ผู้ใช้:Sunita.chatkaew

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทที่ 1 - การมาเยือนของชาวสยามจำนวน 3 ท่าน[แก้]

หัวข้อที่  LII - การมาเยือนของชาวสยามจำนวน 3 ท่านในปี ค.ศ. 1684 ณ ประเทศฝรั่งเศส[1][แก้]

กษัตริย์สยามรู้สึกประหลาดใจถึงคำล่ำลือของกษัตริย์ฝรั่งเศสกษัตริย์ผู้ซึ่งมีแต่ชัยชนะเหนือศัตรู ด้วยประการเช่นนี้ กษัตริย์สยามจึงได้ส่งทูตจำนวนสามท่านเพื่อประสานมิตรภาพ และเป็นพันธมิตรร่วมกัน อย่างไรก็ตามกษัตริย์สยามไม่ได้รับข่าวของผู้ที่ถูกส่งไปในปี 1681 ดังนั้น ในเดือนมกราคมของปี 1684 กษัตริย์สยามได้ส่ง ชาวสยาม 2 คน และนาย   le Vachet ผู้ซึ่งเป็นมิชชันนารีชาวฝรั่งเศสที่ถูกส่งไปโดยกษัตริย์ฝรั่งเศส โดยในการเดินทางครั้งนี้ นาย le Vachet ได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าในการเดินทาง ถ้าชาวสยามที่ถูกส่งไปมีพฤติกรรมที่ไม่สมควร กษัตริย์สยามจะลงโทษทันทีโดยการประหารเมื่อพวกเขากลับมา  

ชาวสยามที่ถูกส่งมาในนามของกษัตริย์สยามนั้นไม่ได้ถูกส่งมาให้พบกษัตริย์ฝรั่งเศสโดยตรง เพียงแต่ให้พบคณะรัฐมนตรี

ก่อนที่จะถึงฝรั่งเศสชาวสยามมาถึงลอนดอนในเดือนกันยายนของปีเดียวกันเป็นระยะหนึ่งในที่พำนักอาศัยชั่วคราว กษัตริย์อังกฤษอนุญาตให้ผู้ติดตามได้อาศัยในเรือยอชท์ โดยมีข้อบังคับไม่ให้ชาวสยามทุกท่านติดต่อกับบุคคลภายนอก ไม่ให้เยี่ยมเยียนที่ใด ไม่มีสิทธิใดๆ เพื่อไม่ให้ขัดแย้งกับจารีตของชาวอังกฤษ

ชาวสยามมาถึงฝรั่งเศสที่เมือง คาลาส (Calais) โดยการต้อนรับอย่างเป็นเกียรติของนายทหารชั้นผู้ใหญ่ (ร้อยโท)ของกษัตริย์ฝรั่งเศส และได้รับการยกย่องอย่างเป็นทางการ มีการให้ของชำร่วยเช่น ไวน์ และ แยมผลไม้

ขุนนาง Seignelay และเลขานุการของรัฐ ได้รับแจ้งจากนาย le Vachet วันเดียวกับที่ชาวสยามมาถึงคาลาส ได้จัดการต้อนรับในโรงแรมอย่างใหญ่โต และบริการการขนส่งโดย เกวียนตู้ (carosse) ตลอดระยะเวลาการพำนักในฝรั่งเศส โดยมีกษัตริย์ฝรั่งเศสออกค่าใช้จ่ายทุกอย่าง

ตลอดการเดินทางจากเมืองคาลาสถึงปารีส ชาวสยามได้รับการต้อนรับจากเจ้าหน้าที่ราชการจากทุกๆ เมือง ตลอดทาง ในขณะเดียวกันขุนนาง Seignelay รอคอยการมาถึงของชาวสยามที่ Saint Denis ชาวสยามมาถึงปารีสในวันรุ่งขึ้นและได้พำนัก ที่โรงแรม Hôtel de Tavanne, faubourg, St. Germain

ขุนนางชาวฝรั่งเศสไม่อยากจะเชื่อว่า นาย le Vachet ได้รับการยอมรับเหมือนชาวสยามที่ร่วมเดินทางมาด้วย โดยมีอำนาจหน้าที่เท่ากันกับชาวสยาม อย่างไรก็ตาม นาย le Vachet ไม่สามารถบังคับชาวสยามที่ร่วมมาด้วย นาย le Vachet ได้บอกกับพวกขุนนางชาวฝรั่งเศสว่า ชาวสยามอาจจะมีพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากพวกเขา และในความเป็นจริง พฤติกรรมของชาวสยามก็เป็นอย่างที่ นาย le Vachet ได้พูดไว้

ชาวสยามเดินทางมาถึงแวซายย์ วันที่ 27 ตุลาคม พร้อมกับ นาย le Vachet ที่บ้านพักและสำนักงานของ ขุนนาง Seignelay ในการมาถึงนั้นชาวสยามได้รับการต้อนรับอย่างสมเกียรติ โดยมีการปูพรมลายไก่งวงจากประตูทางเข้าจนถึงเก้าอี้  ชาวสยามเข้ามาโดยการหมอบแล้วยืนขึ้น หนึ่งในชาวสยามที่หนุ่มกว่าได้กล่าวว่า

