ผู้ใช้:Sawitree-Som/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ข้อมูลตำบลพงตึก อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี

ประวัติความเป็นมา

ตำบลพงตึก เป็นตำบลที่มีความเจริญมาตั้งแต่โบราณและเป็นเส้นทางการคมนาคมในสมัยโบราณ มีการขุดค้นพบวัตถุโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อย่างมากมายวัตถุโบราณบางส่วนเก็บรักษาไว้ที่วัดดงสัก และแสดงไว้ที่โบราณสถานพงตึก ในสมัยที่มีการขุดหาวัตถุโบราณ โดยพบสิ่งก่อสร้างโบราณคล้ายตึกอยู่ในป่าในพงรกจึงเรียกบริเวณที่ค้นพบนี้ว่า “พงตึก” จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้

พื้นที่

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม และมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับการเพาะปลูก ประกอบกับพื้นที่มีแม่น้ำแม่กลองไหลผ่าน มีสภาพอากาศแบบร้อนชื้น

มีพื้นที่ทั้งหมด 12.73 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นพื้นที่ 7,956 ไร่

เขตพื้นที่

ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลท่ามะกา และ ตำบลท่าไม้, อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี

ทิศใต้ ติดกับ ตำบลเขาสาบสิบหาบ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี

ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลท่าเสา อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี

ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลโคกตะบอง ,เขาสามสิบหาบ อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี[1]

แบ่งเขตการปกครอง เป็น 6 หมู่บ้าน
ประกอบด้วยหมู่บ้าน หมู่1 บ้านโคกตะบอง (โคกมะขามสด) , หมู่1 บ้านปากบาง , หมู่3 บ้านพงตึก , หมู่4 บ้านอู่ตะเภา , หมู่5 บ้านห้วยระหาร , หมู่6 บ้านหนองพันท้าว

จำนวนประชากรใน ตำบลพงตึก
จำนวนหลังคาเรือน  : 1,134 หลังคาเรือน
จำนวนประชากร  : 4,229 คน จำนวนผู้สูงอายุ  : 655 คน
จำนวนเด็กแรกเกิด ถึง 6 ปี : 309 คน จำนวนผู้สูงอายุ ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง : 231 คน
จำนวนสตรีตั้งครรภ์  : 9 คน จำนวนผู้สูงอายุ ที่ช่วยตนเองไม่ได้ : 9 คน
จำนวนสตรีอายุ 35 ปี ขึ้นไป : 783 คน จำนวนผู้พิการ  : 90 คน

สภาพภูมิอากาศ

              ลักษณะภูมิอากาศ สภาพพื้นที่ของหมู่บ้าน อยู่ในภาคตะวันตกของประเทศในช่วงฤดูร้อนอากาศค่อนข้างร้อนและอบอ้าว ฤดูฝนจะมีฝนตกชุกเป็นช่วง ๆ ลมกระโชกแรง ฤดูหนาวจะมีช่วงหนาวจัดและลดความหนาตามลำดับข้อมูลตำบล

สภาพภูมิประเทศ

              พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม และมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะส าหรับการเพาะปลูก ประกอบกับพื้นที่มี

แม่น้ำแม่กลองไหลผ่าน มีสภาพอากาศแบบร้อนชื้น

สภาพทางเศรษฐกิจ/ลักษณะการประกอบอาชีพของชุมชน

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ทำนาทำสวน ทำไร่ และทำสวน แต่ในปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจที่ราคาสินค้า เพื่อการอุปโภค บริโภค ตลอดทั้งปัจจัยทางการผลิต เช่น ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง น้ำมัน ฯลฯ มีราคาสูง   ทำให้ต้นทุนการผลติสูง แต่ราคาผลผลิตที่ได้ตกต่าง ทำให้มีปัญหาเรื่องรายจ่ายที่เพิ่มมากขึ้นกว่าที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก

