ผู้ใช้:Sirimaseaweed/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไฟล์:สิริมา.jpg
ชื่อ-สกุล : นางสาวสิริมา มันกลาง ชั้นปี 4  สาขา ระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน อาชีพด้านคอมพิวเตอร์ที่ตนสนใจ  นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ

สถาปัตยกรรมเครือข่าย[แก้]

ลำดับชั้น ชื่อชั้นสื่อสาร หน้าที่ของชั้นสื่อสาร
1. Physical เคลื่อนย้ายข้อมูลระดับบิตจากโหนดหนึ่งไปยังโหนดถัดไป
2. Data link เคลื่อนย้ายเฟรมจากโหนดหนึ่งไปยังโหนดถัดไป
3. Network ส่งมอบแพ็กเก็ตจากโฮสต์หนึ่งไปยังโฮสต์ปลายทาง
4. Transport ส่งมอบข่างสารจากโปรเซสต้นทางไปยังโปรเซสปลายทาง
5. Session ควบคุมการสื่อสารและการซิงโครไนซ์
6. Presentation แปลงข้อมูล เข้ารหัสข้อมูล และบีบอัดข้อมูล
7. Application จัดการงานบริการให้แก่ผู้ใช้

ส่วนประกอบของเครือข่าย [แก้]

คอมพิวเตอร์[แก้]

ไฟล์:คอมพิวเตอร์.jpg

คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (electronic device) ที่ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ โดยคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้าหรือโปรแกรมได้ (programmable) ข้อดีของคอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความถูกต้อง และมีความรวดเร็ว

Network Interface [แก้]

การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card :NIC) หมายถึง แผงวงจรสำหรับ ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย ติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย และเครื่องที่เป็นลูกข่าย หน้าที่ของการ์ดนี้คือแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตามสายสัญญาณ ทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้

ระบบปฏิบัติการ OS (Operating System)[แก้]

ไฟล์:Operating system OS.jpg

ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดแวร์ (Hardware) กับ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไปซึ่งทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้อีกที โดยจะทำหน้าที่ควบคุมการแสดงผล การทำงานของฮาร์ดแวร์ ให้บริการกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไปในการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ และจัดสรรการใช้ทรัพยากรระบบ (Resources) ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

โดยทั่วไประบบปฏิบัติการนั้น ไม่ได้มีแต่เฉพาะในคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่มีอยู่ในอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์หลายชนิด เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์พกพา พีดีเอ แท็บเล็ตต่างๆ โดยจะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ และติดต่อกับผู้ใช้ผ่านโปรแกรมประยุกต์ (Application) ตัวอย่างของระบบปฏิบัติการในคอมพิวเตอร์ ได้แก่ Windows, Linux, Mac OS, Solaris, Ubuntu ส่วนตัวอย่างของระบบปฏิบัติการใช้มือถือได้แก่ Windows Mobile, iOS, Android เป็นต้น

Network Device (HUB-Switch-Router-Gateway-Firewall) [แก้]

ฮับ (HUB)[แก้]

เป็นอุปกรณ์ช่วยกระจ่ายสัญญาณไปยังเครื่องต่างๆที่อยู่ในระบบ หากเป็นระบบเครือข่ายที่มี 2 เครื่องก็ไม่จำเป็นต้องใช้ฮับสามารถใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อ ถึงกันได้โดยตรง  แต่หากเป็นระบบที่มีมากกว่า 2 เครื่องจำเป็นต้องมีฮับเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ในการเลือกซื้อฮับควรเลือกฮับที่มีความเร็วเท่ากับความเร็ว ของการ์ด เช่น การ์ดมีความเร็ว  100 Mbps ก็ควรเลือกใช้ฮับที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps ด้วย ควรเป็นฮับที่มีจำนวนพอร์ตสำหรับต่อสายที่เพียงพอกับเครื่องใช้ในระบบ 

สวิตซ์[แก้]

สวิตซ์ มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ Layer-2 Switch และ Layer-3 Switch ดังรายละเอียดต่อไปนี้