...  กษัตริย์สยามได้รับทราบถึงชัยชนะของกษัตริย์ฝรั่งเศส ความมั่งคั่ง ความเจริญ ความสุขของราชอาณาจักร และ...  ความฉลาดเฉลียวของกษัตริย์ฝรั่งเศส กษัตริย์สยามจึงประสงค์จะสร้างมิตรภาพ ดังนั้นกษัตริย์สยามจึงได้ส่งคณะทูต โดย...  มีความหวังว่าฝรั่งเศสจะส่งคณะทูตไปที่สยามเช่นกัน เพื่อให้ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้น กษัตริย์สยาม...  ไม่ได้ข่าวจากคณะทูตแรกที่ถูกส่งมาก่อนหน้านี้และกษัตริย์สยามมีความประสงค์ที่จะมาด้วยพระองค์เองเพื่อมาสร้าง

...  มิตรภาพและบอกกล่าวความปิติยินดีเมื่อได้รับทราบข่าวการประสูติของ ดุ๊คเดอบอร์กอน (Duc de Bourgogne)

พระราชโองการนี้ถูกแปลเป็นภาษาโปรตุเกสโดยชาวสยามที่ติดตามมาด้วย โดยมีนาย le Vachet แปลเป็นภาษาฝรั่งเศส หลังจากนั้น หนึ่งในชาวสยามลุกขึ้นเพื่อส่งจดหมายที่นายกรัฐมนตรีของกษัตริย์สยามเขียนให้ ขุนนาง Seignelay ขุนนาง Seignelayลุกขึ้นเพื่อรับจดหมาย ชาวสยามกลับไปนั่งที่เดิมและวางท่าทีเช่นเดิม ขุนนาง Seignelay กล่าวตอบรับอย่างสอดคล้องกับคำพูดของชาวสยาม

หลังจากนั้น ชาวสยามได้เข้าพบกับ ขุนนาง Croiffy (รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศและเลขาธิการของรัฐ) ชาวสยามได้รับการต้อนรับแบบเดิมเหมือนกับที่ได้รับจาก ขุนนาง Seignelay ชาวสยามท่านเดิมกล่าวเหมือนเดิมกับที่ได้กล่าวกับ ขุนนาง Seignelay หลังจากนั้น ขุนนาง Croiffy ได้โต้ตอบว่า

... เขาหวังเป็นอย่างยิ่งว่าพระเจ้าได้คุ้มครองทุกท่านระหว่างการเดินทาง ผู้ซึ่งเป็นคณะทูตของกษัตริย์สยาม การสูญเสียของคณะทูตที่แล้วที่ถูกส่งมาเป็นเรื่องที่น่าเสียใจยิ่งนักต่อกษัตริย์ฝรั่งเศส กษัตริย์ฝรั่งเศสมีพลังอำนาจเลื่องลือแพร่หลายไปทุกที่และนับถือในน้ำใจและมิตรภาพที่เปี่ยมล้นของกษัตริย์สยามที่ส่งคณะทูตมาอีก กษัตริย์ฝรั่งเศสจะส่งคณะทูตไปที่สยามเช่นกันและอยากชักชวนให้กษัตริย์สยามนับถือศาสนาคริสต์เช่นกัน กษัตริย์ฝรั่งเศสเชื่อว่าพระเจ้าคือผู้ที่ทำให้ประเทศฝรั่งเศสมั่นคงและร่มเย็น ถ้ากษัตริย์สยามเชื่อเช่นกันจะทำให้อาณาจักรยิ่งใหญ่ยิ่งขึ้นไป และมิตรภาพของทั้งสองประเทศจะแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ขุนนาง Croiffy ได้รับพระราชโองการว่า กษัตริย์ฝรั่งเศสมีความดีใจยิ่งนักที่คณะสงฆ์ชาวคริสต์ที่ถูกส่งไปได้รับการคุ้มครองจากกษัตริย์สยามเป็นอย่างดี    

