ผู้ใช้:Sudarat pimsorn

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

PROFILE[แก้]


ชื่อ : นางสาวสุดารัตน์ พิมพ์ศร
ชื่อเล่น : เก๋
226/1ข. ถ.เมืองเก่า ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ 36000 ประวัติการศึกษา – ปัจจุบัน

ระดับชั้น สถานศึกษา
อนุบาลและประถมศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๒ (เมืองเก่าวิทยา)
มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียสตรีชัยภูมิ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคโนโลยีชัยภูมิบริหารธุรกิจ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ศูนย์กลางนครราชสีมา

คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

ปริญญาตรี กำลังศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ศูนย์กลางนครราชสีมา

คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชา ระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์

ตำแหน่งงานด้านไอทีที่สนใจ [แก้]


นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)
เหตุผลเพราะ มีความสนใจในด้านของการวิเคราะห์ระบบและการออกแบบฐานข้อมูลซึ่งเป็นพื้นฐานในการสร้างเว็บไซต์ทางด้านสารสนเทศ

บทความด้านไอที[แก้]

สิ่งดีๆ ที่คุณจะพบใน Windows 8[แก้]

1.การบูตเครื่องได้เร็วมาก เมื่อเทียบกับวินโดวส์อื่นๆ เพียงไม่กี่วินาทีคุณก็สามารถใช้งานวินโดวส์ได้แล้ว

2.อินเตอร์เฟสใหม่ที่แปลกตา หน้าแรกของการใช้งานคุณจะเจอ แอพพลิเคชันหรือโปรแกรมที่ใช้งานมารวมอยู่หน้าเดียวกันที่หน้า Start แบบ Modern Style สะดวกในการใช้งาน อาทิเช่น แอพพลิเคชันของอีเมล, รูปภาพ, ข่าว, ปฏิทิน, พยากรณ์อากาศและอื่น ๆ อีกมาก ทั้งนี้ยังแสดงเป็นแบบอัพเดทตลอดเวลา ซึ่งทำให้คุณทราบข่าวสารอยู่ตลอดเวลา

3.ระบบค้นหายอดเยี่ยม Windows 8 มีฟังก์ชันการค้นหาสิ่งต่าง ๆ โดยแบบเป็นหมวดหมู่ Application, Settings, File และในโซเชียลเน็ตเวิร์ก ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว โดยค้นหาผ่านหน้า Start ได้ทันที่เพียงแค่พิมพ์คำที่ต้องการค้นหาลงไปซึ่งก็ไม่จำเป็นต้องพิมพ์ทั้งคำ วินโดวส์จะทำการแสดงทุกอย่างที่ตรงกับคำค้นหาขึ้นมาทันที

4.เชื่อมต่อข้อมูลกันได้หมด ไม่ว่าคุณจะมีคอมพิวเตอร์, โน้ตบุ๊ก หรือแท็บเล็ต สักกี่เครื่อง คุณก็สามารถตั้งค่าต่างๆ ให้อุปกรณ์ดังกล่าวที่ใช้ Windows 8 เชื่อมต่อข้อมูลกัน โดยข้อมูลเกือบทั้งหมดจากทุกเครื่องจะเหมือนกันไม่ว่าเครื่องนั้นจะอยู่ที่จุดใดของโลกใบนี้ ขอเพียงให้มีอินเตอร์เน็ตใช้ ด้วยฟังก์ชั่น Sync ผ่านแอคเคาท์ของไมโครซอฟท์

5. แชร์ข้อมูล แชร์ (Share) ฟังก์ชันเหมาะสมมาก สำหรับคนที่ชอบโซเชียลเน็ตเวิร์ก ไมโครซอฟท์ออกแบบให้ Windows 8สามารถเลือกแชร์สิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ข้อมูล, รูปภาพ, หน้าเว็บไซต์, เพลง, ภาพยนตร์ และอื่นๆ สำหรับวิธีแชร์นั้นก็ง่ายมาก เพียงแค่เลือกปุ่ม Share ใน Charms Bar เท่านั้นเอง นอกจากนี้ยังสามารถแชร์ไปยังแอพพลิเคชัน อื่น ๆ ได้อีกด้วย อาทิเช่น แชร์ลิงก์หน้าเว็บไปยังคลิปบอร์ดหรือ Notepad หรือแชร์รูปภาพไปยังโปรแกรมแต่งภาพ เป็นต้น