  • Layer-2 Switch หรือ L2 Switch ก็คือ Bridge แต่เป็น Bridge ที่มี Interface ในการเชื่อมต่อกับ Segment มากขึ้น ทำให้สามารถแบ่งเครือข่าย LAN ออกเป็น Segment ย่อย ๆ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการเครือข่ายได้ดียิ่งขึ้น และประสิทธิภาพในการทำงานของ L2 Switch ก็สูงกว่า Bridge ทำให้ในปัจจุบันนิยมใช้งาน L2 Switch แทน Bridge
  • Layer-3 Switch หรือ L3 Switch ก็คือ Router ที่ได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่มีราคาถูกลง โดย L3 Switch นี้จะสามารถจัดการกับเครือข่ายที่มี Segment มาก ๆ ได้ดีกว่า Router 

เราเตอร์ (Router)[แก้]

เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือ ข่ายที่มีขนาดหรือมาตรฐานในการส่งข้อมูลต่างกัน สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ เราเตอร์จะทำงานอยู่ชั้น Network หน้าที่ของเราเตอร์ก็คือ ปรับโปรโตคอล (Protocol) (โปรโตคอลเป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์) ที่ต่างกันให้สามารถสื่อสารกันได้

เกตเวย์ (Gateway)[แก้]

ไฟล์:Gateway.jpg.jpg

เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูล คอมพิวเตอร์หน้าที่หลักคือช่วยให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2 เครือข่ายหรือมากกว่า ซึ่งมีลักษณะไม่เหมือนกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้เหมือนเป็นเครือข่าย เดียวกัน

Firewall[แก้]

firewall หมายความถึง ระบบหนึ่งหรือกลุ่มของระบบที่บังคับใช้นโยบายการควบคุมการเข้าถึงของระหว่างเครือข่ายสองเครือข่าย โดยที่วิธีการกระทำนั้นก็จะแตกต่างกันไปแล้วแต่ระบบ แต่โดยหลักการแล้วเราสามารถมอง firewall ได้ว่าประกอบด้วยกลไกสองส่วนโดยส่วนแรกมีหน้าที่ในการกั้น traffic และส่วนที่สองมีหน้าที่ในการปล่อย traffic ให้ผ่านไปได้

สายสัญญาณ[แก้]

สายโคแอคซ์[แก้]

ไฟล์:สายโคแอคซ์.jpg.jpg

สายโคแอกเชียล เป็นตัวกลางการเชื่อมโยงที่มีลักษณะเหมือนกับสายทีวีที่มีการใช้งานมากในปัจจุบัน

สายคู่บิดเกลียว[แก้]

ไฟล์:สายคู่บิดเกลียว .jpg

สายคู่บิดเกลียว     ( twisted   pair )  แต่ละคู่ของสายทองแดงจะถูกพันกัน  เพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็ก

  • สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน  (Shielded  Twisted   Pair : STP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่หนาขึ้น เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  • สายคู่เกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded Twisted  Pair : UTP)  เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกซึ่ง ทำให้สะดวกในการโค้งงอ  สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แต่ได้น้อยกว่าชนิดแรก                                            

วิธีการต่อสายแบบไขว้

การต่อสายแบบไขว้จะมีวิธีการเรียงสายอยู่ 2 วิธี คือ การต่อไขว้ขนาดความเร็ว 10 Mb และขนาดความเร็ว 100 Mb ต่อไปนี้จะเป็นตัวอย่างการเรียงสายแบบไขว้ขนาดความเร็ว 10 Mb จะมีวิธีการเรียงสายโดยไขว้สายที่ 1กับสายที่ 3 และสายที่ 2 กับสายที่ 6

สำหรับการต่อแบบไขว้ขนาดความเร็ว 100 Mb การต่อแบบนี้จะต้องใช้สายระดับ CAT 5 ไม่สามารถใช้สายที่ต่ำกว่านี้ได้ วิธีการต่อสายแบบนี้สามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์ที่มีความเร็ว  10 Mb ก็ได้ โดยวิธีการเรียงสายแบบนี้จะคล้ายกับวิธีการเรียงสาย ขนาด 10 Mb แต่จะต้องไขว้สายที่ 4 กับสายที่ 7 และสายที่ 5 กับสายที่ 8