หลังจากนั้น ชาวสยามได้ถูกนำไปที่ห้องรับรองของกษัตริย์ฝรั่งเศส ซึ่งในขณะเดียวกันกษัตริย์ฝรั่งเศสได้กำลังออกไปปฏิบัติภารกิจทางศาสนา ทันใดนั้นชาวสยามก็หมอบคลานต่อหน้าพระพักตร์ของกษัตริย์ฝรั่งเศสเป็นเวลานาน กษัตริย์ฝรั่งเศสตรัสถามว่าชาวสยามจะลุกขึ้นไหม นาย le Vachet ที่มาด้วยกับชาวสยามกล่าวว่า ชาวสยามจะก้มหมอบต่อหน้าพระพักตร์ของกษัตริย์เสมอเหมือนกับที่พวกเขาทำต่อหน้าพระพักตร์ของกษัตริย์สยาม กษัตริย์ฝรั่งเศสตรัสถามต่อชาวสยามว่า พวกท่านมีอะไรจะพูดไหม ชาวสยามท่านหนึ่งตอบว่า เขาได้รับความเมตตาจากกษัตริย์สยามที่อนุญาตให้เข้าเฝ้ากษัตริย์ฝรั่งเศส กษัตริย์ฝรั่งเศสตรัสตอบว่า มันเป็นเรื่องง่ายที่ข้าจะพิจารณาความจำนงค์ของกษัตริย์สยาม หลังจากนั้น กษัตริย์ฝรั่งเศสตรัสว่า มันเป็นเวลาสมควรแล้วที่ชาวสยามควรลุกขึ้นได้แล้ว ณ บัดนั้นกษัตริย์ฝรั่งเศสเสด็จออกจากที่ประทับไปทางสวนเพื่อเสด็จต่อไปที่ปารีส

ชาวสยามหวังว่ากษัตริย์ฝรั่งเศสจะส่งคณะทูตกลับไปพบกษัตริย์สยาม ปกติแล้วเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำกันอย่างง่ายดาย แต่กษัตริย์ฝรั่งเศสเห็นว่ากษัตริย์สยามชื่นชอบศาสนาคริสต์ กษัตริย์ฝรั่งเศสจึงแต่งตั้งโปรดเกล้าให้ Chevalier de Chaumont เป็นทูตนำ โดยมี เจ้าอาวาสพระครู de Choify เป็นผู้ช่วยและผู้แทนในกรณีที่  Chevalier de Chaumont เสียชีวิต และสามารถเป็นทูตได้อย่างถูกต้อง

หัวข้อที่  LIII - การต้อนรับคณะทูตสยามในปี ค.ศ. 1686 ณ ประเทศฝรั่งเศส[1][แก้]

ณ วันที่ 18 มิถุนายน คณะทูตชาวสยาม 3 ท่าน คณะผู้ติดตามจำนวน 8 ท่าน และ บ่าวจำนวน 20 คน เดินทางมาถึง la Rade de Brest โดยมีการต้อนรับของนาย Defclufeau symsohk หัวหน้าฝ่ายทหารเรือ โดยมีการออกเรือเพื่อไปต้อนรับคณะทูตและนำขบวนเรือขึ้นฝั่ง

เมื่อคณะทูตชาวสยามเดินเข้ามา ได้มีการยิงปืนต้อนรับเป็นจำนวน 60 กระบอก และมีเสียงปืนตอบรับจากปราสาท คณะทูตลงไปที่ชายหาด และได้รับการต้อนรับจากประชาชนภายใต้การคุ้มครองของทีมงานฝรั่งเศส ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดและดูแลคณะทูตในการเดินทางมีชื่อว่า นาย Defclufeau คณะทูตเดินทางถึงที่พักและได้รับการต้อนรับจากนาย Stolf สุภาพบุรุษผู้ซึ่งมีหน้าที่ดูแลที่พักของกษัตริย์ฝรั่งเศส สุภาพบุรุษท่านนี้เป็นผู้จัดการเรื่องค่าใช้จ่ายและดูแลคณะทูตตลอดระยะเวลาการพำนักในฝรั่งเศส

ในวันเดียวกัน หัวหน้าคณะทูตได้นำเสนอราชสานท์จากกษัตริย์ไทย โดยการยกราชสานท์ขึ้นเหนือหัว ราชสานท์ฉบับนี้ถูกเขียนขึ้นด้วยใบมีดทอง กษัตริย์ไทยไม่เคยเขียนราชสานท์ด้วยปากกาหรือเครื่องเขียนชนิดอื่น ราชสานท์ฉบับนี้ถูกห่อเก็บไว้ในกล่องสามกล่องที่ซ้อนกัน กล่องแรกทำมาจากไม้เนื้อแข็งจากญี่ปุ่น กล่องใบที่สองเป็นกล่องทำมาจากเงิน กล่องสุดท้ายเป็นกล่องทอง  กล่องแต่ละกล่องถูกหุ้มไปด้วยตาดทองและถูกปิดโดยมีการลงตราประทับจากหัวหน้าคณะทูตที่ทำจากขี้ผึ้งสีขาว  ไม่มีทูตท่านใดบังอาจขึ้นไปในห้องที่อยู่เหนือราชสานท์จากกษัตริย์ไทยด้วยเพราะความเคารพต่อราชสานท์จากกษัตริย์ไทย ในวันกลับจาก Brest วันที่ 9 กรกฎาคม คณะทูตเดินทางผ่านหลายเมือง เช่น Nantes, Littieres, Orleans ในระหว่างการเดินทางนั้นราชสานท์ต้องอยู่เหนือหัวตลอดระยะการเดินทาง ดังนั้น ราชสานท์จึงถูกยึดติดกับกระดานซึ่งติดกับหลังคาของเกวียนตู้

