสุรเชษฐ์ เคารพวงศ์ชัย [1]

ที่อยู่[แก้]

721/1 ซ.7 ถ.เดชอุม ต.เมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000

การศึกษา[แก้]

ตำแหน่งด้านไอที[แก้]

ที่ปรึกษาทางด้านไอที

บทความด้านไอที[แก้]


Google+ เปิดให้ใช้บริการได้ทุกคนแล้ว

ไฟล์:Surachet.g.jpg

หลังจากที่ Google+ เปิดให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์แห่งใหม่ในลักษณะที่สมาชิกต้องขอ invite เพื่อเข้าใช้บริการมาได้ 3 เดือนแล้ว ซึ่งในส่วนของกระแสการยอมรับก็ต้องถือว่า ได้รับความสนใจจากผู้ใช้ทั่วโลกพอสมควร ที่สำคัญมันยังทำให้ผู้่นำตลาดอย่าง Facebook ต้องปรับตัวหลายกระบวนท่าเลยทีเดียว ล่าสุด Google+ ได้เปิดให้บริการกับผู้ใช้ทั่วโลกที่สนใจจะเข้าเป็นสมาชิกเครือข่ายสังคมแห่งนี้แล้ว

สำหรับบริการของ Google+ จะไม่มีความสัมพันธ์แบบ "เพื่อน" (friend) ในลักษณะที่ผู้ใช้รู้สึกถูกบังคับให้ยอมรับ โดยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ Google+ ซึ่งรวมถึงผู้คนต่างๆ ที่พวกเขาแชร์ข้อมูลด้วยจะถูกกำหนดให้มีความเป็นส่วนตัว (privacy) ตั้งแต่แรก นอกจากนี้ยังมีบริการที่แตกต่างจากผู้นำตลาดอย่าง Facebook ด้วย เช่น คุณสมบัติวิดีโอแชทที่สามารถพูดคุยพร้อมกันเป็นกลุ่มได้ เรียกว่า Hangouts โดยคุณสามารถเชื่อมต่อกับเพื่อนๆ ผ่านบริการนี้ได้สูงสุดถึง 10 คน เพื่อพูดคุยกันแบบเห็นหน้าผ่านวิดีโอได้

อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมา การเติบโตของ Google+ ก็มีข้อจำกัด และอุปสรรคอยู่พอสมควร เนื่องจากสมาชิกที่จะมีสิทธิ์เข้าใช้บริการจะต้องได้รับการ invite โดย Google หรือจากผู้ใช้คนอื่นที่อยู่ในเครือข่ายนี้แล้ว ไม่เพียงเท่านั้น บ่อยครั้งที่ผู้ใช้ถูกบังคับให้ signup ใหม่ แม้จะถูก invite แล้วก็ตาม แต่ก็มีผู้สนใจเข้าร่วมเครือข่ายของ Google+ หลายสิบล้านคน ประเด็นคือ Google+ ไม่ได้แจกแจงผู้ใช้บริการที่แอคทีฟ ในขณะที่ก่อนหน้านี้ มีปัญหาเรื่องของระบบที่ไม่สามารถรองรับการเข้าใช้บริการที่มากเกินไปได้

ล่าสุดเมื่อวานนี้ Google ได้ประกาศเปิดให้ผู้ใช้ที่สนใจทั่วโลกสามารถสมัครเป็นสมาชิก เพื่อใช้บริการ Google+ ได้แล้ว โดยไม่ต้องมี invite ให้วุ่นวายอีกต่อไป ซึ่ง Vic Gundotra ผู้บริหาร Google ประกาศในบล็อกว่า นอกจากจะเปิดให้ใช้บริการได้ทุกคนแล้ว Google+ ยังได้ปรับปรุงคุณสมบัติการทำงานต่างๆ มากถึง 99 ฟีเจอณ์ด้วยกันนับตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา สำหรับคุณผู้อ่านเว็บไซต์ arip ที่สนใจจะลงทะเบียนใช้บริการสามารถเข้าไปได้ที่ plus.google.com เพื่อสร้าง username และ password หรือใช้แอคเคาท์ Gmail หรือ GOogle ที่มีอยู่แล้ว