วิธีการต่อสายแบบตรง

1.            ใช้มีดคัตเตอร์ปอกสาย การปอกต้องระวังอย่าให้สายในขาด

2.            คลี่สายในออกและทำการจัดเรียงสายตามที่ต้องการต่อ โดยเรียงสายทั้ง 8 ให้แบนเพื่อสะดวกในการเข้าสาย

3.            ตัดปลายสายทั้ง 8 ให้ตรงกัน

4.            นำสายที่เรียงไว้ทั้ง 8 เสียบเข้าไปกับตัว URL 45 Connector โดยให้หันด้านที่มีขาล็อคขึ้นด้านบนให้เสียบสายที่ 1 เข้าที่ช่องซ้ายสุด และเรียงตามลำดับต่อไป

5.            ใช้คีมจัมป์สายทำการจัมป์สาย โดยให้ตัว RJ45 Connector อยู่ตรงร่องของคีมจัมป์ แล้วบีบคีมให้แน่นคีมจะบีบให้สายติดแน่นอยู่กับตัว RJ-45 Connector

6.            ทำการเข้าสายอีกด้าน ก็จะได้สายที่พร้อมใช้งาน 1 เส้น

สายใยแก้วแสง[แก้]

ไฟล์:Fiber Optic Cable Introduction.jpg

เส้นใยนำแสง ( fiber  optic ) เป็นการที่ส่งลำแสงเคลื่อนที่ไปในท่อแก้วจากต้นทางไปยังปลายทาง สามารถส่งข้อมูลด้วยเป็นอัตราความหนาแน่นของสัญญาณข้อมูลที่สูงมาก 

รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย [แก้]

รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายมักเรียกสั้น ๆ ว่า โทโพโลยี เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทางกายภาพ  เพื่อให้สามารถสื่อสารร่วมกันได้และด้วยเทคโนโลยีเครือข่ายท้องถิ่นจะมีรูปแบบของโทโพโลยีหลายแบบด้วยกัน 

เครือข่ายแบบ Peer-to-Peer[แก้]

ไฟล์:เครื่อข่ายแบบ peer-to-peer.jpg

เป็นเครือข่ายที่เก็บไฟล์และการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้แต่ละคน เครือข่ายแบบ Peer-to-Peer นี้เหมาะสำหรับองค์กรขนาดเล็กที่มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันไม่เกิน 10 เครื่อง เนื่องจากติดตั้งง่าย ราคาไม่แพง และดูแลไม่ยุ่งยาก

เครือข่ายแบบ Client/Server[แก้]

ไฟล์:เครือข่ายแบบ ClientServer.jpg

เป็นเครือข่ายแบบ server-based โดยจะมีคอมพิวเตอร์หลักเครื่องหนึ่งเป็น เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจะทำหน้าที่ให้บริการประมวลผลข้อมูลให้เครื่องลูกข่าย หรือไคลเอนต์ (client)  เซิร์ฟเวอร์ทำหน้าที่เสมือนเป็นที่เก็บข้อมูลระยะไกล (remote disk) 

LAN Technology [แก้]

โทโพโลยี เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทางกายภาพว่ามีรูปแบบแตกต่างกัน เพื่อให้สามารถสื่อสารร่วมกันได้  โดยปกติโทโพโลยีที่นิยมใช้กันบนเครือข่ายท้องถิ่นมีดังนี้

แบบบัส (BUS)[แก้]

ไฟล์:Busbus2.jpg

แบบบัส (Bus Topology) เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเชื่อมอยู่บนสายสัญญาณเดียวกัน เป็นการเชื่อมต่อสายแบบเส้นตรง จากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรก แล้วโยงสายไปยังเครื่องที่ 2 3 ... ตามลำดับ การเชื่อมแบบนี้ทำได้ง่าย แต่มีข้อเสีย คือ หากมีปัญหาที่สายสัญญาณเส้นใดเส้นหนึ่ง จะส่งผลกระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย

แบบวงแหวน (RING)[แก้]

ไฟล์:วงแหวน.gif

แบบวงแหวน (Ring Topology) เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเชื่อมต่อกันเป็นลักษณะวงกลม สามารถเชื่อมได้ระยะทางที่ไกล ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายมีปัญหาหรือชำรุด จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบหยุดทำงาน

แบบดาว (STAR)[แก้]