นาย Stolf ได้รับคำสั่งว่าการต้อนรับของคณะทูตจากแต่ละเมืองจะต้องสมเกียรติในทุกๆ เมืองที่คณะทูตเดินทางผ่าน เมื่อเดินทางมาถึง Nantes ได้มีการยิงปืนเป็นการต้อนรับ และมีประชาชนให้การต้อนรับ หอการค้าได้ส่งสมาชิกผู้แทนราษฎรมาต้อนรับและกล่าวคำขอบคุณ ซึ่งเป็นภารกิจที่ไม่จำเป็นต้องทำ

ในวันที่ 30 กรกฎาคม นาย de Bonneuil มาถึง Vincennes ได้รับราชโองการจากกษัตริย์ฝรั่งเศสให้กล่าวการต้อนรับคณะทูตสยาม และมีการจับมือ

เพื่อความปลอดภัยของคณะทูต กษัตริย์ฝรั่งเศสได้จัดส่งบอดี้การ์ดชาวสวิส จากบริษัท Cent-Swiss มาคุ้มครอง เนื่องด้วยมีผู้คนจำนวนมากต้องการมาดูชาวสยาม บอดี้การ์ดได้คุ้มครองคณะทูตตลอดระยะเวลาการพำนักในเมืองปารีส  คณะทูตเดินทางจาก Vincennes ถึง Bercy ในขณะที่ของใช้ติดตามมาภายหลัง โดยที่ของใช้ถูกส่งโดยเรือมาจาก Brest ถึง Rouen คณะทูตสยามรอของใช้ที่ติดตามมาและของกำนัลจากกษัตริย์สยามที่จะต้องถูกมอบให้กษัตริย์ฝรั่งเศส พวกเขาไม่ต้องการเข้าพบกษัตริย์ฝรั่งเสศก่อนหน้านั้น ของกำนัลจะต้องถูกวางไว้ในที่สูงและเหมาะสมในห้องที่จะเข้าพบกษัตริย์ฝรั่งเศส เมื่อคณะทูตได้รับสัมภาระทุกอย่าง คณะทูตสยามจึงออกเดินทางไปปารีส วันที่ 12 สิงหาคม จากเมือง Berny และถึงเมืองใกล้เคียงของปารีสที่ชื่อว่า Rambouillet

จอมพล ดุ๊ค de la Feuillade และนาย de Bonneuil โดยสารมากับเกวียนตู้ของกษัตริย์ฝรั่งเศส ในขณะที่คณะทูตสยามได้รับแจ้งการมาเยือน คณะทูตสยามจึงให้การต้อนรับในห้องรับรองชั้นล่างของที่พำนัก หลังจากการต้อนรับพูดคุยซึ่งกันและกัน หัวหน้าคณะทูตสยามได้โดยสารมากับเกวียนตู้ของกษัตริย์ฝรั่งเศส โดยการนั่งด้านหลังข้างขวา โดยมี Duc de la Feuillade นั่งข้างๆ นาย de Bonneuil และนาย Stolf นั่งด้านหน้า คณะทูตอีกสองท่านโดยสารไปกับเกวียนตู้ของราชธิดา โดยมีนาย Giraut และหัวหน้าคณะสงฆ์ de Lionne เป็นผู้ร่วมเดินทาง

ลำดับการเดินทางของคณะเกวียนตู้มีดังนี้

  • เกวียนตู้ ของจอมพล Duc de la Feuillade จำนวน 2 ตู้ โดยมีสุภาพบุรุษหลายท่านร่วมเดินทาง
  • เกวียนตู้ จำนวน 2 – 3 ตู้ มีผู้ร่วมเดินทางของคณะทูต

เพื่อเป็นการให้เกียรติแด่ราชสานส์ และด้วยความร่วมมือจากกษัตริย์ฝรั่งเศสที่ส่งผู้เล่นทรัมเป็ตจำนวน 8 เครื่อง เพื่อใช้ขับร้อง ระหว่างการเดินทาง 

  • เกวียนตู้ของกษัตริย์ถูกล้อมรอบด้วยผู้รับใช้ของจอมพล Duc de la Feuillade
  • เกวียนตู้ของราชธิดา
  • เกวียนตู้ของราชวงศ์
  • เกวียนตู้ของเจ้าชายและเจ้าหญิงของราชวงศ์
  • เกวียนตู้ของเลขานุการของรัฐเฉพาะกิจต่างประเทศ
  • เกวียนตู้ของผู้นำขบวน
  • เกวียนตู้ของ Chevalier de Chaumont กับ เจ้าอาวาสพระครู de Choify ที่ถูกส่งให้ไปเป็นทูตที่ประเทศสยาม
  • เกวียนตู้ของเจ้าอาวาสพระครู de Lionne
  • เกวียนตู้ของมิชชั่นนารีปิดท้ายขบวน

คณะทูตเดินทางมาถึงที่พักของเอกอัครราชทูตโดยมีจอมพล Duc de la Feuillade ร่วมมาด้วยจนถึงห้องพักผ่อน ทั้งสองฝ่ายได้หารือ หลังจากนั้นจอมพลจึงเดินทางกลับโดยมีคณะทูตเดินไปส่งที่หน้าที่พักถึงเกวียนตู้ของท่านจอมพล

