ผู้ใช้:Siwadolkarn

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัดจันทรสโมสร[แก้]

วัดจันทรสโมสร
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อ วัดจันทรสโมสร
ที่ตั้ง 799 ถนนสามเสน ซอยสามเสน25 แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
ประเภท เถรวาทมหานิกาย

วัดจันทรสโมสร เป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกายตั้งอยู่เลขที่ 799 ถนนสามเสน ซอยสามเสน25 แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีที่ดินตั้งวัด จำนวน 9 ไร่ 3 งาน 95 ตารางวา ตั้งอยู่ในโฉนดเลขที่ 621 โดยมีอาณาเขตดังนี้

ทิศตะวันออก ติดที่ดินเลขที่650 จดถนนสามเสน

ทิศตะวันตก ติดที่ดินเลขที่448 จดแม่น้ำเจ้าพระยา

ทิศเหนือ ติดที่ดินเลขที่447,451 จดบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่

ทิศใต้ ติดที่ดินเลขที่450,652,448 จดแม็คโครสามเสน

ประวัติ[แก้]

วัดจันทรสโมสร สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2368 ไม่ปรากฏนามและประวัติผู้สร้างแน่ชัด เดิมนั้นมีชื่อว่า วัดสโมสรสุวรรณราม กาลต่อมามีการบูรณะวัดเมื่อประมาณ พ.ศ.2473 จากหลักฐานที่ปรากฏบนแผ่นจารึก ซึ่งติดอยู่บนผนังด้านหน้าภายในอุโบสถว่า คุณท้าววรคณานันต์(มาลัย) เป็นผู้สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5 แต่ไม่มีรายละเอียด วัน เดือน ปี ที่สร้าง สร้างวัดจันทรสโมสรเมื่อในสมัยรัชกาลที่ 5 อาสน์สงฆ์นี้ "ข้าพเจ้าเสงี่ยม โชดึกราชเศรษฐีได้สร้างไว้ ณ วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2473 โดยเป็นการสร้างอุทิศให้แก่บุพการี คือ คุณท้าววรคณานันต์ (มาลัย) กับเจ้าคุณชัยสุรินทร์(เจียม) และคุณหญิงสมบุญ" และต่อมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 เป็นต้นมาได้บรการบูรณะและพัฒนาวัดอย่างต่อเนื่อง อาคารเสนาสนะต่างๆ ได้ถูกบูรณะซ่อมแซมให้ดีขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 17 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2545 วัดได้รับคัดเลือกจากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ(ปัจจุบัน สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม) ให้เป็นอุทยานการศึกษาภายในวัดประจำปี พ.ศ.2545 ตามโครงการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชน

อาคารเสนาสนะต่างๆ มีดังต่อไปนี้[แก้]

  1. อุโบสถ
  2. กุฏิสงฆ์ 1 หลัง 28 ห้อง
  3. ศาลาการเปรียญทรงไทยไม้สัก 1 หลัง
  4. หอสวดมนต์ 1 หลัง
  5. ศาลาอเนกประสงค์ 1 หลัง
  6. ศาลาประดิษฐ์เจ้าแม่กวนอิม
  7. ศาลาประดิษฐ์หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อวัดไร่ขิง หลวงพ่อวัดบ้านแหลม หลวงพ่อวัดเขาตะเครา หลวงพ่อโตวัดบางพลีใหญ่
  8. ศาลาประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่ 5
  9. ศาลาบำเพ็ญกุศลศพ 3 หลัง
  10. ฌาปนสถาน
  11. หอระฆัง
  12. วิหารคต 2 หลัง
  13. ศาลาท่าน้ำ 2 หลัง (สถานที่อภัยทาน ให้อาหารปลา)


ประกาศและระเบียบการ มีดังต่อไปนี้[แก้]

1.ประกาศตั้งวัดในพระพุทธศาสนา พ.ศ.2386 เป็นวัดที่สร้างขึ้นก่อนพระราชบัญญัติ ลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.121 มีผลบังคับใช้และมีสภาพเป็นวัดตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์(ฉบับที่2) พ.ศ.2535

2.ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานวิสุงครามสีมาวันที่ 16 เดือนตุลาคม พ.ศ2528

3.ประกาศกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการให้เป็นวัดอุทยานการศึกษาภายในวัด ประจำปี พ.ศ. 2545(ปัจจุบันขึ้นต่อกระทรวงวัฒนธรรม)

ลำดับเจ้าอาวาสวัดจันทรสโมสร[แก้]

  1. พระอธิการทิพย์ (ไม่ปรากฏฉายา) พ.ศ.(ไม่ปรากฏชัด)
  2. พระอธิการทอง (ไม่ปรากฏฉายา) พ.ศ.(ไม่ปรากฏชัด)
  3. พระอธิการเปรม (ไม่ปรากฏฉายา) พ.ศ.2455 (สมัย ร.ศ.131)
  4. พระครูปลัดจุ้ย ปุญฺญปญฺโญ พ.ศ.(ไม่ปรากฏชัด)
  5. พระครูวิบูลย์โชติวัฒน์ (นวน) พ.ศ.2507-2535
  6. พระวิมลมุนี (มุนี มุนินฺทโร) พ.ศ.2540-2540
  7. พระมหาหอม จรณธมฺโม รก. พ.ศ.2550-2551
  8. พระปลัดสมศักดิ์ อคฺควํโส พ.ศ.2552-2556
  9. พระใบฎีกาอารีย์ วลฺลโภ รก. พ.ศ.2556-2556
  10. พระมุนี มุนินฺทโร รก. พ.ศ.2557-2557
  11. พระมุนีอโนมคุณ รก. พ.ศ.2557-2558
  12. พระมหาสุชาติ ธมฺมรโต พ.ศ.2558-ปัจจุบัน


อ้างอิง[แก้]

  1. คู่มือสวดมนต์แปลฉบับอุบาสก-อุบาสิกา วัดจันทรสโมสร
  2. แผ่นจารึกผนังด้านหน้าภายในอุโบสถวัดจันทรสโมสร