ไฟล์:Thumb474-Star-Topology-6e1b126704a6545204765e9ec9a5e49a.jpg

แบบดาว (Star Topology) เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต่อผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า ฮับ ( Hub ) ซึ่งเป็นจุดกลางในการติดต่อ มีการติดตั้งและ ดูแลรักษาระบบง่าย เมื่อเครื่อง

แบบตาข่าย (MESH)[แก้]

ไฟล์:Mesh-Topologyy.jpg

แบบตาข่าย (Mesh Topology) เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโหนดไปยังโหนดอื่น ๆ ทุก ๆ ตัว ทำให้มีทางเดินข้อมูลหลายเส้นและปลอดภัย ที่จะเกิดจากการล้มเหลวของระบบ แต่ระบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายมากกว่าระบบอื่น ๆ เพราะต้องใช้สายสื่อสารเป็นจำนวนมาก  ในกรณีสายเคเบิ้ลบางสายชำรุด เครือข่ายทั้งหมดยังสมารถใช้ได้ ทำให้ระบบมีเสถียรภาพสูง นิยมใช้กับเครือข่ายที่ต้องการเสถียรภาพสูง แต่ก็จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และสายเคเบิ้ลมากกว่าการต่อแบบอื่นๆและ ยากต่อการติดตั้ง เดินสาย เคลื่อนย้ายปรับเปลี่ยนและบำรุงรักษาระบบเครือข่าย

WAN Technology[แก้]

Circuit Switching [แก้]

ไฟล์:CircuitSwitchNet.gif

เทคนิคในการสื่อสารข้อมูลจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เมื่อมีการเชื่อมต่อกันแล้วจะติดต่อกันได้ตลอดเวลา ผู้อื่นจะแทรกเข้ามาไม่ได้เลย จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะปลดวงจรออก ตัวอย่างง่าย ๆ    เช่นการติดต่อทางสายโทรศัพท์ เมื่อเริ่มพูดกันได้แล้ว คนอื่นจะต่อสายแทรกเข้ามาไม่ได้ จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะวางหูลง   (ปลดวงจร) 

หลักการทำงาน 

1) เมื่อสถานีA ต้องการส่งข้อมูลให้กับ สถานีB จะต้องมีการสร้างเส้นทางเสียก่อน

โดยที่ฝั่งที่รับข้อมูลจะต้องตอบว่าพร้อมรับข่าวสาร (Establishment/ Connection)    

2) เมื่อสร้างเส้นทางการส่งข้อมูลเรียบร้อย ตลอดเวลาของการสื่อสารจะใช้เส้นทางเดิมตลอด

และไม่มีบุคคลอื่นมาใช้เส้นทาง 

3) มีอัตราความเร็วในการส่งเท่ากันทั้งด้านรับและด้านส่ง  

4) มีการทำ Error Control และ Flow Control ทุกๆ ชุมสาย              

5) ในขณะทำการส่งข้อมูล ข้อมูลจะถูกส่งด้วยความเร็วคงที่ และไม่มีการหน่วงเวลา(Delay)

6) เมื่อส่งข้อมูลเสร็จจะยกเลิกเส้นทางที่ได้เชื่อมต่อขึ้นมาเพื่อให้เครื่องอื่นได้ใช้เส้นทางได้  

Packet Switching [แก้]

ไฟล์:Packet-switching-content.jpg

เทคนิคในการแบ่งข้อมูลออกเป็นกลุ่ม (Packet) แต่ละกลุ่มจะมีความยาวเท่ากัน (ปกติ 100บิต) ข้อมูลจะหาทิศทางเดินไปได้เอง โดยที่สายหนึ่ง ๆ จะสามารถใช้กันได้หลายคน เมื่อถึงที่ปลายทางข้อมูลก็จะกลับ ไปรวมกันเอง 

หลักการทำงาน

1) เมื่อ สถานี A ต้องการส่งข้อมูลให้กับสถานีB จะมีการแบ่งข้อมูลออกเป็น Packet ย่อยก่อนจะถูก ส่งออกไป

2) ส่งข้อมูลโดยใช้ชุมสาย PSE (Packet switching exchange) ควบคุมการรับส่ง

3) ทำ Error control หรือ Flow Control ที่ PSE 

4) ด้านรับและด้านส่งมีอัตราความเร็วที่ไม่เท่ากันได้

5) ใช้เทคนิค Store - and - Forward ในการส่งข้อมูล ผ่าน PSE

IP ADDRESS [แก้]