6.เปิดอินเตอร์เน็ตได้รวดเร็ว ถ้าคุณใช้เบราว์เซอร์ Internet Explorer 10 คุณจะต้องประหลาดใจว่า IE10 เปิดเว็บได้รวดเร็วกว่า IE รุ่นก่อนมากนัก เร็วจนเบราว์เซอร์อื่นๆ ต้องหันมามองแล้วล่ะว่า จะพัฒนาเบราว์เซอร์ของตัวเองให้เร็วขึ้นเพื่อหนี IE 10 ได้อย่างไร

7.การรีเฟรชและรีเซตระบบ Windows 8 นี้ มีฟีเจอร์ใหม่ให้ผู้ใช้สามารถแก้ไขระบบได้เมื่อระบบมีปัญหาจนไม่สามารถแก้ได้แบบปกติ ฟีเจอร์รีเฟรช (Refresh) หรือรีเซต (Reset) ของ Windows 8 ช่วยคุณแก้ไขได้ง่ายโดยใช้เวลาไม่ได้นาน การรีเฟรซ ? คือการล้างระบบใหม่เพื่อให้กับเครื่องที่ใช้ไปนานๆ แล้วรู้สึกว่าเครื่องทำงานช้าหรือมีปัญหานั้น ให้สามารถกลับมาทำงานได้ดีขึ้นโดยการรีเฟรชนี้จะไม่ทำให้ ไฟล์, การปรับแต่งส่วนบุคคล (Personalization Settings) และแอพพลิเคชันหายไป การรีเซต ? จะลบทุกอย่างในเครื่องออกทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นไฟล์, แอพพลิเคชัน แอคเคาท์ต่าง ๆ ของคุณ พูดง่ายๆ คือเครื่องจะกลับม้เหมือนตอนติดตั้งวินโดวส์ครั้งแรก ฟีเจอร์ทั้งสองคุณสามารถเข้าได้ที่เมนู Charms Bar เลือก Settings > Change PC Settings > General

8. Task Manager Windows 8 ปรับปรุง Task Manager ให้ดูสวยงามขึ้น ใช้งานง่าย และมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม การแสดงแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ Apps, Background Processes และ Windows Processes และมีรายละเอียดการใช้ทรัพยากรเครื่องของแต่ละแอพพลิเคชันให้ดูว่าใช้ CPU, Ram, Bandwidth เท่าไหร่ในแบบ Real Time พร้อมทั้งยังมีการแสดงในรูปแบบกราฟ และบันทึกการใช้ทรัพยากรในแต่ละช่วงเวลาให้ดูย้อนหลังได้ นอกจากนี้ ทั้งนี้ยังสามารถตั้งค่าให้แอพพลิเคชัน เริ่มทำงานหรือไม่ทำงานทันทีที่เปิดเครื่องได้

9.หน้าต่างก็อปปี้ไฟล์ Windows 8 มีการก็อปปี้ไฟล์แบบใหม่ทั้งหน้าตาและประสิทธิภาพที่ดีขึ้น โดย เมื่อเจอไฟล์ชื่อซ้ำกันและแสดงหน้าต่างถามก่อนว่าต้องการทำอะไรกับมัน ทำให้ผู้ใช้สามารถตัดสินใจว่าจะเอาอย่างไรกับไฟล์ ปรับความเร็วในการก็อปปี้ได้ตัวเอง ยกตัวอย่าง เช่น คุณกำลังก็อปปี้ไฟล์ผ่านระบบเครือข่ายไร้สายอยู่แต่มาเสียบสายแลนในเวลาต่อมาระบบจะรับรู้แล้วปรับตัวเองให้ทำงานเร็วขึ้นโดยอัตโนมัติ ถ้าไฟล์ให้มากจนเครื่องเข้าโหมด Sleep หรือ Hibernate ระบบจะหยุดการก็อปปี้ไฟล์ และเมื่อตื่นขึ้นมาจะถามว่าต้องการ Resume ต่อหรือไม่ ถ้ามีปัญหา error ขณะก็อปปี้ไฟล์ระบบจะถามก่อนเริ่มก็อปปี้ในกรณีพบก่อน หรือแจ้งเตือนปัญหาหลังก็อปปี้เสร็จในกรณีพบระหว่างทาง ช่วยทำให้งานไม่หยุดชะงักและคุณไม่ต้องเฝ้าหน้าเครื่องตลอดเวลาที่ก็อปปี้ไฟล์