ตั้งแต่ช่วงค่ำคืนนั้น ผู้ให้การต้อนรับและดูแลคณะทูต คือ นาย Châtelon หนึ่งในผู้ที่มีหน้าที่จัดการที่พักของกษัตริย์ฝรั่งเศส เป็นเวลาสามวันครึ่ง

ผู้ที่มีหน้าที่จัดการที่พักของกษัตริย์ที่ร่วมเดินทางมาจาก Brest ยังคงเป็นผู้ดูแลคณะทูตสยาม การดูแลคณะทูตที่ถูกส่งมาจากประเทศแดนไกล นั้นถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติโดยมีกษัตริย์ฝรั่งเศสออกค่าใช้จ่ายทุกอย่างระหว่างการพำนัก

สิ่งที่เอกอัครราชทูตสยามทำเป็นสิ่งแรกคือ การนำราชสานส์ของกษัตริย์สยามใส่ไปในเครื่องที่ถูกเรียกว่า มรดกปรมันต์ เครื่องนี้ถูกติดตั้งในที่สูงที่ทางเข้าของที่พัก

ในทุกๆ วัน คณะทูตจะดูแลและทำความสะอาดดอกไม้ที่อยู่หนือ ราชสานส์ ทุกๆ คนที่เดินทางผ่านราชสานส์ จะก้มและหมอบคลานด้วยความเคารพ การแสดงความเคารพแบบนี้มีเช่นกันในฝรั่งเศส ยกตัวอย่างเช่น พวกข้าราชสำนักอาวุโสทำความเคารพพระแท่นบรรทม

เนื่องด้วยพระอาการประชวรของกษัตริย์ฝรั่งเศสในวันที่ 14 ซึ่งตรงกับวันเข้าเฝ้าของคณะทูต จึงต้องเปลี่ยนวันเข้าเฝ้า

วันที่ 15 สิงหาคม คณะทูตเดินทางไปที่ Nôtre Dame เพื่อไปชมขบวนการเฉลิมฉลองวันสำคัญทางศาสนาคริสต์ วัน Assomption วันที่พระแม่มารีปรากฎตัวหลังจากวันมรณภาพ คณะทูตไปถึง Place au Jubé เพื่อร่วมเฉลิมฉลอง

ในวันที่ 1 เดือนกันยายายน เมื่อกษัตริย์ทรงหายจากการประชวรก็ได้สั่งให้คณะทูตสยามเข้าเฝ้า โดยมี นาย de Bonneuil มารับคณะทูตเพื่อไปเข้าเฝ้า ในการเดินทางเข้าเฝ้ามีการจัดขบวนเกวียนตู้อย่างเช่นเคย จอมพล Duc de la Feuillade ได้มาร่วมขบวนเช่นกัน คณะทูตและผู้ติดตามรีบเร่งเดินทางเพื่อจะไปถึงให้ทันเวลา เอกอัครราชทูตและทุกๆคน นั่งที่เดิมในเกวียนตู้ เหมือนกับวันที่มาถึงปารีส เมื่อมาถึง Versailles มีการเป่าทรัมเป็ตเพื่อต้อนรับเกวียนตู้ (เกวียนตู้ของกษัตริย์ฝรั่งเศส) ที่มีเอกอัครราชทูต เนื่องด้วยเพราะมีราชสานส์ของกษัตริย์สยามที่ถูกจัดไว้ในที่สูงของเกวียนตู้นี้ 

คณะทูตเดินทางมาถึง Versailles เวลาสิบนาฬิกาที่สถานที่ที่ตั้งอยู่รอบหน้าของพระราชวังซึ่งเป็นป้อมยาม ทหารราชวังทุกคนยกอาวุธ และมีการตีกลองเพื่อเป็นการต้อนรับ  คณะทูตเดินไปถึงห้องต้อนรับ เพื่อรอเข้าเฝ้ากษัตริย์ฝรั่งเศส ระหว่างที่รอเข้าเฝ้า คณะทูตสยามใส่หมวกครอบที่มียอดแหลม รอบๆ หมวกด้านล่างกว้างสองนิ้วประดับไปด้วยขอบสีทองเพื่อเป็นการแสดงยศบรรดาศักดิ์  ส่วนที่นูนออกมาจากหมวกทำมาจากทองและทับทิมเป็นรูปดอกไม้ ส่วนคนที่มียศต่ำลงมาจะมีหมวกที่มีขอบสีทอง แต่ไม่มีเครื่องประดับจากทอง ส่วนคนอื่นๆ จะมีหมวกที่ไม่มีขอบทอง