ในส่วนของผู้ใช้ iPhone หรือ Android สามารถติดตั้งแอพฯ Google+ ได้ฟรี ซึ่งมันสามารถอัพโหลดภาพถ่าย หรือวิดีโอที่คุณบันทึกผ่านมือถือเข้าไปในพื้นที่ในบัญขีผู้ใช้ Google+ ชองคุณได้โดยอัตโนมัติ นั่นหมายความว่า มันง่าย และเร็วมากในการที่คุณจะแชร์ข้อมูลเหล่านี้ให้กับกลุ่มต่างๆ ตามที่คุณต้องการ และเพียงไม่กี่คลิกบนคอมพิวเตอร์ เพื่อโพสต์มันขึ้นไปที่เฟซบุ๊คได้อีกด้วย แหล่งที่มา : arip.co.th

PHISHING รูปแบบใหม่ของการเผยแพร่ไวรัส

ไฟล์:Surachet.gg.jpg

Phishing คือการโจมตีรูปแบบหนึ่งที่ส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบอีเมลล์หลอกลวง โดยทำรูปแบบให้เหมือนกับอีเมลล์ที่ออกโดยธนาคารและลวงให้ผู้อ่านกดลิงค์ตามที่ระบุไว้ด้านในเพื่อเข้าไปกรอกชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่าน ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการตกปลาที่จะต้องติดเหยื่อไว้กับเบ็ดเพื่อล่อให้ปลามากิน (Fishing-ตกปลา) จึงเป็นที่มาของคำว่า Phishing นั่นเอง

แต่ ตอนนี้การล่อลวงให้เหยื่อกดเข้ากรอกข้อมูลในเว็บไซต์ของผู้ไม่ประสงค์ดีนั้นคงธรรมดาไปเสียแล้ว เมื่อมีรูปแบบแบบใหม่ที่กำลังเป็นกระแสมาแรงตอนนี้เลยก็คือนอกจากจะล่อให้ไปกดแล้ว ก็ยังปล่อยเหล่าภัยคุกคามกลับมาที่เครื่องของเหยื่อด้วย! (โหดร้ายจริงๆ) จากตัวอย่างรูปด้านบนจะพบว่าเป็นอีเมล์ที่แจ้งมาจาก American Express (สถาบันการเงินเก่าแก่ระดับโลกของประเทศ สหรัฐอเมริกา) โดยหลอกให้เหยื่อกดเข้าไปเพื่อยืนยันว่าเจ้าของบัญชีใช้บริการพูดคุยออนไลน์

หลายๆ คนที่ไม่ได้ระมัดระวังตัวก็คงตกใจคลิกเข้าไปตามลิงค์ที่ปรากฎ เพราะภาษาการเขียน สำนวนต่าง ๆ ตราสัญลักษณ์ดูแล้วเหมือนเป็นจดหมายจริงๆ ที่ส่งมาจากธนาคาร แต่ถ้าลองหยุดพินิจดูสักนิดลองเอาพ้อยเตอร์ไปวางบนลิงค์ ก็จะขึ้นลิงค์แฝงขึ้นมาซึ่งปรากฎว่าไม่ใช่ลิงค์ที่เป็นชื่อของธนาคารแต่อย่างใด (ซึ่งควรจะเป็น) และเมื่อเข้าไปตามลิงค์นั้นแล้ว ก็จะพบกับหน้าต่างกรอกชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่านซึ่งแน่นอนผู้ไม่ประสงค์ดีกำลังรอดักอยู่

เหตุการณ์ ไม่ได้จบเพียงเท่านั้นเพราะ หลังจากที่คุณตามลิงค์นั้นเข้าไปแล้วเหล่าภัยคุกคามต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไวรัส หรือโทรจันก็จะวิ่งเข้ามาฝังตัวที่เครื่องของผู้ใช้ ผ่านทางรูรั่วของโปรแกรม plug-in ต่าง ๆ เช่น Adobe Shockwave, Adobe Acrobat เป็นต้น จากนั้นเหล่าวายร้ายจะคอยดักเก็บข้อมูลส่งให้ไปเจ้าของผู้สร้างวายร้ายเหล่านี้ขึ้นมา