10. ริบบอนเมนูของ Windows Explorer Windows Explorer ของ Windows 8 จะมีเมนูแบบ Ribbon ที่เหมือนกับ Microsoft Office 2010 ทำให้ใช้งานได้สะดวกและหลากหลายขึ้น โดย Windows Explorer แสดงผลได้ทั้งแบบเต็มแบบย่อ (minimize) ซึ่งเป็นดีฟอลต์เพื่อลดความซับซ้อนและเพิ่มพื้นที่ของหน้าต่าง Explorer ที่ปุ่มของริบบอนจะมี Tooltip ของปุ่มจะแสดงรายระเอียดว่าใช้ทำอะไร ค่าต่างๆ ที่คุณตั้งไว้ใน Explorer สามารถบันทึกไว้ในแอคเคาท์คุณได้ และสามารถนำไปใช้ซิงค์กับเครื่องอื่นโดยอัตโนมัติ


F1 ถึง F12 รู้ไหมว่ามันทำอะไรได้บ้าง?[แก้]

คีย์ที่กล่าวมาส่วนมากเราจะเรียนกมันว่า "ฟังก์ชันคีย์" F1 ถึง F12 อาจมีความหลากหลายของการใช้งานที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งและโปรแกรมซอฟต์แวร์ที่เปิดอยู่ซึ่งจะเปลี่ยนวิธีการของแต่ละคีย์เหล่านี้ ยังรวมถึงการใช้งานฟังก์ชันคีย์รวมดับคีย์ ALT หรือ CTRL เช่นผู้ใช้ Microsoft Windows สามารถกด ALT + F4 เพื่อปิดโปรแกรมที่ใช้งานอยู่ ด้านล่างเป็นรายการบางส่วนของการทำงานของคีย์ฟังก์ชั่นในคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Microsoft Windows แต่จะไม่ใช่ทุกโปรแกรมที่สนับสนุนฟังก์ชันคีย์

F1 มักจะใช้เป็นคีย์ช่วยเกือบทุกโปรแกรมจะเปิดหน้าจอ ป้อนการตั้งค่า CMOS Windows Key + F1 จะเปิดตัวช่วยของ Microsoft Windows เปิดบานหน้าต่างงาน

F2 ใน Windows จะใช้ในการเปลี่ยนชื่อไอคอนหรือไฟล์ Alt + Ctrl + F2 เปิดเอกสารใหม่ในโปรแกรม Microsoft Word . Ctrl + F2 จะแสดงหน้าต่างตัวอย่างก่อนพิมพ์ใน Microsoft Word เข้าสู่การป้อนการตั้งค่า CMOS หรือ Bios

F3 เปิดคุณลักษณะการค้นหาในหลายๆโปรแกรมรวมถึง Microsoft Windows ใน MS - DOS หรือ Windows ของบรรทัดคำสั่ง F3 จะทำซ้ำคำสั่งสุดท้าย Shift + F3 จะมีการเปลี่ยนแปลงข้อความใน Microsoft Word

F4 เปิดพบหน้าต่าง ทำซ้ำการกระทำล่าสุด ( Word 2000 ขึ้นไป ) Alt + F4 จะปิดโปรแกรมที่ใช้งานอยู่ใน Microsoft Windows Ctrl + F4 จะปิดหน้าต่างที่เปิดอยู่ในหน้าต่างที่ใช้งานในปัจจุบันใน Microsoft Windows

F5 ในทุกเบราว์เซอร์อินเทอร์เน็ต F5 จะรีเฟรชหรือโหลดหน้าเว็บหรือหน้าต่างเอกสาร เปิดหน้าค้นหา แทนที่ และไปที่หน้าต่างใน Microsoft Word เริ่มสไลด์โชว์ใน PowerPoint

F6 ย้ายเคอร์เซอร์ไปที่ Address bar ใน Internet Explorerและ Mozilla Firefox . Ctrl + Shift + F6 เปิดไปยังเอกสารอื่น ๆ ใน Microsoft Word F7 ปกติจะใช้เพื่อตรวจสอบการสะกดและไวยากรณ์ตรวจสอบเอกสารในโปรแกรม Microsoft เช่น Microsoft Word, Outlook, ฯลฯ Shift + F7 ทำงานตรวจสอบบนคำที่ไฮไลต์ เปิดการใช้งานเลือนหน้าต่างด้วยปุ่มลูกศรบนคีย์บอร์ดใน Mozilla Firefox

F8 แป้นฟังก์ชันที่ใช้ในการเข้าสู่เมนูเริ่มต้น Windows, นิยมใช้ในการเข้าถึง Windows แบบ Safe Mode .