สถานที่ท่องเที่ยว/สถานที่บริการ/แหล่งเรียนรู้ สถานที่ท่องเที่ยว

1)     โบราณสถานพงตึก 2 แห่ง

2)             แม่น้ำแม่คลอง

3)             วัดดงสัก

4)             วัดปากบาง

แหล่งเรียนรู้

1)     ศูนย์เรียนรู้บ้านปลักสะแก

2)              ธนาคารปุ๋ยอินทรีย์

3)              ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว

สภาพทางสังคม ตำบลพงตึก มีโครงสร้างการบริหาร ดังนี้

1) นายพรเทพ วันเพ็ญ กำนัน

2) นายสำเริง มาเอี่ยม ผู้ใหญ่บ้าน ม. 1

3) นายอภิชาติ ยิ้มแพร ผู้ใหญ่บ้าน ม. 2

4) นายสมภพ พุทธผล ผู้ใหญ่บ้าน ม. 3

5) นายสมศักดิ์ พรานเจริญ ผู้ใหญ่บ้าน ม. 4

6) นายระพิน สุขดี ผู้ใหญ่บ้าน ม. 5

7) นายไพโรจน์ นันทพรหมมา นายก อบต.

* สภาพความเป็นอยู่ มีวิถีชีวิตการดำเนินชีวิตมีการดำรงชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนส่วน ใหญ่ ในหมู่บ้านเป็นแบบผสมผสาน คือครอบครัวเป็นครอบครัวใหญ่ ประกอบอาชีพช่วยเหลือกันมีสมาชิก บางส่วน ออกไปทำงานนอกบ้าน/นอกชุมชน

* ศาสนาและความเชื่อ ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย มีความเชื่อ โบราณที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ มีพิธีกรรมทางศาสนา เช่น งานบวช งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ งานศพ วัฒนธรรมประเพณีและกิจกรรมความสามัคคีของชาวบ้านสำนักเย็น

* วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น ชาวบ้านในหมู่บ้านจะเข้าร่วมในพิธีต่าง ๆ ทั้งวันสำคัญทางศาสนา และวันสำคัญทางประเพณี เช่น แห่เทียนเข้าพรรษา ประเพณีลอยกระทง ประเพณีวันสงกรานต์

ว่างงาน จำนวน 104 คน แยกเป็น ชาย 43 คน หญิง 104 คน

ตำบล มีรายได้ 117,3490,880 บาท/ปี

รายจ่าย 100,308,150 บาท/ปี

มีหนี้สิน 3,310,270 บาท รายได้เฉลี่ยของประชากร (ตามเกณฑ์ จปฐ. ปี 2560) จำนวน 76,192.74 บาท/คน/ปี

จำนวนกลุ่มกิจกรรม/อาชีพ มีจำนวน 2 กลุ่ม ดังนี้

1. กลุ่มกิจกรรมอาชีพการถักสานกระเป๋า จำนวนสมาชิก 20 คน

2.กลุ่มกิจกรรมอาชีพผลไม้แปรรูป จำนวนสมาชิก 46 คน กองทุนในตำบลมีจำนวน 3 กองทุน ดังนี้

1 ชื่อกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง มีจำนวน 6 กองทุน

2 ชื่อกองทุนแม่ของแผ่นดิน มีจำนวน 2 กองทุน (หมู่ที่ 2,3)

3. โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) จำนวน 1 กองทุน (หมู่ที่ 6)

ข้อมูลความต้องการพัฒนาฝีมือแรงงานของประชาชน

1. อาชีพแปรรูปผลไม้ จำนวน 15 คน

2. อาชีพทำไข่เค็ม จำนวน 20 คน

ข้อมูลคมนาคม/สาธารณูปโภค

การเดินทางไปตำบล

จากกรุงเทพ สามารถใช้ทางถนนสายเพชรเกษม ผ่านจังหวัดนครปฐมพอเข้าเขตบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี แล้วมุ่งหน้าตรงไปเรื่อย ก็เข้าสู่อำเภอท่ามะกา เมื่อมาถึงสมาคมชาวไร่อ้อย เขต 7 ขับเลยมา ประมาณ 500 เมตร เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานแม่น้ำแควเข้าสู่ตำบลพงตึก อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ระยะทาง 95 กิโลเมตร

สาธารณูปโภค - มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน และมีไฟฟ้าสาธารณะในถนนสายหลักอย่างทั่วถึง - ประปาครอบคลุม จำนวน 1,140 ครัวเรือน

แหล่งน้ำแหล่งน้ำตามธรรมชาติ – แม่น้ำไหลผ่าน (แม่น้ำแม่กลอง) จำนวน 1 สาย - ลำห้วย จำนวน 1 แห่ง - คลองชลประทาน จำนวน 1 แห่ง[2]

  1. 2543-2558 ไทยตำบลดอทคอม
  2. กรมการพัฒนาชุมชน