คณะต้อนรับชาวฝรั่งเศสเตรียมพรมเปอร์เซียสีทองมีรูปดอกไม้ที่ทำจากเงินและเส้นไหมไว้ที่สถานที่ต้อนรับ ใกล้กับราชพำนักของราชธิดา อีกทั้งยังมีโคมไฟ และแท่นที่นั่งเงินขนาดใหญ่ ข้างล่างของราชบัลลังค์ทางฝั่งขวาและทางฝั่งซ้าย มีกระถางเงินและแจกันเงิน  พื้นที่ว่างด้านหลังได้ถูกเตรียมไว้สำหรับผู้ติดตามของคณะทูต

การเข้าเฝ้ามีลำดับดังนี้

  • นาย Giraut นำขบวนไปกับเลขาของคณะทูต
  • ชาวสยาม 6 คน แต่งตัวด้วยเสื้อแจ๊กเก็ต ผ้าพันคอ หมวกผ้าใบที่มีลักษณะสูงคล้ายปิรามิด
  • การตีกลองจำนวน 12 ลูก  ในขณะเข้าเฝ้า
  • การขับร้องทรัมเป็ตจำนวน 8 ตัว โดยที่ผู้ขับร้องเรียงแถวเป็นรูปปิรามิด เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของสถานที่กษัตริย์ โดยมีองครักษ์สวิส ถือราชสานส์  ชาวสยาม 4 คน เดินรอบ
  • คณะทูต 3 ท่าน (เอกอัครราชทูต อัครราชทูต และตรีทูต) เดินเข้าเฝ้าพร้อมกัน โดยมี จอมพล Duc de la Feuillade อยู่ฝั่งขวา และ นาย de Bonneuil อยู่ฝั่งซ้าย
  • เจ้าหน้าที่ 2 คน ถือกล่องกลมขนาดใหญ่ โดยที่ฝากล่องเปิดขึ้น เพื่อเป็นการให้เกียรติ  กล่องนี้เป็นของชำร่วยจากกษัตริย์สยาม

เอกอัครราชทูตเปิดกล่องสีทองที่บรรจุราชสานส์ของกษัตริย์สยาม ส่งราชสานส์ต่อไปให้ชาวสยามอีกท่านที่มีจานรองสีทอง  เพื่อเดินนำไป

เสียงกลองและเสียงทรัมเป็ตยังดำเนินต่อไป

จอมพล Duc de Luxembourg  หัวหน้าองครักษ์ ต้อนรับคณะทูตที่ประตูทางเข้า  จอมพลอยู่ฝั่งขวาด้านหน้าใกล้กับ Duc de la Feuillade เพื่อจับมือกับ เอกอัครราชทูต

คณะทูตเดินทางเข้าราชสำนัก ที่ทางเข้าคณะทูตได้รับการต้อนรับจากเลขาธิการของกษัตริย์ฝรั่งเศส คณะทูตก้มหน้าตลอดตราบที่ไม่ได้รับคำสั่งจากกษัตริย์ให้เงยหน้า เอกอัครราชทูตเล่าว่า พวกเขาเดินทางมาจากแดนไกล ชาวสยามเล่าต่อไปว่าโดยปกติแล้วขณะเข้าเฝ้ากษัตริย์สยาม พวกเขาเห็นกษัตริย์ของเขานั่งอยู่บนพระแท่นไกลจากเขา และต้องถอดหมวก  การเคารพกษัตริย์แต่ละครั้ง จะต้องก้มหมอบ พนมมือไว้ที่ระดับปากทุกครั้งในการทำความเคารพกษัตริย์ของเขา  โดยไม่ลุกออกไปจากที่นั่ง ถ้าไม่ได้รับคำสั่งจากกษัตริย์ของเขา เมื่อได้รับคำสั่งให้เข้าใกล้พระแท่น จะต้องคลานเข่า และทำความเคารพกษัตริย์ของเขา ด้วยการก้มหมอบ พนมมือ ขึ้นลง 3 ครั้ง กับพื้น

เมื่อเอกอัครราชทูตสยามเห็นกษัตริย์ฝรั่งเศส ได้ทำความเคารพกราบไหว้บนพื้น ด้วยการพนมมือยกขึ้นเหนือหัว 3 ครั้ง แล้วหมอบคลานกระทั่งถึงพระแท่นโดยที่มือยังพนมอยู่ ใกล้ๆ ที่ประทับของกษัตริย์ฝรั่งเศส มี Duc de la Feuillade, Duc de Luxembourg, นาย Blainville, นาย de Bonneuil  กษัตริย์ฝรั่งเศสประทับอยู่ที่พระแท่นและทำการทักทาย เอกอัครราชทูตซึ่งอยู่ตรงกลางประสานมือไว้ที่ต่ำ บรรยายและกล่าวคำชมต่อกษัตริย์ฝรั่งเศส ทูตอีก 2 ท่านนั่งในลักษณะเดียวกัน เมื่อการกล่าวบรรยายจบ หัวหน้าคณะสงฆ์ de Lionne ผู้ที่สามารถพูดภาษาสยามได้ และเป็นมิชชันนารี เดินเข้าไปใกล้กษัตริย์ฝรั่งเศส เพื่อรับฟังคำตอบจากกษัตริย์ฝรั่งเศส และบอกต่อไปถึงคณะทูตสยาม หลังจากนั้นเอกอัครราชทูตสยามกลับไปที่แท่นเพื่อนำราชสานส์ จากกษัตริย์สยามส่งให้แด่ กษัตริย์ฝรั่งเศส กษัตริย์ฝรั่งเศสทรงรับและทรงส่งต่อให้ในมือของนาย de Croiffy  ซึ่งเป็นเลขานุการของรัฐสำหรับการต่างประเทศ อัครราชทูตและตรีทูตที่มาด้วยกันกับเอกอัครราชทูตนั่งคอยอยู่ที่แท่น โดยเว้นที่ว่างระหว่างพวกเขากับเอกอัครราชทูต กษัตริย์ฝรั่งเศสตรัสถามไถ่กับคณะทูต