F9 เปิดแถบเครื่องมือวัดใน Quark 5.0

F10 ใน Microsoft Windows เปิดใช้งานแถบเมนูของโปรแกรมที่เปิดอยู่ Shift + F10 เป็นเช่นเดียวกับการคลิกขวาบนไอคอนที่ไฮไลต์ไฟล์หรือการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ต การเข้าถึงการกู้คืนพาร์ทิชันที่ซ่อนอยู่ ของ HP และ Sony คอมพิวเตอร์ ป้อนการตั้งค่า CMOS .

F11 โหมดเต็มหน้าจอในเบราว์เซอร์อินเทอร์เน็ต CTRL + F11 การเข้าถึง การกู้คืนพาร์ทิชันที่ซ่อนอยู่ในคอมพิวเตอร์ของ Dell การเข้าถึงการกู้คืนพาร์ทิชันที่ซ่อนอยู่บน eMachines, Gateway, และคอมพิวเตอร์ Lenovo

F12 เปิดหน้าที่ทำการบันทึกใน Microsoft Word SHIFT + F12 บันทึกเอกสาร Microsoft Word Ctrl + Shift + F12 พิมพ์เอกสารใน Microsoft Word

LAN Technology[แก้]

เครือข่ายแบบบัส (bus topology)[แก้]





เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาว ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยจะมีคอนเน็กเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ล ในการส่งข้อมูล จะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการ ที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน วิธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่ สัญญาณที่แตกต่างกัน การเซตอัปเครื่องเครือข่ายแบบบัสนี้ทำได้ไม่ยากเพราะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชนิด ถูกเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิ้ลเพียงเส้นเดียวโดยส่วนใหญ่เครือข่ายแบบบัส มักจะใช้ในเครือข่ายขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก

  • ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม แต่มี
  • ข้อเสียคือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา

ข้อจำกัด คือ จำเป็นต้องใช้วงจรสื่อสารและซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันของสัญญาณข้อมูล และถ้ามีอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย อาจส่งผลให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้

เครือข่ายแบบวงแหวน (ring topology)[แก้]





เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยสายเคเบิลยาวเส้นเดียว ในลักษณะวงแหวน การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายวงแหวน จะใช้ทิศทางเดียวเท่านั้น เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูล มันก็จะส่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ถ้าข้อมูลที่รับมาไม่ตรงตามที่คอมพิวเตอร์เครื่องต้นทางระบุ มันก็จะส่งผ่านไปยัง คอมพิวเตอร์เครื่องถัดไปซึ่งจะเป็นขั้นตอนอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ถูกระบุตามที่อยู่

  • ข้อดีของเครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง
  • ข้อเสียการตรวจหาข้อผิดพลาดของระบบทำได้ยาก ในกรณีที่สายส่งข้อมูลเกิดเสียหายจะทำให้ระบบ ทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้
  • ข้อจำกัด ถ้าเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย อาจทำให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้

เครือข่ายคอมแบบดาว(Star Network)[แก้]





เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เข้ากับอุปกรณ์ที่เป็น จุดศูนย์กลาง ของเครือข่าย โดยการนำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลางการติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ ด้วยการ ติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วนสลับสายกลางการทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงเป็นศูนย์กลางของการติดต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน

  • ข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ
  • ข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย
  • ข้อจำกัด ถ้าฮับเสียหายจะทำให้ทั้งระบบต้องหยุดซะงัก และมีความสิ้นเปลืองสายสัญญาณมากกว่าแบบอื่นๆ

เครือข่ายแบบเมซ (Mesh Topology)[แก้]