ทั้งนี้ปัญหาเหล่านี้คงมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยถ้าผู้ใช้ คอยอัพเดทโปรแกรมต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา, ระวังการใช้งานของตนเอง และที่สำคัญที่สุดคืออย่าหลงเชื่ออีเมลล์ หรือข้อความอะไรที่ร้องขอให้คุณกดเข้าไปเพื่อใส่ข้อมูลส่วนตัวของคุณ ถ้าหากไม่แน่ใจก็โทรศัพท์ควรสอบถามให้แน่ใจดีกว่า

ที่มา : ESET Thailand อ้างอิง : zdnet

"จอฟ้ามรณะ" โผล่ บน WINDOWS 8

ไฟล์:Surachet.ggg.jpg

ไมโครซอฟท์ (Microsoft) รายงานว่า หลังจากเปิดให้ดาวน์โหลด Windows Preview เมื่อวานนี้ ยอดการดาวน์โหลดทะลุ 500,000 ครั้งไปเรียบร้อยแล้ว นันหมายความว่า กระแสความสนใจใน Windows 8 ไม่ธรรมดาเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวนี้จะพูดถึงคุณสมบัติบางอย่างที่ยังคงติดตามมาหลอกหลอนจนถึงโอเอสรุ่นใหม่ด้วยนั่นคือ BSoD (Blue Screen of Death) หรือ "จอฟ้ามรณะ"

Blue Screen of Death (BSoD) หรือ "จอฟ้ามรณะ" บน Windows เป็นสิ่งที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะได้เคยพบเห็นกันมาแล้ว โดยหน้าจอจะแสดงสีฟ้า พร้อมกับข้อความมากมายที่พยายามอธิบายเกียวกับสาเหตุที่ทำให้เกิดการล่มการทำงานของระบบปฏิบัติการ เมื่อจอนี้โผล่ขึ้นมา มันหมายถึง การที่ผู้ใช้ต้องรีสตาร์ทระบบ และอาจหมายรวมถึงการที่ต้องลุ้นว่า มันจะเริ่มต้นได้อย่างปกติด้วย หรือไม่? สถิติในเบื้องต้น 99% ของผู้ใช้ได้เคยพบเห็นหน้าจอนี้มาแล้ว และถึงแม้จะไม่เข้าใจในสิ่งที่หน้าจอพยายามจะอธิบาย แต่ก็รู้ดีว่า ต้องรีสตาร์ทเครื่อง

BSoD สามารถพบเห็นได้ใน Windows ทุกเวอร์ชัน แม้กระทั่ง Windows 8 ที่เพิ่งเปิดให้ดาวน์โหลด Windows Preview ไปเมื่อวานนี้ BSoD โผล่ขึ้นมาให้ได้เห็นกันอีกแล้ว แต่ไหนๆ Windows 8 ก็ได้ปฏิวัติการออกแบบ UI ทีแตกต่างจากเดิมที่เริ่มเห็นกันมาตั้งแต่ Windows 95 โดยสิ้นเชิง ว่าแล้ว BSoD ของ Windows 8 จึงไม่เหมือนเดิมด้วย โดยในรูป ข้อความและรหัสโค้ดต่างๆ ที่ดูสับสนเต็มหน้าจอได้หายไปแล้ว แต่มันจะถูกแทนที่ด้วยรูปหน้าเศร้า :( ตามด้วยข้อความที่บอกว่า พีซีของคุณไม่สามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้... และมันจะรีสตาร์ทเครื่องภายใน...วินาที ว่าแต่ ถึงแม้จะเปลี่ยนให้หน้าจอ BSoD ดูเป็นมิตรขึ้น แต่ Windows ก็ยังคงไม่สามารถอธิบายปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายได้อยู่ดี แล้วคุณผู้อ่านของเว็บไซต์ arip ล่ะครับ คิดเห็นอย่างไรกํบหน้า BSoD แบบใหม่?