คลาสของหมายเลขไอพี[แก้]

IP Address แบ่งออกเป็นระดับชั้น (Class) ต่าง ๆ 5 Class คือ Class A, B, C, D และ E ซึ่งในแต่ละ Class จะมี หมายเลข IP จะมีทั้งหมด 32 บิต แบ่งออกเป็น 4 ฟิลด์ โดยแต่ละฟิลด์จะมี 8 บิต ซึ่งการแบ่งเป็น 4ฟิลด์นั้น ความจริงเป็นการกำหนดหมายเลขของเครื่องเครือข่าย และหมายเลขของเครื่องคอมพิวเตอร์ รายละเอียดของแต่ละ Class มีดังนี้

Class A: หมายเลขของ IP Address เริ่มตั้งแต่ 1.0.0.0-127.255.255.255 ซึ่งเหมาะสมสำหรับเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ เนื่องจากสามารถรองรับจะมีเครือข่ายได้ 126 เน็ตเวิร์ค และในแต่ละเครือข่ายสามารถมีเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ประมาณ 16 ล้านเครื่อง ตัวอย่างเช่น ค่า IP Address ของ Class A เป็น 120.25.2.3 หมายถึง เครือข่าย 120 หมายเลขเครื่อง 25.2.3

Class B: หมายเลขของ IP Address เริ่มตั้งแต่ 128.0.0.0-191.255.255.255 จะมีเครือข่ายขนาด 16384 เน็ตเวิร์ค และจำนวนเครื่องลูกข่ายในเครือข่ายได้ 64,516 เครื่อง ตัวอย่างเช่น ค่า IP Address ของ Class B เป็น 145.147.45.2 หมายถึง เครือข่าย 145.147 หมายเลขเครื่อง 45.2

Class C: หมายเลขของ IP Address เริ่มตั้งแต่ 192.0.0.0-223.255.255.255 จะมีจำนวนเครือข่ายขนาด 2M+ เน็ตเวิร์ค และเครื่องลูกข่ายในแต่ละเครือข่ายได้ประมาณ 254 เครื่อง ตัวอย่างเช่น ค่า IP Address ของ Class C เป็น 202.28.10.5 หมายถึง หมายเลขเครือข่าย 202.28.10 หมายเลขเครื่อง 5

Class D: เป็นการสำรองหมายเลข IP Address ช่วง 224.0.0.0-239.255.255.255 สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Multicast ซึ่งจะไม่มีการแจกจ่ายใช้งานทั่วไปสำหรับบุคคลทั่วไป

Class E: เป็นการสำรองหมายเลข IP Address ช่วง 240.0.0.0-255.255.255.255 สำหรับการทดสอบ และพัฒนา

Subnet[แก้]

subnet คือ การแบ่ง network id (ip address) ออกเป็นชุดย่อยๆ ทำให้ host id (network ip) เพิ่มขึ้นแต่ network ip (ip address) ลดลง

ใน 1 sub net จะมีส่วนประกอบหลักๆ 3 อันคือ

1. Network IP หรือ IP เริ่มต้นของแต่ละ Network

2. IP Address ของเครื่องลูกข่าย

3. Boardcast IP หรือ IP สุดท้ายของ Network ถ้าหากส่งข้อมูลให้ IP นี้ จะหมายถึงส่งข้อมูลไปให้ทุกๆ เครื่อง

Private IP[แก้]

Private IP หมายถึง หมายเลข IP Address ที่ไม่สามารถนำมาใช้ติดต่อสื่อสารบนโลก Internet ได้ สามารถใช้ติดต่อสื่อสารได้เฉพาะภายในกลุ่มเครื่องข่าย หรือ Local Net เท่านั้น

เปรียบเทียบกับโทรศัพท์ได้ว่าเป็นเหมือน เบอร์โทรศัพท์ภายใน ซึ่งสามารถใช้ติดต่อกับ เบอร์ภายในเท่านั้น ไม่สามารถโทรออกภายนอกได้  หากต้องการโทรออกจะต้องใช้เทคนิค ในการไป map เบอร์ภายนอก เพื่อที่จะให้โทรออกได้ หรือที่เรียกว่าการ NAT