โทโปโลยีเมซคือ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบสมบูรณ์ กล่าวคือ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายจะเชื่อมต่อถึงกันหมดโดยใช้สายสัญญาณทุกการเชื่อต่อ วิธีการนี้จะเป็นการสำรองเส้นทางเดินทางข้อมูลได้เป็นอย่างดี เช่น ถ้าสายสัญญาณเส้นใดเส้นหนึ่งขาด ก็ยังมีเส้นทางอื่นที่สามารถส่งข้อมูลได้ นอกจากนี้ยังเป็นระบบที่มีความเชื่อถือได้สูง แต่ข้อเสียก็คือ เครือข่ายแบบนี้จะใช้สัญญาณมาก ดังนั้น ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบก็เพิ่มขึ้น ในการเชื่อมต่อจริงๆ นั้นการเชื่อมต่อแบบเมซนั้นมีการใช้งานน้อยมาก

  • ข้อดี ในกรณีสายเคเบิ้ลบางสายชำรุด เครือข่ายทั้งหมดยังสมารถใช้ได้ ทำให้ระบบมีเสถียรภาพสูง นิยมใช้กับเครือข่ายที่ต้องการเสถียรภาพสูง และเครือข่ายที่มีความสำคัญ
  • ข้อเสีย สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และสายเคเบิ้ลมากกว่าการต่อแบบอื่น ๆ ยากต่อการติดตั้ง เดินสาย เคลื่อนย้ายปรับเปลี่ยนและบำรุงรักษาระบบเครือข่าย


WAN Technology[แก้]

เครือข่ายแบบสลับวงจร (Circuit–Switching Network)[แก้]


การทำงานของ Circuit Switch เป็นเทคนิคที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลแบบหนึ่งโดยที่เมื่อต้องการส่งข้อมูลจะต้องสร้างเส้นทางเสียก่อน และฝั่งที่รับข้อมูลจะต้องตอบกลับมาก่อนว่าพร้อมที่จะรับข้อมูลแล้วจึงจะเริ่มรับส่งข้อมูลได้ และเมื่อสร้างเส้นทางในการรับส่งข้อมูลเรียบร้อย ตลอดเวลาของการสื่อสารจะใช้เส้นทางเดิมตลอดและคนอื่นไม่สามารถใช้เส้นทางนี้ได้ และจากรูปจะเห็นว่าในระหว่างเส้นทางของการสื่อสารแบบ Circuit Switch จะมีการเชื่อมต่อทางกายภาพของวงจรแบบจุดต่อจุด และเมื่อรับส่งข้อมูลเสร็จจะต้องยกเลิกเส้นทางที่ใช้สื่อสาร เพื่อให้ผู้ใช้อื่นสามารถใช้เส้นทางในการสื่อสารได้ ค่าใช้จ่ายของการสื่อสารแบบ Circuit Switch จึงขึ้นอยู่กับระยะทาง และระยะเวลาที่ใช้เครือข่าย แต่จะไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณของข้อมูล ตัวอย่างเครือข่ายที่ทำงานแบบ Circuit Switch เช่นเครือข่ายของโทรศัพท์เป็นต้น

  • ข้อดีของ Circuit Switch คือความเร็วในการส่งข้อมูลที่คงที่ มี Delay น้อย ซึ่ง Delay ที่เกิดขึ้นมีเพียง Propagation Delay คือเวลาที่ข้อมูลวิ่งอยู่ในสายสัญญาณ และ Delay ที่ Node ถึงถือว่าน้อยมาก เพราะที่ Node มีการเชื่อมต่อกันแบบ Point-to-Point และถึงแม้จะมีผู้ใช้งานในระบบมากความเร็วในการส่งข้อมูลก็ไม่ลดลง
  • ข้อเสียของ Circuit Switch คือ ต้องมีการเชื่อมต่อกันทุกๆจุดที่มีการติดต่อกัน ทำให้เสียเวลาบางส่วนในการติดต่อแต่ละครั้ง ซึ่งถ้าระหว่างเส้นทางมีจุดใดจุดหนึ่งหยุดทำงาน จะไม่สามารถหาเส้นทางที่จะทำงานต่อได้ และถ้ามีผู้ใช้งานพร้อมๆกัน มักจะทำให้เครือข่ายไม่ว่างได้

เครือข่ายแบบแพ็กเกตสวิตชิง (packet switching technology)[แก้]