หัวหน้าคณะสงฆ์ de Lionne เป็นผู้แปลบทสนทนาระหว่างคณะทูตและกษัตริย์ฝรั่งเศส

เมื่อการต้อนรับเสร็จสิ้น ก่อนที่คณะทูตจะลงจากแท่น คณะทูตได้กราบไหว้อย่างนอบน้อมและทำเช่นเดิมอีกเมื่อลงมาจากแท่น ขณะนั่งอยู่บนพื้น คณะทูตกราบไหว้โดยนั่งบนหัวเข่าต่อหน้าพระพักตร์กษัตริย์ฝรั่งเศส หลังจากนั้น คณะทูตทุกคนลุกขึ้น และไปยืนต่อหลังผู้นำทูตทั้ง3 ท่าน การเดินของพวกเขาคือการเดินถอยหลัง โดยไม่ให้กษัตริย์เห็นหลัง

คณะทูตเดินออกจากห้องต้อนรับ การเรียงลำดับของแต่ละท่านในคณะทูตเหมือนตอนที่มา โดยมีจอมพล Duc de la Feuillade และ Duc de Luxembourg เดินออกมาด้วย หลังจากนั้นจอมพลทั้งสองได้ออกไป

หลังจากนั้นผู้ให้การต้อนรับที่รออยู่ที่บันไดชั้นล่างได้เดินนำคณะทูตไปยังห้องชั้นล่างเพื่อรอที่จะไปห้องรับประทานอาหารในห้องประชุม โต๊ะอาหารมีจานและช้อนส้อมถูกจัดอยู่เป็นจำนวน 20 ชุด โดยมีจอมพล Duc de la Feuillade นาย de Bonneuil   นาย Giraut และนาย Stolf ร่วมด้วยอย่างสมเกียรติ หลังจากรับประทานอาหารเย็น คณะทูตได้สนทนากับพระราชโอรส โดยการนำของ จอมพล Duc de la Feuillade ผู้ให้การต้อนรับ นาย de Bonneuil และองครักษ์ การสนทนากับพระราชโอรส ดำเนินไปแบบเดียวกับการสนทนากับกษัตริย์ฝรั่งเศส โดยที่คณะทูตให้ความเครพอย่างนอบน้อม หมอบคลานด้วยหัวเข่าและกราบไหว้บนพื้น

พระราชโอรสให้การต้อนรับคณะทูต โดยมีหมวกอยู่บนพระเศียร เมื่อคณะทูตกล่าวจบ จึงได้ถอดหมวกเพื่อให้เกียรติ หลังจากนั้น หัวหน้าคณะสงฆ์ de Lionne แปลเป็นภาษาฝรั่งเศสแด่พระราชโอรส

คณะทูตไม่สามารถเข้าพบพระราชธิดา เนื่องด้วยพระองค์ท่านทรงเข้าบรรทมแล้ว Duc de la Feuillade ลาคณะทูต หลังจากที่ Duc de la Feuillade เดินร่วมไปกับคณะทูตจนถึงห้องชั้นล่าง

คณะทูตได้เข้าพบพระราชวงศ์อื่นๆ โดยมีผู้ให้การต้อนรับร่วมคณะไปด้วย

หลังจากเสร็จภารกิจ คณะทูตเดินทางกลับปารีสด้วยรถตู้เกวียนของกษัตริย์ฝรั่งเศส โดยมีองครักษ์ชาวฝรั่งเศสและสวิสให้ความคุ้มครอง

ในวันเดียวกันนี้เอง  คณะทูตได้รับเชิญจากเจ้าหน้าที่ ให้เข้าชมพลุในวันรุ่งขึ้น พลุนี้ถูกยิงจากหน้า ศาลากลางเพื่อฉลองวันประสูติของ Duc de Berry อย่างไรก็ตามเนื่องจากเจ้าหน้าที่ได้พูดคุยกับเอกอัครราชทูตสยามเพียงท่านเดียว เอกอัครราชทูตสยามจึงไม่สามารถให้คำตอบและเอกอัครราชทูตสยามต้องการถามความคิดเห็นกับท่านอื่นๆ ในวันรุ่งขึ้นคณะทูตไม่สามารถเข้าร่วมพิธีเฉลิมฉลองเนื่องจากมีภารกิจที่ต้องทำกับเชื้อพระวงศ์อื่นๆ