แหล่งที่มา arip.co.th

LAN Technology[แก้]

โครงสร้างของเครือข่ายหรือภาษาทางเทคนิคเรียกว่า “Topology” คือลักษณะการเชื่อต่อทางกายภาพระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ในระบบเครือข่าย ซึ่งหากจะแบ่งประเภทของโครงสร้างเครือข่ายกันจริง ๆ ตามหลักวิชาการที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยก่อน ๆ นั้น ก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 แบบคือ

1 โครงสร้างแบบสตาร์ ( Star Network)

ไฟล์:=Stardown.jpg

ลักษณะการเชื่อมต่อของโครงสร้างแบบสตาร์จะคล้าย ๆ กับดาวกระจาย ดังรูปที่ได้แสดงไว้ คือมีอุปกรณ์ประเภท Hub หรือ Switch เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อแบบนี้มีประโยชน์คือ เวลาที่มีสายเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดหรือเสียก็จะไม่มีผลต่อการทำงานของระบบโดยรวมแต่อย่างใด นอกจากนี้หากต้องการเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าไปในเครือข่ายก็สามารถทำได้ทันทีโดยไม่ต้องหยุดการทำงานของเครือข่ายก่อน การต่อแบบสตาร์นี้เป็นแบบที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากราคาอุปกรณ์ที่มาใช้เป็นศูนย์กลางอย่าง Hub หรือ Switch ลดลงมากในขณะที่ประสิทธิภาพหรือความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนปัจจุบันได้ความเร็วถึงระดับของกิกาบิต ( 1,000 Mbps) แล้ว ข้อดี ติดตั้งและดูแลง่าย แม้ว่าสายที่เชื่อมต่อไปยังบางโหลดจะขาด โหลดที่เหลืออยู่ก็ยังจะสามารถทำงานได้ ทำให้ระบบเน็ตเวิร์กยังคงสามารถทำงานได้เป็นปกติ การมี Central node อยู่ตรงกลางเป็นตัวเชื่อมระบบ ถ้าระบบเกิดทำงานบกพร่องเสียหาย ทำให้เรารู้ได้ทันทีว่าจะไปแก้ปัญหาที่ใด

ข้อเสีย เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น central node และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในสถานีงาน การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้งจะต้องเกี่ยวเนื่องกับโหลดอื่นๆ ทั้งระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางมีราคาแพง แบบวงแหวน (Ring Network)


2โครงสร้างแบบบัส ( Bus Network)

ไฟล์:=Bus-Topology.jpg

เครือข่ายแบบบัส (bus topology) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาว ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยจะมีคอนเน็กเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ล ในการส่งข้อมูล จะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการ ที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน วิธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่ สัญญาณที่แตกต่างกัน การเซตอัปเครื่องเครือข่ายแบบบัสนี้ทำได้ไม่ยากเพราะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชนิด ถูกเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิ้ลเพียงเส้นเดียวโดยส่วนใหญ่เครือข่ายแบบบัส มักจะใช้ในเครือข่ายขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม แต่มี ข้อเสียคือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา ข้อจำกัด คือ จำเป็นต้องใช้วงจรสื่อสารและซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันของสัญญาณข้อมูล และถ้ามีอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย อาจส่งผลให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้

ไฟล์:=Ring potology.gif

3โครงสร้างแบบริง ( Ring Network) โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว(Star Network) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เข้ากับอุปกรณ์ที่เป็น จุดศูนย์กลาง ของเครือข่าย โดยการนำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลางการติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ ด้วยการ ติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วนสลับสายกลางการทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงเป็นศูนย์กลางของการติดต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน ข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ ส่วนข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย ข้อจำกัด ถ้าฮับเสียหายจะทำให้ทั้งระบบต้องหยุดซะงัก และมีความสิ้นเปลืองสายสัญญาณมากกว่าแบบอื่นๆ ข้อดี ใช้เคเบิลและเนื้อที่ในการติดตั้งน้อย คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน ข้อเสีย หากโหลดใดโหลดหนึ่งเกิดปัญหาขึ้นจะค้นหาได้ยากว่าต้นเหตุอยู่ที่ไหน และวงแหวนจะขาดออก

4โครงสร้างแบบเมช (Mesh Topology)

ไฟล์:=Meshhh.jpg

MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก ข้อดี อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล ความเชื่อถือได้ของระบบ ง่ายต่อการตรวจสอบความผิดพลาด ข้อมูลมีความปลอดภัยและมีความเป็นส่วนตัว