เป็นวิทยาการใช้ในการติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายดิจิตอลความเร็วสูง แพ็กเกตสวิตชิงเป็นเทคนิคในการหาเส้นทางให้กับแต่ละ แพ็กเกต (packet) ที่มีจุดหมายปลายทางต่างกัน ปลายทาง คือ DTE ( Data Terminal Equipment ) อุปกรณ์ที่ช่วยถ่ายทอดข่าวสารคือ DCE ( Data Communication Equipment )
แพ็กเกตสวิตชิงใช้หลักการ Store & Forword การรับส่งข้อมูลจะเรียกหน่วยย่อยว่า "แพ็กเกต(Packet)" โดยจะทำงานแบบไม่ต้องรอให้ ข้อมูล (message) ครบทั้งหมดก่อนค่อยส่งข้อมูลออกไป ทั่วไปแล้ว แต่ละ Packet จะมีความยาวประมาณ 64 Byte (512 bits) ต่อหนึ่ง Packet ซึ่งเป็นข้อดีเพราะว่าแต่ละ Packet มีขนาดเล็ก ทำให้ชุมสายใช้เวลาน้อยในการส่งแต่ละ Packet ส่งผลให้การ รับ-ส่ง Packet เป็นไปได้อย่างรวดเร็วมากเหมาะกับการทำงาน On-Line ตลอดเวลาหรือ interactive ตลอดเวลาแต่ละ packet จะมีโครงสร้างง่ายๆ ประกอบไปด้วยส่วนที่ถูกเพิ่มเติม(Packer Overhead) และส่วนที่เป็นข้อมูลของผู้ใช้งาน (User Date) ส่วน Packer Overhead ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับ Address (ฝั่งปลายทาง)ซึ่งแต่ละ node หรือแต่ละชุมสายที่ใช้งานรับส่งข้อมูลจำเป็นจะต้องใช้ ข้อมูลนี้ตลอดการรับส่ง Layer ของ การทำงานของ packet switching ทำหน้าที่จัดหาเส้นทาง จากเส้นทาง(ต้นทาง) ไปยังเส้นทาง(ปลายทาง) Packet Switching สามารถนำไปใช้ได้กับเครื่อง ATM (Asynchronous Transfer Mode) และสามารถนำไปใช้กับ โทรศัพท์มือถือได้ด้วยบริการที่เรียกว่า GPRS สำหรับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย Packet Switching ข้อมูลจะถูกส่งออกไปทีละ packet เรียง ลำดับตามกันถ้ามีข้อผิดพลาดใน packet ขึ้นทำให้การส่งข้อมูลในเครือข่าย Packet Switching สามารถ ทำงาน ได้เร็วมากจนดูเหมือนกับไม่มีการเก็บกักข้อมูลเลยสวิตชิ่งนั้นก็จะทำการร้องขอให้สวิตชิ่ง ก่อนหน้านั้นส่งเฉพาะ packet ที่มีความผิดพลาดนั้นมาให้ใหม่ และไม่จำเป็นจะต้องรอให้ผู้ส่งทำ การส่งข้อมูลมาให้ครบทุก packet แล้วจึงค่อยส่งข้อมูลไป Packet Switching นั้นมีประสิทธิภาพมากในการสื่อสาร การสื่อสารแบบเป็น Packet Switching มีประสิทธิภาพสูงทั้งในด้านกระบวนการทำงาน และการติดต่อระหว่างเครื่อง Server ทั้งสองเครื่องPacket Switching technology นี้ข้อมูลทั้งหมดจะถูกแบ่งเป็นส่วนย่อยๆ เรียกว่า packet แล้วทำการเพิ่มส่วนรายละเอียดที่จะบอกถึงลำดับของส่วนย่อยและ ผู้รับปลายทาง แล้วส่งไปยังทุกๆเส้นทางโดยกระจัดกระจายแยกกันไปโดย จะมีอุปกรณ์ที่แยกและตรวจสอบว่าสายที่จะส่งไปนั้นว่างถ้าว่างจึงส่งไป เมื่อส่วนย่อยของสารข้อมูลทั้งหมดมาถึงปลายทางฝั่งผู้รับก็จะนำมารวมกันเป็นข่าวสารชิ้นเดียวกันการส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย Packet Switching ข้อมูลจะถูกส่งออกไปทีละส่วนย่อยเรียงตามลำดับ ภายในการส่งข้อมูลในเครือข่าย Packet Switching สามารถทำงานได้รวดเร็วมากจนเหมือนกับไม่มีการเก็บข้อมูลเลย ถ้าเกิดผิดพลาดจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ Layer ที่สูงกว่าจัดการให้ และจะไม่รอให้ผู้ส่งทำการส่งข้อมูลให้ครบทุกส่วนย่อยก่อนค่อยส่งข้อมูลไป
เทคโนโลยีของ Packet Switching Time Domain Multiplexing ระบบ TDM เป็นการมัลติเพล็กซ์ที่แต่ละช่องสัญญาณมีแบนด์วิดธ์แบบคงที่ (Fixed Bandwidth) ซึ่งจะใช้ งานได้ดีมากสำหรับการรับส่งที่ต้องการอัตราบิตที่ต่อเนื่อง (Continous Bit Rate : CBR) เช่น traditional voice and video แต่ถ้าจะใช้งานกับข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีการจราจร(traffic) เป็นแบบ bursts traffic (ทราฟฟิกที่มีขนาดไม่คงที่คืออาจจะมีการเปลี่ยนแปลงขนาดอย่างฉับพลัน)