วันที่ 7 คณะทูตเดินทางไป Saint Cloud เพื่อเข้าพบ นาย de Chartres และลูกสาว พวกเขาได้เข้าเยี่ยมคนสำคัญท่านอื่น ด้วยความเคารพนอบน้อมเหมือนกับที่ได้ปฏิบัติไว้กับ พระราชโอรส

สุนทรพจน์ของคณะทูตสยามแด่กษัตริย์ฝรั่งเศส[แก้]

ด้วยพระราชกำลังและอำนาจของกษัตริย์ฝรั่งเศส ทำให้ศัตรูต้องพ่ายแพ้ พวกเราขอกล่าวคำสรรเสิญ ขอพระองค์ทรงรับฟัง อีกทั้งการประสูติของพระราชโอรสที่ถูกส่งมาจากเบื้องบน ทำให้พวกเรามีความยินดียิ่งนัก

กษัตริย์สยามที่มีพลังอำนาจ ได้เห็นประจักษ์ว่า ความสัมพันธ์ที่มีต่อกันนั้นควรถูกสานต่อ จึงได้มีพระราชโองการแต่งตั้งและส่งคณะทูตมาเพื่อเข้าพบและถวายพระราชกำนัลแด่กษัตริย์ฝรั่งเศสเพื่อแสดงความนับถืออย่างสูง กษัตริย์สยามได้รับรู้ถึงความเฉลียวฉลาดและปัญญาของกษัตริย์ฝรั่งเศสที่มีเหนือทุกๆ คน ด้วยอำนาจที่ยิ่งใหญ่ทำให้กษัตริย์ฝรั่งเศสปกครองบ้านเมืองด้วยความเป็นธรรมทำให้เป็นที่นับถืออย่างยิ่ง คณะผู้บริหารบ้านเมืองข้าราชบริพารประกอบไปด้วยคนที่มีคุณภาพ สามารถประกอบการตามพระราชโองการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมืองต่างๆ อยู่อย่างร่มเย็น อุดมไปด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ที่จำเป็นในยามคับขันหรือในการทำสงคราม ความสงบสุขมีครอบคลุมไปทั่วฟ้า ทั่วแผ่นดิน ด้วยอัจฉริยภาพที่ยิ่งใหญ่ทำให้ไม่มีผู้ใดกล้าเข้ามารุกราม อีกทั้งกษัตริย์ฝรั่งเศสองค์ปัจจุบันนี้ยังเก่งกาจกล้าหาญเหนือกว่ากษัตริย์ฝรั่งเศสองค์อื่นๆ ที่ผ่านมา ทำให้กษัตริย์สยามซาบซึ้งในพระปรีชาสามารถยิ่งนักและเป็นเหตุในการเริ่มต้นมิตรภาพกับกษัตริย์ฝรั่งเศส

ด้วยพระปรีชาสามารถของกษัตริย์ฝรั่งเศสที่ขยายไปที่ต่างๆนอกเหนือไปจากฝรั่งเศส กษัตริย์สยามจึงซาบซึ้งในชื่อเสียงและมิตรภาพที่จริงใจจากกษัตริย์ฝรั่งเศส กษัตริย์สยามและข้าราชบริพารรู้สึกปีติดีใจอย่างหาที่สุดมิได้ และขอน้อมสรรเสริญพระปรีชาสามารถ กษัตริย์สยามทรงไม่สามารถทราบได้ถึงสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อกษัตริย์ฝรั่งเศส ถึงกระนั้นก็ตามกษัตริย์สยามได้ทรงมอบของที่ระลึกต่อกษัตริย์ฝรั่งเศส ส่วนในเรื่องของคณะทูตและผู้ติดตาม คณะทูตและผู้ติดตามรู้สึกผิดหวังที่จะต้องเดินทางออกจากปารีสเพื่อเดินทางกลับ ช่างเป็นการเดินทางที่ยาวนานยิ่งนัก แต่ในขณะเดียวกันมีความรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เข้าเฝ้ากษัตริย์ฝรั่งเศส และได้ประจักษ์ต่อสายตาถึงความยิ่งใหญ่ที่ทุกคนได้พูดถึง ได้รู้ซึ้งเห็นจริง อีกทั้งยังมีความสงบสุขทั่วราชอาณาจักร สุดท้ายนี้ข้าพระพุทธเจ้าในนามคณะทูต รู้สึกเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ เป็นอย่างยิ่งต่อการต้อนรับ การปกป้องอย่างดียิ่งที่มีต่อคณะทูตตลอดช่วงพำนักในราชอาญาจักร


  1. 1.0 1.1 Dumont, Jean (1739) Supplément au Corps Universel Diplomatique du Droit des Gens, Tome 4ème, Le Cérémonial Diplomatique des Cours de l'Europe, ou Collection des Actes, Mémoires et Relations, pg. 104-108, Bibliothèque Diplomatique Numérique.

บทที่ 2 -[แก้]