ข้อเสีย จำนวนจุดที่ต้องใช้ในการเชื่อมต่อ และจำนวน Port I/O ของแต่ละโหนดมีจำนวนมาก (ตามสูตรข้างต้น) ถ้าในกรณีที่จำนวนโหนดมาก เช่นถ้าจำนวนโหนดทั้งหมดในเครือข่ายมีอยู่ 100 โหนด จะต้องมีจำนวนจุดเชื่อมต่อถึง 4,950 เส้น เป็นต้น3

WAN Technology[แก้]

Circuit switching เทคนิคในการสื่อสารข้อมูลจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เมื่อมีการเชื่อมต่อกันแล้วจะติดต่อกันได้ตลอดเวลา ผู้อื่นจะแทรกเข้ามาไม่ได้เลย จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะปลดวงจรออก ตัวอย่างง่าย ๆ เช่นการติดต่อทางสายโทรศัพท์ เมื่อเริ่มพูดกันได้แล้ว คนอื่นจะต่อสายแทรกเข้ามาไม่ได้ จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะวางหูลง (ปลดวงจร)

Packet switching เทคนิคในการแบ่งข้อมูลออกเป็นกลุ่ม (Packet) แต่ละกลุ่มจะมีความยาวเท่ากัน (ปกติ 100บิต)ข้อมูลจะหาทิศทางเดินไปได้เอง โดยที่สายหนึ่ง ๆ จะสามารถใช้กันได้หลายคน เมื่อถึงที่ปลายทางข้อมูลก็จะกลับ ไปรวมกันเอง

หลักการทำงาน

Circuit switching

ไฟล์:=283535ffgg.png

1) เมื่อสถานีA ต้องการส่งข้อมูลให้กับ สถานีB จะต้องมีการสร้างเส้นทางเสียก่อน

   โดยที่ฝั่งที่รับข้อมูลจะต้องตอบว่าพร้อมรับข่าวสาร (Establishment/ Connection)     

2) เมื่อสร้างเส้นทางการส่งข้อมูลเรียบร้อย ตลอดเวลาของการสื่อสารจะใช้เส้นทางเดิมตลอด

    และไม่มีบุคคลอื่นมาใช้เส้นทาง  

3) มีอัตราความเร็วในการส่งเท่ากันทั้งด้านรับและด้านส่ง 4) มีการทำ Error Control และ Flow Control ทุกๆ ชุมสาย 5) ในขณะทำการส่งข้อมูล ข้อมูลจะถูกส่งด้วยความเร็วคงที่ และไม่มีการหน่วงเวลา(Delay) 6) เมื่อส่งข้อมูลเสร็จจะยกเลิกเส้นทางที่ได้เชื่อมต่อขึ้นมาเพื่อให้เครื่องอื่นได้ใช้เส้นทางได้

Packet switching

ไฟล์:=Packetdvn.JPG

1) เมื่อ สถานี A ต้องการส่งข้อมูลให้กับสถานีB จะมีการแบ่งข้อมูลออกเป็น Packet ย่อยก่อนจะถูก ส่งออกไป 2) ส่งข้อมูลโดยใช้ชุมสาย PSE (Packet switching exchange) ควบคุมการรับส่ง 3) ทำ Error control หรือ Flow Control ที่ PSE 4) ด้านรับและด้านส่งมีอัตราความเร็วที่ไม่เท่ากันได้ 5) ใช้เทคนิค Store - and - Forward ในการส่งข้อมูล ผ่าน PSE

    ลักษณะการเชื่อมต่อ 

Circuit switching เชื่อมต่อทางกายภาพของวงจรระหว่างจุดต่อจุด (point-to-point) Packet switching ส่งแต่ละแพกเกตด้วยเส้นทางต่างๆที่เชื่อมโยงกันเป็นตาข่าย และทำการรวมแต่ละแพคเกตกลับคืนเมื่อถึงจุดหมายแล้ว

OSI model + TCP/IP model[แก้]

TCP/IP model OSI model
Application Layer Application Layer
- Presentation Layer
- Session Layer
Transport Layer Transport Layer
Internet Layer Network Layer
Network Access Layer Data Link Layer
- Physical Layer
  1. https://www.facebook.com/surachet.koropwongchai