  • ข้อดีของ Packet Switching

-รับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง และใช้เวลาในการ ส่งข้อมูลน้อยเหมาะสำหรับการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย LAN หลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกันเช่น WAN -มีความผิดพลาดในการรับส่งข้อมูลน้อยมากๆ -สามารถลดประสิทธิภาพคอมพิวเตอร์ให้มีขนาดเล็กลง และสามารถกระจายศูนย์ กลาง ประมวลผลได้ -สามารถรองรับการเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่องค์กรใช้งาน เช่น ICP/IP -ควบคุมค่าใช้จ่ายได้คงที่แน่นอน -รับประกันความรวดเร็วในการส่งข้อมูล (Committed Information Rate ; CIR)

  • ข้อเสียของ Packet Switching

-delay time ที่มากขึ้นเมื่อมีผู้ใช้งานมากขึ้น (กรณีที่ traffic ที่ผ่านเครือข่ายสูง) ซึ่ง -สามารถแก้ไข ได้โดยกการ เพิ่มจำนวนวงจรเชื่อมโยงระหว่างชุมสาย (หมายถึงวงจร -จริงที่จับต้องได้คือเป็น physical circuit )ให้ มากขึ้นใน -กรณีที่มี traffic ผ่านมากๆ หรือเพิ่ม capacity ของชุมสายให้สามารถรองรับปริมาณ traffic สูงๆ ได้ หรืออาจใช้การปรับเปลี่ยน parameter ต่างๆใน routing algorithm ในแต่ละชุมสายให้เหมาะสมกับปริมาณ traffic ซึ่งจะเป็นการกระจาย traffic ไปผ่านชุมสายต่างๆแทนที่จะไปผ่าน ชุมสาย ใดชุมสายหนึ่งโดยเฉพาะซึ่ง -อาจจะทำให้เกิดสภาวะคอขวด (bottle neck) หรือเกิดการ congestion ขึ้นภายในเครือข่ายได้

เครือข่ายแบบเมสเซจสวิตชิง (Message Switching)[แก้]

เป็นระบบการสื่อสารข้อมูลที่มีความชาญฉลาดมากขึ้น การทำงานในระบบผู้ส่งจะส่ง Message ไปยัง node แรก เมื่อ node แรกได้รับข้อมูลจะเก็บข้อมูล(ไว้ใน Buffer) และติดต่อไปยัง node ต่อไป เมื่อหาเส้นทางไปยัง node ต่อไปได้แล้ว ก็จะทำการส่งข้อมูลที่เก็บไว้ใน Buffer ออกไปยัง node นั้น และไปจนกว่าจะถึงปลายทางเรียกว่า Stort และ Forward ข้อดี:ระบบ Message Switching การใช้สายมีประสิทธิภาพมากขึ้น การติดต่อระหว่างผู้เรียกกับผู้ถูกเรียกมีการรับประกันเรื่องความถูกต้อง ข้อเสีย:มีการหน่วยเวลา (Delay) ระหว่างผู้เรียกกับผู้ถูกเรียกไม่เหมาะกับงานที่โต้ตอบทันทีเพราะมีการหน่วงเวลาสูงการส่งข้อมูลมีขนาดใหญ่ ทำให้มีการใช้ช่องสัญญาณเป็นเวลานาน รูปที่ 3 เมสเสจสวิตชิงมีการจับจองหนึ่งเส้นทางเพื่อถือครองในช่วงเวลาหนึ่ง
ขั้นตอนแรก S ได้มีการส่งผ่านเส้นทางไปยัง a จากนั้น a ก็จะมีการจัดเก็บข้อมูลไว้ชั่วคราว ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวเส้นทาง จาก S ไปยัง a นั้นจะถูกปลดออก ทำให้ผู้อื่นสามารใช้เส้นทางได้ จากนั้น a ก็จะส่งเมสเสจนั้นไปยัง c และทำเช่นนี้เรื่อยไปจนกระทั่งถึงปลายทาง T ซึ่งเป็นการถือครองเส้นทางในการส่งข่าวสารในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น