Private IP ประกอบด้วย IP จำนวน 3 ชุดด้วยกันคือ

ชุดแรกคือ 10.0.0.0 - 10.255.255.255 มีจำนวน 16777216 หมายเลข (16 ล้านเศษ)

ชุดที่สองคือ 172.16.0.0 - 172.31.255.255 มีจำนวน 1048576 หมายเลข (1 ล้านเศษ)

ชุดที่สามคือ 192.168.0.0 - 192.168.255.255 มีจำนวน 65536 หมายเลข (6 หมื่นเศษ)

Public and Private IP Address[แก้]

1. ไอพีแอดเดรส (Public IP Address)

หมายเลข IP Address “Public IP" ของแต่ละเครื่องบนเครือขายInternet จะไม่ซ้ำกันโดยในการเชื่อมต่อ Internet ไปยังผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตจะจ่ายหมายเลข IP Address(ไอพี แอดเดรส)มาใช้ชั่วคราว 1 IPซึ่งเป็น หมายเลขIP ที่ใช้้จริงบนอินเตอร์เน็ตโดยเรียก หมายเลข IP นี้ว่า "Public IP Address " หมายเลข IP นี้จะเปลี่ยนไปทุกครั้งทีมีการเชื่อมต่อใหม่ โดยหมายเลข IP Address นี้ เป็นหมายเลขที่จะบอกความเป็นตัวตนของเครื่องนั้นในการสื่อสารกันในระบบ Internetโดยหมายเลข IP Address “Public IP" นี้เครื่อง Serverผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตจะเป็นผู้กำหนด จ่ายหมายเลข IP นี้มา

2. ไอพีแอดเดรส ภายใน (Private IP Address)

                หมายเลข IP Address “Private IP" คือหมายเลขไอพีเครื่อง แต่ละเครื่อง ในองค์กร หน่วยงาน โดยกำหนด ขึ้นมาเองเพื่อใช้ในองค์กรนั้นๆ เพื่อการสื่อสารภายใน ระบบเครือข่ายแลน หรือ อินทราเน็ต ภายในเท่านั้นโดยสามารถกำหนดได้ 2 รูปแบบ คือ

1.) กำหนดแบบ Dynamic วิธีนี้คอมพิวเตอร์ หรือ DHCP Server จะทำหน้าทีกำหนดหมายเลข IP และจ่ายเลขIPให้กับระบบคอมพิวเตอร์ในกรุ๊ปนั้นหรือเรียกการจ่ายไอพีแบบนี้ว่า (Automatic Private IP Address)

2.) กำหนดแบบ Static เป็นวิธีการกำหนดไอพีแอดแดรสแบบคงที่ โดยผู้ติดตั้งระบบ ทำหน้าที่กำหนด หมายเลข IP Address ให้แต่ละเครื่อง โดยห้ามกำหนด IP ซ้ำกัน หรือนอกเหนือจาก Work Group

(แต่เมื่อมีการติดต่อในเครือข่าย Internet ก็จะได้รับหมายเลข ไอพี แอดเดรส "Public IP Address"จากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตจะจ่ายหมายเลข IP Address (ไอพี แอดเดรส) มาใช้ชั่วคราว 1 IP หมายเลขที่ใช้ได้จริงบนอินเตอร์เน็ตซึ่งก็คือหมายเลขไอพีทีแสดงการ เช็คไอพี Check IP นั่นเอง)

Routing Protocol[แก้]

หลักการทำงานของเราเตอร์[แก้]