OSI model + TCP/IP model[แก้]

TCP/IP Model OSI Model
Application Application (FTP,SMTP,HTTP,etc.)
Presentation Application (FTP,SMTP,HTTP,etc.)
Session Application (FTP,SMTP,HTTP,etc.)
Transport TCP (host-to-host)
Network IP
Data Link Network acess (usually Ethernet)
Physical Network acess (usually Ethernet)

OSI Model[แก้]

คือ องค์ประกอบ ที่สามารถพัฒนาขึ้นมาเพียงชั้นเดียวจากจำนวน 7 ชั้นแล้วนำไปใช้งานร่วมกับชั้นอื่นที่มีการพัฒนาไว้แล้วโดยหลักการแต่ละชั้นจะติดต่อกับชั้น
ในระดับเดียวกันที่อยู่บนเครื่องอีกเครื่องหนึ่ง

Open Systems Interconnection (OSI)
จัดตั้งและกำหนดโดย องค์การกำหนดมาตรฐานสากล หรือ ISO ( International Standards Organization ) เริ่มนำมาใช้งานราว ๆ กลางปี ค.ศ. 1970 และใช้อ้างอิงมาจนถึงปัจจุบัน จุดมุ่งหมาย
เพื่อเปิดช่องทางให้ข้อมูลที่เก็บอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์หนึ่ง ๆ รับส่งไปยังคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบเดียวกันหรือต่างระบบได้โดยอิสระ ไม่ขึ้นกับผู้ผลิตสร้างการทำงานที่เป็นระบบเปิด (Open System)

แนวคิดของการกำหนดมาตรฐานเป็นแบบชั้นสื่อสาร (layers) คือ
1.ชั้นสื่อสารแต่ละชั้นถูกกำหนดขึ้นมาตามบทบาที่แตกต่างกัน
2.แต่ละชั้นสื่อสารจะต้องทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายอย่างดียิ่ง
3.แต่ละฟังก์ชั่นในชั้นสื่อสารใดๆจะต้องกำหนดขึ้นมาโดยใช้แนวความคิดใน ระดับสากลเป็นวัตถุประสงค์หลัก

TCP/IP[แก้]

TCP/IP Model มีแนวคิดพื้นฐานแตกต่างจาก OSI Model คือไม่ได้มีพื้นฐานของการสื่อสารแบบการสนทนา TCP/IP Model เป็นภาพแสดงถึงโลกของระบบเครื่อข่ายสากล (Internetworking)
จะพบว่ามีบางเลเยอร์ที่มีการกำหนดคุณสมบัติที่เทียบได้ไกล้เคียงกัน แต่บางเลเยอร์ก็ไม่สามารถเทียบหาความสัมพันธ์กัน

1. Process Layer จะเป็น Application Protocal ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับผู้ใช้และให้บริการต่าง ๆ
2. Host – to – Host Layer จะเป็น TCP ที่ทำหน้าที่คล้ายกับชั้นที่ 4 ของ OSI Model คือควบคุมการรับส่งข้อมูลจากปลายด้านส่งถึงปลายทางด้านรับข้อมูล
3. Internetwork Layer ได้แก่ส่วนของโปรโตคอล IP ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับชั้นที่ 3 ของ OSI Model คือเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่ายที่อยู่ชั้นล่างลงไป
4. Network Interface เป็นส่วนที่ควบคุมฮาร์ดแวร์การรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย เปรียบได้กับชั้นที่ 1 และ2 ของ OSI Model

Facebook[แก้]


https://www.facebook.com/gae.BusCom18

อ้างอิง[แก้]


1.http://www.superict.com/component/viewall_section.php?section_id=1