การทำงานของ Router หน้าที่หลักคือ การอ้างอิงไอพีแอดเดรสระหว่างเครื่องลูกข่ายที่อยู่กันคนละเครือข่าย รวมที่ทั้งการเลือกและจัดเส้นทางที่ดีที่สุด เพื่อนำข้อมูลข่าวสาร ในรูปแบบของแพ็กเกจจากเครื่องลูกข่ายต้นทางบนเครือข่ายที่ตนดูแลอยู่ไปยังเครื่องลูกข่ายที่อยู่กันคนละเครือข่ายหน้าที่ของเราเตอร์คือ จัดแบ่งเครือข่ายและเลือกเส้นทางที่เหมาะสมเพื่อนำส่งแพ็กเก็ต เราเตอร์จะป้องกันการบรอดคาสต์แพ็กเก็ตจากเครือข่ายหนึ่งไม่ให้ข้ามมายังอีกเครือข่ายหนึ่ง เมื่อเราเตอร์รับข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตเข้ามาตรวจสอบแอดเดรสปลายทางแล้ว จากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับตารางเส้นทางที่ได้รับการโปรแกรมไว้ เพื่อหาเส้นทางที่ส่งต่อ หากเส้นทาง ที่ส่งมาจากอีเทอร์เน็ต และส่งต่อออกช่องทางของ Port WAN ที่เป็นแบบจุดไปจุดก็จะมีการปรับปรุงรูปแบบสัญญาณให้เข้ากับมาตรฐานใหม่ เพื่อส่งไปยังเครือข่าย WANไ ด้

เราท์ติ้งเทเบิล[แก้]

จะประกอบด้วยเรคอร์ดหลายๆเรคอร์ดที่มีฟิลด์สำคัญต่างๆ เรคอร์ดนี้จะคล้ายกับเรคอร์ดในฐานข้อมูล แต่ในเชิงวิชาเน็ตเวิร์กจะเรียกเรคอร์ดนี้ว่า เร้าติ้งเอ็นทรี (Routing entry) ภายในตารางเร้าติ้งเทเบิลจะประกอบด้วย เร้าติ้งเอ็นทรีอยู่หลายบรรทัดเรียงต่อกัน ซึ่งมีฟิลด์สำคัญต่างๆดังนี้

1. แหล่งที่มาของเร้าติ้งเอ็นทรี ว่าเรียนรู้มาจากเร้าติ้งโปรโคคอลใด หรือมาจากการเพิ่มเร้าติ้งโดยผู้ดูแลระบบ

2. เป้าหมายปลายทาง ซึ่งเป็นได้ทั้งเน็ตเวิร์กแอดเดรสในคลาสหลักและในคลาสย่อย เช่น เน็ตเวิร์กแอดเดรส 10.0.0.0 ซึ่งป็นเน็ตเวิร์กแบบเต็มคลาส A และ 10.10.1.0/24 ซึ่งเป็นซับเน็ตแอดเดรสที่ซอยย่อยมาจากเน็ตเวิร์กคลาส A

3. Administrative Distance (AD) เป็นตัวเลขบอกถึงลำดับความสำคัญหรือความน่าเชื่อถือของเร้าติ้งเอ็นทรีนี้ (trustworthiness)

4. ค่าเมตริกหรือเรียกอีกอย่างว่าค่า Cost ของเส้นทางนี้ ซึ่งแต่ละเร้าติ้งโปรโตคอลจะมีหลักการกำหนดค่า Cost แตกต่างกัน

5. แอดเดรสของเร้าเตอร์ตัวถัดไป (Next Hop Router) เพื่อส่งแพ็กเก็ตไปยังซับเน็ตแอดเดรสปลายทาง

6. อินเตอร์เฟซของเร้าเตอร์ที่ใช้เป็นทางออกไปยังเร้าเตอร์ตัวถัดไป หรือไปยังซับเน็ตแอดเดรสปลายทาง เรียกว่า Outgoing Interface

7. เร้าติ้งนี้ถูกสร้างมานานแค่ไหน

Static Routing Protocol[แก้]

                Static Route คือ การกำหนดค่าแบบคงที่เข้าไปในตัวเร้าเตอร์ เพื่อบอกให้เร้าเตอร์ทราบว่าหากต้องการจะส่งแพ็กเก็ตไปยังซับเน็ตแอดเดรสต่างๆจะต้องส่งไปหาเร้าเตอร์ตัวถัดไป(Next Hop Address) ตัวไหน หรือจะให้เร้าเตอร์ส่งออกไปทางอินเตอร์เฟซใด ซึ่งวิธีการนี้หากมีเร้าเตอร์จำนวนมากและมีซับเน็ตแอดเดรสต่างๆจำนวนมาก ผู้ดูแลเน็ตเวิร์กก็จะต้องใช้เวลามากในการค่อยๆเพิ่ม Static Route เข้าไปในเร้าติ้งเทเบิลของเร้าเตอร์ทุกตัวด้วยตัวเอง แต่วิธีการนี้ค่า AD หรือค่าลำดับความสำคัญสูงกว่าแบบ ไดนามิกเร้าติ้ง คือ จะพิจารณาสแตติกเร้าก่อนพิจารณาเส้นทางจากไดนามิกเร้า

Dynamic Routing Protocol[แก้]

                Dynamic Routing เป็นการสั่งให้รันเร้าติ้งโปรโตคอลขึ้นมา จะช่วยลดภาระของผู้ดูแลระบบเน็ตเวิร์กและทำให้การจัดการเน็ตเวิร์กเป็นไปได้อย่างง่ายดาย เมื่อรันเร้าติ้งโปรโตคอลขึ้นบนเร้าเตอร์แล้วทำกำหนดการเร้าติ้งโปรโตคอลไปยังอินเตอร์เฟซใดของเร้าเตอร์บ้าง จากนั้นเร้าเตอร์แต่ละตัวจะช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทำให้ฐานความรู้ในเร้าติ้งเทเบิลมีความสมบูรณ์ และที่สำคัญเร้าติ้งโปรโตคอลยังสามารถตรวจจับความเปลี่ยนแปลงต่างๆในเน็ตเวิร์กโทโพโลยี และปรับปรุงเร้าติ้งเทเบิลให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของเน็ตเวิร์กโทโพโลยีโดยอัติโนมัติ  ซึ่งความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น เร้าเตอร์เพื่อนบ้านดาวน์ลง อินเตอร์เฟซของเร้าเตอร์ดาวน์ หรือ WAN Link ในเน็ตเวร์กมีปัญหา ซึ่งเป็นความสามารถที่หาไม่ได้ในการใช้งานสแตติกเร้าต์ การปรับตัวเองอย่างทันท่วงทีนี้จึงเป็นที่มาของ ไดนามิกเร้าต์

อ้างอิงแหล่งข้อมูล [แก้]

  1. https://sites.google.com/site/ojijhtvljf/xngkh-prakxb-khxng-rabb-kherux-khay-khxmphiwtexr
  2. https://sites.google.com/site/brrcngiphone/kar-suxsar-khx-mul-laea-kherux-khay/rup-baeb-kar-cheuxm-tx-kherux-khay-bus-topology-ring-topology-laksna-khxdi-khx-seiy
  3. http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/network/net_nettype10.htm
  4. http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/network/net_nettype9.html
  5. http://chummy-online.blogspot.com/2012/12/mesh-topology.html
  6. https://sites.google.com/site/wiparat0001/bth-thi-hnung
  7. http://www.itcomtech.net/article-all/73-operating-system.html
  8. https://narawit54.wordpress.com/
  9. http://www.nkatc.svec.go.th/web/pictures/e-learning/E-Learning3/unit3.html
  10. https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/5/5b/Firewall.png
  11. http://www.computer-networking-success.com/images/router-switch.jpg
  12. http://www.krumontree.com/ebook4/files/pg7_9.htm
  13. http://dit.dru.ac.th/task/network/cable.html
  14. https://sites.google.com/site/brrcngiphone/kar-suxsar-khx-mul-laea-kherux-khay/rup-baeb-kar-cheuxm-tx-kherux-khay-bus-topology-ring-topology-laksna-khxdi-khx-seiy
  15. https://sites.google.com/site/41208panuvat/kherux-khay-khxmphiwtexr-samarth-baeng-tam-laksna-khxng-kar-cheuxm-tx-hlak-di-dangni
  16. https://sites.google.com/site/artima27/3-2star-topology
  17. https://sites.google.com/site/41208panuvat/2-khorngsrang-kherux-khay-khxmphiwtexr-baeb-wnghaewn-ring-topologyhttp://chummy-online.blogspot.com/2012/12/mesh-topology.html
  18. http://nooplemonic.exteen.com/20090706/circuit-switching-packet-switching
  19. http://www.cmdevhub.com/blog/ip-subnet
  20. https://computernps.wordpress.com/2012/04/09/public-ip-address-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0-private-ip-address-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD/
  21. https://sites.google.com/site/ten2kread6/router-wireless-access-point-2/hladkarthangankhxngrouter
  22. https://www.gotoknow.org/posts/306794